ตั้ง “พาสเวิร์ด” แบบไหน? ช่วยป้องกันภัยไซเบอร์!!

Loading

ทุกวันนี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความรุนแรงมากขึ้น!?! ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “ตัวเรา” หรือ “ผู้ใช้งาน” ที่มีการตั้ง “รหัสผ่าน” หรือ “พาสเวิร์ด” ในการใช้งาน ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจาก “ตัวเรา” หรือ “ผู้ใช้งาน” ที่มีการตั้ง “รหัสผ่าน” หรือ “พาสเวิร์ด” ในการใช้งานบัญชีออนไลน์ และเครื่องมือต่างๆ ไม่ปลอดภัย!! อาจเพราะคนจำนวนไม่น้อยอาจนึกถึง “ความสบาย” เน้นเอา “ความสะดวก” ที่ตัวเราสามารถจดจำได้ง่าย ไม่ได้ให้ความสำคัญ ในการตั้งค่ารหัสผ่านที่มากพอ ก็จะทำให้ เหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ที่ไม่หวังดี สามารถเดารหัสผ่าน ทำการแฮกข้อมูล จนสามารถเข้าถึงข้อมูลในบัญชีต่างๆของเราได้ เรื่อง “รหัสผ่าน” จึงถือเป็นเรื่องพื้นฐานสำคัญ หากเรามีการตั้งรหัสที่รัดกุมยากที่ตะคาดเดา ก็จะทำให้โอกาสเสี่ยง ที่จะทำให้เกิดการบุกรุกบัญชี ลดน้อยลงได้!! วันนี้จึงมีเคล็ดลับ จากทาง “กูเกิล” ในการรักษารหัสผ่านและบัญชีออนไลน์ของเราให้ปลอดภัย มาแนะนำกัน ถือเป็น 10 ข้อปฏิบัติง่ายๆที่เราสามารถทำได้ง่ายๆ   ภาพ pixabay.com โดย 1.ต้องสร้างรหัสผ่านที่ไม่ซ้ำกันและอย่าใช้รหัสผ่านซ้ำๆในการล็อกอินเข้าเว็บไซต์ต่างๆ เนื่องจากการใช้รหัสผ่านซ้ำกัน สำหรับบัญชีที่สำคัญมีความเสี่ยง หากมีคนรู้รหัสผ่านสำหรับบัญชีหนึ่ง ของเรา เขาก็จะสามารถเข้าถึงอีเมล ที่อยู่ หรือแม้แต่เงินในบัญชีของเราได้ด้วย จากรหัสผ่านเดียวกัน  2. เมื่อต้องตั้งรหัสผ่านในการใช้งาน เราควรตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวอย่างน้อย 12 อักขระ หรือตัวอักษร เพราะรหัสผ่านที่ยาวจะมีความรัดกุมกว่า ทำให้คาดเดาได้ยากกว่า 3. เราควรเลือกใช้อักขระประเภทต่างๆ ผสมกัน ซึ่ง รหัสผ่านที่รัดกุมจะต้องประกอบด้วยตัวอักษร ทั้งตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และสัญลักษณ์ อาทิ ฿, *, #, & ซึ่งจะช่วยให้การสุ่มหรือคาดเดาให้ถูกยากยิ่งขึ้น!! 4. เราต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการตั้งรหัสผ่าน บางคน ไม่รู้จะตั้งว่าอะไร ก็อาศัยความง่าย ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด เลขบัตรประจำตัวต่างๆ  และเบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ หรือข้อมูลที่ผู้อื่นอาจรู้หรือหาได้ง่าย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเลี่ยงไม่เอามาใช้ตั้งเด็ดขาด!?!  5. หลังจากเราได้สร้างรหัสผ่านที่รัดกุมแล้ว ให้เก็บไว้เป็นความลับและอย่าบอกรหัสผ่านกับใคร 6. ใช้เครื่องมือจัดการรหัสผ่านเพื่อช่วยสร้าง จดจำ และจัดการรหัสผ่านที่บันทึกไว้ 7. เราจำเป็นต้องอัพเดต หรือเปลี่ยนรหัสผ่านที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ …