Cybersecurity กับ Cyber Resilience เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

Loading

  เราคงคุ้นชินกับคำว่า Cybersecurity หรือความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์กันอยู่แล้ว แต่ในระยะหลัง ๆ เราจะได้ยินคำว่า Cyber Resilience มากขึ้น (ยังรอผู้เชี่ยวชาญหาคำแปลไทยที่มีความหมายตรงอยู่ บทความนี้จึงขอใช้ทับศัพท์ภาษาอังกฤษไปพลางก่อน)   โดยเฉพาะการที่องค์กรถูกโจมตีด้วย ransomware แล้วทำให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหยุดชะงัก อาจส่งผลให้การดำเนินงานและธุรกิจหยุดชะงักตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับการทำ digital transformation ที่ให้ระบบงาน กระบวนการดำเนินธุรกิจต้องพึงพิงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สลับซับซ้อนแบบในยุคปัจจุบันมากน้อยแค่ไหน   สำหรับความหมายหลักของ Resilience จะมี 2 ความหมายคือ ความยืดหยุ่น และความสามารถในการฟื้นคืนสู่ปรกติ ซึ่งความหมายหลังจะตรงกับบริบทของ Cyber Resilience ทีจะกล่าวต่อไป ยิ่งหากจะเติมภาระกิจที่เชื่อมโยงก็จะเป็นคำว่า Cyber Resilience and Recovery   หากเปรียบเทียบระบบเทคโนโลยีสารทนเทศเหมือนกับบ้านหลังหนึ่ง ระบบรักษาความปลอดภัยของบ้าน ก็เพื่อป้องกันทรัพย์สินสำคัญต่าง ๆ ของเรา เช่นการมีรั้วรอบขอบชิด มีเสาแหลม ๆ เสริมโดยรอบ (perimeter protection) ติดกล้องวงจรปิดและสัญญาณกันขโมยรอบบ้าน (monitoring & threat…

Synology แนะ 6 ยุทธวิธี เสริมความปลอดภัย ‘ข้อมูลองค์กร’

Loading

  ความปลอดภัยของข้อมูลถือเป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ไม่ควรมองข้าม ด้วยจำนวนการโจมตีของแรนซัมแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังมีความท้าทายในการจัดการข้อมูลข้ามเขตแดน และปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์   Keypoints : •  ธุรกิจยุคใหม่ต้องเผชิญกับความท้าทายเรื่องการจัดการและปกป้องข้อมูล •  หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ อาจเผชิญข้อจำกัด บทลงโทษ หรือแม้แต่การกีดกันจากห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม •  ค่าปรับของการละเมิดแต่ละครั้งอาจสูงถึง 1.5 ล้านดอลลาร์   ผลการสำรวจโดย “ซินโนโลจี (Synology)” ผู้ให้บริการด้านการจัดการและปกป้องข้อมูล พบว่า บริษัทมากกว่า 80% ตระหนักถึงกฎหมายด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานการปกป้องข้อมูล แต่ยังขาดโซลูชันที่ครอบคลุมและการรักษาความปลอดภัยที่ปรับใช้ได้   โจแอน เวง ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศ ซินโนโลจี เปิดมุมมองว่า ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องการจัดการและปกป้องข้อมูล ปรากฏการณ์เหล่านี้ได้เร่งให้เกิดการร่างกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องจากรัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก   บางประเทศผ่านกฎหมายการจัดการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งระบุให้บริษัทต่าง ๆ ต้องมีระบบการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีและมาตรการที่เหมาะสม หลายบริษัทต้องได้รับการรับรองความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล   ยิ่งไปกว่านั้น หากธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ พวกเขาอาจเผชิญกับข้อจำกัด…

ระวัง!! ภัยร้ายไซเบอร์ ป่วนหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” เตือนภัย อันตรายทางไซเบอร์จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฟิชชิ่ง กลโกง การละเมิดข้อมูล การโจมตี APT แรนซัมแวร์ รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การเมือง   Keypoints : •  ขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” และ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์” •  ผู้คนหลายแสนคนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์ •  ผู้ก่อภัยคุกคามมักใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมที่ซับซ้อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย •  บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” เปิดคาดการณ์ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ปีนี้ โดยระบุว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” อย่างรวดเร็วและ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์”   วิทาลี คัมลัก หัวหน้าศูนย์วิจัยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างทวีคูณ และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมเอาไว้ได้ในอีกห้าปีข้างหน้า   ด้วยความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น การชำระเงินดิจิทัล, Super…

‘โจรไซเบอร์’ ป่วนหนักองค์กรไทย ล็อกเป้า ‘ภาครัฐ – ทหาร – การผลิต – การเงิน’

Loading

  รายงานล่าสุดโดย “เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์” พบว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาระหว่างเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2566 หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยถูกโจรไซเบอร์โจมตีมากถึง 1,892 ครั้งต่อสัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกกว่าที่ถูกโจมตีประมาณ 1,040 ครั้ง กว่า 800 ครั้ง   Keypoints : •  เป้าหมายหลักคือ หน่วยงานภาครัฐ การทหาร อุตสาหกรรมการผลิต และการเงินการธนาคาร •  ท็อป 3 ภัยคุกคามคือ บอทเน็ต (Botnet), คริปโทไมเนอร์ (Cryptominer), และแรนซัมแวร์ •  ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการโจมตีทั้งแบบฟิชชิ่ง การหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ และการปล้นทรัพยากร (Resource Hijacking)   ชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการสาขาประจำประเทศไทย บริษัท เช็ค…

คนไม่ไหว AI ต้องช่วย! ระวังปี 67 ภัยไซเบอร์ล้นมือ (Cyber Weekend)

Loading

  ชัดเจนแล้วว่าแนวโน้มหลักในวงการไซเบอร์ซิเคียวริตีปี 2567 จะต่อยอดจากปี 2566 ทั้งภาวะภัยออนไลน์ที่ส่อแววล้นทะลักยิ่งขึ้นจนมนุษย์ไม่อาจจัดการได้เอง และการยกทัพปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI มาช่วยเสริมแกร่งกระบวนการต้านโจรไฮเทค   สถานการณ์แบบนี้ทำให้หลายบริษัทหนักใจกับระบบไซเบอร์ซิเคียวริตีของตัวเอง โดยเฉพาะบริษัทที่ยังใช้งานอุปกรณ์เครือข่ายรุ่นดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้งานคนละยี่ห้อหรือมีการแยกกันทำงานเป็นชิ้นเพราะเมื่อทำงานร่วมกันไม่ได้ การสร้างระบบป้องกันภัยไซเบอร์ที่ทำงานอัตโนมัติก็เกิดไม่ได้จึงต้องมีการเพิ่มพนักงานเข้ามาดูแล และสุดท้ายทำให้ไม่สามารถพาตัวเองให้รองรับภัยมหาศาลในปีถัด ๆ ไป แถมยังอาจทำให้เสียต้นทุนโดยใช่เหตุ   ความเสียหายนี้ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เพราะผลวิจัยบอกว่าเวลาที่ถูกโจมตี บริษัทส่วนใหญ่ใช้เวลาเฉลี่ยกว่า 21 วันในการตรวจสอบพบเจอ แปลว่ากว่าจะได้เริ่มดำเนินการอุดช่องโหว่แฮ็กเกอร์สามารถนำข้อมูลไปทำสิ่งร้ายได้นานหลายสัปดาห์แล้ว ความท้าทายเหล่านี้ทำให้คำว่าการดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย (Security Operations) หรือที่คนทั่วโลกเรียกกันว่า SecOps นั้นมีความสำคัญมากขึ้น โดยการสำรวจล่าสุดพบว่า 52% ของบริษัททั่วโลกนั้นมอง SecOps เป็นงานมีความยุ่งยาก และบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากยังไม่มี   ***ภัยล้นคนไม่ไหว   รัตติพงษ์ พุทธเจริญ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายวิศวกรรมระบบ ฟอร์ติเน็ต ประเทศไทย กล่าวถึงผลสำรวจใหม่ที่จัดทำร่วมกับ IDC เกี่ยวกับสถานการณ์การดำเนินงานด้านการรักษาความปลอดภัย ในหัวข้อ The State of…

’สกมช.‘ ชี้ปี 67 แรนซัมแวร์ยังป่วน ล็อคเป้าโจมตีหนีไม่พ้นรัฐ-เอกชน

Loading

ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ดัง ที่ชื่อ ล็อคบิท และกลุ่มอื่น ๆ ทำการแฮ็กระบบของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในประเทศไทยประมาณ 30 ครั้ง โดยทาง สกมช. ได้เฝ้าติดตามในดาร์กเว็บ โดย กลุ่ม ล็อคบิท นี้ ได้มีการเรียกค่าไถ่หน่วยงานในไทยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท