Techhub insight พาไปดูการใช้งานอุปกรณ์ IOT ที่ช่วยเก็บข้อมูล แจ้งเตือนน้ำท่วม และฝุ่นมลพิษได้จริง ในพื้นที่จริงป่าต้นน้ำ ที่สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ร่วมกับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย เห็นความสำเร็จของโทรมาตร ระบบติดตามสภาพอากาศอัตโนมัติ จึงได้เริ่มต้นทำโครงการนำร่อง ติดตั้งอุปกรณ์วัดค่าฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่ป่าต้นน้ำเพื่อให้ทราบสถานการณ์และวางแผนจัดการน้ำและอากาศได้ดีขึ้น ข้อมูลหลัก ๆ ที่ได้จากการคำนวนของโทรมาตรคือปริมาณน้ำจากป่าต้นน้ำ ความเร็วของน้ำ ปริมาณน้ำฝน ปริมาณฝุ่น PM 2.5 และค่าอุณหภูมิแบบเรียลไทม์ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่นำไปวางแผนเตือนภัยแจ้งเตือนประชาชนโดยไม่ต้องอาศัยกำลังคนจำนวนมากในการดูแล ปัญญารัตน์ ปัญญาเกียรติสิริ นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการพิเศษ ยอมรับว่า ในช่วงที่ผ่านมามลพิษทางอากาศเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของภาคเหนือ เพราะปัจจัยหลาย ๆ อย่างหมอกควันที่เกิดจากการเผาเพื่อปรับเปลี่ยนพื้นทีทางการเกษตร และความกดอากาศต่ำที่มาจากประเทศทางใกล้เคียง ทำให้ฝุ่นละอองถูกกดอยู่ในพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ทำให้หมอกควัน และฝุ่น PM 2.5 กลายเป็นปัญหาจะสะสมยาวนานมาก สิ่งหนึ่งที่จะช่วยแก้ปัญหาได้คือการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ที่ช่วยจับ PM 2.5 โดยข้อมูลที่ได้จากโทรมาตรจะถูกนำไปใช้ช่วยวางแผนจัดการในพื้นที่ไหน กำหนดช่วงเวลาเผาในโซนชุมชน วางแผนเตือนภัยแจ้งเตือนประชาชนหากปริมาณน้ำฝนที่สูงเกิน…