สหรัฐฯ กังวลเรื่องอะไร เหตุใดจึงจะออกกฎหมายแบน “ติ๊กตอก”

Loading

    แอปพลิเคชันเล่นคลิปวิดีโอ “ติ๊กตอก” (TikTok) ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่เยาวชนคนรุ่นใหม่ทั่วโลก แต่ในช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา แอปพลิเคชันนี้ต้องเผชิญกับกระแสความระแวงสงสัย อันเนื่องมาจากบริษัทแม่ที่เป็นเจ้าของกิจการมีสัญชาติจีน ทำให้เกิดความกังวลต่อประเด็นความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้งาน รวมทั้งสายสัมพันธ์ที่ติ๊กตอกอาจมีกับรัฐบาลจีนด้วย   ขณะนี้บรรดานักการเมืองชาวอเมริกัน กำลังอภิปรายร่างกฎหมาย ที่จะบังคับให้บริษัทแม่ของติ๊กตอกต้องขายกิจการแอปพลิเคชันดังกล่าวให้กับสหรัฐฯ มิฉะนั้นอาจต้องถูกแบนไม่ให้มีการใช้งานในสหรัฐฯ ได้ต่อไป แต่ล่าสุดอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงคัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว แม้จะเคยสนับสนุนให้แบนการใช้งานติ๊กตอกมาก่อนก็ตาม “ติ๊กตอก” ได้รับความนิยมแค่ไหน ติ๊กตอกเป็นแอปพลิเคชันเล่นคลิปวิดีโอขนาดสั้น มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับยูทิวบ์ (YouTube) คือเปิดให้คนทั่วไปสามารถเข้ามาโพสต์หรือลงเผยแพร่คลิปวิดีโอ รวมทั้งแชร์และร่วมแสดงความคิดเห็นต่อคลิปวิดีโอนั้นได้   คลิปวิดีโอขนาดสั้นในติ๊กตอกมีความยาวตั้งแต่ 3 วินาที ไปจนถึง 3 นาที ผู้ใช้งานสามารถตัดต่อคลิปวิดีโอบนติ๊กตอกได้อย่างง่ายดาย โดยใช้งานตัวกรองหรือฟิลเตอร์ รวมทั้งแปะสติ๊กเกอร์ เพิ่มดนตรีประกอบ และใส่เอฟเฟกต์ที่เป็นเทคนิคพิเศษต่าง ๆ ลงไปได้   ในตอนแรกที่ติ๊กตอกเริ่มโด่งดังขึ้นมา แอปพลิเคชันนี้มีชื่อเสียงในฐานะแหล่งรวมคนหนุ่มสาว ที่พากันรวมกลุ่มมาแสดงความสามารถด้านการเต้น บ้างก็ขับร้องหรือไม่ก็ลิปซิงก์ตามบทเพลงที่กำลังฮิต รวมทั้งทำกิจกรรมตามคำท้าทายหรือแชลเลนจ์ต่าง ๆ     นอกจากนี้ ผู้ใช้งานติ๊กตอกที่มีอายุถึงเกณฑ์และอยู่ในภูมิภาคที่ได้รับอนุญาต สามารถจะสตรีมวิดีโอของตนในรูปแบบไลฟ์สดไปยังผู้ติดตามจำนวนมากได้ ซึ่งผู้ชมเหล่านี้สามารถจะสมัครเป็นสมาชิกของช่องติ๊กตอกดังกล่าว…

ศาลสหรัฐยกเลิกคำสั่งของรัฐมอนทานาที่จะห้ามใช้งาน TikTok

Loading

ผู้พิพากษาสหรัฐฯ ขัดขวางคำสั่งห้ามของรัฐมอนทานาในการใช้แอปแชร์วิดีโอสั้น TikTok ที่จะมีผลในวันที่ 1 มกราคม โดยระบุว่าการสั่งห้ามใช้แอปดังกล่าวเป็นการละเมิดสิทธิ์ในการแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีของผู้ใช้ การสั่งห้ามของรัฐ “ละเมิดรัฐธรรมนูญในหลายรูปแบบ” และ “การใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขต”

ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok

Loading

iT24Hrs   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok โดย TikTok กำลังเผชิญกับข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นและการแบน TikTok ในหลายประเทศทั่วโลก   โดยในสหรัฐอเมริกาได้เตรียมคำสั่งห้าม และได้พิจารณาคดีในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้กับ Shou Zi Chew CEO ของ TikTok ทำให้หลายคนพูดถึง TikTok เยอะ เป็นพาดหัวหลายสำนักข่าวทั้งในสหรัฐและทั่วโลก นอกจากนี้ ทั่วทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย หลายประเทศได้บังคับใช้ข้อจำกัดระดับหนึ่งกับแอป TikTok   เนื่องด้วยเหตุผลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ ที่หลายประเทศมองว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ทำให้หน่วยงานรัฐบาลระหว่างประเทศรวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปและNATOได้สั่งห้ามไม่ให้พนักงานใช้ TikTok บนมือถือของบริษัท เช่นเดียวกับรัฐบาลกลางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok   อัฟกานิสถาน กลุ่มตาลีบันห้าม TikTok ในอัฟกานิสถานในเดือนเมษายน 2565 โดยกล่าวว่าเนื้อหาของแพลตฟอร์ม “ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม”…

สำรวจประเทศสั่งแบน “ติ๊กตอก” นิวซีแลนด์รายล่าสุด

Loading

FILE PHOTO: TikTok head office in United States   รัฐบาลสหรัฐฯ เรียกร้องให้บริษัทเจ้าของติ๊กตอก (TikTok) แอปพลิเคชั่นวิดีโอยอดนิยมจากจีน ให้ขายหุ้นของติ๊กตอกทิ้ง หากไม่ต้องการถูกสั่งห้ามใช้ในสหรัฐฯ ตามข้อมูลที่ทางบริษัทกล่าวกับรอยเตอร์ในสัปดาห์นี้   ท่าทีของสหรัฐฯ มีขึ้นหลังมีการออกกฎหมายที่อนุญาตให้ทำเนียบขาวสามารถสั่งห้ามใช้ติ๊กตอกหรือเทคโนโลยีต่างชาติอื่น ๆ ได้ หากมีความเสี่ยงว่าอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงประเทศ ขณะที่ประเทศและหน่วยงานอื่น ๆ กำลังเล็งแบนติ๊กตอกเช่นกัน   ทั้งนี้ ติ๊กตอกเป็นของบริษัทไบต์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก โดยหลายประเทศกังวลว่า บริษัทดังกล่าวใกล้ชิดกับรัฐบาลจีนและเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้ติ๊กตอกไว้ทั่วโลก   รอยเตอร์รวบรวมประเทศและหน่วยงานต่าง ๆ ที่ออกคำสั่งห้ามใช้ติ๊กตอกบางส่วนหรือห้ามใช้โดยเด็ดขาด   นิวซีแลนด์ ประเทศล่าสุดที่เพ่งเล็งติ๊กตอก โดยสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชั่นดังกล่าวในอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายของรัฐสภานิวซีแลนด์ได้ ท่ามกลางความกังวลด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   อังกฤษ เตรียมสั่งแบนติ๊กตอกในโทรศัพท์ราชการทันที และได้ขอให้ศูนย์ความมั่นคงทางไซเบอร์แห่งชาติให้พิจารณาถึงจุดอ่อนของข้อมูลรัฐบาลต่อแอปดังกล่าว และความเสี่ยงที่ข้อมูลอ่อนไหวอาจถูกเข้าถึงและนำไปใช้ได้   อินเดีย สั่งแบนติ๊กตอกและแอฟพลิเคชั่นจีนอื่น ๆ ในอุปกรณ์ทุกอย่างเมื่อเดือนมิถุนายน 2020 โดยอ้างว่า แอปเหล่านี้อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงและบูรณภาพของประเทศ  …

แคนาดาแบน “ติ๊กต๊อก” บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของรัฐ โยงความมั่นคง

Loading

    นับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นไป บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เป็นของรัฐบาลแคนาดา ต้องไม่มีแอปพลิเคชัน “ติ๊กต๊อก”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ว่านายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แถลงเมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการห้ามอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เป็นของรัฐ ติดตั้งแอปพลิเคชันติ๊กต็อก และเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดาวน์โหลดติ๊กต็อกกลับลงสู่อุปกรณ์ของรัฐด้วย โดยให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. นี้   WATCH: The Canadian government is banning the use of the popular short-form video application TikTok on all government-issued mobile devices. Read more: https://t.co/4FAhZJPvAn pic.twitter.com/cAoxaEl40P — Globalnews.ca (@globalnews) February 27,…

หลายรัฐในอเมริกา หันมาแบนแอป ‘TikTok” มากขึ้น

Loading

USA-CONGRESS/TIKTOK   มีอย่างน้อย 22 รัฐในอเมริกาที่ได้ประกาศห้ามใช้แอปพลิเคชันยอดนิยม “ติ๊กตอก” (TikTok) บนอุปกรณ์ของรัฐ หลังจากที่รัฐสภาสหรัฐฯ​ เพิ่งออกกฎแบนแอปดังกล่าวเพราะกังวลเรื่องความปลอดภัย จากรายงานของสำนักข่าวเอพี   รัฐวิสคอนซิน และนอร์ธ แคโรไลนา เป็นสองรัฐล่าสุดที่ออกมาแบน หลังจากที่ก่อนหน้านี้ รัฐมิสซิสซิปปี อินเดียนา หลุยส์เซียนา และเซาธ์ดาโกตา ได้ออกกฎห้ามไปแล้ว   TikTok เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดย ไบท์แดนซ์ (ByteDance) บริษัทสัญชาติจีนที่ย้ายสำนักงานใหญ่ไปตั้งที่ประเทศสิงคโปร์เมื่อสามปีก่อน ไบท์แดนซ์ ได้ตกเป็นเป้าการโจมตีของผู้ที่มองว่า รัฐบาลจีนสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลผู้ใช้ TikTok ของบริษัทได้ เช่น ข้อมูลประวัติการท่องเว็บ (browsing history) และพิกัดของผู้ใช้ ซึ่งทำให้กองทัพสหรัฐฯ ได้ห้ามไม่ให้มีการใช้ TikTok บนอุปกรณ์สื่อสารของกองทัพ   TikTok เป็นสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเป็นอันดับสองของโลก และมีประมาณสองในสามของวัยรุ่นอเมริกันที่ใช้ TikTok อย่างไรก็ตาม มีความกังวลจากผู้แทนรัฐสภาจากพรรคเดโมแครตและพรรครีพับลิกันที่มองว่ารัฐบาลกรุงปักกิ่งอาจจะใช้อำนาจทางกฎหมายยึดเอาฐานข้อมูลของผู้ใช้ชาวอเมริกัน หรือจะพยายามผลักดันข้อมูลที่บิดเบือน หรือเนื้อหาที่มีลักษณะเชียร์จีนให้กับผู้ใช้ TikTok   FILE PHOTO:…