อย่าให้ ‘เอไอ’ อยู่เหนือกติกาโลก

Loading

  เมื่อเราอยู่ในยุคที่ เอไอ เฟื่องฟู เราต้องคิดให้ทันว่า สิ่งที่เราเห็นทั่วไป เป็นข้อมูลจริงหรือเปล่า สุดท้ายความจริงแล้วคืออะไร เราอาจต้องเตือนใจไว้ทุกครั้งว่า อย่าเชื่อทุกสิ่งที่เห็นในทันที   “ปัญญาประดิษฐ์” หรือเอไอ กลายเป็นเทคโนโลยีเพียงหนึ่งเดียวในยุคนี้ที่ถูกพูดถึงมากที่สุด ทุกคนเชื่อว่า เอไอ จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงทุกสรรพสิ่งในโลก เสมือนดึงฉาก เอไอ ในหนังฮอลลีวู้ดเมื่อหลายปีที่แล้วออกมาสู่โลกแห่งความเป็นจริง   ความแพร่หลายของการใช้เอไอ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง หลายวงสนทนา เอ่ยอ้างถึง Generative AI ซึ่งเป็น เอไอ ที่ถูกออกแบบให้มีความสามารถ อัจฉริยะถึงขั้นสามารถ “สร้างสิ่งใหม่” จากชุดข้อมูลที่มีอยู่   ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเติบโตของเอไอ มาพร้อมความท้าทาย หากมองว่า เอไอ คือ เทคโนโลยีหนึ่งที่มีทั้งด้านมืดและด้านสว่าง แน่นอนว่า วันนี้เราเริ่มเห็น “ความร้ายกาจ” ของเอไอในด้านมืดมากขึ้น โดยเฉพาะการสร้างคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสม การเพิ่มขึ้นของข่าวปลอม การใช้เอไอปลอมเป็นบุคคลแล้วนำไปสู่กระบวนการหลอกลวง สร้างผลเสียตามมาหาศาล   นั่นเป็นเพราะกติกาของโลกวิ่งไล่ตามการพัฒนาของเอไอไม่ทัน แต่ก็มีหลายองค์กร พยายามหาแนวทางการอยู่ร่วมกับเอไอ ได้แบบมีขอบเขต มีกติกา…

กสทช.ผลักดัน ‘ฑูตไซเบอร์’ ป้องภัยโจมตีออนไลน์สร้างเสถียรภาพข้อมูลรัฐ

Loading

นายพชร นริพทะพันธุ์ ที่ปรึกษาประจำนพ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการ กิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิดเผยในเวทีสัมมนางาน Next Step Thailand 2024: Tech & Sustain ก้าวต่อไปของนวัตกรรมและความยั่งยืน ณ ห้องพญาไท 3-4 ชั้น 6 โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท กรุงเทพฯ ว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีช่องว่างของ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทั้งทางด้านเทคโนโลยี และบุคคลากร ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต

รัฐบาลอินเดียสั่ง โมเดล AI ที่ยังอยู่ระหว่างทดสอบ ต้องขออนุญาตจากรัฐบาลก่อนให้บริการ

Loading

กระทรวงไอทีของประเทศอินเดีย ออกประกาศเกี่ยวกับการใช้งาน AI ภายในประเทศอินเดีย มีประเด็นสำคัญคือ AI ที่ยังไม่เสถียร ยังอยู่ระหว่างการทดสอบ จำเป็นต้องแปะป้ายแจ้งเตือนผู้ใช้งาน และต้องขออนุญาตจากรัฐบาลอินเดียก่อนให้บริการต่อสาธารณะ

