สุดเสี่ยง!!! เอเชียแปซิฟิก’ พื้นที่เป้าหมายภัยคุกคามออนไลน์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) ของไตรมาสที่สองของปี 2023 ขณะที่ ‘เอเชียแปซิฟิก’ ยังเป็นพื้นที่ ถูกคุกคามจากภัยออนไลน์ตัวใหม่ ๆ   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานล่าสุดเรื่องรูปแบบแนวโน้มของ APT (Advanced Persistent Threats) หรือ การโจมตีแบบระบุเป้าหมาย ซึ่งถือเป็นการโจมตีของภัยคุกคามขั้นสูง ของไตรมาสที่สองของปี 2023   นักวิจัยแคสเปอร์สกี้ได้วิเคราะห์ รวมไปถึงการสร้าง มัลแวร์ สายพันธุ์ใหม่ และการใช้เทคนิคใหม่ๆ ของ อาชญากรไซเบอร์ โดยเฉพาะ เรื่องสำคัญคือแคมเปญการโจมตีที่มีความซับซ้อน ชื่อว่า “Operation Triangulation” ที่ดำเนินการใช้แพลตฟอร์มมัลแวร์ iOS มายาวนานโดยไม่มีใครรู้จักมาก่อน   ข้อมูลสำคัญจากรายงาน APT ไตรมาส 2 ได้แก่   •  เอเชียแปซิฟิกเป็นพื้นที่ถูกคุกคามตัวใหม่ “Mysterious Elephant”…

แคสเปอร์สกี้ เปิดข้อมูล ‘ไทย’ รั้งอันดับ 3 ของอาเซียน ‘ฟิชชิง’ ระบาดหนัก

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบ ฟิชชิงในไทยในปี 2565 พบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในไทย   แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดเผยรายงานความปลอดภัยทางไซเบอร์เกี่ยวกับการโจมตีแบบฟิชชิงในประเทศไทยในปี 2565 โดยแคสเปอร์สกี้ตรวจพบและบล็อกอีเมลฟิชชิงเกือบ 6.3 ล้านรายการ ที่กำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้ในประเทศไทย   ในปี 2565 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบความพยายามในการโจมตีด้วยฟิชชิงจำนวน 6,283,745 ครั้ง ในประเทศไทย โดยรวมแล้วแคสเปอร์สกี้ป้องกันผู้ใช้ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) ทั้งหมด 43,445,502 รายการ พบผู้ใช้ในเวียดนาม มาเลเซีย และไทย ตกเป็นเป้าหมายมากที่สุด   สำนักงานตำรวจแห่งชาติรายงานว่าตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 ถึง 30 มิถุนายน 2566 มีการส่งเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ จำนวน 23,616 รายการ บนเว็บไซต์ของสำนักงาน และก่อให้เกิดความเสียหายประมาณ 1.155 หมื่นล้านบาท     นายเอเดรียน…

สะดุ้งทั้งโลก! รัสเซียแฉตรวจพบสหรัฐฯ ปฏิบัติการจารกรรมผ่านการแฮ็กไอโฟน

Loading

  หน่วยงานความมั่นคงรัฐบาลกลางรัสเซีย (FSB) ออกมาเปิดเผยเมื่อวันพฤหัสบดี (1 มิ.ย.) ตรวจพบปฏิบัติการจารกรรมของสหรัฐฯ ที่เข้ายึดไอโฟนหลายพันเครื่อง โดยใช้ซอฟต์แวร์สอดแนมล้ำสมัย   แคสเปอร์สกี แลป ผู้ให้บริการแอนติไวรัสและความมั่นคงทางไซเบอร์ข้ามชาติ สัญชาติรัสเซีย เปิดผยว่าอุปกรณ์มือถือของพนักงานหลายสิบคนถูกเข้าควบคุมในปฏิบัติการดังกล่าว ในขณะที่ FSB เผยแพร่ถ้อยแถลงเสริมว่าอุปกรณ์ของบริษัทแอปเปิล อิงค์ หลายพันชิ้นถูกแพร่เชื้อไวรัส ในนั้นรวมถึงผู้บอกรับสมาชิกภายในรัสเซีย เช่นเดียวกับบรรดานักการทูตต่างชาติในรัสเซียและอดีตสหภาพโซเวียต   “FSB ตรวจพบปฏิบัติการข่าวกรองของหน่วยพิเศษอเมริกา ที่ใช้อุปกรณ์มือถือของแอปเปิล” หน่วยงานความมั่นคงรัฐบาลกลางรัสเซียระบุในถ้อยแถลง   ถ้อยแถลงของ FSB ระบุว่า แผนการดังกล่าวแสดงให้เห็นถึง “การร่วมมือใกล้ชิด” ระหว่างแอปเปิลกับสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (NSA) หน่วยงานสหรัฐฯ ที่รับผิดชอบด้านวิทยาการรหัสลับ ข่าวกรองและความปลอดภัยด้านโทรคมนาคม อย่างไรก็ตามทาง FSB ไม่ได้ให้หลักฐานเกี่ยวกับความร่วมมือของแอปเปิล หรือปฏิบัติการสอดแนมใด ๆ   จากนั้นไม่นาน แอปเปิลเผยแพร่ถ้อยแถลงปฏิเสธคำกล่าวหาดังกล่าว โดยบอกว่า “เราไม่เคยร่วมมือกับรัฐบาลไหน ๆ ในการแทรกซึมผ่านประตูหลังเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ใด ๆ ของแอปเปิล และไม่เคยมีความตั้งใจทำเช่นนั้นด้วย” ในขณะที่ทาง NSA…

เปิดสถิติภัยคุกคามแบบออฟไลน์ ปี 65 พบธุรกิจในอาเซียนถูกโจมตี 50 ล้านครั้ง

Loading

    แคสเปอร์สกี้สกัดเหตุโจมตีธุรกิจในอาเซียนเกือบ 50 ล้านครั้งในปี 2565 เป็นโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งพบโดยตรงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และอุปกรณ์แบบถอดได้ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ พบไทยถูกโจมตีเป็นอันดับ 3   ข้อมูลล่าสุดจากแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก แสดงให้เห็นว่าภัยคุกคามทั่วไป (local threat) ที่จ้องโจมตีธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด 49,042,966 ครั้ง ถูกบล็อกโดยโซลูชันสำหรับธุรกิจของแคสเปอร์สกี้ในปีที่ผ่านมา   ภัยคุกคามประเภทนี้แพร่หลายมากขึ้นโจมตีธุรกิจต่างๆ มากที่สุดในอินโดนีเซีย (19,614,418 ครั้ง) เวียดนาม (17,834,312 ครั้ง) และไทย (5,838,460 ครั้ง) ตามด้วยฟิลิปปินส์ (3,841,548 ครั้ง) และสิงคโปร์ (328,844 ครั้ง)     สถิติเหล่านี้เป็นตัวเลขภัยคุกคามทั่วไป เป็นโปรแกรมที่เป็นอันตรายซึ่งพบโดยตรงในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ และอุปกรณ์แบบถอดได้ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ (แฟลชไดรฟ์ การ์ดหน่วยความจำของกล้อง โทรศัพท์ ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก) รวมถึงโปรแกรมที่เข้าสู่คอมพิวเตอร์ตั้งแต่แรกในรูปแบบที่ไม่ได้เปิดใช้งาน (เช่น โปรแกรมในโปรแกรมติดตั้งที่ซับซ้อน ไฟล์ที่เข้ารหัส เป็นต้น)   แม้ว่าจำนวนภัยคุกคามทั่วไปที่พุ่งเป้าโจมตีธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะสูงกว่าจำนวนการโจมตีทางออนไลน์ที่แคสเปอร์สกี้ตรวจสอบและบล็อกไปในปีที่แล้ว แต่ก็ยังพบว่า…

ธุรกิจในอาเซียนระวัง !! แคสเปอร์สกี้ชี้ ‘โจมตีออนไลน์พุ่ง 45%

Loading

    ปี 2565 ดูจะเป็นปีที่ยุ่งสุดๆ ของเหล่าอาชญากรไซเบอร์ ที่มีเป้าหมายโจมตีบริษัทองค์กรต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) พบการขยายตัวของภัยคุกคามทางเว็บแบบก้าวกระโดดถึง 45%   ภัยคุกคามทางเว็บ หรือภัยคุกคามออนไลน์ หมายถึงความพยายามที่จะดาวน์โหลดอ็อปเจ็กต์อันตรายจากเว็บไซต์ที่ติดเชื้อหรือมีอันตราย ซึ่งจงใจสร้างขึ้นมาโดยยูสเซอร์ที่ประสงค์ร้าย เว็บไซต์ที่ตกอยู่ในอันตรายทั้งหลายประกอบด้วย เว็บไซต์ที่ยูสเซอร์ใส่คอนเท็นท์ลงไปด้วย เช่น ฟอรั่ม และเว็บไซต์ที่มีช่องโหว่ต่างๆ   ภัยคุกคามทางเว็บนั้นเกิดได้เพราะมีช่องโหว่จากทางเอ็นด์ยูสเซอร์ นักพัฒนาเว็บเซอร์วิส ผู้บริหารเว็บเซอร์วิส และตัวเว็บเซอร์วิสเอง ไม่ว่าจะมาจากความจงใจหรือสาเหตุอื่นใด ผลจากภัยคุกคามทางเว็บนั้นก็ส่งผบกระทบอันไม่พึงประสงค์ต่อทั้งตัวบุคคลและองค์กร     ช่วงสูงสุดของโรคระบาดเมื่อปี 2563 นั้น แคสเปอร์สกี้ได้บล็อกการโจมตีผ่านเว็บจำนวน 10,200,817 ครั้งเพื่อไม่ให้กระทบต่อธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาในปี 2564 พบว่า จำนวนการโจมตีเว็บลดลงนิดหน่อยอยู่ที่ 9,180,344 ครั้ง และทะยานเพิ่มขึ้นอีกครั้งในปี 2565 ที่จำนวน 13,381,164 ครั้ง   ในปี 2565 สิงคโปร์มีตัวเลขการเติบโตของภัยคุกคามทางเว็บที่โจมตีธุรกิจในอัตราก้าวกระโดดสูงที่สุด นับแบบ YOY ยอดรวมของจำนวนภัยคุกคามทางเว็บต่อประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นถึงสามเท่า…

แคสเปอร์สกี้ เผยยอดโจมตีไซเบอร์จาก Work from home ในอาเซียน ‘ลดลง’

Loading

    แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก เผยข้อมูลการลดลงของการ bruteforce โจมตีพนักงานที่ทำงานระยะไกลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งแม้จะเป็นเรื่องดีแต่ที่ไม่ถือเป็นสัญญาณที่น่าวางใจ   Remote Desktop Protocol (RDP) เป็นโปรโตคอลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของ Microsoft ซึ่งมีอินเทอร์เฟซแบบกราฟิกให้ผู้ใช้เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นผ่านเครือข่าย RDP ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยทั้งผู้ดูแลระบบและผู้ใช้ที่มีความรู้ด้านเทคนิคน้อยเพื่อควบคุมเซิร์ฟเวอร์และพีซีอื่น ๆ จากระยะไกล     การโจมตี Bruteforce.Generic.RDP ใช้วิธีพยายามค้นหาคู่การล็อกอิน / พาสเวิร์ด ในการเข้าสู่ระบบ RDP ที่ถูกต้องโดยการตรวจสอบพาสเวิร์ดที่เป็นไปได้ทั้งหมดอย่างเป็นระบบ จนกว่าจะพบพาสเวิร์ดที่ถูกต้อง การโจมตีที่ประสบความสำเร็จจะทำให้ผู้โจมตีสามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่เป็นเป้าหมายจากระยะไกลได้   อย่างไรก็ตาม Brute force Attack เป็นการเดา password ทุกความเป็นไปได้ของตัวอักษรในแต่ละหลัก เช่น รหัส ATM มีจำนวน 4 หลัก แต่ละหลักสามารถตั้งค่าตัวเลข 0-9 ดังนั้น โปรแกรมจะทำการไล่ตัวเลขจาก 0000 ไปจนถึง 9999 หมื่นวิธีจนได้ password   เมื่อปี 2022 ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้แสดงให้เห็นว่าโซลูชัน…