ช่องโหว่ Zoom ทำให้คุณตกอยู่ในความเสี่ยง แฮกเกอร์แฝงตัว ร่วมประชุมออนไลน์

Loading

  ความปลอดภัยเป็นปัญหาใหญ่ของแพลตฟอร์มประชุมออนไลน์ตัวดัง อย่าง Zoom ที่อาจเป็นต้นเหตุทำให้อุปกรณ์ของคุณ เสี่ยงต่อการถูกแฮกเกอร์โจมตี ในการประชุมด้านความปลอดภัยของ Pwn2Own ได้เปิดเผยช่องโหว่ Zero-day ของ Zoom ในเวอร์ชั่นเดสก์ท็อป ซึ่งช่องโหว่ที่เกิดขึ้นนั้นสามารถเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์รันโค้ดแบบสุ่มบนอุปกรณ์ของผู้ใช้ผ่านการโทร และร้ายแรงถึงขนาดท่ีเข้ายึดระบบทั้งหมดได้ สิ่งที่น่ากลัวกว่านั้นก็คือแฮกเกอร์สามารถควบคุมคอมพิวเตอร์จากระยะไกลได้ ขณะที่กำลังใช้งาน Zoom โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องคลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบใด ๆ การควบคุมที่ว่าทำได้ถึงขั้นเปิดเว็บแคม ไมโครโฟน อ่านอีเมลของผู้ใช้ รวมถึงดาวน์โหลดประวัติการท่องเว็บของเหยื่อ ซึ่งเป็นข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ต้องการเปิดเผยให้ใครรู้ ในขณะที่ Zoom ยืนยันว่าได้ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นอย่างมาก และกำลังเดินหน้าเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยการโจมตีที่พบมาจากผู้แอบแฝงเข้าร่วมประชุม ซึ่งป้องกันได้จากฝั่งผู้ใช้งาน โดย Zoom Chat , Zoom Meetings และ Zoom Video จะไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น หรือหากพบความผิดปกติ สามารถส่งรายงานไปยังศูนย์ความเชื่อถือของ Zoom ได้ อย่างไรก็ตาม Zoom ไม่ใช่ผู้ให้บริการประชุมออนไลน์ที่มีช่องโหว่เพียงรายเดียว เนื่องจากที่ผ่านมามีแฮกเกอร์รายอื่นอ้างสิทธิ์ 200,000 ดอลลาร์ จากการเปิดเผยช่องโหว่ใน Microsoft Teams เช่นกัน…

เมื่อธนาคารแข่งขันออกบัตรเสมือน (VIRTUAL CARD)

Loading

    บัตรเสมือน (VIRTUAL CARD) ไม่ใช่บัตรพลาสติก แต่เป็นข้อมูลบัตรสำหรับซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วยเลขที่บัตร 16 หลัก เดือนและปีที่หมดอายุบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และรหัส CVV/CVC   บัตรเสมือนในไทยมี 3 รูปแบบหลัก เหมือนบัตรพลาสติก ได้แก่ บัตรเครดิต (Credit Card) ผูกกับบัญชีบัตรเครดิต, บัตรเดบิต (Debit Card) ผูกกับบัญชีออมทรัพย์หรือกระแสรายวัน และ บัตรเติมเงิน (Prepaid Card) ผูกกับบัญชีอี-วอลเล็ต   เดิมบัตรเสมือนมีไว้ใช้ซื้อสินค้าและบริการผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่ต้องแสดงบัตรตัวจริงในการชำระเงิน ซึ่งจะต้องทำรายการผ่านอินเทอร์เน็ตแบงกิ้งเป็นหลัก วัตถุประสงค์เพื่อแยกข้อมูลระหว่างบัตรเสมือนกับบัตรตัวจริง ซึ่งใช้วงเงินเดียวกัน   บางคนอาจจะมองว่ายุ่งยาก แต่ก็มีข้อดีตรงที่สมมติว่าทำรายการผ่านบัตรไปแล้วเกิดถูกโจรกรรมข้อมูล หลังปฏิเสธรายการกับธนาคารแล้ว สามารถระงับและเปลี่ยนบัตรออนไลน์ได้ แต่ถ้าเป็นบัตรตัวจริง ต้องยกเลิกบัตรเดิม ขอออกบัตรใหม่   ส่วนข้อเสียก็คือ ไม่ใช่บัตรพลาสติก ไม่มีบัตรพลาสติก จึงไม่สามารถทำรายการผ่านเครื่อง EDC ได้เหมือนบัตรทั่วไป ไม่สามารถทำรายการผ่านเครื่องเอทีเอ็มได้…

Great Firewall จากจีนสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยุคมืดของเสรีภาพในโลกอินเทอร์เน็ต

Loading

Great Firewall คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน มีความเป็นไปได้ว่าโมเดลที่ทำให้รัฐสามารถควบคุม คัดกรอง การสื่อสารทางอินเทอร์เน็ตของประชาชนกำลังถูกนำมาใช้ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หากมีระบบสอดส่องของรัฐเกิดในประเทศที่ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตยังมีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมือดิจิทัลจำกัด อาจนำไปสู่การเซนเซอร์ตัวเองของสื่อและผู้ใช้งาน ด้วยเหตุผลความกังวลว่าจะถูกจับตามอง เทคโนโลยี firewall ไม่ได้ติดตั้งยากเหมือนที่คิด เพียงแค่ปรับแต่งเล็กน้อย เช่น ภาษาและคำสำคัญของแต่ละประเทศ รวมถึงการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นให้สามารถปรับแต่งค่าบางอย่างได้ตามสถานการณ์ได้   ถ้าพูดคำว่า ‘โลกาภิวัตน์’ ในยุคนี้ก็คงโดนหรี่ตามองว่า “ไปอยู่ที่ไหนมา” เพราะมันกลายเป็นความปกติสามัญเหมือนแอปเปิลตกจากต้นตามแรงโน้มถ่วง สำหรับบางประเทศ โลกาภิวัตน์ไม่ใช่สัจธรรม แต่เป็นทางเลือกที่พวกเขาอยากเปิดรับเฉพาะบางแง่มุม การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อของโลกอาจเป็นโอกาส แต่ของแถมคือภัยคุกคาม ‘ความมั่นคง’ ของรัฐ ชนชั้นนำ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ ฯลฯ ทำให้รัฐต้องสรรหานวัตกรรมต่างๆ มารับมือในแบบของตัวเอง โดยไม่ถึงขั้นสุดโต่งปิดตายการไหลเวียนของข้อมูลเสียสนิท จนปิดกั้นโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ นวัตกรรม ‘Great Firewall’ คือกำแพงกรองข้อมูลจากโลกอินเทอร์เน็ตภายนอกของจีน แม้จะเชื่อมต่อได้จริง แต่ก็ไม่เปิดเสรีจนผู้นำรัฐกังวล จะเป็นอย่างไร หากโครงสร้างอินเทอร์เน็ตรูปแบบนี้เป็นที่แพร่หลาย เพราะลงล็อกตอบโจทย์กับความกังวลของผู้วางนโยบายอินเทอร์เน็ตของรัฐต่างๆ หลังจากจีนพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า ทำได้ จนเป็นแรงบันดาลใจให้หลายประเทศ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บ้านใกล้เรือนเคียงของเราเอง อย่างเมียนมาและกัมพูชา ต้องทำตาม เพื่อร่วมสำรวจสถานการณ์เสรีภาพในอินเทอร์เน็ตร่วมกัน DigitalReach…

