เปิดแผน “กลุ่ม Cozy Bear” ของรัสเซีย ต้องสงสัยจารกรรม “ข้อมูลโควิด-19”

Loading

A hacker is reflected in a monitor as he takes part in a training session July 8, 2019. เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ อังกฤษ และแคนาดา ร่วมกันกล่าวหาว่ารัฐบาลรัสเซียอยู่เบื้องหลังการเจาะล้วงข้อมูลครั้งใหญ่ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวิจัยเกี่ยวกับวัคซีนและการรักษาโควิด-19 ที่ทำโดยบริษัทและสถาบันต่างๆของโลกะวันตก ในคำแถลงร่วมของ สหรัฐฯ อังกฤษ และแคนาดา ทั้งสามประเทศระบุว่าปฏิบัติการของรัสเซียเริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และดำเนินมาเเข็งขันต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่กล่าวว่ากลุ่มแฮคเกอร์ของรัสเซีย มีชื่อว่า APT29 และเป็นที่รู้จักในชื่อ Cozy Bear ด้วย แอน นิวเบอร์เกอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายความมั่นคงทางไซเบอร์ของ National Security Agency ของสหรัฐฯ กล่าวว่า APT29 มีประวัติอันยาวนานในการมุ่งเป้าการโจมตีไปยังองค์กรรัฐ ภาคพลังงาน หน่วยงานสาธารณสุข และสถาบันศึกษาด้านนโยบาย เธอกล่าวว่าขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายพึงระวังถึงภัยคุกคามจากกลุ่มนี้ และเตรียมรับมือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการขโมยข้อมูล พอล ไชเชสเตอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการแห่งศูนย์ความมั่นคงด้านไซเบอร์แห่งชาติของอังกฤษ…

เตือนภัยไวรัสเรียกค่าไถ่เป็น Bitcoin เริ่มแฝงตัวเข้ามาทาง Microsoft Excel เวอร์ชั่นเก่าแล้ว

Loading

หน่วยงาน Microsoft Security Intelligence ได้ออกมากล่าวเตือนผู้ใช้งานซอฟต์แวร์ของพวกเขาเกี่ยวกับไวรัสเรียกค่าไถ่เป็น cryptocurrency ตัวใหม่ที่ชื่อว่า Avaddon พี่สามารถแฝงตัวเข้ามาผ่านทาง macro ของโปรแกรม Microsoft Excel 4.0 เพื่อแจกจ่ายอีเมลของมิจฉาชีพ โดยอีเมลเหล่านี้จะถูกแฝงมาด้วยตัวไวรัสเรียกค่าไถ่พี่จะเริ่มทำงานเมื่อผู้ใช้งานเผลอไปกดเปิดมัน ตัวไวรัสเรียกค่าไถ่ Avaddon ดูเหมือนว่าจะถูกเปิดตัวขึ้นครั้งแรกเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาผ่านการ spam อีเมลที่ทำการโจมตีเหยื่อแบบไม่เฉพาะเจาะจง นอกจากนี้ยังมีรายงานอีกด้วยว่าตัวไวรัสเรียกค่าไถ่ดังกล่าวดูเหมือนว่าจะเลือกโจมตีผู้ใช้งานในประเทศอิตาลีมากกว่าที่อื่น ปลอมตัวเป็นรัฐบาลอิตาลี รายงานจาก BeepingComputer เผยว่ากลุ่มมิจฉาชีพที่อยู่เบื้องหลังไวรัสเรียกค่าไถ่ดังกล่าวกำลังใช้ affiliate marketing เพื่อให้มีการกระจายไวรัสดังกล่าวได้มากขึ้น โดยหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อถูกไวรัสดังกล่าวรายงาน ก็จะทำให้ไฟล์ในเครื่องถูกล็อคและเข้ารหัสไว้ และก็จะเรียกร้องให้เหยื่อจ่ายค่าไถ่เป็นเหรียญคริปโตมูลค่าประมาณ 900 ดอลลาร์ หรือประมาณเกือบ 30,000 บาท ดังกล่าวนั้นมักจะมีการปลอมเป็นรัฐบาลอิตาลีพี่มักจะมีการส่งข้อความไปหาประชาชนเพื่อเตือนภัยระวังเกี่ยวกับวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า โดยทาง Microsoft ได้กล่าวในทวิตเตอร์ของพวกเขาว่า “แม้ว่ามันจะเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างเก่า แต่ว่าตัวมาโครบน Excel 4.0 นั้นเริ่มที่จะตกเป็นเป้าของ malware มากขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา โดยเทคนิคดังกล่าวนั้นมักจะถูกนำไปใช้ในแคมเปญหลายๆแห่งรวมถึงตัวหนึ่งที่มีการปลอมเป็นจดหมายแจ้งเตือน COVID-19 อีกด้วย” นอกจากนี้อีเมลที่ถูกส่งมาจากทางมิจฉาชีพยังได้มีการขู่เหยื่อว่าหากเหยื่อไม่ทำการเปิดไฟล์ที่ส่งมาทางอีเมล์นั้นก็จะมีความผิดทางกฎหมาย ดังนั้นหากคุณได้รับอีเมลแปลกๆที่ไม่รู้ที่มาที่ไปและมีการแนบไฟล์มาด้วย ก็ให้สงสัยไว้ก่อนว่านั่นอาจจะเป็นไฟล์ไวรัสหรือว่ามัลแวร์ และให้ลบทิ้งไปให้เร็วที่สุด ——————————————————————- ที่มา : siamblockchain…

ตรวจสอบด่วน พบ 25 แอปบน Android สามารถหลอกเอารหัสผ่าน Facebook ไปได้!

Loading

รายงานใหม่จากบริษัทด้านความปลอดภัยของฝรั่งเศส Evina พบแอปพลิเคชันบน Play Store ของ Google ถึง 25 รายการที่เป็นอันตรายต่อเครื่องและข้อมูลของผู้ใช้งาน โดยแอปเหล่านี้สามารถทำงานได้ปกติ แต่มาพร้อมกับโค้ดที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน หากเราติดตั้งและใช้งานตามปกติ ก็จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่เมื่อเราเปิดแอป Facebook ขึ้นมา แอปเหล่านี้จะสร้างหน้าต่าง log-in ที่เลียนแบบ Facebook ขึ้นมาอีกครั้ง สำหรับผู้ใช้งานที่ไม่ได้คิดอะไรก็อาจจะไม่สงสัยว่าทำไมต้องใส่รหัสอีกครั้ง หากเราป้อนอีเมลและรหัสลงไปก็เสร็จโจรอย่างแน่นอนครับ ตัวอย่างด้านล่างนี้ Facebook ของจริงและของปลอม โดย Facebook ที่มีขอบด้านบนสีฟ้าเป็นของจริง แต่หากเป็นสีดำคือของปลอม รายชื่อแอปทั้งหมดที่หลอกเอารหัส Facebook ถึงแม้ว่า Google จะถอดแอปทั้งหมดนี้ออกจาก Play Store ไปแล้ว แต่ทั้งหมดมียอดดาวน์โหลดมากกว่า 2.34 ล้านครั้ง หากใครมีแอปเหล่านี้ติดตั้งอยู่ในเครื่องก็อย่าลืมถอนการติดตั้งออกไปด้วยนะครับ ————————————————– ที่มา : beartai / 4 กรกฎาคม 2563 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/451461

มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโกถูก Ransomware เรียกค่าไถ่ 1.14 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

