ChatGPT ความเสี่ยงจาก การสร้างเนื้อหาที่ผิดพลาด

Loading

    ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม   ChatGPT เป็นตัวอย่างหนึ่งของ Generative AI ที่สามารถสร้างเนื้อหาได้เองกำลังเริ่มมีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ทั้งนำมาเขียนจดหมาย รายงาน บทความ หรือช่วยระดมความคิดเห็นต่างๆ รวมไปจนถึงนำไปเขียนโค้ดในการพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเราจะเห็นความน่าทึ่งจากความสามารถของ ChatGPT ในการสร้างข้อมูล   แต่ในขณะเดียวกัน เราก็ยังพบว่า ChatGPT อาจจินตนาการและสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องมาได้ด้วย จนเริ่มมีคำถามว่าเราควรจะอนุญาตให้มีการใช้ ChatGPT ในงานด้านต่างๆ เพียงใด และหากมีการนำมาใช้งานจำเป็นจะต้องระบุด้วยหรือไม่ว่าเนื้อหาถูกสร้างจาก ChatGPT   เหตุผลหลักที่ทำให้ ChatGPT สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องได้นั้น เกิดจากการที่ ChatGPT ได้รับการเรียนรู้มาด้วยข้อมูลจำนวนมหาศาลจากเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต ที่อาจประกอบไปด้วยข้อมูลทั้งที่ถูกต้อง และที่ไม่ถูกต้อง ซึ่ง ChatGPT ไม่สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้ ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่มันจะสร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องออกมาในบางครั้งจากคลังความรู้ที่ผิดๆ บางส่วน   นอกจากนี้ ChatGPT ถูกฝึกอบรมมาจากข้อมูลถึงเมื่อเดือนกันยายน…

สหราชอาณาจักรเสนอ ควรมีการออก “ใบอนุญาตผู้พัฒนาเอไอ”

Loading

    พรรคฝ่ายค้านสหราชอาณาจักรเสนอ ควรมีการออก “ใบอนุญาต” สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ ใครไม่มีจะพัฒนาเอไอไม่ได้   พรรคแรงงานแห่งสหราชอาณาจักรซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน เสนอว่า รัฐบาลสหราชอาณาจักรควรกำหนดให้มีการออก “ใบอนุญาต” สำหรับองค์กรหรือบริษัทที่ต้องการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) และห้ามไม่ให้นักพัฒนาเทคโนโลยีทำงานเกี่ยวกับเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง เว้นแต่จะมีใบอนุญาต   ลูซี พาวเวลล์ โฆษกฝ่ายดิจิทัลของพรรคแรงงาน บอกว่า ควรมีการออกกฎที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับบริษัทที่ฝึกอบรมและพัฒนาปัญญาประดิษฐ์บนชุดข้อมูลขนาดใหญ่ เหมือนที่ OpenAI ใช้สร้างแชตบอต ChatGPT     ความคิดเห็นของเธอเกิดขึ้นท่ามกลางความสนใจเกี่ยวกับเอไอที่เพิ่มขึ้นของเจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูง เกี่ยวกับวิธีการควบคุมโลกที่กำลังเดินหน้าไปอย่างรวดเร็วของ โดยก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร ริชี ซูนัก ยอมรับว่า เอไออาจเป็นภัยคุกคามต่อมนุษยชาติ   แมตต์ คลิฟฟอร์ด ประธานสำนักงานเพื่อการวิจัยและการประดิษฐ์ (ARIA) หนึ่งในที่ปรึกษาของรัฐบาลเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ยังกล่าวเมื่อวานนี้ (5 มิ.ย.) ว่า มนุษยชาติอาจมีเวลาเพียง 2 ปีก่อนที่เอไอจะเอาชนะและมีสติปัญญาเหนือกว่ามนุษย์ได้   เขาบอกว่า เอไอกำลังพัฒนาเร็วกว่าที่คนส่วนใหญ่รับรู้ โดยมันสามารถถูกใช้เพื่อปล่อยอาวุธชีวภาพหรือการโจมตีทางไซเบอร์ขนาดใหญ่ได้ และเสริมว่ามนุษย์อาจถูกแซงหน้าอย่างรวดเร็วด้วยเทคโนโลยีที่พวกเขาสร้างขึ้น   คลิฟฟอร์ดกล่าวว่า “เป็นเรื่องจริงที่ถ้าเราพยายามสร้างปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาดกว่ามนุษย์และเราไม่รู้วิธีควบคุมมัน…

K-pop Deepfake การคุกคามทางเพศไอดอลเกาหลี อาชญากรรมไซเบอร์ที่ใช้ AI เป็นเครื่องมือ

Loading

    ปัจจุบันการคุกคามไอดอลรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการรุกล้ำความเป็นส่วนตัวนอกเหนือเวลางาน ตั้งแต่ไปรับ–ส่งศิลปินถึงสนามบิน จงใจซื้อตั๋วไฟล์ตบินเดียวกัน สะกดรอยตาม ไปจนถึงดักรอศิลปินที่หอพักของพวกเขา หรือแม้แต่การถ่ายรูปไอดอลในเชิงลามก เช่น การพยายามถ่ายใต้กระโปรง หรือการซูมเน้นเฉพาะส่วนบนเรือนร่างของศิลปิน แล้วนำมาเผยแพร่ทางโซเชียลมีเดีย ซึ่งในยุคที่เทคโนโลยีพัฒนาก้าวหน้าขึ้น การเคารพสิทธิส่วนบุคคลกลับถอยหลังลงอย่างไม่น่าเชื่อ และ ‘AI กลายเป็นเครื่องมือในการคุกคาม’   สนองตัณหาทางเพศด้วยการชมหนังโป๊ปลอมของไอดอลคนโปรด   K-pop Deepfake กลายเป็นสื่อโป๊ที่เข้าถึงได้อย่างง่ายดาย หากค้นหาคำว่า ‘Kpop Deepfake’ ใน Google จะพบผลการค้นหาประมาณ 6.87 ล้านรายการ (ข้อมูลวันที่ 5 มิถุนายน 2023) มีทั้งเว็บไซต์ที่สร้างขึ้นเพื่อ K-pop Deepfake โดยเฉพาะ และเว็บไซต์ Porn อื่นๆ มีการจำแนก K-pop Deepfake เป็นหนึ่งในประเภทคอนเทนต์ลามก รวมถึงมีการจัดหมวดหมู่คลิปโป๊ปลอมของไอดอลหญิงแต่ละคน และจัดอันดับความนิยมในบางเว็บอีกด้วย   ช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา ‘Kpop Deepfake’ ถูกค้นหาอย่างต่อเนื่องใน Google…

ผู้นำจีนเตือน “ความเสี่ยงด้านความมั่นคง” จาก “ปัญญาประดิษฐ์”

Loading

  ประธานาธิบดีจีนขอให้หน่วยงานทุกแห่งที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเพิ่มขึ้น เพื่อควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งถือเป็น “อันตรายต่อความมั่นคง”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. ว่าประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำจีน กล่าวระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการด้านความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา เรียกร้องการยกระดับ “ธรรมาภิบาลด้านความมั่นคง” เกี่ยวกับเครือข่ายด้านความมั่นคงและปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ)   สีกล่าวต่อไปว่า ทุกภาคส่วนต้องเตรียมความพร้อมรับมือกับ “สถานการณ์เลวร้ายที่สุด” และ “ฉากทัศน์ที่รุนแรง” พร้อมทั้งต้านทาน “ทุกปัญหาซึ่งจะถาโถมเข้ามาใส่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม” ขณะเดียวกัน ผู้นำจีนเตือนเกี่ยวกับ “ความซับซ้อนและความรุนแรงของปัญหาด้ายความมั่นคงแห่งชาติ ที่จีนกำลังเผชิญเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”   China’s ruling Communist Party is calling for beefed-up national security measures, highlighting the risks posed by advances in artificial intelligence…

