เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ หลอกลวงผ่านโซเชียล ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกัน ?

Loading

  SHORT CUT •  เลขา สกมช. ตั้งข้อสงสัย ทำไมแพลตฟอร์มโซเชียล ยอมให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบทั้งที่ในต่างประเทศแพลตฟอร์มเดียวกันกลับมีกฎเกณฑ์ที่ดีกว่า •  ออสเตรเลียเคยฟ้องร้องเป็นตัวอย่างแล้ว ทั้งจากภาครัฐและคนดังที่ถูกแอบอ้าง •  ต่างประเทศมองว่าการที่แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์อนุญาตให้โฆษณาหลอกลวงผ่านการตรวจสอบ เท่ากับว่า แพลตฟอร์มมีส่วนรู้เห็นมาหลอกประชาชน   เลขา สกมช. ตั้งข้อสังเกตุ การหลอกลวงผ่านโซเชียล ทั้งเพจปลอมและการหลอกลงทุน ทำไมแพลตฟอร์มไม่ช่วยป้องกันก่อนเกิดเหตุ ?   พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตั้งข้อสังเกตุกับผู้สื่อข่าวหลังการแถลงข่าวการลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ยกระดับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ และให้ความรู้แก่ประชาชนไม่ให้ตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ ระหว่าง สกมช. และ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) ถึงกรณีการป้องกันและปราบปรามภัยไซเบอร์จากการหลอกลวงกันทางโซเชียลมีเดีย   พลอากาศตรี อมร ตั้งข้อสังเกตุว่า การป้องกันและปรายปรามการหลอกลวงปัจจุบันทำได้ช้า ใช้เวลาเกือบ 2 สัปดาห์ในการดำเนินการจากฝั่งแพลตฟอร์ม ซึ่งการหลอกลวงเหล่านี้ ทั้งการโฆษณาหลอกลงทุนผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยการใช้รูปคนดัง , การตั้งเพจปลอมที่มีชื่อเหมือนหน่วยงานราชการ เช่น…

มาเลเซียสั่ง “เมตา-ติ๊กต็อก” จัดทำแผนจัดการ “เนื้อหาอันตราย”

Loading

ทางการมาเลเซียสั่งให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง เมตา และติ๊กต็อก นำเสนอแผนการต่อสู้กับเนื้อหาที่เป็นอันตรายทางออนไลน์ หลังมีรายงานพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศ

อินเดียพิจารณาแบนเนื้อหาออนไลน์ ที่รัฐบาลถือเป็น “ข่าวปลอม”

Loading

    รัฐบาลอินเดียจะไม่อนุญาตให้แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์แสดงข้อมูลใด ๆ ที่ถูกระบุว่าเป็น “ข้อมูลเท็จ” ตามข้อเสนอร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) ของประเทศ ที่เผยแพร่ในสัปดาห์นี้   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อวันที่ 19 ม.ค. ว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นมาตรการล่าสุดของรัฐบาลนิวเดลี ของนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี ผู้นำอินเดีย ซึ่งถูกมองว่าเป็นความพยายามที่จะควบคุมบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยี   ข้อมูลใด ๆ ที่ถูกระบุ “ปลอมหรือเท็จ” โดยสำนักประชาสัมพันธ์ (พีไอบี) หรือหน่วยงานอื่นใดที่ได้รับอนุญาตในการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากรัฐบาล หรือจาก “หน่วยงานที่มีการทำธุรกรรมดังกล่าว” จะถูกห้ามเผยแพร่ภายใต้ร่างกฎหมายใหม่นี้   เมื่อข้อมูลถูกระบุว่าปลอมหรือเท็จ แพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ หรือ “ตัวกลางทางออนไลน์อื่น ๆ” จะต้อง “ใช้ความพยายามตามสมควร” เพื่อทำให้มั่นใจว่า ผู้ใช้งานจะไม่จัด, แสดง, อัปโหลด, ดัดแปลง, เผยแพร่, ส่งต่อ, จัดเก็บ, อัปเดต หรือแชร์ข้อมูลนั้น ๆ   India…