Loading

เมื่อต้นเดือนมิถุนายน มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานฟรานซิสโก หรือ UCSF สถาบันวิจัยและการศึกษาด้านสุขภาพชั้นนำของโลกได้ถูกกำหนดเป้าหมายในการโจมตีโดยกลุ่ม NetWalker (aka MailTo) Ransomware ซึ่งได้มีการโพสต์โชว์หลักฐานแสดงการรั่วไหลของข้อมูลลงในเว็บไซต์เพื่อหวังข่มขู่ในการเรียกค่าไถ่ UCSF กล่าวในแถลงการณ์ว่าเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนเจ้าหน้าที่ไอที UCSF ตรวจพบและหยุดการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตในสภาพแวดล้อมไอทีส่วนที่จำกัดของโรงเรียนแพทย์ในขณะที่เกิดการบุกรุกขึ้น ด้วยความระมัดระวังอย่างมากได้แยกเซิร์ฟเวอร์ของโรงเรียนออกจากกัน และว่าจ้างบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ชั้นนำเพื่อช่วยเหลือ ซึ่งเครือข่ายของ UCSF โดยรวมไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ และไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการส่งมอบการดูแลผู้ป่วย สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าการโจมตีของแฮ็กเกอร์ไม่ได้ขัดขวางการทดสอบแอนตีบอดีที่เกี่ยวกับไวรัสโคโรนาโดยนักวิจัยของ UCSF วันศุกร์ 26 มิถุนายน UCSF แถลงการณ์ว่าเจ้าหน้าที่ฝ่ายไอทีได้ตรวจพบการบุกรุกเข้ามาในส่วนหนึ่งของระบบเครือข่ายไอทีโรงเรียนแพทย์มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเมื่อ 1 มิถุนายน จากนั้นได้แยกระบบไอทีหลายแห่งภายในคณะแพทยศาสตร์ออกจากเครือข่ายหลักของ UCSF ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการส่งมอบการดูแลผู้ป่วยเครือข่ายมหาวิทยาลัยโดยรวมหรืองาน COVID-19 ในขณะที่เจ้าหน้าที่ได้หยุดการโจมที่กำลังเกิดขึ้น ผู้บุกรุกได้เปิดมัลแวร์ (Netwalker) เข้ารหัสในเซิร์ฟเวอร์ของโรงเรียนแพทย์จำนวนหนึ่ง และได้ขโมยข้อมูลบางส่วนเป็นหลักฐานเพื่อใช้ในการเรียกค่าไถ่ ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสมีความสำคัญต่องานวิชาการบางส่วน จึงตัดสินใจยากที่จะจ่ายค่าไถ่บางส่วนประมาณ 1.14 ล้านเหรียสหรัฐฯ เพื่อแลกกับเครื่องมือหรือคีย์สำหรับปลดล็อกข้อมูลที่เข้ารหัสและการรับข้อมูลที่ถูกขโมยไป มหาวิทยาลัยฯ ไม่ได้เปิดเผยอย่างแน่ชัดว่าไฟล์ข้อมูลอะไรกันแน่ที่มีมูลค่ากว่า 1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มันคงมีความสำคัญมาก ๆ ซึ่งอาจจะเป็นงานวิชาการที่ได้ศึกษาวิจัยมาเป็นเวลานานที่ยังไม่มีใครค้นพบหรืออาจจะเป็นประวัติทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่กลัวว่าจะถูกนำออกไปเปิดเผย ล่าสุดเดือนนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในบ้านเราก็ได้ออกมาเปิดเผยว่าโดนมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีเช่นกัน…