สแกมเมอร์จีนใช้ AI ปลอมเป็นเพื่อน หลอกเงินนับล้าน

Loading

  สแกมเมอร์ในจีนใช้เทคโนโลยี AI ปลอมตัวเป็นเพื่อนนักธุรกิจของชายคนหนึ่งและหลอกยืมเงิน สูญหลายล้านหยวน   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพุธที่ 24 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า สแกมเมอร์ หรือมิจฉาชีพบนโลกออนไลน์ ในประเทศจีน ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) ในการหลอกลวงเหยื่อ จนสูญเงินนับล้านหยวน   สื่อของรัฐในเมืองฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน เผยแพร่ข้อมูลว่า เหยื่อผู้เสียหายรายนี้ ใช้นามว่านายกั๋ว ได้รับวิดีโอคอลเมื่อเดือนที่แล้วจากบุคคลที่ปรากฏภาพและเสียงของเพื่อนสนิท แต่แท้จริงแล้วผู้โทรมาเป็นมิจฉาชีพ ซึ่งใช้เทคโนโลยี AI อัจฉริยะเพื่อเปลี่ยนหน้าและเสียงให้เหมือนกับบุคคลที่เหยื่อรู้จัก เพื่อหลอกล่อขอยืมเงิน   จากนั้นนายกั๋ว ซึ่งหลงเชื่อตามภาพและเสียงในวีดีโอคอล ได้โอนเงินให้เพื่อนตัวปลอมเป็นจำนวน 4.3 ล้านหยวน (ประมาณ 21 ล้านบาท) หลังจากที่มิจฉาชีพอ้างว่าเพื่อนอีกคนต้องการเงินจากบัญชีธนาคารของบริษัทเพื่อจ่ายค้ำประกันการประมูล   มิจฉาชีพทำทีขอหมายเลขบัญชีธนาคารส่วนบุคคลของนายกั๋ว เพื่อหลอกว่าจะโอนเงินคืนให้ จากนั้นก็อ้างว่าได้โอนเงินคืนให้ทั้งหมดแล้ว พร้อมโชว์หลักฐานการโอนผ่านหน้าจอเพื่อยืนยัน   เมื่อมีการแจ้งเตือนจากธนาคารว่ามีเงินเข้าออกจากบัญชีตนเอง นายกั๋วจึงไม่ได้ตรวจสอบอย่างละเอียดและเชื่อใจการกระทำของเพื่อนปลอม   “ในตอนนั้น ผมได้เห็นหน้าและได้ยินเสียงของบุคคลที่วิดีโอคอลหาผมว่าเป็นเพื่อนที่ทำธุรกิจด้วยกันจริง ดังนั้นผมจึงไว้ใจและไม่ได้ตรวจสอบ” สื่ออ้างคำให้การของนายกั๋ว…

เอไอป่วน! ภาพปลอมว่อนเน็ต เหตุเพนตากอนโดนบึ้ม ฉุดตลาดหุ้นมะกันร่วง

Loading

  สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ภาพปลอมที่แสดงให้เห็นการเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่เพนตากอน หรือกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา ตั้งอยู่ในเมืองอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย กลายเป็นไวรัลในโลกออนไลน์เมื่อวันจันทร์ (22 พ.ค.) และยังสร้างความปั่นป่วนให้กับตลาดหุ้นสหรัฐที่ทำการซื้อขายในวันเดียวกันในช่วงสั้น ๆ ด้วย   ภาพปลอมดังกล่าวที่ผู้สังเกตการณ์หลายคนสงสัยว่าน่าจะเป็นภาพที่มาจากการใช้ระบบ Generative AI ซึ่งเป็นเทคโนโลยีแขนงหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสร้างคอนเทนต์ขึ้นเองได้อย่างรวดเร็ว เช่น รูปภาพ และงานศิลปะ ซึ่งภาพปลอมดังกล่าวได้ถูกแชร์อย่างแพร่หลายโดยบัญชีผู้ใช้งานหลายบัญชี ส่งผลให้เพนตากอนต้องออกมาแถลงยืนยันว่าไม่มีเหตุระเบิดเช่นนั้นเกิดขึ้นที่เพนตากอน   “เรายืนยันได้ว่านี่เป็นรายงานเท็จและไม่มีเหตุโจมตีเพนตากอนวันนี้” โฆษกของเพนตากอนระบุ   BREAKING: Explosion near Pentagon pic.twitter.com/q49yTVWhR8 — whalechart (@WhaleChart) May 22, 2023     ด้านกรมดับเพลิงอาร์ลิงตันโพสต์ลงโซเชียลมีเดียยืนยันเช่นกันว่า ไม่มีเหตุระเบิดหรือเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นที่หรือใกล้กับเพนตากอน   ขณะที่ทวีตล่าสุดที่เอเอฟพีพบเกี่ยวกับการแชร์ภาพเพนตากอน มาจากบัญชีของผู้สนับสนุนกลุ่ม QAnon ที่เคยเผยแพร่ข้อมูลอันบิดเบือน แม้จะไม่ทราบแหล่งที่มาต้นทางของภาพปลอมดังกล่าว   ภาพปลอมที่เกิดกับเพนตากอน เป็นเหตุการณ์คล้ายคลึงกับที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ที่มีการเผยแพร่ภาพปลอมต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ รวมถึงภาพปลอมที่แสดงให้เห็นอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ของสหรัฐ ขณะถูกเจ้าหน้าที่จับกุม…