หน่วยงานฝรั่งเศส สั่งปรับ Apple 8 ล้านยูโร เหตุใช้ Targeted Ad ใน App Store โดยไม่ขอผู้ใช้งานก่อน

Loading

  หน่วยงานกำกับดูแล National Commission for Informatics and Liberty ของฝรั่งเศส หรือ CNIL สั่งปรับแอปเปิล เป็นเงิน 8 ล้านยูโร ระบุว่าทำผิดแอปเปิล เนื่องจากแอปเปิลไม่มีการขออนุญาต (consent) ผู้ใช้งานในฝรั่งเศสก่อน เพื่อแสดงโฆษณาแบบเจาะจง (Targeted Ad)   รายละเอียดระบุว่าแอปเปิลเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน เพื่อใช้แสดงโฆษณา ซึ่งกำหนดไว้เป็นค่าเริ่มต้น และหากต้องการปิดการทำงาน จะต้องทำหลายขั้นตอนมากในส่วน Settings และ Privacy ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวพบใน App Store บน iOS เวอร์ชันต่ำกว่า 14.6   อย่างไรก็ตามตัวแทนของแอปเปิล ได้ชี้แจงต่อ Fortune ว่าบริษัทผิดหวังกับคำตัดสิน และเตรียมยื่นอุทธรณ์ โดยยืนยันว่าการแสดงโฆษณาสำหรับผู้ใช้งานแต่ละคนนั้น บริษัทใช้ข้อมูลของแอปเปิลเองเท่านั้นในการเลือกโฆษณาแสดง ไม่ได้ใช้ข้อมูลผู้ใช้งาน รวมทั้งไม่ได้ใช้ข้อมูลแทร็กจาก 3rd party ผู้ใช้งานสามารถเลือกเปิดให้ใช้ข้อมูลส่วนตัวประมวลผลได้โดยกำหนดเอง ซึ่งความเป็นส่วนตัวเป็นสิ่งที่แอปเปิลให้ความสำคัญเป็นพื้นฐาน     ที่มา:…

Apple จำกัดการใช้งาน AirDrop ในประเทศจีน จำกัดเวลาเพียง 10 นาที

Loading

  การอัปเดตครั้งล่าสุดของระบบปฏิบัติการ iOS 16.1.1 มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในฟีเจอร์ AirDrop ส่งผลให้การใช้งานฟีเจอร์นี้ในประเทศจีน จำกัดเวลาเพียง 10 นาทีเท่านั้น   แอปเปิล ซึ่งเพิ่งปล่อยอัปเดตของระบบปฏิบัติการ iOS 16.1.1 ได้มีการปรับเปลี่ยนความสามารถการใช้งานของฟีเจอร์ AirDrop โดยการแชร์ไฟล์แบบไร้สายที่ว่านี้ มีเวลาจำกัดแค่ 10 นาทีเท่านั้น เมื่อมีการรับ-ส่งไฟล์ไปหาผู้ใช้งานทุกคน (for everyone)   แต่ในส่วนการทำงานของ AirDop กรณีที่ต้องการแชร์ไปให้ผู้ติดต่อที่เป็นเพื่อนกันยังคงส่งไฟล์หากันได้ตลอดเวลา ไม่จำกัดระยะเวลาเหมือนกรณีข้างต้น   การปรับเปลี่ยนความสามารถที่ว่านี้ของแอปเปิล นั่นเป็นเพราะว่า ในประเทศจีน ผู้ประท้วงชาวจีนที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลปักกิ่งนั้นมีการเลือกใช้ AirDrop สำหรับส่งไฟล์ซึ่งภายในมีข้อความที่ต้องการต่อสู้กับการปกครองแบบเผด็จการของรัฐบาลจีน   แน่นอนว่ากรณีนี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่แอปเปิลถอนฟีเจอร์การใช้งานบางอย่างในประเทศจีน ในบางกรณีแอปเปิลก็เลือกที่จะถอดบางแอปพลิเคชันที่ทำให้รัฐบาลจีนไม่สบายใจก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว   อย่างไรก็ดี ในประเด็นการเปลี่ยนแปลงของ AirDrop แอปเปิลไม่ได้บอกว่าเป็นเพราะอะไร แต่บอกว่าในปีหน้าจะบังคับให้การแชร์ไฟล์ไปหาใครก็ได้ทำได้จำกัดในเวลา 10 นาทีเท่านั้น เพื่อลดการแชร์ไฟล์ที่ไม่ต้องการ     ที่มา: Mashable      …

สหรัฐเรียกร้องแอปเปิล-กูเกิลลบติ๊กต็อกจากแอปสโตร์ กังวลความปลอดภัยข้อมูล

Loading

  นายเบรนแดน คาร์ หนึ่งในคณะกรรมการด้านการสื่อสารของรัฐบาลกลางสหรัฐ (FCC) ได้เรียกร้องให้บริษัทแอปเปิลและกูเกิล ลบแอปพลิเคชันติ๊กต็อกออกจากแอปสโตร์ของทั้งสองบริษัท เนื่องจากมีความวิตกเกี่ยวกับความปลอดภัยของข้อมูลที่เกี่ยวกับจีน   นายคาร์ได้เผยแพร่จดหมายผ่านทางทวิตเตอร์เพื่อเรียกร้องนายทิม คุก ซีอีโอของบริษัทแอปเปิล และนายซันดาร์ พิชัย ซีอีโอของบริษัทอัลฟาเบทซึ่งเป็นบริษัทแม่ของกูเกิล โดยจดหมายดังกล่าวระบุถึงรายงานและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ระบุว่า ติ๊กต็อกไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบายแอปสโตร์ของแอปเปิล และอัลฟาเบท   “ตัวตนที่แท้จริงของติ๊กต็อกไม่ใช่สิ่งที่เราเห็น ไม่ใช่แค่แอปแชร์วิดีโอตลกขบขันหรือมีม แต่เป็นสุนัขป่าในคราบแกะ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ติ๊กต็อกเป็นเครื่องมือสอดแนมที่ก้าวล้ำ ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่อ่อนไหวได้เป็นจำนวนมาก” นายคาร์กล่าว   นายคาร์ยังกล่าวด้วยว่า หากแอปเปิลและอัลฟาเบทจะไม่ลบติ๊กต็อกออกจากแอปสโตร์ ทั้งสองบริษัทจะต้องส่งคำชี้แจงให้กับเขาภายในวันที่ 8 ก.ค.นี้ โดยคำชี้แจงจะต้องอธิบายหลักการพื้นฐานสำหรับข้อสรุปของบริษัทที่ว่า การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของสหรัฐโดยบุคคลที่อยู่ในประเทศจีน รวมถึงรูปแบบการนำเสนอและการดำเนินการของติ๊กต็อกที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดนั้น ไม่ได้ขัดกับนโยบายแอปสโตร์ใด ๆ ของแอปเปิลและอัลฟาเบท   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า บริษัทแอปเปิล, อัลฟาเบท และติ๊กต็อก ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ เกี่ยวกับข้อเรียกร้องของนายคาร์ในขณะนี้   เมื่อวันที่ 18 มิ.ย.ที่ผ่านมา ติ๊กต็อกเปิดเผยว่า บริษัทได้เสร็จสิ้นการโอนย้ายข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐไปยังเซิร์ฟเวอร์ของบริษัทออราเคิล คอร์ป…

Positive วิจารณ์มาตรการป้องกัน AirTag ติดตามตัวของแอปเปิลไม่ได้ผล คนใช้แท็กปลอมติดตามตัวได้อยู่ดี

Loading

  Positive Technology บริษัทวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์เขียนบล็อกวิจารณ์ถึงมาตรการรักษาของแอปเปิลที่พยายามป้องกันการนำ AirTag ไปติดตามบุคคลอื่น ว่ามาตรการไม่เพียงพอ และไม่สามารถป้องกันได้จริง Positive Technology ระบุว่าปัญหาใหญ่คือ Find My นั้นเปิดให้อุปกรณ์ภายนอกที่ไม่ได้ผลิตโดยแอปเปิลใช้เครือข่ายได้ โดยตอนนี้มีโครงการ OpenHaystack ที่เปิดให้คนทั่วไปสร้างอุปกรณ์เลียนแบบ AirTag กันได้เอง ทำให้มาตรการของแอปเปิลหลายอย่าง เช่น การสั่งให้อุปกรณ์ส่งเสียง , การแสดงตำแหน่งอย่างละเอียดด้วยคลื่น ultra-wide band , หรือแม้แต่หน้าจอแจ้งเตือนทางกฎหมาย ใช้งานไม่ได้กับอุปกรณ์เหล่านี้ นอกจากนี้ ตัว AirTag เองที่มีลำโพงในตัวก็มีคนไปถอดลำโพงขายกันอยู่ทั่วไป แสดงให้เห็นว่าการละเมิดนั้นง่ายเพียงใด กระบวนการขอใช้งานเครือข่าย Find My นั้นต้องการเพียง Apple ID เท่านั้น ไม่ได้มีการตรวจสอบตัวตนทางอื่น ทำให้คนร้ายที่ใช้อุปกรณ์จากผู้ผลิตภายนอก สามารถสร้างบัญชีปลอมมาติดตามเหยื่อได้อยู่ดี ที่มา – Positive Technology   ภาพประกาศขาย AirTag ที่ถอดลำโพงออกแล้ว ในเว็บไซต์ eBay  …

แอปเปิลเผยฟีเจอร์ใหม่ Private Relay ไม่สามารถใช้งานในจีนได้ เหตุมีลักษณะคล้าย VPN

Loading

  แอปเปิล เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่มีชื่อว่าไพรเวต รีเลย์ (Private Relay) ซึ่งอยู่ภายใต้บริการ iCloud+ ในการประชุมนักพัฒนาระดับโลก (WWDC) เมื่อวานนี้ อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทระบุว่า บริการดังกล่าวจะไม่สามารถใช้งานในจีนได้ แอปเปิลระบุว่า ไพรเวต รีเลย์ คือบริการใหม่ที่จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้งาน โดยเมื่อผู้ใช้งานต้องการท่องเว็บไซต์ผ่านทางซาฟารี ข้อมูลจะถูกส่งออกไปยัง 2 เซิร์ฟเวอร์เพื่อซ่อน IP และเว็บไซต์ที่ผู้ใช้งานเข้าชม ทำให้แอปเปิลหรือผู้ใช้บริการเครือข่ายไม่สามารถมองเห็นข้อมูลได้ ซึ่งบริการดังกล่าวมีลักษณะคล้ายกับการทำงานของ VPN ที่ผู้ใช้งานสามารถปกปิดกิจกรรมการท่องเว็บของตนเอง โฆษกของแอปเปิลให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซีว่า ไพรเวต รีเลย์จะไม่สามารถใช้งานในจีนและบางประเทศได้ ซึ่งรวมถึง ซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ เบลารุส และยูกันดา เนื่องจากว่าบริการดังกล่าวขัดต่อกฎหมายท้องถิ่น โดยเฉพาะในจีนที่การใช้งาน VPN เพื่อลักลอบเข้าเว็บไซต์ที่ทางการบล็อกถือเป็นเรื่องผิดกฎหมาย และถึงแม้ไพรเวต รีเลย์จะไม่ใช่ VPN แต่ก็ทำงานในลักษณะคล้ายคลึงกัน อนึ่ง เมื่อปี 2560 แอปเปิลเคยต้องลบบริการ VPN จำนวนมากออกจาก App Store ของจีน เพื่อให้บริการอย่างถูกต้องตามกฎหมายท้องถิ่น  …

ไหนบอกปลอดภัย?! แฉ Apple ยอมตามกฎหมายจีน ทำให้ข้อมูลผู้ใช้ตกอยู่ในความเสี่ยง!

Loading

  แม้ซีอีโอของ Apple อย่างทิม คุก (Tim Cook) ได้ประกาศว่า ข้อมูลของผู้บริโภคจะปลอดภัย แต่ศูนย์ข้อมูลของ Apple ที่กุ้ยหยางกลับต้องตกอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลจีน ทำให้ข้อมูลของผู้บริโภคชาวจีนจะไม่ปลอดภัยเหมือนที่ Apple เคยโฆษณาเอาไว้ New York Times ออกมาแฉว่า Apple ละทิ้งอุดมการณ์ของตัวเอง โดยยอมประนีประนอมให้กับกฎหมายในประเทศจีน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของความปลอดภัยของผู้ใช้งานให้อยู่ในความเสี่ยง โดยได้มีการเผยแพร่เอกสารข้อมูลจากการสัมภาษณ์พนักงาน Apple และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยจำนวน 17 คน ที่ทำงานอยู่กับ Apple ทั้งในปัจจุบันและในอดีต เป็นหลักฐานถึงการยอมลดมาตรการความปลอดภัยของบริษัทเพื่อรัฐบาลจีน     แม้ทิม คุกจะออกมาพูดบ่อย ๆ เกี่ยวกับความมุ่งมั่นของ Apple ในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเป็นส่วนตัว แต่กลับพบว่า Apple ได้ทำให้ ข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภคชาวจีนตกอยู่ในความเสี่ยง อีกทั้งยังยินยอมทำตามรัฐบาลจีนในการคัดกรองบางแอปออกจาก App Store อีกด้วย ที่จริงแล้ว Apple ถึงขนาดยอมตัดประโยค “Designed by Apple in…