นับถอยหลัง 2 ปี ‘Deepfakes’ ป่วนโลกธุรกิจหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “การ์ทเนอร์” คาดการณ์ “Deepfakes” ที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ เป็นผู้สร้างขึ้นจะทำให้อีกสองปีการใช้โซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนแบบเดิม ๆ ไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป   Keypoints : •  Deepfakes ทำลายระบบการพิสูจน์ตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์ •  การโจมตีแบบ Deepfakes ที่สร้างโดยเอไอทำให้โซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไป •  การปลอมแปลงข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพเป็นการโจมตีที่พบบ่อยที่สุด การ์ทเนอร์ คาดการณ์ว่าในปี 2569 การโจมตีแบบ Deepfakes ที่สร้างโดยปัญญาประดิษฐ์กับเทคโนโลยีระบุตัวตนบนใบหน้าหรือ Face Biometrics เป็นเหตุให้องค์กรประมาณ 30% มองว่าโซลูชันการยืนยันและพิสูจน์ตัวตนจะไม่น่าเชื่อถืออีกต่อไปหากนำมาใช้แบบเอกเทศ   อากิฟ ข่าน รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีจุดเปลี่ยนสำคัญด้านเอไอเกิดขึ้นหลายประการ ซึ่งนั่นทำให้เกิดการสร้างภาพสังเคราะห์ขึ้นได้   ภาพใบหน้าคนจริง ๆ ที่สร้างขึ้นปลอม ๆ เหล่านี้ หรือที่เรียกว่า “Deepfakes” นั้น เปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถนำมาใช้เพื่อทำลายระบบการพิสูจน์ทราบตัวตนด้วยไบโอเมตริกซ์หรือทำให้ระบบใช้การได้อย่างไม่มีประสิทธิภาพ   ผลที่ตามมาก็คือ องค์กรต่างๆ…

ประเทศสมาชิกอียูไฟเขียว กฎหมายควบคุมเอไอฉบับสำคัญ

Loading

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (2 ก.พ.67) ประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป (อียู) อนุมัติกฎระเบียบสำคัญ เกี่ยวกับการควบคุมปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ภายหลังการเจรจาขั้นสุดท้ายที่เป็นไปอย่างยากลำบาก ในประเด็นกฎหมายควบคุมเอไอชุดแรกของโลก

คนไม่ไหว AI ต้องช่วย! ระวังปี 67 ภัยไซเบอร์ล้นมือ (Cyber Weekend)

Loading

  ชัดเจนแล้วว่าแนวโน้มหลักในวงการไซเบอร์ซิเคียวริตีปี 2567 จะต่อยอดจากปี 2566 ทั้งภาวะภัยออนไลน์ที่ส่อแววล้นทะลักยิ่งขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจจัดการได้เอง และการยกทัพปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยเสริมแกร่งกระบวนการต้านโจรไฮเทค   สถานการณ์แบบนี้ทำให้หลายบริษัทหนักใจกับระบบไซเบอร์ซิเคียวริตีของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัทที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้งานคนละยี่ห้อหรือมีการแยกกันทำงานเป็นชิ้นเพราะเมื่อทำงานร่วมกันไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทำงานอัตโนมัติก็เกิดไม่ได้จึงต้องมีการเพิ่มพนักงานเข้ามาดูแล และสุดท้ายทำให้ไม่สามารถพาตัวเองให้รองรับภัยมหาศาลในปีถัด ๆ ไป แถมยังอาจทำให้เสียต้นทุนโดยใช่เหตุ   ความเสียหายนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะผลวิจัยบอกว่าเวลาที่ถูกโจมตี บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 21 วันในการตรวจสอบพบเจอ แปลว่ากว่าจะได้เริ่มดำเนินการอุดช่องโหว่แฮ็กเกอร์สามารถนำข้อมูลไปทำสิ่งร้ายได้นานหลายสัปดาห์แล้ว ความท้าทายเหล่านี้ทำให้คำว่าการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) หรือที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า SecOps นั้นมีความสำคัญมากขึ้น โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า 52% ของบริษัททั่วโลกนั้นมอง SecOps เป็นงานมีความยุ่งยาก และบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่มี   ***ภัยล้นคนไม่ไหว   รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวถึงผลสำรวจใหม่ที่จัดทำร่วมกับ IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of…