ลาวเปิดศูนย์เฝ้าระวังแผ่นดินไหว เชื่อมโยงข้อมูลจากไทยและอีกหลายชาติอาเซียน
ศูนย์ปฏิบัติการแผ่นดินไหวของลาว ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ โดยจะมีการรับและเชื่อมโยงข้อมูลกับอีกหลายประเทศในภูมิภาค รวมถึงไทย
องค์การรักษาความปลอดภัยฝ่ายพลเรือน
สำนักข่าวกรองแห่งชาติ
secnia@nia.go.th
02-2797180 ต่อ 7310
ศูนย์ปฏิบัติการแผ่นดินไหวของลาว ตั้งอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ โดยจะมีการรับและเชื่อมโยงข้อมูลกับอีกหลายประเทศในภูมิภาค รวมถึงไทย
ทางการญี่ปุ่นประกาศเตือนภัยสึนามิ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.1 ด้านสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟูกูโอกะ แนะนำชาวไทยในพื้นที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางการท้องถิ่นอย่างเคร่งครัด
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ได้ และที่ผ่านมา เหตุภัยพิบัติรุนแรงนี้ก็เกิดขึ้นทั่วโลก โดยปราศจากการเตือนล่วงหน้า เซอร์เกย์ โฟเมล อาจารย์ด้านธรณีฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยเท็กซัส วิทยาเขตออสติน (University of Texas at Austin – UT) กล่าวว่า “สำหรับแผ่นดินไหววิทยา การพยากรณ์แผ่นดินไหวถือเป็นสิ่งสุดท้ายที่รอคอยมาอย่างยาวนาน ผู้คนพยายามทำสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นมานานกว่า 100 ปีแล้ว” ทีมงานที่ UT ได้พัฒนาแบบจำลองเพื่อพยากรณ์การเกิดแผ่นดินไหว โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์และการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งนำไปใช้ในการแข่งขันที่กินเวลานานถึงสองปี เพื่อทำนายการเกิดแผ่นดินไหวแบบเรียลไทม์ หยางคัง เฉิน ผู้ช่วยอาจารย์ประจำสำนักเศรษฐธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเท็กซัส วิทยาเขตออสติน หยางคัง เฉิน หัวหน้าทีมการแข่งขัน และเป็นผู้ช่วยอาจารย์ประจำสำนักเศรษฐธรณีวิทยาของ UT เผยว่า พวกเขาสามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวได้แม่นยำสูงถึง 70% โดยสิ่งที่ทำนายได้มีทั้ง ความรุนแรง จุดเกิดเหตุ ไปจนถึงโอกาสของการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ทีมชนะการแข่งขัน ผลการคาดการณ์แผ่นดินไหวโดยทีมงานจากมหาวิทยาลัยเท็กซัส เฉิน…
รัฐบาลไต้หวันรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 7 คน และบาดเจ็บ 711 คน จากเหตุแผ่นดินไหวขนาด 7.4 ที่เกิดขึ้นนอกชายฝั่งเมืองฮัวเหลียน ทางตะวันออก เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (3 เมษายน) ซึ่งถือเป็นแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดของไต้หวันในรอบ 25 ปี
นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เตือนไทยประมาทไม่ได้ พื้นที่ติดชายฝั่งทะเลอันดามัน ยังเสี่ยงต่อการเกิดสึนามิซ้ำรอยปี 2547 แนะซักซ้อมเหตุการณ์เป็นระยะ ตรวจสอบระบบเตือนภัยให้อยู่ในสภาพให้ใช้งานได้ดีตลอดเวลา ศ.อมร พิมานมาศ นักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ ศ.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทย และนักวิจัยศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ เปิดเผยว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.6 ที่จังหวัดอิชิกาวะ บนเกาะฮอนชู ทางตอนกลางของประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 1 ม.ค.2567 ที่ผ่านมา ถือเป็นธรณีพิบัติที่รุนแรงมากและอยู่ในระดับตื้นมาก เพียง 10 กิโลเมตร ทำให้เกิดความเสียหายกับอาคารบ้านเรือน โครงสร้างพื้นฐาน และโดยเฉพาะอย่างยิ่งถนนเป็นจำนวนมาก ทั้งยังทำให้เกิดคลื่นสึนามิความสูง 1.2 เมตร ซัดเข้าหาชายฝั่งเมืองวาจิมะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งผลของแผ่นดินไหวดังกล่าวจะยังคงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายวัน อย่างไรก็ตาม ด้วยระยะห่างจากประเทศไทย 4,000-5,000 กิโลเมตร จึงไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย “ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนมีนาคม 2554 ได้เคยเกิดแผ่นดินไหวโตโฮคุขนาด 9.0-9.1 นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของคาบสมุทรโอชิกะในเขตโตโฮคุ ประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดคลื่นสึนามิมีความสูงถึง 40 เมตร พัดเข้าชายฝั่งจังหวัดเซ็นได…
ทำความรู้จักแอปพลิเคชัน “Earthquake TMD” ที่พัฒนาโดยคนไทย นอกจากแจ้งเตือนแผ่นดินไหวแล้ว ยังมาพร้อมเบอร์ติดต่อหน่วยงาน-วิธีปฏิบัติเมื่อเกิดแผ่นดินไหว! จากกรณีการเกิดแผ่นดินไหว ขนาด 6.4 ริกเตอร์ ที่เกิดจากรอยเลื่อนเชียงตุง จนรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนได้ในหลายจังหวัดของภาคเหนือ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว