จะเอาตัวรอดอย่างไร? ถ้าเจออภิมหาแผ่นดินไหวตอนอยู่ญี่ปุ่น

Loading

แม้แผ่นดินไหวในญี่ปุ่นอาจฟังดูเป็นเรื่องไกลตัว แต่ก็ไม่แน่ว่าวันหนึ่งอาจมีเหตุให้เราไปอยู่ญี่ปุ่นในเวลานั้นก็ได้ ไม่ว่าจะท่องเที่ยว ศึกษาดูงาน ต่อเครื่อง เรียนต่อ ทำงาน หรืออยู่อาศัย อีกทั้งอภิมหาแผ่นดินไหวแนวแอ่งนังไกที่นักธรณีวิทยาญี่ปุ่นคาดว่าจะมาในทศวรรษที่ 2030 ก็อาจจะมาถึงก่อนเวลาได้อีกเช่นกัน

NASA FINDER เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรีย

Loading

    จากสถานการณ์แผ่นดินไหวในตุรกีและซีเรียที่ยังคงมีการค้นหาผู้รอดชีวิตกันอยู่เรื่อย ๆ วันนี้เลยจะพาไปชมการพัฒนาเทคโนโลยีค้นหาผู้ประสบภัยที่น่าสนใจจากนาซา เป็นเครื่องตรวจสัญญาณชีพผู้รอดชีวิตใต้ซากปรักหักพัง ที่ช่วยให้เราหาผู้รอดชีวิตได้ง่ายขึ้น   ในภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่ติดอยู่ใต้ซากตึก อย่างเช่นกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวตุรกี-ซีเรีย ‘ความไว’ คือปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะยิ่งใช้เวลาค้นหานาน จำนวนผู้รอดชีวิตก็อาจจะลดลงเรื่อย ๆ ซึ่งในปัจจุบันก็มีเทคโนโลยี ที่ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในสถานการณ์ลักษณะนี้หลายชิ้นด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือเครื่องมือชื่อว่า ไฟน์เดอร์ (FINDER)     ไฟน์เดอร์ (FINDER) เป็นอุปกรณ์เรดาร์คลื่นไมโครเวฟ ที่ใช้ตรวจจับการเต้นของหัวใจมนุษย์ โดยมันจะส่งสัญญาณคลื่นไมโครเวฟพลังงานต่ำ ทะลุผ่านเศษซากกองปรักหักพังได้ถึงประมาณ 9 เมตร หรือถ้าเป็นคอนกรีตแข็งจะอยู่ประมาณ 6 เมตร เมื่อเรดาร์ตรวจเจอสัญญาณชีพของผู้รอดชีวิต จากจังหวะการเต้นของหัวใจ หรือแม้แต่จังหวะการหายใจ การขยับตัว ซึ่งจะท้อนกลับมายังเรดาร์ตรวจจับ ตัวเครื่องก็จะคำนวณหาระยะห่างของตำแหน่งของผู้รอดชีวิตได้     ซึ่งทีมพัฒนาระบุว่า ตัวอุปกรณ์สามารถแยกความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหว ที่เกิดจากคนและเครื่องจักร และแม้กระทั่งความแตกต่างระหว่างการเคลื่อนไหวของคนกับสัตว์ ลดความสับสนที่จะขัดขวางภารกิจกู้ภัย นอกจากนี้ ข้อดีคือ ตัวอุปกรณ์มีขนาดกะทัดรัด สามารถบรรจุลงกระเป๋าเดินทางได้ อีกทั้งยังกันน้ำ สามารถพกพาไปกับทีมนักกู้ภัย ช่วยค้นหาผู้รอดชีวิตในตึกต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น…

วิวัฒนาการของเทคนิค การเตือนภัยแผ่นดินไหว

Loading

    แต่ไหนแต่ไร เวลาเกิดเหตุการณ์ “แผ่นดินไหว” ผู้คนมักจะแตกตื่นกลัว เพราะคิดว่าโลกกำลังจะแตก ปฐพีจะถล่มทลาย และสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความหายนะ คือ พฤติกรรมชั่วของมนุษย์ ที่ได้ทำให้เทพเจ้าทรงพิโรธ พระองค์จึงทรงบันดาลให้พื้นดินสั่นไหวอย่างรุนแรง จนอาคารบ้านเรือนพังพินาศ และผู้คนจำนวนมาก (อาจจะนับแสน) ต้องเสียชีวิต ตลอดจนถึงสภาพแวดล้อมก็จะถูกทำลายจนเสียหาย ซึ่งการสูญเสียที่มากจนประมาณค่ามิได้นี้ เป็นบทเรียนให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนการดำรงวิถีชีวิต และภัยหายนะนี้ มีส่วนผลักดันให้นักวิทยาศาสตร์พยายามหาวิธีป้องกันภัย และหาวิธีทำนายภัยล่วงหน้าเป็นเวลานาน ๆ เพื่อให้รู้ชัดว่า แผ่นดินไหวจะเกิด ณ ที่ใด ณ เวลาใด และจะรุนแรงเพียงใดด้วย ประสบการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้รู้ว่า เรามีความรู้เกี่ยวกับอวกาศนอกโลกดียิ่งกว่าความรู้ที่เรามีเกี่ยวกับเหตุการณ์ใต้โลกเสียอีก     อันที่จริงโลกมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน แต่การสั่นสะเทือนในบางครั้งก็น้อยมาก จนไม่มีใครรู้สึก และบางครั้งแผ่นดินก็สั่นไหวในบริเวณที่ห่างไกลผู้คน จึงไม่มีใครเห็นหรือสัมผัสเหตุการณ์ แต่นักประวัติศาสตร์ก็ได้บันทึกเหตุการณ์แผ่นดินไหว พร้อมความเสียหายที่เกิดขึ้นไว้แทบทุกครั้ง เช่น ที่เมือง Alexandria ในอียิปต์ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 365 ซึ่งในครั้งนั้นจุดศูนย์กลางของการสั่นสะเทือนอยู่ในทะเล Mediterranean ทำให้เกิดคลื่นสึนามิที่มีขนาดมโหฬารจนชาวเมืองคิดไปว่า น้ำกำลังจะท่วมโลกเป็นครั้งที่สอง…

นักโทษ 20 คนหลบหนีออกจากเรือนจำในซีเรียหลังเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง คาดเป็นสมาชิกกลุ่ม IS

Loading

    สำนักข่าว AFP รายงานว่า กลุ่มนักโทษได้ก่อเหตุจลาจลในเรือนจำทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย ซึ่งถูกใช้เป็นที่คุมขังสมาชิกกลุ่ม IS จำนวนมาก หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ โดยมีนักโทษอย่างน้อย 20 คนที่หลบหนีออกมาได้   เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นที่เรือนจำทหารในเมืองราโจ ซึ่งอยู่ใกล้ชายแดนตุรกี โดยสถานที่ดังกล่าวมีนักโทษทั้งหมดราว 2,000 คน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมีนักโทษประมาณ 1,300 คนที่ต้องสงสัยว่าเป็นสมาชิกของกลุ่ม IS   เจ้าหน้าที่ของเรือนจำราโจเปิดเผยว่า หลังเกิดแผ่นดินไหวขึ้นที่ตุรกีและมีแรงสั่นสะเทือนมาถึงซีเรีย เมืองราโจก็ได้รับผลกระทบไปด้วย หลังจากนั้นผู้ต้องขังเริ่มก่อจลาจลและเข้ายึดพื้นที่ต่าง ๆ ของเรือนจำ โดยมีนักโทษหนีไปได้ราว 20 คน ซึ่งเชื่อว่าเป็นนักรบของกลุ่ม IS   โดยเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวแมกนิจูด 7.8 ขึ้นในเวลา 04.17 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 08.17 น. ของตามเวลาประเทศไทย ใกล้กับเมืองกาซีอันเทป ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี   โดยแรงสั่นสะเทือนรับรู้ได้ถึงซีเรีย…

อว.หนุนงานวิจัยรับมือ แผ่นดินไหว ภัยธรณีพิบัติ ลดความเสี่ยง ลดสูญเสีย

Loading

  กระทรวงการอุดมศึกษาฯ สนับสนุนทุนวิจัยโครงการการสร้างแบบจำลองระบบธรณีแปรสัณฐานของประเทศไทย เพื่อประเมินสภาวะความเค้นของธรณีภาคและความเสี่ยงแผ่นดินไหว   กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม   สนับสนุนทุนวิจัยภายใต้ชุดโครงการลดภัยพิบัติจากแผ่นดินไหวในประเทศไทย และโครงการการศึกษาแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวของประเทศไทย และการกำหนดตำแหน่งและประเมินผลกระทบของรอยเลื่อนที่ซ่อนตัวในเขตเมืองจากการตรวจวัดแผ่นดินไหว   รศ.ภาสกร ปนานนท์ นักวิจัยคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า แผ่นดินไหวจังหวัดแพร่เกิดในบริเวณที่มีกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังเถินพาดผ่าน ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้ง     เช่น แผ่นดินไหวขนาด 5.0 ที่อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ ในปี 2538 และแผ่นดินไหวขนาด 2-3 ในช่วงปี 2560-2562 ที่อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ห่างจากแผ่นดินไหวปัจจุบันไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตร   ส่วนแผ่นดินไหวที่จังหวัดเชียงใหม่เกิดในบริเวณที่มีกลุ่มรอยเลื่อนมีแม่ทาพาดผ่าน ซึ่งมีแผ่นดินไหวมาโดยตลอดโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ แผ่นดินไหวครั้งสำคัญมีขนาด 5.1 ที่อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่เมื่อปี 2549…

Google เปิดระบบแจ้งเตือนแผ่นดินไหวให้ใช้งานในไทย

Loading

  Google นำบริการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวบนสมาร์ทโฟน Android ในประเทศไทย โดยระบบจะใช้ตัวตรวจวัดความเร่ง (Accelerometer) ที่มีอยู่ในสมาร์ทโฟน Android ในการตรวจจับคลื่นไหวสะเทือน และจะทำการแจ้งเตือนผ่าน 2 ช่องทาง ได้แก่ การแจ้งเตือนผ่าน Google Search และการแจ้งเตือนโดยตรงบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ Android สำหรับบริการระบบการแจ้งเตือนนี้จะให้ข้อมูลที่ใกล้เคียงกับช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์จริงบน Google Search เมื่อผู้คนค้นหาคำว่า “แผ่นดินไหว” (earthquake) หรือ “แผ่นดินไหว ใกล้ฉัน” (earthquake near me) ระบบจะแสดงผลการค้นหาที่เกี่ยวข้อง พร้อมด้วยแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับข้อควรปฏิบัติหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ทั้งนี้ ระบบการแจ้งเตือนแผ่นดินไหวของ Android บนอุปกรณ์เคลื่อนที่จะแสดงการแจ้งเตือน 2 แบบ ขึ้นอยู่กับขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว แบบแรก Be Aware เป็นการแจ้งเตือนให้ผู้คนเฝ้าระวังสถานการณ์เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาด 4.5 หรือมีความรุนแรงระดับ 3 หรือ 4 ตามมาตราเมอร์คัลลี่ที่ปรับปรุงแล้ว (Modified Mercalli Intensity scale หรือ…