เนียนขั้นสุด แรนซัมแวร์ตัวใหม่ แฝงมากับอัปเดตปลอม

Loading

  ปัจจุบัน วิธีใหม่ของเหล่าแฮกเกอร์คือพยายามส่ง Ransomware หรือมัลแวร์เรียกค่าไถ่มากับการอัปเดต Windows หรือซอฟต์แวร์ที่ผู้คนไว้ใจ ซึ่งจะส่งผลให้การโจมตีมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น   มัลแวร์ตัวใหม่นี้มีชื่อ HavanaCrypt ค้นพบโดยนักวิจัยจาก Trend Micro ซึ่งได้ปลอมแปลงตัวเองเป็นการอัปเดตจาก Google Software Update และสิ่งที่น่าแปลกใจอีกอย่างคือ เซิร์ฟเวอร์คำสั่งและการควบคุม ของมัลแวร์ใช้โฮสต์บนที่อยู่ IP เว็บโฮสติ้งของ Microsoft   HavanaCrypt นั้นมีการใช้เทคนิคในการโจมตีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบว่าเครื่องดังกล่าวกำลังทำงานในสภาพแวดล้อมเสมือนจริงหรือไม่ หรือเป็นแค่เครื่องหลอกที่ใช้ดักมัลแวร์ มีการใช้รหัสของตัวจัดการรหัสผ่านโอเพ่นซอร์สอย่าง KeePass Password Safe ระหว่างการเข้ารหัส และการใช้ฟังก์ชัน .Net ที่เรียกว่า “QueueUserWorkItem” เพื่อเพิ่มความเร็วในการเข้ารหัส   HavanaCrypt เป็นหนึ่งในเครื่องมือเรียกค่าไถ่และมัลแวร์อื่นๆ ที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมาได้มีการเผยแพร่ในรูปแบบของการอัปเดตปลอมสำหรับ Windows 10, Microsoft Exchange และ Google Chrome   ในเดือนพฤษภาคม นักวิจัยด้านความปลอดภัยพบแรนซัมแวร์ที่มีชื่อว่า…

แค่เปิดไฟล์ก็โดนแฮ็กได้! เตือนภัยกลลวงแฮ็กเกอร์ ที่ใช้หลอกขโมยคริปโทฯ ไปกว่า 20,000 ล้านบาท

Loading

  ในช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีข่าวใหญ่ในวงการคริปโทฯ ที่ Axie Infinity เกม NFT อันดับต้น ๆ ของโลกโดนแฮ็กเกอร์เจาะเข้าระบบและขโมยเงินกว่า 600,000,000 เหรียญ (ราว 20,000 ล้านบาท) สร้างความฮือฮาและความวิตกกังวลให้กับคนในวงการ โดยเฉพาะผู้เล่นในเกม ที่สงสัยว่าบริษัทขนาดใหญ่ขนาดนี้สามารถโดนแฮ็กได้อย่างไร   ล่าสุดสำนักข่าว The Block มีรายงานเพิ่มเติมว่าสาเหตุที่ทำให้ Axie Infinity โดนแฮ็กนั้น มาจากการเปิดไฟล์ที่ส่งแนบมากับข้อเสนองานที่ส่งมาให้วิศวกรอาวุโสของบริษัท โดยที่ไฟล์นั้นได้ฝังไวรัส Spyware เอาไว้ทำให้เข้าถึงข้อมูลในเครื่องได้     ภัยร้ายที่มากับไฟล์   Photo by Axie Infinity   โดยเรื่องมีอยู่ว่าวิศวกรอาวุโสของบริษัท สกาย มาวิส (Sky Mavis) ผู้สร้าง Axie Infinity ได้ข้อเสนอการทำงานมาจาก LinkedIn ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ผู้คนใช้ติดต่อหางาน ซึ่งเขาก็ได้เข้าไปคุยและสอบสัมภาษณ์กับทางผู้เสนอ โดยที่การสัมภาษณ์นั้นมีหลายรอบด้วยกัน แต่เขาก็ผ่านมาได้ทุกครั้ง จนสุดท้ายบริษัทก็เลยตัดสินใจรับเข้าทำงาน…

ครม.จีนวอนปรับปรุงระบบความปลอดภัยไซเบอร์ หลังข้อมูลปชช. 1 พันล้านคนโดนแฮ็ก

Loading

  คณะรัฐมนตรีของจีนเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการสนับสนุนความปลอดภัยของข้อมูล หลังเกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลที่ครั้งใหญ่ โดยกรณีดังกล่าวอาจเป็นการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์จีน   สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า การประชุมคณะมนตรีรัฐกิจของจีนที่นำโดยนายกรัฐมนตรีหลี่ เค่อเฉียง เน้นย้ำถึงความจำเป็น “ในการปรับปรุงข้อกำหนดด้านการจัดการความปลอดภัย ยกระดับความสามารถในการป้องกัน ปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล ความเป็นส่วนตัว และความลับทางการค้าตามกฎหมาย”   ทั้งนี้ สำนักข่าวบลูมเบิร์กตั้งข้อสังเกตว่า รายงานจากซินหัวไม่ได้พูดถึงการแฮ็กครั้งนี้โดยตรง รวมถึงสื่ออื่น ๆ ของรัฐบาลจีนก็ยังคงนิ่งเงียบเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้   อนึ่ง เมื่อต้นสัปดาห์นี้ กลุ่มแฮ็กเกอร์นิรนามอ้างว่าได้ขโมยข้อมูลผู้อยู่อาศัยในจีนมากถึงหนึ่งพันล้านคนหลังเจาะระบบฐานข้อมูลตำรวจเซี่ยงไฮ้ได้สำเร็จ ซึ่งข้อมูลขนาดมากกว่า 23 เทราไบต์ที่อ้างว่าขโมยมานี้ได้เผยให้เห็นถึงความล้มเหลวด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และสร้างความตื่นตระหนกให้กับอุตสาหกรรมเทคโนโลยี   ขณะนี้ยังทราบว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์นิรนามเข้าถึงฐานข้อมูลที่ดำเนินการโดยกระทรวงความมั่นคงสาธารณะของจีนสาขาเซี่ยงไฮ้ได้อย่างไร ซึ่งในโพสต์ออนไลน์โดยกลุ่มแฮ็กเกอร์นั้นระบุว่า ข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วยรายละเอียดกิจกรรมของผู้ใช้จากแอปจีนยอดนิยม, ที่อยู่ และหมายเลขโทรศัพท์ โดยแฮกเกอร์นำข้อมูลดังกล่าวมาขายในราคา 10 บิตคอยน์ หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 200,000 ดอลลาร์       ————————————————————————————————————————- ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์          / วันที่เผยแพร่   7…

Sophos เผย แฮกเกอร์ใช้เวลาแฝงตัวในระบบนานขึ้น 36%

Loading

  รายงาน Active Adversary Playbook 2022 จาก Sophos เผย ผู้โจมตีใช้เวลาอยู่ในระบบเพิ่มขึ้น 36% โดยอาศัยช่องโหว่ของ ProxyLogon และ ProxyShell และการซื้อข้อมูลใช้ในการล็อคอินจาก Initial Access Brokers แม้การใช้ Remote Desktop Protocol (RDP) สำหรับการเข้าบุกรุกจากภายนอกจะลดลง แต่ผู้โจมตีได้เพิ่มการใช้ RDP สำหรับ Lateral Movement ภายในองค์กรมากขึ้น โซฟอส (Sophos) บริษัทผู้นำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ยุคใหม่ระดับโลก เปิดรายงาน Active Adversary Playbook 2022 ซึ่งเผยรายละเอียดพฤติกรรมของผู้โจมตีที่ทีมตอบสนองอย่างฉับพลัน (Rapid Response) ของโซฟอส วิเคราะห์ได้ในปี 2564 โดยผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เวลาที่ผู้โจมตีใช้อาศัยอยู่ในระบบเพิ่มขึ้น 36% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 15 วันในปี 2564 และ 11 วันในปี…

แฮ็กเกอร์อ้างลอบขโมยข้อมูลจาก AMD ออกมาได้ถึง 450 GB

Loading

Credit: ShutterStock.com   มีเหตุการณ์กลุ่มแฮ็กเกอร์นามว่า RansomHouse ได้ออกประกาศว่าตนมีข้อมูลจาก AMD ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ในมือกว่า 450 GB พร้อมประกาศขายต่อ   เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากลุ่มคนร้าย RansomHouse ได้ประกาศขายข้อมูลบริษัทที่มีอักษรย่อ 3 ตัวขึ้นด้วยตัว ‘A’ ผ่านเทเลแกรม วานนี้กลุ่มดังกล่าวได้เผยชื่อเต็มๆว่าเป็น AMD โดยอ้างว่ามีข้อมูลขนาด 450 GB ซึ่งคนร้ายชี้ว่าพาร์ทเนอร์ของตนได้เข้าถึงระบบเครือข่ายของ AMD ได้เมื่อปีก่อนและข้อมูลถูกขโมยมาได้วันที่ 5 มกราคม 2022 และเป็นวันสุดท้ายที่เข้าถึง AMD ได้   RansomHouse ยังปฏิเสธว่าไม่ได้มีการใช้แรนซัมแวร์กับ AMD และไม่ประสงค์ที่จะติดต่อเรียกค่าไถ่ AMD เพราะคงช้าเอาไปขายต่อดีกว่า โดยคนร้ายอ้างว่าข้อมูลครอบคลุมถึงงานวิจัยและการเงิน แต่ก็ไม่ยอมแชร์หลักฐานใดๆเพิ่ม นอกจากไฟล์บางส่วนที่พิสูจน์ว่าเข้าถึง Windows Domain อย่างไฟล์ .CSV ที่รวบรวมอุปกรณ์กว่า 70,000 ตัวในเครือข่ายของ AMD ที่มีรายการ Credential ของ User…

แฮ็กเกอร์รัสเซียยันเดินหน้าโจมตีลิทัวเนีย ตอบโต้ปิดล้อมคาลินินกราด

Loading

  Killnet ซึ่งเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ของรัสเซีย ยีนยันว่าทางกลุ่มจะยังคงเดินหน้าโจมตีทางไซเบอร์ต่อลิทัวเนียเป็นวันที่ 2 เพื่อตอบโต้ต่อการที่รัฐบาลลิทัวเนียทำการสกัดกั้นการขนส่งสินค้าเข้าไปยังคาลินินกราด   “เราจะโจมตีจนกว่าลิทัวเนียจะยกเลิกการปิดล้อมคาลินินกราด” โฆษกของ Killnet กล่าวต่อสำนักข่าวรอยเตอร์   ทั้งนี้ คาลินินกราดเป็นดินแดนของรัสเซียซึ่งถูกล้อมรอบด้วยลิทัวเทียและโปแลนด์ ขณะที่รัฐบาลลิทัวเนียมีคำสั่งห้ามขนส่งสินค้าที่ถูกคว่ำบาตรโดยสหภาพยุโรป (EU) ผ่านเขตแดนลิทัวเนีย ส่งผลคาลินินกราดถูกปิดล้อม โดยไม่สามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟเชื่อมดินแดนดังกล่าวกับพื้นที่ส่วนที่เหลือของรัสเซีย   ด้านศูนย์ความมั่นคงด้านไซเบอร์แห่งชาติลิทัวเนีย (NCSC) ออกแถลงการณ์วานนี้ระบุว่า หน่วยงานของรัฐบาลรวมทั้งสถาบันของภาคเอกชนหลายแห่งถูกโจมตีทางไซเบอร์   “มีแนวโน้มว่าการโจมตีดังกล่าวจะมีความรุนแรงขึ้นในช่วงหลายวันข้างหน้า โดยเฉพาะในภาคการขนส่ง พลังงาน และภาคการเงิน” NCSC ระบุ   ทั้งนี้ แฮ็กเกอร์ได้ทำการโจมตีที่เรียกว่า Denial of Service หรือ DoS โดยการส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเป้าหมายเพื่อทำให้การรับ-ส่งข้อมูลเกิดภาวะคอขวดจนไม่สามารถให้บริการต่อผู้ใช้งานได้     โดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ       ———————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :    สำนักข่าวอินโฟเควสท์     …