ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก

Loading

  ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย 6 แอปปลอม ควบคุมมือถือระบาดหนัก พบผู้เสียหายจำนวนมาก   พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ โฆษก บช.สอท. กล่าวว่า ได้รับรายงานจากการตรวจสอบในระบบศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ พบว่าในช่วงที่ผ่านมามีผู้เสียหายหลายรายได้รับข้อความสั้น (SMS) และได้รับสายโทรศัพท์จากมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน โดยให้ทำการเพิ่มเพื่อนทางแอปพลิเคชันไลน์ของหน่วยงานปลอมนั้น ๆ   จากนั้นจะสอบถามข้อมูลส่วนตัวของผู้เสียหายก่อนที่จะส่งลิงก์เว็บไซต์ปลอมให้ผู้เสียหายติดตั้งแอพพลิเคชั่นที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมาแล้วหลอกลวงให้ทำตามขั้นตอน ตั้งค่าให้สิทธิการเข้าถึง และให้สิทธิควบคุมโทรศัพท์มือถือที่ผู้เสียหายใช้งาน หลอกลวงให้กรอกรหัส PIN 6 หลัก จำนวนหลายครั้ง หรือหลอกลวงให้โอนเงินค่าธรรมเนียมในจำนวนเล็กน้อย เช่น โอนเงินจำนวน 10 บาท เพื่อดูรหัสการทำธุรกรรมธนาคารของผู้เสียหาย แล้วเข้าควบคุมโทรศัพท์ของผู้เสียหายแล้วโอนเงินออกจากบัญชี จำนวนกว่า 6 หน่วยงาน ดังนี้   1. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยได้รับข้อความสั้น (SMS) หรือได้รับสายโทรศัพท์อ้างเป็นเจ้าหน้าที่การไฟฟ้า แจ้งผู้เสียหายว่าจะได้รับเงินค่าชดเชยหม้อแปลงไฟฟ้า หรือคำนวณเงินค่า FT ผิดพลาด หรือได้รับเงินคืนค่าประกันไฟฟ้า เป็นต้น   2. กรมที่ดิน…

เช็กด่วน เตือนภัย 10 แอปพลิเคชันอันตราย มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝง

Loading

  ตำรวจเตือนภัย เผย 10 แอปพลิเคชันอันตราย มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ เผยบางแอปฯ จะอยู่ในรูปแบบ Mini-Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล   วันที่ 4 สิงหาคม 2566 มีรายงานว่า แฟนเพจ ตำรวจสอบสวนกลาง ได้เผยเรื่องราวเตือนภัยแอปพลิเคชันอันตราย โดยระบุข้อความว่า ขณะนี้ตรวจพบแอปฯ ที่มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ซึ่งบางแอปฯ ถูกถอดจาก Playstore แล้ว แต่ยังสามารถติดตั้งผ่านช่องทางแอปพลิเคชันอื่นได้อยู่ และบางแอปฯ จะอยู่ในรูปแบบ Mini-Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล โดยมี 10 แอปฯ อันตรายดังนี้   •   Noizz : แอปฯ ตัดต่อวีดีโอพร้อมเพลง (100,000,000 downloads)   •   Zapya : แอปฯ แชร์ไฟล์ ย้ายไฟล์ (100,000,000 downloads)   •   VFly…

Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยรายงานมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็นแอป ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนในไทย

Loading

  กรุงเทพฯ – 31 กรกฎาคม 2566, พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ล่าสุดพบว่ามัลแวร์บน Android ที่แอบอ้างเป็นแชตบอต AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยถูกปล่อยออกมาพร้อมกับการเปิดตัว GPT-3.5 และ GTP-4 ของ OpenAI เพื่อมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีความสนใจในเครื่องมือ ChatGPT   โทรจัน Meterpreter ที่ปลอมตัวเป็นแอป “SuperGPT” และ “ChatGPT” มีพฤติกรรมในการส่งข้อความพิเศษค่าบริการราคาแพงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ในไทย ทำให้ผู้ใช้โดนคิดเงินอย่างไม่รู้ตัวและสร้างรายได้แก่คนร้ายมหาศาล ที่น่ากังวลก็คือ ผู้ใช้ Android สามารถดาวน์โหลดแอปได้จากหลายช่องทางนอกเหนือไปจาก Google Play Store ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะได้รับแอปซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจาก Google   ข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจมีดังนี้   •   การปลอมตัวเป็น ChatGPT: มัลแวร์ใหม่บน Android มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยปลอมตัวเป็น ChatGPT และถูกปล่อยออกมาในช่วงที่มีการเปิดตัว GPT-3.5…

