Digital Footprint คืออะไร ทำไมคนรุ่นใหม่ต้องคิดให้ดีก่อนโพสต์โซเชียล

Loading

    ดิจิทัลฟุตพริ้นท์ คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือวัดความประพฤติของบุคคลที่กระทำบนโลกอินเทอร์เน็ต และผู้ใหญ่หลายคนถึงกับเตือนว่า “สิ่งที่เคยกระทำในอดีตจะส่งผลถึงปัจจุบัน” ดังนั้น คิดก่อนโพสต์   Digital Footprint (ดิจิทัลฟุตพริ้นท์) หรือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล ที่จะเก็บประวัติทางพฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต หรือการกรอกข้อมูลใส่ในโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็น การคลิกเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ การแชร์หรือแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์   ซึ่งสิ่งเหล่านี้ สามารถค้นหาได้ง่ายๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลส่วนตัวบางอย่างก็ค้นเจอบนโลกดิจิทัลแล้ว   นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องกังวลก็คือ ไม่ว่าจะเป็น เด็กนักเรียน วัยทำงาน หรือเจ้าของกิจการก็ต้องรอบคอบเรื่องการโพสต์ข้อความใดๆ ก็ตามบนโซเชียลมีเดีย   มีข้อมูลจาก CareerBuilder ระบุว่า เรื่องดิจิทัลฟุตพริ้นท์เป็นหนึ่งในเหตุผลที่องค์กรจะตัดสินใจเลือกหรือไม่เลือกพนักงานใหม่ในการเข้าทำงาน หากพนักงานคนนั้นมีพฤติกรรมการโพสต์ภาพ วิดีโอหรือข้อความที่ไม่เหมาะสม เช่น การดื่มสุรา ใช้ยาเสพติด เหยียดเพศ บูลลี่หรือแสดงความคิดเห็นด้านการเมืองแบบรุนแรง เหยียดศาสนา เป็นต้น     เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่มีองค์กรกว่า 41.19% ให้ความเห็นพ้องตรงกับผลวิจัยว่า นำการแสดงความคิดเห็นบนโลกออนไลน์มาใช้ประกอบในการพิจารณาคุณสมบัติในการรับเข้าทำงาน  …

สถิติ Digital2023 เปรียบเทียบพฤติกรรม ใช้อินเทอร์เน็ตของคนไทยกับทั่วโลก

Loading

    We are social เพื่งออกรายงาน “Digital 2023 Global Overview” เป็นการสรุปสถิติการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลทั่วโลก รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์ที่ผู้ใช้ใช้เพื่อเข้าถึงเนื้อหาและบริการดิจิทัล พฤติกรรมใช้อินเทอร์เน็ต การใช้สื่อสังคมออนไลน์   ข้อมูลปีนี้ที่น่าสนใจคือ แม้จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกล่าสุดจะเพิ่มขึ้น 1.9% เป็น 5,158 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 64.4% ของประชากรทั้งโลก แต่ก็กลับพบว่าผู้คนโดยเฉลี่ยจะใช้เวลาเล่นอินเทอร์เน็ตน้อยกว่าปีก่อนถึง 4.8% กล่าวคือ เฉลี่ยคนละ 6 ชั่วโมง 37 นาทีต่อวัน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น ทำให้คนพิจารณาการเล่นออนไลน์ในสิ่งที่จำเป็นมากขึ้น   ในรายงานระบุว่าผู้คนทั่วโลกเข้าเว็บไซต์หรือเล่นแอปต่าง ๆ เพื่อพูดคุยหรือส่งข้อความหาเพื่อนสูงถึง 94.8% ตามมาด้วยการใช้โซเชียลมีเดีย 94.6% และการค้นหาข้อมูล 81.8% อันดับที่สี่คือ การดูและสินค้าออนไลน์ 76% การค้นหาสถานที่หรือดูแผนที่ 55% การใช้อีเมล 48.9% การฟังเพลง…

งานวิจัยเผยเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาเถื่อนมักมีโฆษณาซ่อนมัลแวร์เอาไว้

Loading

  งานวิจัยใหม่ของ Digital Citizens Alliance, White Bullet และ Unit 221B พบว่าเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์ (Piracy Sites) เต็มไปด้วยโฆษณาออนไลน์ที่จะนำมัลแวร์เข้าสู่อุปกรณ์ของผู้ใช้ (Malvertising)   โฆษณาออนไลน์เหล่านี้จะใช้เนื้อหาที่ทำให้ผู้ใช้กลัวหรือล่อลวงผู้ใช้เพื่อให้กดลิงก์ที่มีมัลแวร์ซ่อนอยู่ อาทิ โฆษณาที่ทำให้ดูเหมือนเป็นโปรแกรม Antivirus ที่อ้างว่าอุปกรณ์ของผู้ใช้ติดไวรัสเข้าซะแล้ว หากกดที่ลิงก์ก็จะมีวิธีการแก้ไข แต่จริง ๆ เมื่อกดแล้วจะนำพามัลแวร์เข้าสู่เครื่องแทน ในบางกรณีโฆษณาเหล่านี้ซ่อนมัลแวร์เรียกค่าไถ่เอาไว้ด้วย   มัลแวร์ที่ซ่อนอยู่ในโฆษณาเหล่านี้มีบางชนิดที่สามารถขโมยข้อมูลธนาคารของเหยื่อ บางส่วนก็ติดตั้งสปายแวร์ไว้ในเครื่อง บางตัวก็อาจชี้เป้าอุปกรณ์ให้เป็นเป้าหมายของการโจมตีในอนาคต   งานวิจัยฉบับนี้ยังพบว่าโฆษณาออนไลน์ในรูปแบบนี้กลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เจ้าของเว็บไซต์ที่มีโฆษณาประเภทนี้แสดงอยู่สามารถทำเงินได้มากถึง 121 ล้านเหรียญ (ราว 4,500 ล้านบาท)   ในบางเว็บไซต์มีโฆษณาประเภทนี้อยู่ที่ร้อยละ 12 ของโฆษณาทั้งหมด ในขณะที่มีเว็บไซต์เผยแพร่เนื้อหาละเมิดลิขสิทธิ์มากถึงร้อยละ 80 ที่มีการโฆษณารูปแบบนี้ จำนวนโฆษณายังมีมากถึง 321 ล้านตัว   พีเทอร์ ซิสซ์โก (Peter Szyszko) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง White…

Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม/Cool Tech จิตต์สุภา ฉิน

Loading

Delete Remove Trash Can Application Graphic Right to be forgotten คำขอร้องเพื่อถูกลืม   เมื่อชีวิตของเราผูกพันกับอินเตอร์เน็ตไปในทุกแง่มุม ทั้งเรื่องงานไปจนถึงเรื่องส่วนตัวจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจเลยหากข้อมูลส่วนตัวบางอย่างของเราอาจจะถูกเผยแพร่ออกไปบนโลกอินเตอร์เน็ตโดยที่เราไม่รู้ตัว   ซ้ำร้ายไปกว่านั้นหากข้อมูลส่วนตัวที่ว่าไปปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาของ Google ด้วย ก็จะยิ่งเป็นการเพิ่มโอกาสที่ข้อมูลของเราจะถูกหยิบฉวยไปใช้ให้กลับมาเป็นโทษต่อตัวเราเองได้   Right to be forgotten หรือสิทธิที่จะถูกลืมเป็นแนวคิดที่มีการพูดถึงและใช้จริงมานานหลายปีแล้ว   สิทธินี้หมายถึงการที่เจ้าของข้อมูลสามารถดำเนินเรื่องร้องขอให้มีการปลดข้อมูลส่วนตัวของตัวเองลงจากผลลัพธ์การค้นหาบนอินเตอร์เน็ตได้   ลองนึกดูว่าหากช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิตเราเคยตัดสินใจผิดพลาด อาจจะด้วยความเยาว์ในช่วงเวลานั้นหรือการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายให้เสียหายและมีหลักฐานปรากฏหราอยู่บนอินเตอร์เน็ต ทุกครั้งที่มีคนเสิร์ชชื่อเราซึ่งอาจจะเป็นนายจ้างขององค์กรที่เราไปยื่นใบสมัครงานไว้ หรือแม้กระทั่งคนที่เรากำลังจะไปออกเดตด้วย ผลลัพธ์การค้นหาที่แสดงให้เห็นถึงเรื่องราวชีวิตที่น่าอายของเราก็จะปรากฏขึ้นมาให้คนเหล่านั้นได้เห็นก่อนที่พวกเขาจะได้สัมผัสถึงตัวตนที่แท้จริงของเราเสียด้วยซ้ำ   สิทธิที่จะถูกลืมคือการหยิบยื่นโอกาสในการลบอดีตอันน่าอายและไม่เป็นธรรมของเราทิ้งไปและทำให้เราใช้ชีวิตต่อไปได้โดยไม่ต้องคอยหวาดระแวงอยู่เสมอ   การปลดข้อมูลที่เราต้องการลืมทิ้งไปไม่ได้หมายความว่าเราจะสามารถยื่นเรื่องเพื่อบังคับให้เว็บไซต์ต้นตอลบข้อมูลของเราทิ้งได้ แต่เป็นการขอให้เสิร์ชเอนจิ้นซึ่งรายใหญ่ที่สุดก็คือ Google ช่วยปลดลิงค์เหล่านั้นออกไม่ให้ปรากฏอยู่ในผลลัพธ์การค้นหาอีกต่อไป   ดังนั้น แม้เว็บไซต์ต้นทางจะยังอยู่ แต่เวลาใครค้นหาชื่อเรา ลิงค์นั้นก็จะไม่ปรากฏขึ้นมาให้คลิกเข้าไปดูได้อีกต่อไป   กรณีที่มีการหยิบยกสิทธิในการถูกลืมมาพูดถึงบ่อยๆ ก็อย่างเช่น สิ่งที่เรียกว่า revenge porn หรือการที่แฟนเก่านำภาพลับในตอนที่ยังคบกันออกมาเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยไม่ได้รับการยินยอม สร้างความอับอายและเสื่อมเสียชื่อเสียงให้กับคนๆ นั้น สิทธิที่จะถูกลืมจึงเป็นเครื่องมือที่จะช่วยเหยื่อกลุ่มนี้ได้…

เว็บไซต์ของการท่าฯ อิสราเอลถูกแฮกเกอร์อิรักโจมตีจนล่ม

Loading

เว็บไซต์การท่าอากาศยานของอิสราเอล (Israel Airports Authority) ถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วยวิธีการ Distributed Denial of Service (DDoS) หรือการส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเซิร์ฟเวอร์เป้าหมายในเวลาเดียวกัน จนล่มไปราว 30 นาที โดยคาดว่าผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีคือกลุ่มแฮกเกอร์สนับสนุนรัฐบาลอิหร่านที่มีฐานที่มั่นอยู่ในอิรัก โอเฟอร์ เลฟเลอร์ (Ofer Lefler) โฆษกประจำการท่าอากาศยานฯ เผยว่า ในช่วงเพียงไม่กี่นาที เว็บไซต์ขององค์กรประสบกับการโจมตีของแฮกเกอร์จำนวนหนึ่ง แต่ยืนยันว่าไม่มีความเสียหายเกิดขึ้นต่อระบบ ก่อนหน้าการโจมตีนี้จะเกิดขึ้น แฮกเกอร์นิรนามก็เพิ่งจะโจมตีเว็บไซต์ของสื่อโทรทัศน์ Channel 9 และ Kan ซึ่งเป็นบริษัทกระจายเสียงและเผยแพร่ภาพสาธารณะของอิสราเอลจนล่มไป แฮกเกอร์ที่เป็นผู้ลงมือโจมตี Channel 9 และ Kan อ้างว่า ทำไปเพื่อแก้แค้นให้กับ กาเซม โซไลมานี (Qassem Soleimani) ผู้บัญชาการคุดส์ฟอร์ซแห่งกองพิทักษ์การปฏิวัติอิสลามของอิหร่าน (Quds Force of the Iranian Revolutionary Guard Corps) ที่ถูกกองทัพสหรัฐอเมริกาลอบสังหารเมื่อ 2 ปีที่แล้ว อ้างอิง…

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ

Loading

วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ เชื่อว่าคุณและผู้คนมากมายประมาณสองในสามคนทั่วโลกใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน กิจกรรมในลักษณะการผิดกฎหมายอาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงการแฮ็กและการก่อการร้าย เป็นต้น แม้แต่เว็บจำนวนมากก็สามารถติดตามตำแหน่งของคุณได้ด้วย ดังนั้น เพื่อให้มั่นใจถึงความเป็นส่วนตัวของคุณ คุณต้องซ่อนตำแหน่งของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่มาบอกวิธีการป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งของคุณ ด้วยขั้นตอนดังนี้   วิธีตั้งค่าไม่ให้เว็บไซต์ติดตามตำแหน่งคุณ สำหรับ Chrome เวอร์ชั่นคอม     คลิกจุดสามจุด … มุมขวาบนของ Chrome แล้วเลือกที่ การตั้งค่า     เลือกด้านซ้ายที่ ข้อมูลส่วนบุคคลและความปลอดภัย แล้วคลิกที่ การตั้งค่าเว็บไซต์     คลิกที่ ตำแหน่ง >>     แล้วเลือกที่ ไม่อนุญาตให้เว็บไซต์ดูตำแหน่งคุณ แค่นี้ Chrome จะดำเนินการไม่ให้เว็บไซต์อื่นๆมาติดตามตำแหน่งคุณได้   สำหรับผู้ใช้ Edge บน Windows10 หรือ Windows11 ให้เปิดหน้า Settings ของ Windows10 หรือ Windows…