กสทช.-ตร.บุกจับแหล่งส่ง Wi-Fi ชายแดนแม่สายเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์

Loading

    เชียงราย – ตรวจเมื่อไหร่เจอเมื่อนั้น?!..กสทช.พร้อมตำรวจลุยตรวจพื้นที่ต้องสงสัยปล่อยเน็ตจากชายแดนแม่สายเอื้อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ฝั่งเพื่อนบ้าน เจอติดตั้งอุปกรณ์ Wi-Fi ส่งสัญญาณไกลถึง 20 กิโลฯ     วันนี้ (8 มี.ค. 66) เจ้าหน้าที่ กสทช.สำนักงานภาค 3 และสำนักงานเขต 34 ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และ สภ.แม่สาย จ.เชียงราย ได้เข้าตรวจค้นพื้นที่เป้าหมายชายแดนไทย-เมียนมา ด้าน อ.แม่สาย ติดกับ จ.ท่าขี้เหล็ก ประเทศเมียนมา   โดยเจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจค้นสถานที่ต้องสงสัยจำนวน 5 จุด ซึ่งอยู่ติดกับลำน้ำสายภายในตลาดชายแดนทั้งฝั่ง ต.เวียงพางคำ และ ต.แม่สาย อ.แม่สาย เนื่องจากสงสัยว่าจะมีผู้ลักลอบส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไปยังฝั่งประเทศเพื่อนบ้านและเกี่ยวข้องกับขบวนการอาชญากรรม   ผลการตรวจค้นที่ร้านค้าภายในชุมชนสายลมจอยและชุมชนไม้ลุงขน พบร้านที่ลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ส่งอินเทอร์เน็ตไร้สายหรือ Wi-Fi จำนวน 3 แห่ง และตรวจสอบความแรงการส่งสัญญาณแต่ละรายสามารถส่งออกไปได้ไกลถึงประมาณ 20 กิโลเมตร ซึ่งเกินกว่าที่ทาง กสทช.กำหนดเอาไว้    …

“ชัยวุฒิ”เสนอ อาเซียนตั้งองค์กรร่วมมือปราบอาชญากรรมออนไลน์

Loading

  “ดีอีเอส” ร่วมเปิดเวทีประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 เสนอสมาชิกอาเซียน เร่งจัดตั้งหน่วยงานข้ามชาติ เเก้ปัญหา Call Center ลดภัยคุกคามผ่านสื่อออนไลน์   วันนี้ (9 ก.พ.) นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นผู้แทนประเทศไทย เข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิทัลครั้งที่ 3 ณ เกาะโบราไคย์ ประเทศฟิลิปปินส์ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษ วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดีอีเอส และนายตุลย์ ไตรโสรัส เอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา เข้าร่วมประชุมด้วย     นายชัยวุฒิ กล่าวว่า การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัลในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลของกลุ่มประเทศ 10 ประเทศ โดยการนำเทคโนโลยีการสื่อสารไอซีทีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นการนำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ   นอกจากนี้ ประเทศไทย ได้เสนอต่อที่ประชุมอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ให้จัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงาน เพื่อกำกับดูแลและทำความร่วมมือระหว่างกันในการปราบปรามอาชญากรรมออนไลน์ หรือ การหลอกลวงออนไลน์…

บล็อก SMS หลอกลวง แบนคอลเซ็นเตอร์ อีกบทบาทภารกิจร่วมสำนักงาน กสทช.

Loading

  SMS หลอกให้กู้เงิน หลอกให้โอนเงินในบัญชี หลอกว่าได้รับรางวัลและกรอกข้อมูลส่วนบุคคล หรือแม้แต่ปัญหาจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่มีการโทรมาหลอกลวงว่าเป็นหน่วยงานรัฐ เช่น ตำรวจ ศาล และข่มขู่ว่ากระทำความผิด หลอกให้ลงทุนหรือโอนเงิน หรือปลอมเป็นหน่วยงานเอกชน เช่น บริษัทส่งของ เพื่อหลอกว่ามีพัสดุมาส่งต้องชำระเงิน หลอกว่าเป็นธนาคาร เพื่อหลอกว่ามียอดค้างชำระบัตรเครดิตต้องโอนมาชำระด่วน   นี่คือส่วนหนึ่งของมิจฉาชีพที่อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และความสะดวกสบายในการสื่อสารหรือเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน นอกจากหน่วยงานที่มีหน้าที่ปราบปรามจับกุมอย่างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DES) ที่ดำเนินการด้านกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้อง สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมของผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการก็เป็นอีกหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเช่นกัน     คุณจิตสถา ศรีประเสริฐสุข ผู้ช่วยเลขาธิการ กสทช. สายงานกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ปัญหาเรื่อง SMS หลอกลวง หรือ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นรูปแบบปัญหาที่หลายหน่วยงานจำเป็นต้องร่วมมือกันเพื่อหามาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาภายใต้บทบาทและกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ไม่ใช่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งจะแก้ไขปัญหาได้เองเพียงลำพัง ซึ่งบทบาทหลักของสำนักงาน กสทช. คือการสนับสนุนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่และผู้ให้บริการ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โครงข่ายโทรคมนาคมของมิจฉาชีพเพื่อการจับกุม การปิดกั้นการใช้บริการโทรคมนาคมของมิจฉาชีพ เช่น…

เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮ็ก ดูดเงินในบัญชี พร้อมวิธีแก้

Loading

    เช็ค 8 จุด “ชาร์จมือถือ” เสี่ยง โดนแฮก ข้อมูล – ดูดเงินในบัญชี หลังเหยื่อ เงินหาย แค่ชาร์จ โทรศัพท์มือถือ วางไว้เฉย ๆ   กลโกงของมิจฉาชีพ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ต่างปรับรูปแบบใหม่ในการเข้าถึงข้อมูลของเหยื่อ โดยล่าสุด มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือรายหนึ่ง ตกเป็นเหยื่อ เพราะเพียงแค่ชาร์จมือถือวางทิ้งไว้ แต่จู่ ๆ เครื่องดับ เมื่อเปิดโทรศัพท์ขึ้นมาอีกครั้ง กลับมีข้อความจากแอปธนาคารแจ้งว่า มีเงินออกไปจำนวนกว่า 1 แสนบาท ทั้งที่ไม่มีการโทรเข้า-โทรออก และ ไม่มีใครส่งลิงก์ให้ยืนยันข้อมูล   ผู้เสียหาย เล่าว่า ปกติเค้ามีโทรศัพท์ 2 เครื่อง คือ เครื่องแอนดรอยด์ ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้เล่นเกมอย่างเดียว ส่วนเครื่องหลัก คือ ไอโฟน ซึ่งเป็นเครื่องที่ชาร์จโทรศัพท์ทิ้งไว้ แล้วโดนแฮก จนดูดเงินหาย   ณัฐ พยงค์ศรี นักวิชาการด้านคอมพิวเตอร์ชำนาญการ…

วิธีตั้งค่าปฏิเสธรับสายจากต่างประเทศ ป้องกันแก็งคอลเซ็นเตอร์โทรจากต่างประเทศ

Loading

  วิธีตั้งค่าปฏิเสธรับสายจากต่างประเทศ ป้องกันแก็งคอลเซ็นเตอร์โทรจากต่างประเทศ และมิจฉาชีพใช้เบอร์ต่างประเทศมาโทรก่อกวนเรา เบอร์นี้ใช้ได้ทุกเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในไทย วิธีตั้งค่าปฏิเสธรับสายจากต่างประเทศ ป้องกันแก๊งคอลเซ็นเตอร์โทรจากต่างประเทศ   iT24Hrs   หยิบโทรศัพม์มือถือของคุณ แตะที่ปุ่มโทร จากนั้นกดปุ่มดังนี้ *138*1# แล้วกดโทรออก   iT24Hrs   จะได้รับข้อความ SMS ว่าได้บล็อกสายจากต่างประเทศเรียบร้อยแล้ว หากต้องการเปิดอีกครั้งให้กด *138*2# โทรออก เพื่อกลับมาเปิดรับสายจากต่างประเทศปกติ   ทั้งนี้มิจฉาชีพจะใช้เบอร์ต่างประเทศโทรหา ดังนั้น กสทช.จึงได้เปิดตัวเบอร์ดังกล่าว เพื่อให้สามารถทำการปิดเบอร์โทรจากต่างประเทศได้สะดวกขึ้น อย่างไรก็ตามหากมีญาติอยู่ต่างประเทศ โทรผ่านโทรศัพท์ด้วยให้กด *138*2# เพื่อสลับมาเปิดรับสายจากต่างประเทศอีกครั้ง หรือจะให้โทรผ่านทางแอป VOIP ต่าง ๆ ก็ได้       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                     …

กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อ “แก๊งคอลเซ็นเตอร์” แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค

Loading

  กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชน หลังได้รับแจ้งว่ามีบุคคลแอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค ติดต่อแจ้งความกรณีซื้อขายวัคซีนผิดกฎหมาย พร้อมอำนวยความสะดวกแจ้งความออนไลน์ให้ หากไม่สะดวกไปแจ้งความด้วยตนเอง ย้ำอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพ   วันนี้ (28 ธันวาคม 2565) นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า กรมควบคุมโรคได้รับแจ้งจากประชาชนหลายราย ว่ามีบุคคลอ้างตัวว่าเป็นเจ้าหน้าที่กรมควบคุมโรค ติดต่อไปยังเบอร์โทรศัพท์ส่วนตัว   โดยแจ้งว่าพบการกระทำผิดกรณีซื้อขายวัคซีนผิดกฎหมาย ให้ผู้เสียหายเดินทางไปแจ้งความ หากไม่สะดวกผู้แอบอ้างยินดีรับอาสาแจ้งความออนไลน์ให้ โดยมีการอ้างอิงเบอร์โทรกลับหมายเลข 02-590-3000 ซึ่งเป็นเบอร์โทรศัพท์ของกรมควบคุมโรค เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และยังสามารถระบุเลขบัตรประจำตัวของประชาชนที่โทรไปหาได้อย่างถูกต้อง   ย้ำเตือน!..ว่าอย่าหลงเชื่อตกเป็นเหยื่อของกลุ่มมิจฉาชีพเหล่านี้โดยเด็ดขาด ห้ามให้ข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ หรือโอนเงินให้หรือดำเนินการใด ๆ ผ่านระบบอัตโนมัติโดยเด็ดขาด   “กรมควบคุมโรค ไม่มีการดำเนินการใดๆหรือมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกใด ๆ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการโอนเงินทุกชนิด จึงขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อโดยเด็ดขาด ส่วนกรณีเบอร์ติดต่อ 02 590 3000 ซึ่งเป็นเบอร์กรมควบคุมโรคนั้น ถือว่าเป็นรูปแบบใหม่ของมิจฉาชีพที่พยายามสร้างความน่าเชื่อถือ กรมควบคุมโรคจะประสานผู้เชี่ยวชาญหาทางป้องกันต่อไป” นายแพทย์ธเรศกล่าว   นายแพทย์อภิชาต วชิรพันธ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค…