แฮ็กเกอร์พบรายชื่อห้ามบินของรัฐบาลสหรัฐฯ บนโลกออนไลน์ระหว่าง ‘เบื่อ ๆ’

Loading

    maia arson crimew แฮกเกอร์ชาวสวิสเผยข้อมูลรายชื่อห้ามบิน (No Fly List) ของสหรัฐอเมริกาบนโลกออนไลน์ โดยอ้างว่าได้มาจาก 3 ไฟล์ในเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ที่มีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยต่ำ   หนึ่งในไฟล์ที่แฮกเกอร์รายนี้แฮกได้มามีข้อมูลรายชื่อที่รัฐบาลสหรัฐฯ สั่งห้ามบินเข้าหรือออกนอกประเทศกว่า 1.5 ล้านรายชื่อ   แฮกเกอร์รายนี้ชี้ว่าได้ข้อมูลเหล่านี้มาในช่วงระหว่างเบื่อ ๆ ลองใช้แพลตฟอร์ม Shodan เพื่อค้นหาเซิร์ฟเวอร์ของ Jenkins ที่เชื่อมต่ออยู่กับอินเทอร์เน็ต โดยเมื่อลองเข้าไปยังเซิร์ฟเวอร์ของสายการบิน CommuteAir ที่เปิดโล่งให้เข้าไปง่าย ๆ ก็พบไฟล์ .csv จำนวน 3 ไฟล์ ได้แก่ employee_information.csv, nofly.csv และ selectee.csv   ไฟล์ nofly.csv ที่มีข้อมูลรายชื่อห้ามบินอยู่นั้น มีขนาดไฟล์เกือบ 80 เมกะไบต์ มีข้อมูลมากกว่า 1.56 ล้านแถว ซึ่งเป็นรายชื่อบุคคลที่ถูกสหรัฐฯ สั่งห้ามบิน ทั้งนี้ บางรายชื่อน่าจะเป็นนามแฝงของคนที่อยู่ในรายชื่อนี้  …

6 ทริค จับไต๋มัลแวร์ อาการแบบไหน มั่นใจได้ว่า คอมโดนแฮ็ก

Loading

    มัลแวร์ สปายแวร์ แอดแวร์ แรนซัมแวร์ สารพัดไวรัสที่แพร่กระจายอยู่บนอินเทอร์เน็ต หลอกล่อให้เหยื่อหลงเชื่อ และเผลอกดดาวน์โหลดลงเครื่องแบบไม่ทันตั้งตัว สุดท้ายคอมโดนแฮ็ก   แม้คอมพิวเตอร์ของคุณจะมีโปรแกรมป้องกันไวรัสติดไว้ แต่ก็อย่าเพิ่งไว้วางใจ เพราะมัลแวร์ตัวใหม่ มันร้ายกว่าที่คิด   ทำอย่างไรถึงจะมั่นใจได้ว่าคอมพิวเตอร์ที่เราใช้ยังคงปลอดภัยจากไวรัส Techhub มีทริคสังเกตอาการที่เข้าข่าย ตกเป็นเหยื่อ     1. คอมเกิดปัญหาขึ้นบ่อยครั้ง มัลแวร์มักจะใช้พื้นที่บนฮาร์ดไดรฟ์ และใช้ RAM เพื่อทำงาน ทำให้การประมวลผลหรือ Performance ของคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้าลง หากคอมของคุณเริ่มใช้เวลานานขึ้นในการเปิดโปรแกรม หรือแอปพลิเคชั่นใหม่ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้งานมันมากเกินไป อาจถึงเวลาที่ต้องใช้โปรแกรมตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว   2. เจอไอคอนหน้าตาแปลกๆ หรือแถบเครื่องมือใหม่ อยู่ดีๆ ก็มีไอคอนที่ไม่คุ้น โผล่ขึ้นมาบนหน้าจอแบบไม่รู้ที่มาที่ไป ไม่เคยกดติดตั้งไว้ แต่มายังไงก็ไม่รู้ รวมถึงแถบเครื่องมือและส่วนขยายอื่นๆ ที่ถูกติดตั้งบนแถบเครื่องมือบนทูลบาร์ของเว็บเบราว์เซอร์ ให้สังเกตไว้ก่อนว่าอาจเป็นฝีมือของมัลแวร์ที่เปิดทำงานอยู่เบื้องหลังก็เป็นได้ ลองกด ctrl-alt-del และเข้าสู่ Task Manager แล้วดูความผิดปกติดูได้ ปลอดภัยไว้ก่อน  …

Nissan North American แจ้งเตือนลูกค้าเกือบ 18,000 รายที่ได้รับผลกระทบจากการแฮ็กข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

    Nissan North American เริ่มแจ้งเตือนไปยังลูกค้าเกี่ยวกับการแฮกข้อมูลลูกค้าที่อยู่ในการดูแลของผู้ให้บริการภายนอกบริษัท   บริษัทแจ้งเหตุการณ์ดังกล่าวไปยังสำนักอัยการของรัฐเมน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 16 มกราคมที่ผ่านมา โดยเผยว่ามีลูกค้า 17,998 รายที่ได้รับผลกระทบ   Nissan ระบุในคำแจ้งเตือนไปยังลูกค้าว่าได้รับแจ้งจากหนึ่งในผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่บริษัทใช้บริการอยู่ในวันที่ 21 มิถุนายน 2022 โดยผู้พัฒนารายดังกล่าวรับข้อมูลลูกค้าจาก Nissan ไปเพื่อใช้ในการพัฒนาและทดสอบซอฟต์แวร์โซลูชันให้แก่บริษัท   อย่างไรก็ดี Nissan อ้างว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเป็นเพราะการจัดการฐานข้อมูลที่ผิดพลาดของผู้พัฒนารายนี้ แต่ย้ำว่าได้เข้าจัดการปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว และได้เริ่มการตรวจสอบเป็นการภายใน จนได้ข้อสรุปในวันที่ 26 กันยายนปีที่แล้วว่ามีบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาตแอบเข้ามาในระบบจริง   ข้อมูลที่แฮกเกอร์ได้ไปมีทั้ง ชื่อ-นามสกุล วันเกิด และบัญชี NMAC (หรือบัญชีการเงินของลูกค้า Nissan) พร้อมยืนยันว่าข้อมูลบัตรเครดิตและเลข Social Security ยังปลอดภัยดี อีกทั้งไม่พบว่ามีการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในทางมิชอบแต่อย่างใด   ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบและได้รับการแจ้งเตือนจะได้รับบริการคุ้มครองตัวตนของ Experian แบบฟรี ๆ 1 ปีเต็ม    …

สกมช.เตรียมแก้ กม.เพิ่มอำนาจปรับหน่วยงานระบบไอทีไม่ปลอดภัย

Loading

    เหตุเป็นช่องแฮกเกอร์เจาะข้อมูล หลังพบสถิติองค์กรไทยถูกแก๊งแรนซัมแวร์ขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ เดือนละ 5-6 บริษัท   พล.อ.ต.อมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (สกมช.) กล่าวว่า ภัยไซเบอร์ขององค์กรปีนี้ยังคงพบความเสี่ยงขององค์กรที่ไม่มีการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์ จนกลายเป็นช่องโหว่ของ แก๊งแรนซัมแวร์ ในการขโมยข้อมูล เรียกค่าไถ่ ประจาน และเปิดเผยข้อมูล ซึ่งทั่วโลกมีบริษัทถูกแฮกข้อมูลกว่า 100 บริษัทต่อเดือน ขณะที่ประเทศไทยถูกแฮกเฉลี่ยเดือนละ 5-6 บริษัท แต่ไม่มีใครเปิดเผย เพราะกลัวมีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ พีดีพีเอ   ทั้งนี้ เรื่องข้อมูลส่วนบุคคลในต่างประเทศ อาทิ สิงคโปร์ ออสเตรเลีย ให้ความสำคัญอย่างมาก โดยมีบริการ เครดิต วอช ด้วยการซื้อประกันข้อมูลรั่ว หากข้อมูลรั่วบริษัทต้องจ่ายค่าเสียหายให้ลูกค้าและรัฐบาล เชื่อว่าอีกไม่นานประเทศไทยต้องมีบริการรูปแบบนี้ เพราะ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีโทษปรับทางปกครองสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท กับหน่วยงานที่ปล่อยให้ข้อมูลส่วนบุคคลรั่ว   อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา สกมช.มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานระบบไอทีให้หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของประเทศ…

แฮ็กเกอร์กระหน่ำโจมตีมอลโดวา คาดเป็นเพราะหนุนยูเครน

Loading

  แฮกเกอร์นิรนามกระหน่ำโจมตีหน่วยงานของรัฐของมอลโดวาหลายแห่งด้วยการโจมตีแบบฟิชชิ่ง โดยส่งอีเมลกว่า 1,330 ฉบับไปยังบัญชีของเจ้าหน้าที่ของรัฐ   สำนักงานเทคโนโลยีสารสนเทศและความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (STISC) หน่วยงานกำกับดูแลด้านไซเบอร์ของมอลโดวาได้ส่งอีเมลเตือนเจ้าของชื่อโดเมน .md เกี่ยวกับอายุของชื่อโดเมน และได้ขอให้ขยายระยะอายุของชื่อโดเมนดังกล่าว   ข้อความฟิชชิ่งที่แฮกเกอร์ส่งไปยังเหยื่อปลอมเป็น Alexhost ผู้ให้บริการโฮสต์โดเมน มีเนื้อหาหลอกว่าชื่อโดเมนของเหยื่อกำลังจะหมดอายุ โดยแนบลิงก์ให้เข้าไปจ่ายเงินเพื่อต่ออายุของชื่อโดเมน   ด้าน Alexhost ออกมาเตือนประชาชนถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และย้ำว่าทางบริษัทไม่เคยมีการส่งข้อความในลักษณะดังกล่าวเลย พร้อมเตือนไม่ให้จ่ายเงินด้วยบัตรเครดิตด้วย   เว็บไซต์ Security Affairs ชี้ว่าตั้งแต่ที่รัสเซียรุกรานยูเครนเมื่อต้นปีที่แล้ว แฮกเกอร์ที่สนับสนุนรัสเซียก็กระหน่ำโจมตีมอลโดวา เพราะสนับสนุนยูเครน   แม้ในตอนนี้จะยังไม่ทราบว่ากลุ่มใดอยู่เบื้องหลังการโจมตีครั้งนี้ แต่ที่ผ่านมา Killnet เป็นกลุ่มแฮกเกอร์หลักที่มักใช้วิธี DDoS โจมตีรัฐบาลในประเทศที่สนับสนุนยูเครน อาทิ มอลโดวา, โรมาเนีย, เช็กเกีย, อิตาลี, ลิทัวเนีย, นอร์เวย์ และลัตเวีย     ที่มา :  Security Affairs      …

บ.ความปลอดภัยไซเบอร์เผย ทวิตเตอร์ถูกแฮ็ก อีเมลผู้ใช้กว่า 200 ล้านคนรั่วไหล

Loading

Twitter Political Ads   บริษัทความปลอดภัยออนไลน์เปิดเผยในวันพุธว่า แฮกเกอร์ขโมยอีเมลของผู้ใช้ทวิตเตอร์ (Twitter) กว่า 200 ล้านคน และนำที่อยู่อีเมลเหล่านั้นไปโพสต์ในเว็บไซต์เกี่ยวกับการแฮก ตามการรายงานของรอยเตอร์   เอลอน กัล (Alon Gal) ผู้ร่วมก่อตั้ง ฮัดสัน ร็อค (Hudson Rock) บริษัทที่ตรวจสอบความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของอิสราเอล เขียนข้อความบนเว็บไซต์ ลิงค์อิน (LinkedIn) ว่า การแฮกทวิตเตอร์ครั้งนี้ “เป็นที่น่าเสียใจว่าจะทำให้เกิดการแฮก การหลอกลวงโดยใช้เทคนิคฟิชชิ่ง (Phishing) และ การคุกคามทางออนไลน์โดยการนำเอาข้อมูลส่วนตัวผู้อื่นมาเปิดเผย หรือ doxxing อีกมากมายหลังจากนี้”   นายกัล โพสต์ข้อมูลเกี่ยวกับการแฮกทวิตเตอร์ดังกล่าวทางโซเชียลมีเดียตั้งแต่วันที่ 24 ธ.ค. ปีที่ผ่านมา แต่ทวิตเตอร์ไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับรายงานดังกล่าว และไม่ได้ตอบคำถามจากผู้สื่อข่าวตั้งแต่เกิดเหตุ จึงทำให้ไม่มีความชัดเจนว่าทวิตเตอร์ได้ลงมือตรวจสอบหรือแก้ไขใด ๆ หรือไม่   สำนักข่าวรอยเตอร์ไม่สามารถตรวจสอบได้เองว่า ข้อมูลผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ถูกนำไปโพสต์ในเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับการแฮกนั้น เป็นข้อมูลของผู้ใช้ที่แท้จริง และได้มาจากทวิตเตอร์หรือไม่ ในขณะที่ภาพถ่ายจากหน้าเว็บดังกล่าวที่มีข้อมูลอีเมลของผู้ใช้ทวิตเตอร์ปรากฎอยู่ ได้รับการเผยแพร่ทางออนไลน์  …