ตร.ไซเบอร์ เตือนภัย ขรก.เกษียณ ยื่นรับบำเหน็จระวัง เว็บไซต์-แอปฯ ปลอม

Loading

    ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเอง ระวังเว็บไซต์และแอปพลิเคชันปลอม ที่ทำให้หลงเชื่อกรอกข้อมูลส่วนบุคคล จนตกเป็นเหยื่อ จึงแนะวิธีหลีกเลี่ยง 9 ข้อ   เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 1 ก.พ. พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒเจริญ โฆษก บช.สอท. ขอเตือนภัยข้าราชการเกษียณยื่นรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองให้ถูกช่องทาง ระมัดระวังเว็บไชต์ปลอม แอปพลิเคชันปลอมของมิจฉาชีพที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกลวงเอาข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลทางการเงิน ในกรณีที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้อำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่พ้นราชการ เนื่องจากเกษียณอายุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 โดยสามารถยื่นคำขอรับบำเหน็จบำนาญล่วงหน้าผ่านระบบออนไลน์ก่อนวันครบเกษียณอายุได้ 8 เดือน เริ่มตั้งแต่ กุมภาพันธ์ 2566 เป็นต้นไป โดยสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญต่อส่วนราชการเจ้าสังกัด   โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถยื่นขอรับบำเหน็จบำนาญด้วยตนเองผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Pension’ Electronic Filing) หรือ ระบบ e-Filing ผ่านเว็บไชต์กรมบัญชีกลาง www.ced.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน…

ทรูมันนี่ แนะ 9 ข้อ “หยุดกลโกง” ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี

Loading

    ทรูมันนี่ ในฐานะผู้นำด้านบริการอิเล็กทรอนิกส์เพย์เมนท์และผู้ให้บริการทางการเงินชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แนะนำวิธีปฎิบัติ 9 ข้อ “หยุดกลโกง” เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี   ทรูมันนี่ ได้สังเกตจากหลายกรณีของการโจรกรรมออนไลน์ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในช่วงที่ผ่านมาได้ส่งผลให้ผู้ทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์จำนวนมากเกิดความกังวล   อีกทั้งยังมีผู้เสียหายอีกจำนวนมากที่ร้องเรียนผ่านเพจชื่อดังเกี่ยวกับการถูกแฮกเกอร์ล้วงข้อมูล แฮกบัญชี และล่าสุดมีการดึงเงินออกจากบัญชีโดยที่เจ้าของบัญชีไม่รู้ตัว   ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ตรวจสอบกรณีดังกล่าวพร้อมออกมาชี้แจงแล้วว่า เหตุเกิดจากผู้เสียหายถูกมิจฉาชีพหลอกลวงให้ติดตั้งแอปพลิเคชันปลอมที่แฝงมัลแวร์   ทำให้มิจฉาชีพล่วงรู้ข้อมูลการทำธุรกรรมของลูกค้า จากนั้นจึงควบคุมโทรศัพท์เพื่อสวมรอยทำธุรกรรมจากระยะไกล โดยโอนเงินออกจากบัญชีในช่วงเวลาที่ผู้เสียหายไม่ได้ใช้งานโทรศัพท์     9 ข้อ “หยุดกลโกง” เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลดความเสี่ยงถูกแฮกข้อมูลดูดเงินในบัญชี ดังนี้   1.อย่าเผลอโหลดแอปเถื่อน หรือคลิกลิงก์ประหลาด   หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดแอปเถื่อน โดยเลือกดาวน์โหลดแอปจากผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่เป็น Official Store ได้แก่ Google Play Store ในระบบปฎิบัติการ Android และ App Store ในระบบปฎิบัติการ iOS เท่านั้น รวมถึงไม่ควรคลิกลิงก์ที่มีลักษณะแปลกปลอมที่มาจากการแชร์ข้อความ…

เช็กด่วน! ดีอีเอสเตือน แอปอันตราย 200 แอป ห้ามโหลด อาจสูญเงิน-ข้อมูลส่วนตัว

Loading

  ชัยวุฒิ ร่วม สกมช. แจงกรณีแอปดูดเงินอันตราย หลังพบประชาชนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตรายลงในโทรศัพท์มือถือ แล้วทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาดูดเงินออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด   โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้ โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้   ซึ่งมีมากกว่า 200 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัพเดทระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ     ทั้งนี้ ดีอีเอส ขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้…