9 แนวโน้มนวัตกรรมยุคใหม่แห่งปี 2023(3)

Loading

  เปรียบเทียบกับตอนอื่นนี่น่าจะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หลายคนเพิ่งตระหนักความน่ากลัว ความก้าวล้ำของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ควอนตัมคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ สู่นวัตกรรมที่อาจพลิกโฉมมนุษยชาติไปตลอดกาล   เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของแนวโน้มนวัตกรรมแห่งปี 2023 ที่ขาดไปไม่ได้ย่อมต้องเป็นเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของปัญญาประดิษฐ์ที่นำไปสู่ข้อถกเถียงขนานใหญ่ในสังคม     7. พัฒนาการจากความขัดแย้งของเซมิคอนดักเตอร์ ท่ามกลางวิกฤติโควิดหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ส่งผลกระทบต่อโลกที่สุดคือ เซมิคอนดักเตอร์ ชิปขนาดจิ๋วที่สร้างผลกระทบแก่อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทุกรูปแบบ และกลายเป็นตัวแปรสำคัญในความขัดแย้งภายใต้เขตปกครองพิเศษไต้หวัน   ช่วงที่ผ่านมาการพัฒนาของชิปและสินค้าอิเล็กทรอนิกส์มากมายหยุดชะงัก จากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์จากบริษัท TSMC เมื่อรวมกับสงครามเทคโนโลยีระหว่าง สหรัฐฯ และ จีน แล้วจึงกลายเป็นความขัดแย้งครั้งใหญ่ ที่นำไปสู่การแตกหักของสองมหาอำนาจ   ล่าสุดจีนเริ่มทุ่มเม็ดเงินกว่า 5 ล้านล้านบาท เพื่อสนับสนุนโรงงานผลิตเซมิคอนดักเตอร์ในประเทศ เช่นเดียวกับสหรัฐฯที่ออกกฎหมาย CHIPS Act ดึงดูดบริษัทผลิตเซมิคอนดักเตอร์จากทั่วโลกเข้ามาตั้งโรงงานในประเทศด้วยงบสนับสนุนกว่า 1.8 ล้านล้านบาท โดยมีเงื่อนไขห้ามตั้งโรงงานผลิตในจีน 10 ปี   แม้ความขัดแย้งจะทำให้การพัฒนาหยุดชะงักไปขั่วคราว แต่เมื่อเม็ดเงินมหาศาลไหลเวียนเซมิคอนดักเตอร์จะได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น การแข่งขันจะผลักดันการพัฒนาให้ถีบตัว เมื่อรวมกับความตื่นตัวในการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลก ในปี 2023 เราอาจมีชิปที่พัฒนาก้าวกระโดดขึ้นมาได้เช่นกัน     8.…

“ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” วิสัยทัศน์ที่เป็นจริงของ “นครปฐม Smart City”

Loading

  เทศบาลนครนครปฐมทำ “ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI” ครั้งแรกในประเทศไทย ยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่เมืองอัจฉริยะ “Smart City”   จากวิสัยทัศน์ที่เป็นยิ่งกว่าความหวังหมู่บ้าน นครปฐม จับมือกับ บิสกิต โซลูชั่น บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้าน AI สัญชาติไทย นำเทคโนโลยี AI มาใช้กับการปกครองส่วนท้องถิ่น นำร่องด้วย ระบบรับฟังเสียงประชาชน AI ตัวช่วยรวบรวมเรื่องราว – แยกแยะ – จัดส่ง ทันที ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงแก้ไข ลดเวลาและขั้นตอนที่ส่งข้อมูลตามสายงาน แบบ Omni-channel ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อัปเดตติดตามสถานะได้เรียลไทม์ ตอบสนองงานบริการประชาชนได้เร็วขึ้น   สร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนทุกพื้นที่ ทุกวัย ประหยัดต้นทุน เวลา และกำลังคน ช่วยยกระดับการบริการประชาชนและต่อยอดวางแผนพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน เป็นโมเดลทางเลือกยกระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ     การยกระดับนครปฐมสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ นครปฐม Smart City ครั้งนี้ การันตีด้วยรางวัล Microsoft Innovation Excellence…

“เอ็ตด้า”เปิดตัวศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์

Loading

  เอ็ตด้า จับมือพาร์ทนอร์ เปิดศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอจีซี ในวันที่ 8 พ.ย. นี้ เป็นแหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทั้งในและต่างประเทศ   นายชัยชนะ มิตรพันธ์  ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า เปิดเผยว่า เอ็ตด้า เตรียมเปิดตัว “ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์” หรือ เอไอจีซี  ในวันที่ 8 พ.ย. นี้ ซึ่งเป็นแหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทั้งในและต่างประเทศ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ไปแล้ว โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ของแผนดังกล่าว คือ  การเตรียมพร้อมให้การประยุกต์ใช้ เอไอ อย่างมีธรรมาภิบาล มีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความรับผิดชอบต่อสังคม   “ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนชีวิตของเราในทุกมิติ ทั้ง การทำงาน การทำธุรกิจ การเรียนการสอน การทำธุรกรรมทางการเงิน…

AI ในอนาคต

Loading

  การปรับตัวของภาคธุรกิจต่อการมาถึงของเอไอเป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้   หากจะมีการปรับหรือเปลี่ยนแปลงการทำงานในภาคธุรกิจไม่ว่าจะเป็นประเทศใด มักจะต้องทำแแบบสอบถาม เพื่อดูแนวโน้มในการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว   อย่างเช่นเมื่อปี 2018 ประเทศญี่ปุ่นทำการสำรวจความพร้อมในด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ขององค์กรธุรกิจโดยทำแบบสอบถามกว่า 20,000 ชุดซึ่งผู้ที่ตอบแบบสอบถามถึงประมาณ 30% เชื่อมั่นว่ายุคของเทคโนโลยีได้มาถึงแล้วและไม่มีทางปฎิเสธได้   ในขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามถึง 90% ระบุว่าองค์กรได้เริ่มใช้งานระบบ AI ไปบ้างแล้ว แต่ที่น่าสนใจก็คือในจำนวนนี้มีผู้ใช้มากถึง 20% ที่ไม่รู้ว่า AI คืออะไรและจะช่วยงานเราได้อย่างไรบ้าง สะท้อนให้เห็นว่าบริษัทหลายๆ แห่งลงทุนในระบบนี้ไปเพียงเพราะกลัวตกยุค กลัวจะดูไม่ทันสมัยเท่านั้น   ก็ไม่น่าแปลกใจอะไรที่ปัจจุบันนี้ หรือ 4 ปีหลังการสำรวจจะพบว่าการใช้งาน AI ในองค์กรธุรกิจหลาย ๆ แห่งประสบปัญหามากมายเพราะจุดเริ่มต้นที่ผิดพลาดและไม่ได้มาจากความต้องการใช้งานจริง ผลสุดท้ายก็กลายเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่าและไม่ต้อบโจทย์ใด ๆ ในองค์กรเลย   ตรงกันข้ามกับบริษัทที่เริ่มต้นโดยมีกลยุทธ์ชัดเจน และให้ความรู้ทีมงานพร้อมนำ AI มาใช้อย่างถูกจุด จะพบว่าประสิทธิภาพในการทำงานถูกยกระดับขึ้นอย่างมหาศาล ลดงานที่ทำซ้ำและตอบสนองความต้องการของลูกค้าไม่เพิ่มขึ้นหลายเท่า   AI อาจเป็นการปฏิวัติวงการธุรกิจและอุตสาหกรรมอีกครั้ง เพราะนับตั้งแต่เทคโนโลยีนี้แพร่หลาย มันได้สร้างแต้มต่อให้กับธุรกิจเกิดใหม่ได้อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน เช่นกรณีของ…

‘เอไอ’ กับการสืบสวนอาชญากรรม เทคโนโลยีเพื่อการไขคดีอย่างแม่นยำ

Loading

  เปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม   กระบวนการสืบสวนคดีความและอาชญากรรมเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน การมองข้ามแม้เพียงรายละเอียดเล็ก ๆ ระหว่างกระบวนการอาจนำไปสู่สมมุติฐานที่ผิดพลาด ทำให้ไม่สามารถคลี่คลายคดีความหรือหาต้นตอและอาชญากรตัวจริงได้   ในภาพยนตร์สืบสวนเราต่างเคยเห็นนักสืบอัจฉริยะมากมาย แต่ในความเป็นจริง เราคงไม่สามารถสืบสวนอาชญากรรมอย่างละเอียดและเฉียบขาดได้ตลอดเวลา ด้วยพลังที่มีขีดจำกัดของมนุษย์ แต่ถ้าหากเรามีผู้ช่วยอย่างเอไอแล้ว สิ่งที่เคยทำไม่ได้อาจกลายเป็นเรื่องง่าย   บทความนี้ผมจะพาทุกคนไปเปิดโลกของเอไอกับการจัดการด้านอาชญากรรม ทำความรู้จักบทบาทต่างๆ ของเอไอในการสืบสวนคดี ตรวจจับ และการป้องกันอาชญากรรม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าในปัจจุบันส่งผลให้เอไอมีความสามารถใกล้เคียงนักสืบมือฉมัง และเป็นผู้ช่วยชั้นเยี่ยมของตำรวจเลยทีเดียวครับ   ในกระบวนการพิสูจน์หลักฐาน เอไอก็ได้เข้าไปมีบทบาทไม่น้อยเลย งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยลีออน ประเทศสเปน ได้ทำการเทรนโมเดลโครงข่ายประสาทเทียม (Neural Network) ในการตรวจจับร่องรอยของอาชญากรในสถานที่เกิดเหตุ   โดยใช้ข้อมูลภาพสถานที่เกิดเหตุจำนวนหลายพันภาพเทรนอัลกอริธึมให้ตรวจจับรูปแบบของร่องรอยและหลักฐานในที่เกิดเหตุ อาทิ รอยเท้า กระสุน อาวุธปืน เป็นต้น รวมถึงยังสามารถตรวจจับรูปแบบร่องรอยที่สื่อถึงอาชญากรคนเดียวกันจากหลาย ๆ คดีได้อีกด้วย   สารคัดหลั่งในจุดเกิดเหตุเป็นอีกหลักฐานน่าเชื่อถือและมีประโยชน์ต่อรูปคดีมาก แต่การตรวจสอบอย่างละเอียดนั้น โดยปกติต้องอาศัยกระบวนการทางนิติเวชที่ต้องใช้เวลายาวนาน รวมถึงยังต้องแยกระหว่างสารคัดหลั่งจากผู้ต้องหากับสารคัดหลั่งของตำรวจที่เข้าไปในจุดเกิดเหตุอีกด้วย   หากเราทำการเทรนเอไอให้เข้ามาทำหน้าที่นี้ โดยใช้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาร่วมสร้างโมเดลที่ประมวลผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำตามหลักการแพทย์ ก็จะช่วยลดเวลาในการทำงานและนำไปสู่การสรุปผลคดีที่ถูกต้องและโปร่งใส…

เอไอทดลองคิดสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพได้ 40,000 ชนิด ภายในเวลาแค่ 6 ชั่วโมง

Loading

  ความสามารถในการวิเคราะห์และคำนวณขั้นสูงของปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence – AI) ทำให้สมองกลสามารถตรวจพบโรคภัยไข้เจ็บชนิดใหม่ ๆ จากฐานข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งคิดค้นสูตรยารักษาโรคที่มีประสิทธิภาพได้หลากหลายชนิด   แต่ข้อเสียของเอไอในทางสุขภาพและการแพทย์ก็มีอยู่ หากมีผู้นำไปใช้ในทางที่ผิด เช่นการคิดค้นสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพ ที่อาจคร่าชีวิตมนุษย์จำนวนมหาศาล   ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และสวิตเซอร์แลนด์ ทดลองเดินเครื่องปัญญาประดิษฐ์ที่มีชื่อว่า MegaSyn ซึ่งถูกออกแบบและฝึกฝนมา ให้มีความถนัดในการค้นหาโมเลกุลพิษที่จะทำลายโปรตีนในร่างกายมนุษย์ โดยแต่เดิมนั้นนักวิจัยใช้เอไอดังกล่าวเพื่อการคิดค้นตัวยาที่มีความปลอดภัย ทว่าในคราวนี้ พวกเขาทำการทดลองเพื่อให้มันค้นหาโมเลกุลพิษร้ายแรงที่สามารถจะนำมาทำเป็นอาวุธเคมี-ชีวภาพได้   ผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Machine Intelligence ระบุว่า เอไอ MegaSyn สามารถคิดค้นสูตรอาวุธเคมี-ชีวภาพที่มีความเป็นไปได้ในการนำไปผลิตจริงมากถึง 40,000 ชนิด ภายในเวลาเพียงแค่ 6 ชั่วโมงเท่านั้น แสดงให้เห็นถึงความน่ากลัวของการใช้เอไอในทางที่ผิด ซึ่งนักวิจัยยุคใหม่ไม่ควรประมาท   รายงานวิจัยข้างต้นระบุว่า “เราใช้เวลานานหลายทศวรรษ พัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเอไอเพื่อปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ให้ดีขึ้น ไม่ใช่ทำให้ย่ำแย่ลง แต่เรากลับไม่เคยตระหนักถึงอันตรายของการใช้เอไอเพื่อวัตถุประสงค์ที่ชั่วร้าย”     ในการทดลองครั้งนี้ เอไอได้รับคำสั่งให้ค้นหาโมเลกุลที่เป็นพิษร้ายแรงคล้ายสารทำลายประสาทวีเอ็กซ์ (VX) โดยนอกจากจะค้นหาสารอินทรีย์ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวทีละชนิดจากฐานข้อมูลแล้ว เอไอยังสามารถทดลองผสมสารหลายชนิดเข้าด้วยกันด้วยการคำนวณ…