เงินหาย ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ ที่แท้ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน

Loading

    เงินหาย ที่แท้ไม่ใช่เพราะ ‘สายชาร์จดูดเงิน’ แต่ไปโหลดแอปพลิเคชันหาคู่เถื่อน ยืนยันว่าสายชาร์จดูดข้อมูลมีจริง แต่ไม่สามารถดูดเงินในบัญชีได้   18 ม.ค. 2566 – จากกรณี นายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด นำผู้เสียหายร้องเรียนต่อสื่อมวลชน หลังถูกกลุ่มมิจฉาชีพแฮ็กข้อมูลโทรศัพท์มือถือ โอนเงินออกไปจากบัญชี ผู้เสียหายรายหนึ่ง เล่าว่า ได้ชาร์จมือถือทิ้งไว้ จู่ ๆ มีข้อความจากธนาคารแจ้งมาว่า มีการโอนเงินจากแอปพลิเคชันธนาคารตนเอง ออกไป 100,000 บาท ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ทำธุรกรรมอะไรเลย โดยโทรศัพท์ทั้งหมดที่ถูกแฮ็กนั้น เป็นโทรศัพท์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ มีผู้เสียหายมากกว่า 10 คน มูลค่าความเสียหายกว่า 1 ล้านบาท ซึ่งมีหลายฝ่ายคาดว่าอาจถูกสายชาร์จมือถือ ดูดเงินออกจากแอปพลิเคชันบัญชีนั้น   ความคืบหน้าล่าสุด พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล รองผบ.ตร. กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีดังกล่าวว่า ได้รับรายงานจาก พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผบช.สอท. ว่า จากการตรวจสอบเครื่องโทรศัพท์มือถือของผู้เสียหาย…

ภัยสังคม!! บทเรียน “แอปพลิเคชันหาคู่” หลอกเหยื่อให้รัก-ลวงล่วงละเมิด-หลอกลงทุน

Loading

  ระบาดหนัก!! “แอปพลิเคชันหาคู่” ไม่ได้แฟนแต่เสี่ยงเจอมิจฉาชีพ กูรูความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ดึงสติ จะใช้แอปฯหาคู่ อย่าไว้ใจไว ต้องมองโลกในแง่ร้ายไว้ก่อน!! อุทาหรณ์ “แอปฯหาคู่” ที่ไม่อยากเจอกับตัว!! “อยากฝากถึงคนที่เล่นแอปฯหาคู่ ให้ระวังตัวให้ดี อย่าไปเจอใครง่ายๆ หลังจากนี้เข็ดแล้ว จะไม่เล่นแอปฯพวกนี้อีกเด็ดขาด” คำพูดของผู้เสียหายหญิงวัย 20 ปี กล่าวถึงบทเรียนออนไลน์ที่เจอมากับตัวสดๆ ร้อนๆ หลังจากที่เธอเล่นแอปพลิเคชันหาคู่ Omi (โอมิ) และมีนัดเจอ “บู” ชายวัย 27 ปีที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจคอมมานโด ยศ ร.ต.ท. ก่อนจะถูกข่มขืน ทำร้ายร่างกายและกักขังหน่วงเหนี่ยว จนเธอบอบช้ำไปทั้งกายและใจ ทราบในภายหลังว่า ชายคนดังกล่าวเป็น “ตำรวจเก๊” เพราะประวัติถูกจับกุมข้อหา พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อปี 2561 โดยปลอมเฟซบุ๊กอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจปราบปรามยาเสพติด และเคยถูกจับกุมคดีเสพยาเสพติดมาแล้วถึง 12 ครั้ง สำหรับสิ่งที่ทำให้ผู้เสียหายของเหตุการณ์นี้ หลงเชื่อว่าเขาเป็นตำรวจนั้น มาจากรูปโปรไฟล์ใน TikTok และFacebook ที่สวมชุดตำรวจ อีกทั้งยังมีทั้งบัตรตำรวจ หมวกตำรวจ ปืน ชุดเกราะ…