‘ลี เซียน หลุง’ เผยถูกแอบใช้โปรไฟล์ทวิตเตอร์

Loading

    นายกรัฐมนตรีลี เซียน หลุงของสิงคโปร์ เปิดเผยในวันศุกร์ (2 เม.ย.) ว่า โปรไฟล์ทวิตเตอร์ @leehsienloong ของเขาถูกนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตบนแพลตฟอร์มบล็อกเชนสำหรับผู้ใช้งานเพื่อซื้อและเก็งกำไรเงินคริปโตเคอเรนซี นายลีโพสต์ในเฟซบุ๊คว่า “ผมได้ส่งทวีตแบบเปิดไปยังผู้สร้างเว็บไซต์ดังกล่าวซึ่งไม่เปิดเผยตัวตนเพื่อขอให้ทำการลบชื่อและรูปภาพของผมออกจากเว็บไซต์ดังกล่าวในทันที เนื่องจากผมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับแพลตฟอร์มนั้น” นายลีระบุว่า แพลตฟอร์มดังกล่าวกำลังสร้างความเข้าใจผิด และกระทำการที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผม พร้อมกันนี้ นายลียังขอให้ทุกคนระมัดระวังในการติดต่อกับแพลตฟอร์มคริปโตเคอเรนซีต่างๆ เขาเตือนเกี่ยวกับการทำธุรกรรมกับแพลตฟอร์มใดๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากธนาคารกลางสิงคโปร์ (เอ็มเอเอส) เนื่องจากยังไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมายในกรณีดังกล่าว “ก่อนทำการลงทุนใดๆ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ใช่แพลตฟอร์มปลอม และถูกต้องตามกฎหมาย เพื่อที่ท่านจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของการหลอกลวง” นายลี กล่าว   ————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ             / วันที่เผยแพร่  3 เม.ย.2564 Link : https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/930700

12 แอปที่ไม่ควรติดตั้งบน Windows10 และควรลบออกไป

Loading

12 แอปที่ไม่ควรติดตั้งบน Windows10 และควรที่จะลบออกไป หากคุณกำลังลังเลว่าจะทำการ uninstall แอปตัวไหนออกจากเครื่องดี เพราะไม่มีประโยชน์ ที่นอกเหนือจากแอปที่ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว มาดูกันว่ามีแอปไหนที่ไม่ควรติดตั้งเพิ่ม และหากเครื่องเรามีแอปนั้นแอปไหนควรลบออกจะดีกว่า ซึ่งแต่ละแอปนั้นจะมีเหตุผลในการไม่ควรติดตั้งและควรลบออกอยู่   วิธีดูรายชื่อแอปทั้งหมดบน Windows10   กด Windows+i แล้วเลือกที่ Apps >> เลือกรายการซ้ายที่ Apps & features คุณจะเห็นรายชื่อแอปทั้งหมดบนคอม Windows10 ของคุณ     12 แอปที่ไม่ควรติดตั้งบน Windows10 และควรลบแอปนั้นออกไป ได้แก่     Quicktime เพราะไม่มีเวอร์ชั่นใหม่มาสนับสนุนบน Windows มาตั้งแต่ปี 2016 แล้ว CCleaner เพราะ Avast จับได้ว่า แอปอัปเดตโดยไม่ขออนุญาต รีสตาร์ทตัวเอง ซอฟต์แวร์เองก็แพร่กระจายมัลแวร์โดยที่เจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว หากจะทำความสะอาด Windows ก็ใช้ Disk Cleanup…

รัฐบาลญี่ปุ่นมีมติห้ามใช้ Line ส่งข้อมูลลับ หวั่นรั่วไหลถึงจีน

Loading

  นายคัตสึโนบุ คาโตะ หัวหน้าเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมีมติห้ามการใช้แอปพลิเคชัน Line ส่งข้อมูลที่มีความอ่อนไหวเป็นการชั่วคราว การตัดสินใจดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่สื่อรายงานว่า เจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิคของบริษัทในเครือของ Line ที่ตั้งในจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลของลูกค้าในญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 2561 ซึ่งได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับชื่อของผู้ใช้บริการ หมายเลขโทรศัพท์ และอีเมลแอดเดรส “รัฐบาลจะระงับการใช้ Line เมื่อมีการส่งข้อมูลที่มีความอ่อนไหว และจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อออกแนวปฏิบัติในไม่ช้า” นายคาโตะกล่าวในการแถลงข่าว ทั้งนี้ Line ถือเป็นแอปพลิเคชันยอดนิยมในโลกออนไลน์ โดยมีผู้ใช้บริการกว่า 86 ล้านรายในญี่ปุ่น รวมทั้งมีผู้ใช้บริการจำนวนมากในไทย ไต้หวัน และอินโดนีเซีย   ———————————————————————————————————————————————————- ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์      วันที่เผยแพร่ 30 มี.ค.64 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/74209