มิจฉาชีพขยันยันวันหยุด! แคสเปอร์สกี้แนะนำวิธีเที่ยว สงกรานต์ปลอดกลโกงออนไลน์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ แนะนำวิธีเที่ยวสงกรานต์สบายใจห่างไกลกลโกง ออนไลน์ ชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ การหลอกลวงออนไลน์มักเกิด ขึ้นถี่มากในช่วงวันหยุดเทศกาล นายเซียง เที่ยง โยว ผู้จัดการหัวไปประจ่าถนิภาคเอเชียตรวันออกเฉียงใด แคสเปอร์สก็ กล่าวถึงกับคุกคามทางไซเบอร์อย่าง การหลอกลวงออนไลน์ที่มักจะเกิดขึ้นถี่มากในช่วงวันหยุดเทศกาล   ทั้งนี้เนื่องจากช่วงวันหยุดสงกรามต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุข ผู้คนมีกิจกรรมมากมายทั้งงานเลี้ยง พบปะ ท่องเที่ยว เดินทาง และเป็นธรรมดาที่ผู้คนจระมัดระวังกับมาตรการความปลอดลอดภัยทางกายภาพมากกว่าการป้องกันทางออนไลน์ นิจฉายัพจึงใช้ ประโยชน์จากจุดนี้ เล่นกลกับความไว้วางใจและหลอกล่อให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและการเงิน มารู้จักกลโกงตัวตึงในประเทศไทย ㆍ ร้านค้าออนไลน์ปลอมล่อหลอกด้วยส่วนลด ร้านคำออมไลน์ของมิจฉาชีพจะเลียนแบบบเว็บไซด์อีคอมเมิร์ซที่ถูกกฎหมาย นำเสนอสินค้าตามเทศกาลในราคาลดพิเศษ เว็บไซต์นี้มักดูเหมือนร้านคำในพื้นพื้นที่ หวังหลอกล่อเงินจากการซื้อสินค้า เหยื่อมักจะเข้าถึงร้านค้าปลอมโดยคลิกลิงกไม โฆษณาหรือปีอปอัป ร้านคำปลอมเหล่านี้มักเปิดให้บริการเพียงช่วงสั้นๆ เพรารมักจะถูกร้านคำจริงที่ถูกกฎหมายแจ้งเตือนเสีย ก่อน ㆍ ของขวัญวันหยุดจากหน่วยงานปลอม มิจฉาชีพแอบอ้างตัวเป็นหน่วยงาน (เช่น หน่วยงานของรัฐ ธนาคาร ไปรษณีย์ กรมศุลกากร) และแจ้งว่าเหยื่อจะได้รับรางวัล จากการจับฉลาก สินค้าลดราคา ที่พักฟรีในโรงแรม หรือสิทธิประโยชน์พิเศษอื่นๆ เพียงแค่เหยื่อช่ารถเงินค่าธรรมเนียมล่าง หน้า มิจฉาชีพจะส่งลังก์ปลอมเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น หมายเลขบัญชีธนาคารแลชรหัสผ่าน…

‘แคสเปอร์สกี้’ แนะ ‘5 เช็คลิสต์’ แก้ปัญหาเมื่อ ‘ข้อมูลรั่วไหล’

Loading

ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ความต้องการซื้อขายในตลาดมืดและพบว่า สิ่งที่ดึงดูดอาชญากรไซเบอร์ส่วนใหญ่ให้เข้าสู่ธุรกิจการขโมยข้อมูลส่วนบุคคล คือต้นทุนการลงทุนต่ำและได้รับผลตอบแทนสูงข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลประจำตัวที่ไม่ได้รับการป้องกันอาจถูกนำไปใช้โดยผู้ไม่หวังดีเพื่อสร้างความเสียหายในวงกว้าง เริ่มจากรหัสผ่านและเอกสารส่วนตัวถูกขโมย ไปจนถึงธุรกรรมทางการเงินที่ผิดกฎหมาย และการขโมยข้อมูลประจำตัวทั้งหมด

ตรวจพบ ‘ภัยคุกคามบนเว็บ’ ในไทยมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน

Loading

    สถิติโดย “แคสเปอร์สกี้” เผยว่า ปี 2024 ประเทศไทยพบภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน อาชญากรไซเบอร์เปลี่ยนแปลงกลวิธีโจมตีเป็นการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น ทั้งยังมุ่งเน้นไปที่เป้าหมายที่มีมูลค่าสูงอย่างเฉพาะเจาะจง     รายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์ประจำปีล่าสุดสำหรับประเทศไทยปี 2024 โดย “แคสเปอร์สกี้” ระบุว่า ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 10 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วพบภัยคุกคามบนเว็บมากกว่า 28,000 รายการต่อวัน       แคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามบนเว็บที่แตกต่างกันที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 10,267,403 รายการ   โดยเฉลี่ยแล้วพบภัยคุกคามจำนวน 28,130 รายการต่อวัน คิดเป็นจำนวนน้อยกว่าปี 2023 ถึง 20.55% ซึ่งแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 12,923,280 รายการ   สรุปโดยรวมแล้วผู้ใช้ในประเทศไทยจำนวน 24.40% ตกเป็นเป้าหมายของภัยคุกคามบนเว็บในปี 2024   แคสเปอร์สกี้พบด้วยว่าในช่วงสามปีที่ผ่านมานั้นตัวเลขภัยคุกคามบนเว็บของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งพบภัยคุกคามเว็บต่อผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 17,295,702 รายการ    …

‘โจรไซเบอร์’ ป่วนอาเซียน ดึง ‘AI’ ล้วงข้อมูลธุรกิจ

Loading

    วันนี้ธุรกิจในอาเซียนยังคงมีความเสี่ยงที่สูง ขณะเดียวกันกลายเป็นเป้าหมายที่บรรดาแฮกเกอร์พยายามเจาะหาข้อมูลประจำตัวอย่างหนักหน่วง แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ระดับโลก เผยว่า สามารถบล็อกการโจมตีแบบ bruteforce ที่พยายามโจมตีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มากกว่า 23 ล้านครั้ง ในช่วงหกเดือนแรกของปี 2567   สำหรับ การโจมตีแบบบรูทฟอร์ซ (bruteforce attack) เป็นวิธีการที่อาชญากรไซเบอร์ใช้ในการคาดเดาข้อมูลการเข้าสู่ระบบ (login info) คีย์การเข้ารหัส (encryption key) หรือค้นหาเว็บเพจที่ซ่อนอยู่   โดยพยายามใช้ชุดอักขระที่เป็นไปได้ทั้งหมดอย่างเป็นระบบจนกว่าจะพบชุดอักขระที่ถูกต้อง การโจมตีแบบบรูทฟอร์ซที่ประสบความสำเร็จ ผู้โจมตีจะได้รับข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่มีค่า สามารถติดตั้งและแพร่กระจายมัลแวร์ และแฮ็กระบบเพื่อดำเนินการที่เป็นอันตรายต่าง ๆ   ‘ไทย’ ถูกโจมตี ‘ติดท็อป 3’   สถิติระบุว่า ตั้งแต่เดือนม.ค.ถึงมิ.ย. 2567 ผลิตภัณฑ์สำหรับองค์กรธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ที่ติดตั้งในบริษัทขนาดต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตรวจพบและบล็อก Bruteforce.Generic.RDP ได้ทั้งหมดจำนวน 23,491,775 รายการ   โปรโตคอล Remote Desktop…

ภัยไซเบอร์ยังน่ากลัว!ชี้ธุรกิจไทยโดนคุกคามทางเว็บ 5,811 รายการต่อวัน

Loading

    “แคสเปอร์สกี้” ชี้ธุรกิจไทยโดนภัยคุกคามทางเว็บเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน! เอเชียตะวันออกเฉียงใต้มากกว่า 1.4 แสนต่อวัน   นายเซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ธุรกิจต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ (web threat) หรือภัยคุกคามที่เกิดจากอินเทอร์เน็ต (internet-born threat) เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเศรษฐกิจดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นทั้งศูนย์กลางการเติบโตและเป้าหมายของอาชญากรไซเบอร์   โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2024 โซลูชันความปลอดภัยสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามทางเว็บในภูมิภาคมากกว่า 26 ล้านรายการ โดยเฉลี่ยแล้วนับเป็นความพยายามโจมตีทางเว็บ 146,944 รายการต่อวัน ประเทศไทยพบความพยายามโจมตีทางเว็บทั้งหมด 1,057,732 รายการ คิดเป็นจำนวนเฉลี่ย 5,811 รายการต่อวัน   ภัยคุกคามทางเว็บหรือภัยคุกคามออนไลน์เป็นความเสี่ยงด้านความปลอดภัยไซเบอร์ที่อาจทำให้เกิดเหตุการณ์หรือการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ผ่านอินเทอร์เน็ต ภัยคุกคามทางเว็บเกิดจากช่องโหว่ของผู้ใช้ ผู้พัฒนา ผู้ดำเนินการบริการเว็บ รวมถึงตัวบริการเว็บเอง ไม่ว่าจะมีเจตนาหรือสาเหตุใด ภัยคุกคามทางเว็บอาจสร้างความเสียหายให้กับทั้งบุคคลและองค์กร     บริษัทและองค์กรธุรกิจในมาเลเซียอยู่ในอันดับสูงสุดในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เผชิญกับภัยคุกคามทางเว็บ 19,615,255 รายการ…

‘Phishing’ ระบาดในอาเซียน ‘ไทย’ หนักสุด

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ระบุว่า ช่วงครึ่งปีแรก (มกราคม – มิถุนายน 2024) เทคโนโลยีต่อต้านฟิชชิง (anti-phishing) ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบการโจมตีด้วยฟิชชิงการเงินจำนวน 336,294 ครั้งที่พยายามโจมตีองค์กรและธุรกิจต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   เอเดรียน เฮีย กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ เผยว่า อาชญากรใช้วิธีแอบอ้างเป็นแบรนด์อีคอมเมิร์ซ ธนาคารและการชำระเงิน มีเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลประจำตัวและข้อมูลละเอียดอ่อนอื่น ๆ   การโจมตีด้วยฟิชชิงทางการเงินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาชญากรไซเบอร์พัฒนาและปรับเปลี่ยนกลวิธีให้ซับซ้อนอย่างต่อเนื่อง จำนวนการโจมตีเพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับหกเดือนแรกของปีที่แล้ว   รับการกระตุ้นจากการนำระบบดิจิทัลมาใช้มากขึ้น รวมถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติโดยผู้ก่อภัยคุกคาม เพื่อสร้างเนื้อหาที่น่าเชื่อถือและกำหนดเป้าหมายการโจมตีได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น   ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้ที่มีแนวโน้มจะตกเป็นเหยื่อนั้นเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เป็นผลมาจากการใช้งานธนาคารออนไลน์และเงินดิจิทัลที่เพิ่มมากขึ้น   ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้ระบุว่า การเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากกิจกรรมฉ้อโกงที่เพิ่มขึ้น ไม่ใช่การที่ผู้ใช้ระมัดระวังน้อยลง อาชญากรทางไซเบอร์เริ่มรุกรานมากขึ้นเพื่อหาข้อมูลและเงินของผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงดีไวซ์ขององค์กรด้วย   ฟิชชิงทางการเงินเป็นการโจมตีรูปแบบหนึ่งของฟิชชิง ซึ่งเป็นการฉ้อโกงโจมตีธนาคาร ระบบการชำระเงินและร้านค้าดิจิทัล เป็นวิธีการที่ผู้โจมตีหลอกล่อเหยื่อให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลที่มีค่า   เช่น ข้อมูลรับรองเพื่อเข้าสู่ระบบบัญชีทางการเงิน รวมถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลองค์กรอื่นๆ ที่จัดเก็บไว้ในบัญชี…