ปากีฯเปิดมหา’ลัย ‘บาชา ข่าน’ หลังถูกถล่มดับ 20 ศพ-อนุญาตให้ครูพกปืน

Loading

     มหาวิทยาลัยบาชา ข่าน ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน ซึ่งถูกกลุ่มตาลีบันโจมตีเมื่อปลายเดือนม.ค. เปิดการเรียนการสอนอีกครั้งแล้ว โดยเพิ่มการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น รวมทั้งอนุญาตให้ครูอาจารย์พกปืนด้วย…      สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า จากกรณีนักรบกลุ่มก่อการร้าย ตาลีบัน 4 คนบุกโจมตีมหาวิทยาลัยบาชา ข่าน ในเมืองชาร์ซัดดา จังหวัด ไคเลอร์ ปักห์ตุนควา ทางตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถาน จนทำให้มีอาจารย์และนักศึกษาเสียชีวิตถึง 20 รายเมื่อวันที่ 20 ม.ค.นั้น ล่าสุดมหาวิทยาลัยแห่งนี้กลับมาเปิดสอนอีกครั้งแล้วในวันจันทร์ที่ 15 ก.พ.      ตามการเปิดของนาย ฟาซาล ราฮิม มาร์วัด รองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยบาชา ข่าน นับตั้งแต่เกิดเหตุทางมหาวิทยาลัยได้เพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยมากมายรวมทั้ง เพิ่มกล้องวงจรปิด, จากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยมากขึ้น และเพิ่มความสูงของกำแพงมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังอนุญาตให้อาจารย์ที่มีใบอนญาต พกปืนมาสอนหนังสือได้ด้วย แต่ต้องไม่เปิดเผยให้ใครเห็นในห้องเรียน      ส่วนบรรยากาศการเปิดการเรียนการสอนวันแรกของมหาวิทยาลัยบาชา ข่าน นักศึกษาหลายคนเดินทางมาเรียนพร้อมกับพ่อแม่และญาติพี่น้อง อย่างไรกก็ตาม ผู้ปกครองหลายคนยังไม่ยอมให้ลูกหลานเดินทางมาเรียนด้วยเกรงว่าจะเกิดเหตุร้ายขึ้นอีก เนื่องจากกลุ่มตาลีบันประกาศไว้ว่าจะโจมตีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอีก ———————————————- ที่มา :…

คาดปี 59 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ต -การขู่กรรโชกมากขึ้น

Loading

     กรุงเทพฯ 12 ก.พ. เทรนด์ไมโครคาดปี 59 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ต -การขู่กรรโชกออนไลน์-การแฮ็กระบบหวังผลการเมืองจะเพิ่มสูงขึ้น นี้แนวโน้มแฮ๊กเกอร์ขยันเขียนไวรัสพร้อมปรับตัวพัฒนาเทคนิกโจมตีที่ซับซ้อน      นายคงศักดิ์  ก่อตระกูล ผู้จัดการอาวุโสด้านเทคนิค บริษัทเทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) กล่าวว่า  ปี 2559 จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ตโดยมัลแวร์ที่แฝงอยู่ในรูปโฆษณาและการขู่กรรโชกออนไลน์จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้แฮกเกอร์ที่มีจุดประสงค์ทางการเมืองจะใช้วิธีการซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จุดประสงค์จริงของแฮ๊กเกอร์ที่หวังผลทางการเมือง ไม่ได้ต้องการแค่การเปลี่ยนหน้าเว็บไซต์แต่เป็นการขโมยข้อมูลภายในระบบ  แฮ็กเกอร์จะมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware) ที่เข้ามาฝังตัวเพื่อขู่กรรโชกจะเพิ่มขึ้น แม้จะมีการรับมือด้วยการออกกฎหมายและลงทุนระบบแต่ยังคงท้าทายแฮ๊กเกอร์ให้โจมตีโดยเทคนิควิธีที่พิเศษมากขึ้น      “แนวโน้มภัยคุกคามในปีนี้คือ การโจมตีผ่านช่องทางออนไลน์ที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อข้อมูลและการทำธุรกรรมขึ้นสู่ออนไลน์มากขึ้นเท่าใดการโจมตีจะเพิ่มสูงมากขึ้นตามไปด้วย ยิ่งมี 4G การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตก็เพิ่มขึ้น  อุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะพบช่องโหว่มากขึ้น , ไวรัสบนมือถือจะโตเร็วขึ้นถึง 20 ล้านตัว เนื่องจากจำนวนผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีจำนวนมาก แฮ็กเกอร์จึงขยันเขียนไวรัสบนมือถือ ,การชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นเป้าหมายการโจมตีมากขึ้นเพราะการทำธุรกรรมบนมือถือได้รับความนิยมมากขึ้น การแฮ๊กเมือถือได้ย่อมจะได้ข้อมูลทางการเงินไปมากขึ้น , ตำแหน่งงานใหม่เพื่อภัยคุกคามนอกจากผู้บริหารทางไอที โดยตำแหน่งที่มีหน้าที่ปกป้องและป้องกันข้อมูลของบริษัทจะเป็นตำแหน่งงานที่องค์กรทั้งหลายตั้งขึ้น โดยหน้าที่ขอตำแหน่งดังกล่าวคือการกำหนดชั้นการเข้าถึงข้อมูลขององค์กรในระดับต่างๆ ,ไวรัสที่แฝงมากับโฆษณาทำให้การขายโฆษณาออนไลน์ทำได้ยากขึ้น , การออกกฎหมายควบคุมอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ทั่วโลกจะมีความครอบคลุมขึ้นเพื่อให้เอาผิดได้มากขึ้น” นายคงศักดิ์ กล่าว…

ดึงหน่วยงานรัฐรับมือป้องกันภัยไซเบอร์ 252 หน่วยงาน

Loading

     กรุงเทพฯ 11 ก.พ. เผยไทยติดอันดับเสี่ยงภายคุกคามไซเบอร์อันดับที่ 25 เสี่ยงอันดับ 2 ในอาเซียน รัฐบาลเร่งดึงหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมรับมือป้องกันภัยไซเบอร์ครบ 252 หน่วยงาน คาดใช้เวลาปีครึ่ง      นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวเปิดโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ให้หน่วยงานสำคัญของประเทศว่า คณะกรรมการเตรียมการสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล (กรรมการดีอี) ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความมั่นคงทางไซเบอร์กับระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ ในอนาคตภาครัฐต้องปรับเข้าสู่การบริหารและการบริการด้วยดิจิทัลตามแผนแม่บทที่จะเกิดขึ้น ส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนการทำงานของหน่วยงานรัฐบาลในส่วนนี้ความมั่นคงปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องสร้างความเชื่อมั่นในระบบ      นายอุตตม กล่าวอีกว่า จากสถิติของศูนย์ประสานการรักษความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ หรือไทยเซิร์ต ในปี  2015 ต้องจัดการกับภัยคุกคามรวม  4,300  กรณี ในจำนวนนี้เป็นภัยคุกคามที่ไม่พึงประสงค์1500 กรณี หรือร้อยละ 35 รองลงมาคือภัยจากการหลอกลวง 1100 กรณี  ประเทศไทยถูกจัดอันดับความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ในลำดับที่ 25 ของโลก และอันดับที่ 2 ในอาเซียน ซึ่งไม่ใช่สถิติที่ดี เพื่อป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันให้หน่วยงานภาครัฐจึงมีโครงการในการดูแลภัยคุกคามไซเบอร์ให้กับหน่วยงานภาครัฐ โดยมีหน่วยงานภาครัฐเข้าร่วมแล้ว 40 หน่วยงาน คาดว่าจะมีหน่วยงานเข้าร่วมในปีนี้อีก…

ตำรวจเกาหลีใต้ใช้ ‘บิ๊กดาต้า’ ทำนายอาชญากรรม

Loading

     การทำนายทายทักเป็นอาชีพของ “หมอดู” ที่ใช้การศึกษาสถิติเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีตที่สั่งสมมาเป็นเวลานาน จนกลายเป็นเรื่องที่เชื่อถือได้เพียงพอที่จะคาดการณ์อนาคตว่าด้วยมีเหตุปัจจัยเช่นนี้จะเกิดอะไรขึ้นในอนาคตข้างหน้า เป็นที่มาของคำว่า “โหราศาสตร์”      ด้วยเหตุนี้เองหลักสถิติจึงเป็นเรื่องที่นำมาอ้างอิงได้เพราะรวบรวมมาจากสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงเวลาหนึ่งๆ สถิตินั้นต้องอ้างอิง “ข้อมูล” ที่มีการเก็บสะสม เรียบเรียง และจัดหมวดหมู่ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ยิ่งมีข้อมูลจำนวนมากเท่าไหร่ การวิเคราะห์ก็จะยิ่งเพิ่มความแม่นยำมากขึ้นตามไปด้วย การพยากรณ์นั้นไม่จำกัดเฉพาะเรื่องโหราศาสตร์ แต่ยังสามารถใช้กับการพยากรณ์สภาพอากาศ สภาพการจราจร และผลการเลือกตั้ง จนถึงเหตุอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอีกด้วย เช่นที่เกาหลีใต้ ซึ่งตำรวจเพิ่งเปิดโครงการ “บิ๊กดาต้า โปรแกรม” ที่เป็นศูนย์กลางการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์เกี่ยวกับอาชญากรรมที่เกิดขึ้นมาแล้ว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการพยากรณ์เหตุอาชญากรรมที่จะเกิดขึ้นในห้วงเวลาข้างหน้า      เดินตามรอยผู้เขียนบทภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดเรื่อง “ไมนอริตี้ รีพอรฺ์ท” ที่มีทอม ครูส เป็นพระเอก แต่จะแตกต่างกันตรงที่ว่าในบทภาพยนตร์นั้นมีการอ้างอิงคำทำนายจากความฝันของเทพพยากรณ์ 3 คน ที่จะมี “นิมิต” ถึงเหตุอาชญากรรมในอนาคต และเมื่อหน่วยตำรวจพิเศษถอดรหัสออกมาเป็นภาพก็จะบุกไปยังที่เกิดเหตุก่อนที่อาชญากรรมนั้นจะเกิดขึ้น และจับกุมตัวว่าที่ผู้ก่อเหตุก่อนที่จะลงมือก่อเหตุร้าย      ขณะที่โครงการของตำรวจเกาหลีใต้นั้นอ้างอิงเทคโนโลยีการวิเคราะห์ข้อมูลบิ๊กดาต้า ที่มีความน่าเชื่อถือในเชิงสถิติมากกว่าการใช้นิมิตของเทพพยากรณ์ในภาพยนตร์ โดยโครงการนี้ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาพร้อมเงินลงทุน 5,200 ล้านวอน (ประมาณ…

คนร้ายโจมตีอาคารสำนักพิมพ์ 2 ฉบับในตุรกี ไม่มีผู้บาดเจ็บ

Loading

     กลุ่มคนร้าย 2 กลุ่ม ยิงและปาระเบิดเพลิงใส่อาคารสำนักงานใหญ่ของหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 2 ฉบับเมื่อประมาณ 05.30 น./12 ก.พ.59 ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ      ตำรวจตุรกีสามารถควบคุมเพลิงไหม้ได้ทันที และได้ข้อมูลคนร้ายจากกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่ติดตั้งในบริเวณนั้น ————————————- ที่มา : TURKEY PRESS | 12 กุมภาพันธ์ 2559

สนามบินกระบี่ไฟดับ! ตม.ง่อย-จุดเทียน ปล่อยต่างชาติเข้าเมือง 2 พันคน

Loading

     ตม.สนามบินกระบี่ทำงานไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้า ต้องปล่อยผู้โดยสาร2พันคนผ่านไปโดยไม่ได้ตรวจ ครวญต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเช็กข้อมูล แต่วันนี้ทำได้เพียงจุดเทียนเก็บเอกสาร ฝ่ายสนามบินชี้แจง กฟภ.แจ้งดับไฟซ่อมระบบ และเครื่องปั่นไฟสำรองเสีย      เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 10 ก.พ.59 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองกระบี่ว่า ตั้งแต่เวลา 09.00 น. จนถึง 15.30 น. ที่ผ่านมาภายในท่าอากาศยานกระบี่ อาคาร 1 ไม่มีไฟฟ้าใช้ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเจ้าหน้าที่ประจำด่าน ตม.อย่างมาก เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบผู้โดยสารที่บินตรงจากหลายประเทศประมาณ 2 พันคน ทำได้เพียงจุดเทียนและเจ้าหน้าที่เก็บเอกสารข้อมูลลงในตะกร้า เพราะระบบไม่มีไฟฟ้าใช้ ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าเครื่องสำรองไฟของท่าอากาศยานเสีย ทั้งๆ ที่เป็นท่าอากาศยานนานาชาติ จึงควรที่จะมีความพร้อมมากกว่าที่เป็นอยู่      เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองกระบี่ เปิดเผยอีกว่า การทำงานของด่านตรวจคนเข้าเมืองนั้น ต้องใช้ระบบอินเทอร์เน็ตในการตรวจเช็กข้อมูลทั้งด้านอาชญากรรมและประวัติบุคคลที่เป็นต่างชาติ วันนี้ มีเครื่องจากกลุ่มสแกนดิเนเวีย 3 ลำ จีน 4 ลำ มาเลเซีย 4…