แจ้งเตือน พบการส่งอีเมลแอบอ้างเป็นไปรษณีย์ไทย หลอกให้ดาวน์โหลดไฟล์มัลแวร์

Loading

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 ไทยเซิร์ตได้รับรายงานการโจมตีผ่านอีเมล โดยแอบอ้างว่าเป็นการแจ้งจัดส่งพัสดุจากบริษัทไปรษณีย์ไทย เนื้อหาในอีเมลเป็นภาษาไทย มีลิงก์ให้ดาวน์โหลดไฟล์จากเว็บไซต์ฝากไฟล์ โดยเป็นไฟล์ .7z ที่ข้างในมีไฟล์ .exe จากการตรวจสอบพบว่าไฟล์ดังกล่าวเป็นมัลแวร์ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อโจมตีแบบเจาะจงเป้าหมาย ตัวมัลแวร์มีความสามารถในการขโมยข้อมูล เช่น รหัสผ่านที่ถูกบันทึกไว้ในเบราว์เซอร์และรหัสผ่านของโปรแกรมเชื่อมต่อ FTP ทั้งนี้ไทยเซิร์ตได้แจ้งประสานกับผู้ให้บริการเว็บไซต์ฝากไฟล์เพื่อขอให้ยุติการเผยแพร่ไฟล์ดังกล่าวแล้ว ข้อแนะนำ หากได้รับอีเมลที่มีลักษณะน่าสงสัยและมีลิงก์หรือมีไฟล์แนบ ควรพิจารณาก่อนคลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์แนบดังกล่าวเพราะอาจเป็นมัลแวร์ได้ หากได้รับอีเมลดังกล่าวผ่านระบบอีเมลขององค์กรควรแจ้งให้ผู้ดูแลระบบทราบเพื่อตรวจสอบและปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์อันตรายรวมถึงปิดกั้นการรับอีเมลจากผู้ไม่หวังดี ข้อมูล IOC URL: www[.]mediafire[.]com/file/ywwqvog1kn630oy/thpost_220620121201.7z/file File name: thpost 220620121201.7z MD5: c72a5a6d2badd3032d8cebc13c06852b SHA-1: 3af75516d622b8e52f04fbedda9dc8dcf427d13c SHA-256: 74034df9b5146383f6f26de5fec7b9480e4b9a786717f39a22e38805a5936c9b File name: thpost 220620121201.exe MD5: e7386aa09a575bd96f8ecbfeea71e38f SHA-1: 441cdf1dedb9cbfbe6720816eb6b8e06231139b5 SHA-256: e17b5d2bf4c65ec92161c6a26c44c28a3b2793f38d2b2afe2e73bd8ebbab98ae —————————————————————— ที่มา : ThaiCERT / 19 มิถุนายน 2563 Link…

แจ้งเตือน พบการส่ง SMS หลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ไทยชนะ แท้จริงเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลทางการเงิน

Loading

ไทยเซิร์ตพบการแพร่กระจายมัลแวร์ โจมตีผู้ใช้งาน Android ในประเทศไทย โดยช่องทางการโจมตีผู้ไม่หวังดีจะส่ง SMS ที่แอบอ้างว่าเป็นการดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ไทยชนะ ใน SMS ดังกล่าวจะมีลิงก์ไปยังเว็บไซต์ thaichana[.]asia ตัวอย่าง SMS แสดงในรูปที่ 1 หน้าเว็บไซต์ดังกล่าวสร้างเลียนแบบเว็บไซต์จริงของโครงการ ไทยชนะ โดยจะมีปุ่มที่ให้ดาวน์โหลดไฟล์ .apk มาติดตั้ง ไฟล์ดังกล่าวตรวจสอบแล้วเป็นมัลแวร์ขโมยข้อมูลทางการเงิน (บางแอนติไวรัสระบุว่าเป็นมัลแวร์สายพันธุ์ Cerberus) โดยตัวมัลแวร์ขอสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลการโทร รับส่ง SMS แอบอัดเสียง และเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ภายในเครื่อง ปัจจุบัน (ณ ขณะที่เผยแพร่บทความ) โครงการ ไทยชนะ มีเฉพาะเว็บไซต์ https://www.ไทยชนะ.com/ และ https://www.thaichana.com/ โดยรูปแบบการใช้งานจะเป็นการเข้าผ่านเว็บไซต์เท่านั้น ยังไม่มีแอปพลิเคชันให้ดาวน์โหลดแต่อย่างใด จากการตรวจสอบข้อมูลของเว็บไซต์ thaichana[.]asia พบว่าถูกจดโดเมนเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ปัจจุบันไทยเซิร์ตได้ประสานเพื่อระงับการเข้าถึงเว็บไซต์ดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ ผู้ใช้ควรระมัดระวังก่อนคลิกลิงก์ที่ส่งมาใน SMS รวมถึงไม่ควรดาวน์โหลดและติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มา ข้อมูล IOC ชื่อไฟล์:…