ผู้เชี่ยวชาญเตือนภัยสมาร์ตวอตช์ และวิธีป้องกัน

Loading

  เดบาร์ชี ดาส (Debarshi Das) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยอิสระเผยให้เห็นว่ามีการแฮ็กสมาร์ตวอตช์มีหลากหลายวิธี   รูปแบบการส่งข้อมูลของสมาร์ตวอตช์ โดยทั่วไปแล้ว สมาร์ตวอตช์เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy (BLE) ซึ่งใช้แถบคลื่นความถี่เดียวกันกับ Bluetooth ทั่ว ๆ ไป แต่ใช้คนละช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล และใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth   สมาร์ตวอตช์สื่อสารกับสมาร์ตโฟนโดยส่งชุดข้อมูล (packets) ที่มีชื่อเรียกว่า Beacon ซึ่ง Beacon เหล่านี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณบอกให้อุปกรณ์ในระยะสัญญาณรู้ถึงการมีอยู่ของสมาร์ตวอตช์ตัวนั้น ๆ   จากนั้น สมาร์ตโฟนเป้าหมายที่อยู่ในระยะการส่ง Beacon ก็จะตอบกลับด้วยคำขอสแกนข้อมูล ซึ่งสมาร์ตวอตช์ก็จะตอบคำขอนั้นด้วยการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น   ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า Generic Attribute Profile (GATT) ใน GATT จะมีรายละเอียดของอุปกรณ์ทั้ง ฟีเจอร์ ลักษณะ และบริการที่มี ทำให้อุปกรณ์ที่รับสัญญาณสามารถเข้าทำความเข้าใจและใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของสมาร์ตวอตช์ได้  …

ระวัง! มิจฉาชีพสามารถแฮ็กข้อมูลจากสมาร์ตวอตช์ ได้

Loading

  เตือนภัย! มิจฉาชีพสามารถ แฮ็กข้องมูล จากนาฬิกาสมาร์ตวอตช์ เข้าถึงข้อมูลธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต ทั้งยังรู้ถึงตำแหน่งคุณทำอะไรอยู่ไหน   ปัจจุบันนาฬิกาอัจฉริยะ หรือ Smart Watch หนึ่งอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนา ทำให้การดูเวลาทั่วไปเปลี่ยนไป เพราะยังมีฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ อีกเพียบ ทั้ง วัดค่าต่าง ๆ ในร่างกาย นับก้าวการเดิน ถ่ายรูป เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน ฯลฯ แต่รู้หรือไม่? สมาร์ตวอตช์ ก็สามารถโดนแฮ็กข้อมูลได้   โดยเพจ ตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์แจ้งเตือนถึงอันตรายมิจฉาชีพสมัยนี้ ที่สามารถแฮ็กข้อมูลจาก Smart Watch ได้ พร้อมเผยวิธีป้องกัน โดยระบุว่า…สมาร์ตวอตช์จะเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน ผ่านเทคโนโลยี Bluetooth Low Energy (BLE) ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัว ที่เรียกว่า Beacon   แฮ็กเกอร์สามารถดักสัญญาณ Beacon ได้ ก็จะสามารถติดตั้งมัลแวร์ผ่านบลูทูธ หรือใส่โค้ดอันตรายไว้ในแอปบนสมาร์ตวอตช์เพื่อดักข้อมูล…

แฮ็กเกอร์เกาหลีเหนือ 2 กลุ่มแฮ็กบริษัทขีปนาวุธรัสเซีย

Loading

  นักวิจัยจาก SentinelOne ชี้แฮ็กเกอร์ 2 กลุ่มที่รัฐบาลเกาหลีเหนือหนุนหลังเข้าแฮ็ก NPO Mash บริษัทวิศวกรรมขีปนาวุธจากรัสเซียตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว   NPO Mash หรือชื่อเต็มคือ NPO Mashinostroyeniya ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองรอยตอฟ ใกล้กับกรุงมอสโกถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อว่า ScarCruft และ Lazarus แฮ็กมาตั้งแต่อย่างน้อยในปี 2021   บริษัทแห่งนี้เป็นผู้นำในด้านการผลิตขีปนาวุธและยานอวกาศให้แก่กองทัพรัสเซียและครอบครองข้อมูลละเอียดอ่อนขั้นสูงเกี่ยวกับเทคโนโลยีขีปนาวุธ   SentinelOne พบข้อมูลการแฮ็กนี้เมื่อเจอเข้ากับชุดข้อมูลการสื่อสารภายในที่เจ้าหน้าที่ไอทีของ NPO Mash ทำหลุดออกมาระหว่างการตรวจสอบการแฮ็กโดยเกาหลีเหนือ ซึ่ง NPO Mash พบการโจมตีนี้มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว   การตรวจสอบพบว่า ScarCruft ได้เข้าเจาะเซิร์ฟเวอร์อีเมล Linux ของ NPO Mash ขณะที่ Lazarus แอบฝังแบ็กดอร์หรือทางลัดดิจิทัลที่ชื่อ OpenCarrot ในเครือข่ายภายในของบริษัท   สำหรับ ScarCruft (หรือ APT37) เกี่ยวข้องกับกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐ (MSS) ของเกาหลีเหนือ…

การโจมตีทางไซเบอร์ระงับการให้บริการโรงพยาบาลใน 5 รัฐของสหรัฐฯ

Loading

  การโจมตีทางไซเบอร์ทำให้ระบบการทำงานของโรงพยาบาลหลายแห่งในหลายรัฐของสหรัฐอเมริกาใช้งานไม่ได้ ทำให้ต้องปิดห้องฉุกเฉิน งดรับรถพยาบาล และย้ายผู้ป่วยไปรักษาที่อื่น   เหตุการณ์นี้เริ่มขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (3 สิงหาคม) ต่อสถาบันทางการแพทย์ที่ Prospect Medical Holdings ดูแลอยู่ ทำให้โรงพยาบาลในแคลิฟอร์เนีย เท็กซัส คอนเนตทิคัต โรดไอแลนด์ และเพนซิลเวเนีย ได้รับผลกระทบ   ด้าน Prospect Medical Holdings เผยว่าได้ปิดระบบชั่วคราวเพื่อคุ้มครองข้อมูลและได้รับความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอกในการตรวจสอบกรณีที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก โดยบริษัทมีทีมในระดับประเทศที่คอยประเมินผลกระทบอยู่   โรงพยาบาล 2 แห่งในคอนเนตทิคัตต้องปิดห้องฉุกเฉิน ย้ายผู้ป่วยในสถานพยาบาลใกล้เคียง และกลับไปใช้การบันทึกข้อมูลบนกระดาษ   นอกจากนี้ การผ่าตัดที่ไม่ฉุกเฉิน การบริจาคเลือด และบริการอื่น ๆ ต้องระงับออกไปก่อน   สำนักงานสืบสวนกลาง (FBI) ในรัฐคอนเนตทิคัตแถลงว่ากำลังทำงานร่วมกับหน่วยบังคับใช้กฎหมายอื่น ๆ และเหยื่อในการสืบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น     ที่มา latimes       —————————————————————————————————————————————————…

Microsoft เผยแฮ็กเกอร์รัฐบาลรัสเซียใช้ Teams ส่งข้อความหลอกเอาข้อมูล

Loading

  Microsoft เผยว่าแฮ็กเกอร์ในกองทัพรัสเซียใช้ระบบแชตใน Microsoft Teams ในการส่งข้อความฟิชชิงในการล้วงข้อมูลเหยื่อ   Microsoft เรียกกลุ่มนี้ว่า Midnight Blizzard ในอีกชื่อหนึ่งคือ NOBELIUM หรือ Cozy Bear ที่หลายประเทศเชื่อว่าเป็นปฏิบัติการของหน่วยข่าวกรองต่างประเทศของรัสเซีย   วิธีการโจมตีก็คือ Midnight Blizzard จะใช้บัญชี Microsoft 365 ของธุรกิจขนาดเล็กที่แฮ็กมาได้ในการสร้างโดเมนใหม่ที่ปลอมตัวเป็นเว็บไซต์ให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค และส่งข้อความผ่าน Teams เพื่อหลอกขอข้อมูลล็อกอินจากองค์กรเป้าหมาย   Microsoft ชี้ว่าปัจจุบันมีองค์กรที่ตกเป็นเหยื่อแล้วราว ๆ 40 องค์กรทั่วโลก ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่ใช่รัฐ บริการไอที บริษัทเทคโนโลยี บริษัทอุตสาหกรรม และองค์กรสื่อ   ที่แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้เปลี่ยนชื่อบัญชีและเพิ่มผู้ใช้รายใหม่เข้ามาในรายชื่อติดต่อ และส่งข้อความ Team ที่ติดป้ายด้านความมั่นคงปลอดภัยและชื่อผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความสนใจให้เหยื่อเปิดข้อความ   Microsoft ได้ปิดโดเมนที่มีปัญหาแล้ว แต่ยังตรวจสอบเหตุการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อไป     ที่มา   therecord    …

Unit 42 ของพาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ เผยรายงานมัลแวร์บน Android ปลอมตัวเป็นแอป ChatGPT หลอกเหยื่อผู้ใช้สมาร์ตโฟนในไทย

Loading

  กรุงเทพฯ – 31 กรกฎาคม 2566, พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ผู้นำระดับโลกด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์ ล่าสุดพบว่ามัลแวร์บน Android ที่แอบอ้างเป็นแชตบอต AI ชื่อดังอย่าง ChatGPT มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยถูกปล่อยออกมาพร้อมกับการเปิดตัว GPT-3.5 และ GTP-4 ของ OpenAI เพื่อมุ่งเป้าไปที่เหยื่อที่มีความสนใจในเครื่องมือ ChatGPT   โทรจัน Meterpreter ที่ปลอมตัวเป็นแอป “SuperGPT” และ “ChatGPT” มีพฤติกรรมในการส่งข้อความพิเศษค่าบริการราคาแพงไปยังหมายเลขโทรศัพท์ในไทย ทำให้ผู้ใช้โดนคิดเงินอย่างไม่รู้ตัวและสร้างรายได้แก่คนร้ายมหาศาล ที่น่ากังวลก็คือ ผู้ใช้ Android สามารถดาวน์โหลดแอปได้จากหลายช่องทางนอกเหนือไปจาก Google Play Store ดังนั้นจึงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้จะได้รับแอปซึ่งไม่ได้ผ่านการตรวจสอบจาก Google   ข้อมูลสำคัญที่น่าสนใจมีดังนี้   •   การปลอมตัวเป็น ChatGPT: มัลแวร์ใหม่บน Android มีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยปลอมตัวเป็น ChatGPT และถูกปล่อยออกมาในช่วงที่มีการเปิดตัว GPT-3.5…