คนสิงคโปร์ทำแบบสอบถามออนไลน์หวังรับชานมไข่มุกฟรี สุดท้ายโดนแฮ็กเอาเงินกว่า 5 แสนบาท

Loading

    ระวังให้ดี! ลูกค้าร้านชานมไข่มุกที่สิงคโปร์ทำแบบสอบถามออนไลน์เพื่อรับชานมฟรีหนึ่งแก้ว   ลูกค้าร้านชานมไข่มุกที่สิงคโปร์คนหนึ่งเห็นสติกเกอร์ที่ประตูกระจกของร้าน ชวนทำแบบสอบถามออนไลน์เพื่อรับชานมฟรีหนึ่งแก้ว เธอเห็นว่าเป็นการสำรวจของทางร้านก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไร สแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อให้ได้ลิงก์เข้าไปโหลดและติดตั้งแอปฯ เพื่อทำแบบสอบถาม   แต่คืนนั้นขณะที่เธอนอนหลับอยู่ จู่ ๆ โทรศัพท์มือถือของเธอก็สว่างขึ้นมีแฮ็กเกอร์เข้ามาย้ายเงินจากบัญชีของเธอออกไป 20,000 เหรียญ (ประมาณ 512,000 บาท) จากแอปฯ ที่เธอติดตั้งไปเพื่อทำแบบสอบถามชิงรางวัล   เธอไม่ใช่รายเดียวที่ถูกหลอกให้โหลด “แอปขโมยเงิน” ตำรวจไซเบอร์ของสิงคโปร์บอกว่า ในเดือนเมษายน ตำรวจและหน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของสิงคโปร์เตือนประชาชนเกี่ยวกับการดาวน์โหลดแอปจากเว็บไซต์ที่น่าสงสัยซึ่งอาจนำไปสู่การติดตั้งมัลแวร์บนโทรศัพท์มือถือของเหยื่อ มีคนถูกหลอกขโมยเงินในรูปแบบนี้ไปแล้ว 113 ราย มูลค่าความเสียหายรวมกันไม่ต่ำกว่า 445,000 เหรียญ หรือประมาณ 11.4 ล้านบาท   นอกจากแบนเนอร์ในเว็บไซต์ต่างๆ ตอนนี้มิจฉาชีพเริ่มใช้วิธีนำสติกเกอร์ไปติดตามร้านอาหาร ร้านเครื่องดื่ม ทำเนียน ๆ ว่าเป็นของทางร้าน   ตำรวจยังบอกอีกว่าเหตุลักษณะนี้มักจะเกิดกับผู้ใช้โทรศัพท์ในระบบแอนดรอยด์ด้วย จึงขอให้ระมัดระวังเป็นพิเศษ         ที่มา: asiaone    …

แฮ็กเกอร์ฝ่ายต่อต้านล้วงข้อมูลกระทรวงต่างประเทศอิหร่าน

Loading

    กระทรวงการต่างประเทศอิหร่านออกมายอมรับว่ามีการโจมตีเว็บไซต์ที่ใช้เผยแพร่ข้อมูลจริง แต่ปฏิเสธรายงานว่ามีข้อมูลรั่ว   นัสเซอร์ คานานิ (Kasser Kanani) โฆษกของกระทรวงฯ เผยว่าเว็บไซต์ของกระทรวงฯ ถูกแฮ็กจริง แต่ได้นำมาตรการสำคัญมาใช้แล้ว   คานานิชี้ว่า ข้อมูลและรูปภาพบนโลกออนไลน์ที่อ้างว่าหลุดมาจากเว็บไซต์ของกระทรวงฯ นั้นเป็นข้อมูลเท็จทั้งหมด   เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา (8 พฤษภาคม) กลุ่มแฮ็กเกอร์สัญชาติอิหร่านที่ชื่อ Ghiam Sarnegouni (แปลเป็นไทยว่า ‘ลุกฮือจนกว่าจะล้มล้างได้’) อ้างว่าเป็นผู้โจมตีเซิร์ฟเวอร์และฐานข้อมูลของกระทรวง จนเว็บไซต์ 210 แห่งล่ม ข้อมูล 50 เทระไบต์รั่ว   โดยยังมีการเผยข้อมูลเอกสาร บัตรประจำตัว เอกสารผลประชุม และเบอร์โทรศัพท์ของเจ้าหน้าที่กระทรวงฯ บนช่อง Telegram ของทางกลุ่ม   ในจำนวนนี้มีจดหมายโต้ตอบระหว่างเจ้าหน้าที่อิหร่านและยุโรปในกรณีการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างอิหร่านและเบลเยียม เป็นการต่อรองแลกตัว อซาดอลเลาะห์ อัซซาดิ (Asadollah Assadi) นักการทูตอิหร่าน และ โอลิวิเยร์ ฟานเดอคัสตีเล (Olivier Vandecasteele) เจ้าหน้าที่มนุษยธรรมของเบลเยียม…

แฮ็กเกอร์บอกเอง มีอะไรซ่อนอยู่บน DarkWeb

Loading

    เว็บไซต์ Vice ได้เปิดเผยคลิปที่สัมภาษณ์ Hacker คนหนึ่ง ที่เคยเป็น BlackHat มาก่อน ซึ่งสิ่งที่เขานำมาแชร์เป็นเบื้องลึกที่น่าสนใจของ DarkWeb ว่า มันมีอะไรอยู่ในนั้น ทำไมแฮ็กเกอร์ นักฆ่า เจ้าพ่อค้ายาเสพติด และกลุ่มอื่น ๆ ถึงชอบเข้าไปใช้งานกันนักหนา   เขาบอกว่า ปัจจุบัน ถ้าเป็นแฮ็กเกอร์ จะแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ ๆ คือ Whitehat กับ Blakchat ก็ตามชื่อเลยครับ ฝั่ง BlackHat ก็จะทำให้ในสิ่งที่ผิดกฏหมายนั่นแหละ ปัจจุบันแฮ็กเกอร์สายหมวกดำ จะเน้นใช้ Ransomware ในการหาเงินให้กับตัวเอง และมีอีกบางกลุ่มที่อยากเห็นโลก “มอดไหม้” ด้วยมือของเขาเอง (ทำแล้วสนุกนั่นแหละ) พร้อมกับอธิบายว่า ระบบใด ๆ ก็ตามที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตี   เขาเคยเฝ้าดูโรงพยาบาลที่ถูกโจมตีด้วย Ramsomware และเห็นถึงทางเลือกของคนป่วยแค่ 2 แบบคือ ยอมจ่ายเงินเพื่อกู้คืนระบบกลับมา หรือยอมเสี่ยงชีวิต…

6 ข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิด ‘การรั่วไหล’ ของข้อมูลบ่อยที่สุด

Loading

    วันนี้ผมจะขอสรุปรวมข้อผิดพลาดที่ทำให้เกิดการละเมิดของข้อมูลและเปิดทางให้เหล่าแฮ็กเกอร์เข้าโจมตีระบบของผู้ใช้งานและปล่อยข้อมูลให้รั่วไหลกันครับ   1. ขาดการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multi-factor Authentication หรือ MFA) : ช่วยให้แฮ็กเกอร์เข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้ยากมากยิ่งขึ้น   2. การมองเห็นอย่างจำกัดในคลังเก็บข้อมูลทั้งหมด : ธุรกิจต่างๆ ต้องการ single dashboard solution ที่สามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความสามารถด้านความปลอดภัยของข้อมูลที่หลากหลายรวมถึงการค้นหาข้อมูล การจัดประเภท การตรวจสอบ การควบคุมการเข้าถึง การวิเคราะห์ความเสี่ยง การจัดการการปฏิบัติตามข้อกำหนด ระบบความปลอดภัยอัตโนมัติ การตรวจจับภัยคุกคาม และการรายงานการตรวจสอบ   3. นโยบายเกี่ยวกับรหัสผ่านที่ไม่ดี : ทุกบริษัทควรฝึกอบรมพนักงานเป็นประจำเกี่ยวกับความสำคัญของการไม่ใช้รหัสผ่านซ้ำหรือแบ่งรหัสผ่านกับเพื่อนร่วมงาน คู่ค้า หรือผู้ขาย   4. โครงสร้างพื้นฐานทางข้อมูลที่กำหนดค่าไม่ถูกต้อง : โครงสร้างพื้นฐานที่จัดการบนคลาวด์ในแต่ละรายการนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และต้องใช้ชุดทักษะเฉพาะเพื่อจัดการอย่างเหมาะสม การมองเห็นภาพรวมของข้อมูลทั้งหมดที่จัดการบนคลาวด์ผ่านแดชบอร์ดเดียวจะช่วยลดความจำเป็นในการดูแลเรื่องการกำหนดค่าสำหรับการมองเห็นข้อมูล   5. การป้องกันช่องโหว่ที่จำกัด : ช่องโหว่แบบ Zero-day ในโค้ดที่ได้รับความนิยมอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความปลอดภัยสำหรับองค์กรหลายแห่ง การป้องกันรันไทม์ช่วยรักษาความปลอดภัยให้แอปพลิเคชันจากช่องโหว่โดยไม่ปล่อยให้แอปพลิเคชันเสี่ยงต่อการถูกโจมตี   6. ไม่เรียนรู้จากการละเมิดข้อมูลในอดีต…

กลุ่มแฮ็กเกอร์สนับสนุนอาหรับโจมตีเว็บไซต์การท่า

Loading

    เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (26 เมษายน) แฮ็กเกอร์โจมตีเว็บไซต์ของการท่าเรืออิสราเอลด้วยวิธีการ Distributed Denial-of-Service (DDoS) จนล่ม   Anonymous Sudan กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ต่อต้านนโยบายปาเลสไตน์ของอิสราเอลออกมาอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีในครั้งนี้   กลุ่มดังกล่าวยังอ้างว่าได้โจมตีเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยข่าวกรองภายในประเทศ (Shin Bet) สำนักงานหลักทรัพย์อิสราเอล และการท่าของเมืองไฮฟา ด้วย   แต่เว็บไซต์เหล่านี้ยังทำงานได้อย่างเป็นปกติอยู่         ที่มา The Jerusalem Post         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                                 …

องค์กรการจราจรทางอากาศยุโรปถูกโจมตีทางไซเบอร์จนระบบสื่อสารขัดข้อง

Loading

  Eurocontrol หน่วยงานการจราจรทางอากาศของยุโรปเผยว่าเว็บไซต์ถูกแฮ็กเกอร์ที่สนับสนุนรัสเซียโจมตี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 19 เมษายนที่ผ่านมา   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้เว็บไซต์ ระบบการสื่อสาร และการบริการออนไลน์ขัดข้อง สายการบินรายเล็กบางเจ้าต้องหันกลับไปใช้เทคโนโลยีเก่า ๆ ในการจัดตารางบิน   Eurocontrol ยืนยันว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการบินยุโรปแต่อย่างใด แต่เจ้าหน้าที่ระดับสูงรายหนึ่งให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Wall Street Journal ว่าพนักงานกว่า 2,000 คนขององค์กรต้องหันไปใช้ระบบการสื่อสารอื่น และประสบความลำบากในการต่อกรกับภัยไซเบอร์ในครั้งนี้   หน้าที่ของ Eurocontrol คือประสานการจราจรสำหรับเครื่องบินพาณิชย์กับองค์กรที่มีลักษณะเดียวกันของ 41 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป   ทั้งนี้ Killnet กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่สนับสนุนรัสเซียได้ออกมาอ้างความรับผิดชอบในช่องภาษารัสเซียของทางกลุ่มบนแพลตฟอร์ม Telegram           ที่มา The Register           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …