แคสเปอร์สกี้แนะ 4 ข้อ เสริมแกร่งไซเบอร์ซิเคียวริตีไทย

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจำเป็นต้องมีจุดยืนที่แข็งขันมากขึ้น แนะ 4 เรื่องในการเสริมความแกร่งซัปพลายเชนไอซีที พบไตรมาส 2 ปีนี้ คนไทย 20% เจอภัยคุกคามผ่านเว็บเกือบ 5 ล้านครั้งบนคอมพิวเตอร์   น.ส.จีนี่ กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ในห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT supply chain) กำลังเพิ่มขึ้น การโจมตีลักษณะนี้เป็นอันตราย เนื่องจากสามารถเกิดช่องโหว่ได้ในทุกเฟส ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการพัฒนา การผลิต การแจกจ่าย การจัดหาและการใช้งาน ไปจนถึงการบำรุงรักษา ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อรัฐบาล องค์กร และสาธารณชน   ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ แคสเปอร์สกี้ตรวจพบภัยคุกคามทางเว็บที่แตกต่างกัน 4,740,347 ครั้งบนคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ในประเทศไทย โดยรวมแล้วมีผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 20.1%…

แคสเปอร์สกี้ ผนึก สกมช.ยกระดับกูรูภัยไซเบอร์ในไทย!!!

Loading

  แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) จับมือกับ NCSA เพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรด้านรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รับการโจมตีที่ซับซ้อนมากขึ้น เหตุการณ์ไซเบอร์ที่ซับซ้อนส่งสัญญาณบอกถึงความท้าทายที่เฉพาะเจาะจงอย่างมากต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ด้วยการโจมตีมักจะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานขององค์กรในหลายๆ ด้าน เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์มีความซับซ้อนมากขึ้น และโซลูชันการรักษาความปลอดภัยต้องการทรัพยากรมากขึ้นในการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนมหาศาลที่รวบรวมไว้ทุกวัน องค์กรจำนวนมากต่างต้องการบริการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงที่สามารถจัดการกับความซับซ้อนที่เพิ่มขึ้นแบบเรียลไทม์ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวัน ด้วยตระหนักถึงประเด็นข้างต้นนี้ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช. หรือ NCSA) ได้ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการด้านเทคนิคในหัวข้อ ‘Building a Safer Future for Thailand’ (การสร้างอนาคตที่ปลอดภัยยิ่งขึ้นสำหรับประเทศไทย) เพื่อสร้างความตระหนักรู้ สร้างคลังความรู้สำหรับบุคลากรผู้ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศ และแบ่งปันวิธีการใช้เทคโนโลยีข้อมูลภัยคุกคามหรือ Threat Intelligence ในการสร้างความสามารถในการป้องกันประเทศ ครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการครั้งแรกของแคสเปอร์สกี้กับ สกมช. นางสาวจีนี่ ซูจีน กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ ได้กล่าวถึงภารกิจของแคสเปอร์สกี้ในการสร้างโลกที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของบริษัทต่ออนาคตที่โปร่งใสและไว้วางใจได้ ทุกคนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีที่สร้างโอกาสไร้ขีดจำกัด และรักษาความปลอดภัยโดยบริษัทอย่างแคสเปอร์สกี้ “ปัจจุบัน ประเทศไทยก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลและโลกาภิวัตน์มากขึ้น…

‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดข้อมูลฟิชชิ่งไทย ‘ร้านค้าออนไลน์’ เป้าหมายหลักหลอกขโมยข้อมูลส่วนตัว (Cyber Weekend)

Loading

เปิดรายงานความพยายามฟิชชิ่งลูกค้าแคสเปอร์สกี้ในไทยครั้งแรก พบร้านค้าออนไลน์ตกเป็นเป้าหมายของฟิชเชอร์มากที่สุด ทั้งในประเทศไทยและอาเซียน เหตุคนไทยใช้โซเชียลมีเดียสูงสุดในภูมิภาค ทำให้กลุ่มแฮกเกอร์จับพฤติกรรมการใช้งานชอปปิ้งออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดีย เป็นเหตุสุ่มส่งลิงก์ร้านค้าปลอมหวังหลอกนำข้อมูลส่วนบุคคลให้มิจฉาชีพ ***ฟิชชิ่งอาเซียนพบอีเมลโจมตีระบบชำระเงินสูงสุด แคสเปอร์สกี้ เปิดเผยรายงานภัยคุกคามที่มาจากการถูกความพยายามฟิชชิ่งของลูกค้าแคสเปอร์สกี้ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ระหว่างเดือน ก.พ.- เม.ย.2565 พบว่าอีเมลอันตรายซึ่งกำหนดเป้าหมายโจมตีไปยังระบบการชำระเงิน (payment system) มากที่สุด 32.11% รองลงมาคือร้านค้าออนไลน์ (e-shop) 10.80% และธนาคาร 5.03% กล่าวสรุปได้ว่า ความพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งทุก 1 ใน 2 ครั้ง หรือคิดเป็น 47.94% เกี่ยวข้องกับการเงิน ในช่วงเดือน ก.พ. – เม.ย.2565 ฟิลิปปินส์ประสบปัญหาฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากที่สุด 68.95% อันดับ 2 สิงคโปร์ 55.67% ตามด้วยไทย 55.63% มาเลเซีย 50.58% อินโดนีเซีย 42.81% และเวียดนาม 36.12% ขณะที่สัดส่วนการโจมตีด้วยฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั่วโลกในช่วงเวลาเดียวกันอยู่ที่ 48.22% ตัวเลขที่น่าสังเกตคือ ขณะที่ฟิชชิ่งโจมตีผ่านระบบการชำระเงินมีสัดส่วนสูงสุดสำหรับทุกประเทศในอาเซียน…

แคสเปอร์สกี้ โชว์สถิติ ‘ฟิชชิ่ง’ ภัยร้ายโจมตีองค์กรธุรกิจ

Loading

  อาชญากรไซเบอร์มักคิดค้นวิธีการใหม่ๆ ในการส่งข้อความสแปมและฟิชชิ่งไปยังทั้งผู้ใช้งานทั่วไปและองค์กรธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางดิจิทัลในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อโจมตีแบบโซเชียลเอนจิเนียริง   แคสเปอร์สกี้ พบว่า การใส่หัวข้อและวลียอดนิยมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมออนไลน์ในข้อความ เช่น การชอปปิง การสตรีมความบันเทิง การระบาดของโควิด-19 ทำให้เพิ่มโอกาสที่ผู้ใช้จะไม่สงสัยและคลิกลิงก์ที่ติดมัลแวร์หรือไฟล์แนบที่เป็นอันตรายขึ้นอย่างมาก   ปีที่ผ่านมาระบบป้องกันฟิชชิ่ง (Anti-Phishing) ของแคสเปอร์สกี้บล็อกลิงก์ฟิชชิ่งลิงก์กว่า 11,260,643 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิชชิ่งลิงก์ส่วนใหญ่ถูกบล็อกบนอุปกรณ์ของผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ส่วนในไทยพบการโจมตีกว่า 1,287,283 รายการ     ระบาดหนัก-แค่จุดเริ่มต้น   เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า อีเมลยังเป็นการสื่อสารรูปแบบหลักสำหรับการทำงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   การพยายามโจมตีด้วยฟิชชิ่งจำนวน 11 ล้านรายการในหนึ่งปี เป็นเพียงส่วนเล็กๆ ของการโจมตีทางไซเบอร์ เมื่อข้อมูลสำคัญทั้งหมดถูกส่งผ่านอีเมล อาชญากรไซเบอร์มองว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่มีประสิทธิภาพและสามารถทำกำไรได้   ดังนั้น องค์กรควรตรวจสอบเทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบองค์รวมและเชิงลึกอย่างรอบคอบ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเซิร์ฟเวอร์อีเมลที่มีความสำคัญมาก   ข้อมูลระบุว่า ในปี 2564 ลิงก์ฟิชชิ่งทั่วโลกจำนวน 253,365,212…

‘เอสเอ็มอี’ ไทยสุดเสี่ยง!! ภัยคุกคามไซเบอร์โจมตีหนัก!!

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ชี้ เครื่องมือโจมตีที่ได้รับความนิยมอีกอย่างหนึ่งที่ใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก คือ การโจมตีทางเน็ต โดยเฉพาะหน้าเว็บเพจที่มีการเปลี่ยนเส้นทางเพื่อใช้ประโยชน์ เว็บไซต์ และโปรแกรมที่เป็นอันตรายอื่นๆ ศูนย์บ็อตเน็ต C&C ฯลฯ จำนวนการโจมตีประเภทนี้เพิ่มขึ้น!!   หากเจ้าของธุรกิจขนาดเล็กต้องเผชิญปัญหาความรับผิดชอบด้านเศรษฐศาสตร์การผลิต รายงานการเงิน และการตลาดทั้งหมดในเวลาเดียวกัน การพิจารณาเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์มักจะดูซับซ้อน และบางครั้งก็ไม่ใช่เรื่องจำเป็น อย่างไรก็ตาม การเพิกเฉยต่อความปลอดภัยด้านไอทีนี้กำลังถูกใช้ประโยชน์โดยอาชญากรไซเบอร์   นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ประเมินการโจมตีธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมระหว่างเดือนมกราคม ถึงเมษายน 2022 และเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 เพื่อระบุภัยคุกคามที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ประกอบการ   ปี 2565 จำนวนการตรวจจับโทรจัน Trojan-PSW (Password Stealing Ware) เพิ่มขึ้นเกือบหนึ่งในสี่เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2021 คือ 4,003,323 ครั้ง เมื่อเทียบกับ 3,029,903 ครั้ง สำหรับประเทศไทย จำนวนการตรวจจับเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกับแนวโน้มของโลก โดยบันทึกการตรวจจับได้ 19,885 รายการ คิดเป็นจำนวนเพิ่มขึ้น 2.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่ตรวจจับได้ 19,428 รายการ…

แคสเปอร์สกี้เตือนระวังทูลร้าย ใช้อีเมลแอดเดรสเชื่อมโยงบัญชี Facebook แนะผู้ใช้เปลี่ยนพาสเวิร์ด

Loading

  นายเดนิส เลเกโซ นักวิจัยอาวุโสด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ทีมวิเคราะห์และวิจัยระดับโลก (GReAT) ของแคสเปอร์สกี้ กล่าวถึงกระแสข่าวเรื่องทูลที่สามารถรวบรวมอีเมลของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กและเชื่อมโยงเข้ากับบัญชี ว่า ทูลนี้ช่วยให้สามารถเชื่อมโยงที่อยู่อีเมลกับบัญชีเฟซบุ๊ก แม้ว่าผู้ใช้หรือกลุ่มบนเฟซบุ๊กจะตั้งค่าเลือก “ไม่แสดงอีเมลแอดเดรส” วิธีการป้อนรายชื่ออีเมลแอดเดรสจำนวนมาก จะสามารถโจมตีบัญชีเฟซบุ๊กแบบ brute-force เพื่อค้นหาว่าอีเมลแอดเดรสใดลงทะเบียนกับชื่อบัญชีใด ฐานข้อมูลเหล่านี้สามารถนำไปใช้เพิ่มเติมเพื่อวัตถุประสงค์ที่ผิดจริยธรรมและผิดกฎหมายต่างๆ เช่น การก่อกวนหรือกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ เนื่องจากบัญชีโซเชียลมีเดียมีข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมาก ด้วยช่องโหว่ส่วนเสริมหน้านี้ ผู้โจมตีสามารถเพิ่มฐานข้อมูลของตนได้ ตัวอย่างเช่น สามารถเพิ่มชื่อเต็มและข้อมูลอีเมลแอดเดรสที่เชื่อมโยงกับบัญชีเฟซบุ๊กเหล่านี้ได้ แคสเปอร์สกี้ขอแนะนำว่า หากผู้ใช้เฟซบุ๊กกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัว ควรลงทะเบียนบัญชีโซเชียลมีเดียกับอีเมลแอดเดรสที่ไม่ได้เชื่อมโยงกับบัญชีอื่น มีบริการเฉพาะที่เปิดใช้งานรูปแบบนี้และจะป้องกันไม่ให้อาชญากรไซเบอร์ใช้ข้อมูลดังกล่าวได้หากมีการรั่วไหล   ———————————————————————————————————————————- ที่มา : TechTalkThai    / วันที่เผยแพร่  26 เม.ย.2564 Link : https://www.techtalkthai.com/guest-post-kaspersky-facebook-email/