ยอดโหลดทะลุล้านครั้ง เตือน 10 แอปอันตราย บน Android ห้ามโหลดเด็ดขาด

Loading

เมื่อไม่นานมานี้ โลกออนไลน์ได้มีการแชร์โพสต์ของผู้ใช้เพจเฟซบุ๊ก ตำรวจสอบสวนกลาง ระบุว่า รวมแอปฝังมัลแวร์ บน Andriod ยอดโหลดทะลุล้านครั้ง ขณะนี้ตรวจพบแอปที่มีมัลแวร์ดักข้อมูลแฝงอยู่ ซึ่งบางแอปถูกถอด Playstore แล้ว แต่ยังสามารถติดตั้งผ่านช่องทางแอปพลิเคชันอื่นได้อยู่ และบางแอปจะอยู่ในรูปแบบ Mini- Game ที่ให้ผู้ใช้เข้ามาเล่นเพื่อรับรางวัล

วิธีป้องกันไวรัส มัลแวร์ บนมือถือ Android

Loading

วิธีป้องกันไวรัส มัลแวร์ บนมือถือ Android โดยตัวระบบปฏิบัติการ Android จัดเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดมากกว่า Apple แต่นั่นก็มีโอกาสที่จะเกิดมัลแวร์มากกว่าเช่นกัน Google จึงแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย Google Play Protect เพื่อป้องกันแอปแฝงมัลแวร์ หลายท่านอาจคิดถึงการติดตั้งแอปป้องกันไวรัสบนมือถือ Android เพื่อดูแลคล้ายกับ Windows ความจริงแล้วคุณสามารถป้องกันไวรัสได้

รีบลบด่วน 12 แอปเกมอันตราย เจอมัลแวร์แฝงตัว

Loading

Doctor Web ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ เปิดเผยถึงแอปต่าง ๆ รวมถึงแอปเกมอันตรายบน Androids ที่มีการแฝงมัลแวร์ โดยระบบป้องกันของ Google ก็ไม่สามารถตรวจจับได้ หลังจากมีการรายงานไปยัง Google แอพทั้งหมดนี้ได้ถูกลบออกจาก Playstore แล้ว แต่หากใครยังมีในเครื่อง ให้รีบลบออกทันที

เช็กด่วน! ดีอีเอสเตือน แอปอันตราย 200 แอป ห้ามโหลด อาจสูญเงิน-ข้อมูลส่วนตัว

Loading

  ชัยวุฒิ ร่วม สกมช. แจงกรณีแอปดูดเงินอันตราย หลังพบประชาชนได้รับผลกระทบจากการติดตั้งแอปพลิเคชันอันตรายลงในโทรศัพท์มือถือ แล้วทำให้กลุ่มมิจฉาชีพเข้ามาดูดเงินออกไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง   นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีการแพร่ระบาดของมัลแวร์อันตราย ที่มาในรูปแบบของแอปพลิเคชัน ซึ่งดีอีเอส และสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ได้มีการตรวจสอบมาโดยตลอด   โดยพบปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยเฉพาะผู้ใช้งานโทรศัพท์ที่ติดตั้งแอปพลิเคชันที่ถูกระบุว่าสามารถขโมยข้อมูล หรือควบคุมเครื่องโทรศัพท์ได้ โดยในปี 2022 มีการเผยแพร่รายชื่อแอปพลิเคชันอันตรายเหล่านี้   ซึ่งมีมากกว่า 200 รายการ ทั้งในระบบ iOS และ Android ตามที่ปรากฎใน Facebook ของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ Facebook ของ สกมช. (NCSA THAILAND) จึงขอให้ผู้ใช้งานทำการตรวจสอบ หากพบแอปพลิเคชันดังกล่าวให้ถอนการติดตั้งโดยทันที และควรอัพเดทระบบของเครื่องโทรศัพท์ของตนเองให้เป็นเวอร์ชันล่าสุดอยู่เสมอ     ทั้งนี้ ดีอีเอส ขอแจ้งเตือนพี่น้องประชาชน ให้ระมัดระวังในการดาวน์โหลดแอปพลิเคชันต่าง ๆ ลงบนโทรศัพท์มือถือ เพราะอาจจะไปเจอมัลแวร์อันตรายได้…

ทรูมูฟ เอชเตือนภัยแอปปลอม ส่งลิงก์โหลดลงทะเบียนขโมยข้อมูล

Loading

  อย่าหลงเชื่อ…ทรูมูฟ เอช เตือนภัยมิจฉาชีพ มารูปแบบใหม่ อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่จากทรู ติดต่อลูกค้าและขอรายละเอียดการใช้บริการ หวังดีตรวจสอบให้ว่าเบอร์มือถือของลูกค้าถูกมิจฉาชีพอื่นนำไปใช้ทำธุรกรรมหรือไม่ พร้อมหลอกลวงว่าเบอร์มือถือของลูกค้าที่ใช้ยังลงทะเบียนซิมไม่ครบถ้วน โดยขอให้แอดไลน์ เพื่อส่งรายละเอียด   หากลูกค้าหลงเชื่อ มิจฉาชีพจะส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันปลอม ชื่อ TrueMove H โดยอ้างว่าเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการตรวจสอบชื่อจริง และทำให้ลูกค้าหลงเชื่อยอมกรอกข้อมูลส่วนตัว พร้อมใส่รหัสยืนยัน ซึ่งบางคนอาจใช้เป็นรหัสเดียวกันกับแอปพลิเคชันการเงินอื่นๆ ของตน หลังจากนั้นมิจฉาชีพแจ้งว่าจะรีบดำเนินการตรวจสอบข้อมูลที่ลูกค้าให้มาอย่างละเอียด และขอให้ลูกค้าอย่าเพิ่งใช้โทรศัพท์ในระหว่างนี้ ซึ่งถ้าหากลูกค้าหลงเชื่อปฏิบัติตาม มิจฉาชีพจะใช้ช่วงเวลาดังกล่าวเชื่อมต่อแอปธนาคาร และดูดเงินจากบัญชีลูกค้า   ทั้งนี้ ขอย้ำว่า แอปพลิเคชัน TrueMove H โอเปอเรเตอร์ (ดังปรากฏในภาพ) เป็นแอปปลอม ไม่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของบริษัทแต่อย่างใด ซึ่งหากลูกค้าต้องการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับบริการเพิ่มเติม สามารถโทร.1242 หรือเข้าแอปพลิเคชันทรูไอดี ทรูไอเซอร์วิส ยิ่งไปกว่านั้น ลูกค้าทรูมูฟ เอช ยังสามารถใช้แอปพลิเคชัน Whoscall เพื่อแจ้งเตือนเบอร์แปลก รู้ทันทุกสาย หรือโทร.9777 เพื่อแจ้งข้อมูลเบอร์โทร.เข้าที่ต้องสงสัยและ SMS หลอกลวง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย    …

Meta เตือน 402 แอปพลิเคชัน แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook

Loading

  Meta ออกประกาศเตือนถึงแอปพลิเคชันที่แอบขโมยข้อมูลล็อกอิน Facebook ด้วยการปลอมเป็น เกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ VPN และยูทิลิตี้อื่น ๆ กว่า 402 แอปพลิเคชัน   Meta เตือนผู้ใช้ Facebook เกี่ยวกับแอปพลิเคชันจำนวนหลายร้อยแอปทั้งในระบบ iOS และ Android ที่ออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลสำหรับการเข้าสู่ระบบของแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กโดยเฉพาะ Meta ระบุว่า มีแอปพลิเคชันที่เป็นอันตรายกว่า 402 แอป ที่ปลอมแปลงเป็นเกม โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ และยูทิลิตี้อื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานเปิดโอกาส “ให้บุกรุกบัญชีของตนโดยไม่รู้ตัวด้วยการดาวน์โหลดแอปเหล่านี้และแบ่งปันข้อมูลประจำตัว” ซึ่งส่งผลกระทบถึงผู้ใช้งานนับล้านราย   Meta ระบุในโพสต์ว่า แอปหลอกล่อให้ผู้คนดาวน์โหลดแอปด้วยรีวิวปลอมและสัญญาว่าจะมีฟังก์ชันที่เป็นประโยชน์ (ทั้งกลวิธีทั่วไปสำหรับแอปหลอกลวงอื่น ๆ ที่พยายามหลอกเอาเงินของคุณมากกว่าข้อมูลการเข้าสู่ระบบ) แต่เมื่อเปิดแอปบางตัวขึ้นมาใช้ ผู้ใช้งานจะได้รับแจ้งให้เข้าสู่ระบบด้วย Facebook ก่อนที่พวกเขาจะเข้าไปใช้งานอะไรได้จริง ซึ่งเป็นจุดที่ทำให้นักพัฒนาสามารถขโมยข้อมูลประจำตัวของพวกเขาได้   Meta กล่าวว่า ได้รายงานแอปดังกล่าวไปยัง Google และ Apple เพื่อนำออกแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่าพวกเขารองรับลงใน…