ดีอีเอสบี้ ‘แฟลตฟอร์มดิจิทัล’ แสดงตัวคาดเข้าข่ายพันราย

Loading

  เตรียมตัวให้พร้อม! “ดีอีเอส” ขีดเส้น 21 ส.ค.-18 พ.ย. 2566 บี้ผู้ให้บริการแฟลตฟอร์มดิจิทัลที่เข้าข่ายกว่า 1 พันราย ทยอยรายงานตัว หลังกฎหมาย DPS ปักหมุดบังคับใช้ ขู่เมินพร้อมงัดโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 1 แสนบาท ยันแม่ค้าออนไลน์-อินฟลูเอ็นเซอร์ไม่กระทบ ดีเดย์ 26 มิ.ย. นี้ เดินเครื่องรับฟังความคิดเห็นเรื่องการยืนยันตัวตนของผู้ให้บริการ ปิดช่องมิจฉาชีพหลอกลวง   22 มิ.ย. 2566 – นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวภายหลังการประชุมทำความเข้าใจสร้างการรับรู้ถึงความสำคัญของ พ.ร.ฎ.การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 หรือ กฎหมาย DPS (Digital Platform Services) ที่จะมีผลใช้บังคับในวันที่ 21 ส.ค. นี้ ว่า ตามที่มีการประกาศ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ส่งผลให้ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลตามเกณฑ์ต้องมาแจ้งกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA)…

กฎหมายกับการกำกับธุรกิจแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

    “Platform economy” หรือ เศรษฐกิจแพลตฟอร์ม เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบเศรษฐกิจ ที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจำนวนมากได้ ดังนั้น กฎหมายเพื่อควบคุมและดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงมีเป็นสิ่งที่จำเป็นในยุคปัจจุบัน   ผู้เขียนจึงข้อหยิบยกเนื้อหาบางส่วนของกฎหมายฉบับนี้ มาอธิบายให้ฟัง   ที่มาของกฎหมาย   ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงมีการตรา พ.ร.ฎ. การประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. 2565 (พ.ร.ฎ. แพลตฟอร์มดิจิทัล) โดยเป็นกฎหมายลำดับรองที่ออกตามความ พ.ร.บ. ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้กำหนด “สิทธิ” ให้บุคคล “สามารถประกอบธุรกิจเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์” ได้   หากภาครัฐเห็นว่า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เช่นว่านั้น อาจกระทบกับความมั่นคงทางการเงิน การพาณิชย์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นกับประชาชน ก็สามารถตรากฎหมาย เพื่อกำหนดให้การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ   แจ้งให้หน่วยงานใดทราบ?   กฎหมายกำหนดให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลต้องแจ้งให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ อย่างไรก็ดี หากเป็นผู้ซึ่งประกอบธุรกิจอยู่ก่อนวันที่ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้ใช้บังคับ ให้มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายภายใน 90…

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Documents Digital Platform Services : DPS       ความเป็นมา ปัจจุบันมีการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ซึ่งมีลักษณะเป็นสื่อกลางทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนตอบสนองรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมีการให้บริการที่หลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น บริการด้านการเงิน การขายสินค้าออนไลน์ การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงเห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นให้เป็นไปอย่างหมาะสม มีความโปร่งใสและเป็นธรรม   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ผลักดันการจัดทำ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเพื่อป้องกัน ความเสียหายแก่สาธารณชนหรือประชาชนที่ใช้บริการ ให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และต่อมาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ…

‘เอ็ตด้า’ขู่ ‘แพลตฟอร์มดิจิทัล’ ต่างชาติต้องจดทะเบียน

Loading

    ‘เอ็ตด้า’ เสียงแข็งยันแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ต้องจดแจ้งในไทย ฝ่าฝืน ผิดกฎหมายมีบทลงโทษหนัก ดึงโมเดลกฎหมายญี่ปุ่น-ยุโรป มาปรับใช้ต่างใช้กฎหมายนี้แล้ว   นายชัยชนะ มิตรพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า กล่าวว่า (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัลทั้งในประเทศและต่างประเทศต้องปฏิบัติตาม ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นผู้ให้บริการผิดกฎหมาย ไม่มีธรรมาภิบาลในการประกอบธุรกิจ   โดยเฉพาะกลุ่มผู้ให้บริการต่างประเทศเมื่อต้องการมาลงทุนในประเทศไทยก็ต้องดำเนินธุรกิจตามกฎหมายไทย และหากไม่จดแจ้งคนไทยก็ไม่ควรใช้บริการของแพลตฟอร์มต่างชาติ หรือ แพลตฟอร์มใดๆก็ตามที่ทำผิดกฎหมาย   “หากไม่ทำจะมีตั้งคณะกรรมการร่วม โดยมีปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เป็นประธาน และปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นรองประธาน นอกจากนี้ยังมีกรรมการที่มาจากทั้งตัวแทนภาครัฐและเอกชนกว่า 20 คน ในการร่วมกันกำหนดเงื่อนไขและส่งหนังสือไปยังสถานทูตในประเทศที่ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติตั้งสำนักงานใหญ่อยู่เพื่อเรียกร้องให้ปฏิบัติตามกฏหมายไทยด้วย”   เขา กล่าวว่า เอ็ตด้ามีหน้าที่ตั้งแต่ การจดแจ้ง,การขึ้นทะเบียน และการอนุญาต แต่กฎหมายฉบับนี้เอ็ตด้าให้ดำเนินการตามอำนาจเพียงการจดแจ้งเท่านั้นซึ่งนับว่าไม่ได้เป็นภาระของผู้ประกอบการแต่อย่างใด โดยเฉพาะผู้ให้บริการแพลตฟอร์มต่างชาติที่ต้องมีการแจ้งรายได้ประจำปีต่อสำนักงานตามกม.นั้น จำเป็นต้องปฏิบัติเพราะจัดอยู่ในมาตรา 32 เรื่องความเสี่ยง โดยความมั่นคงทางการเงินและพาณิชย์เป็น หนึ่งในความเสี่ยงที่ต้องแจ้งด้วย เพราะเกี่ยวข้องกับผู้ใช้บริการคนไทย…

อัปเดตร่างกฎหมาย Digital Platform กับข้อสงสัยที่ใคร ๆ อยากรู้

Loading

  (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. .… ซึ่ง สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้เปิดเวทีเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนมาอย่างต่อเนื่อง และได้ปรับแก้ตามข้อคิดเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยหลังผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (คธอ.) ไปแล้ว ปัจจุบัน ร่างนี้ อยู่ในขั้นนำเสนอให้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พิจารณา (ดาวน์โหลดร่างล่าสุดได้ท้ายบทความ) ซึ่งยังต้องผ่านอีกหลายขั้นตอนก่อนประกาศใช้   1. กฎหมายฉบับนี้กำหนดหน้าที่อะไรบ้าง (ตอบ)  ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ มุ่งเน้นไปที่การควบคุมดูแลผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล โดยกำหนดหน้าที่ในการประกอบธุรกิจ ในเรื่องหลัก ๆ ดังต่อไปนี้ 1) หน้าที่ในการแจ้งให้ ETDA ทราบก่อนการประกอบธุรกิจ 2) หน้าที่เพิ่มเติม สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีลักษณะหรือประเภทตามที่ ETDA ประกาศกำหนด ในการแจ้งข้อมูลที่จำเป็นให้ผู้ใช้บริการทราบอย่างชัดเจนก่อนหรือขณะใช้บริการ 3) หน้าที่เพิ่มเติม สำหรับผู้ประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลขนาดใหญ่หรือที่มีลักษณะเฉพาะ ตามประกาศของ ETDA โดยความเห็นชอบของ คธอ.   2. กฎหมายฉบับนี้กำหนดหน้าที่ให้ใครบ้าง…