สหรัฐฯ ประกาศค่าหัว หัวหน้ากลุ่มแฮ็กเกอร์ไวรัสเรียกค่าไถ่ Hive เกือบ 40 ล้าน

Loading

สหรัฐฯ เปิดศึก จ่ายค่าให้ใครก็ตามที่ส่งเบาะแสหัวหน้ากลุ่มทำ ไวรัสเรียกค่าไถ่ (ransomware) ชื่อ Hive เกือบ 40 ล้านบาท หลังกลุ่มนี้โจมตีในกว่า 80 ประเทศ เคราะห์ดีได้ FBI ช่วยป้องกันการถูกไถเงินไปได้กว่า 4.8 พันล้าน

ผอ.เอฟบีไอออกโรงเตือน แฮ็กเกอร์จีนเตรียมสร้างหายนะให้สหรัฐฯ

Loading

เมื่อวันที่ 31 ม.ค. คริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือเอฟบีไอ (FBI) กล่าวว่า “แฮ็กเกอร์ของจีนกำลังเล็งโจมตีโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ เพื่อเตรียมพร้อมที่จะสร้างความเสียหายและก่อให้เกิดอันตรายในโลกแห่งความเป็นจริงต่อพลเมืองและชุมชนอเมริกัน

ญี่ปุ่นคุมเข้มการใช้ที่ดินใกล้ฐานทัพสหรัฐฯ 6 แห่ง​

Loading

เกียว​โด​นิวส์​ (16​ ม.ค.)​ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เพิ่มฐานทัพสหรัฐฯ 6 แห่ง และสถานที่สำคัญอื่น ๆ ในหมวดควบคุมการใช้ที่ดินในพื้นที่ใกล้เคียงให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้นซึ่งมีจุดมุ่งหมายความมั่นคงของชาติ นับเป็นครั้งแรกที่มีการเพิ่มฐานทัพสหรัฐฯ ลงในกฎหมายควบคุมการใช้ที่ดินที่ประกาศใช้ในปี 2564​

‘ค้าปลีก’ ในเอเชียแปซิฟิก เหยื่อถูกโจมตีหนัก เหตุขาดงบความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

  แคสเปอร์สกี้ชี้ อุตสาหกรรมค้าปลีกในเอเชียแปซิฟิกโดนโจมตีหนัก เหตุขาดงบด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ขณะที่ องค์กรโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ‘น้ำมัน และก๊าซ’ รวมถึงองค์กรด้านพลังงาน ต่างประสบปัญหาทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด   จากการศึกษาล่าสุดของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) สำหรับสถิติระดับโลก พบว่า องค์กรโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ น้ำมันและก๊าซ รวมถึงองค์กรด้านพลังงาน ต่างประสบปัญหาทางไซเบอร์จำนวนมากที่สุด เนื่องจากการจัดสรรงบประมาณที่ไม่เหมาะสม (25%) อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมค้าปลีกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก็ประสบกับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มากที่สุดในช่วง 24 เดือนที่ผ่านมา   การสำรวจล่าสุดยังเผยให้เห็นว่าบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 19% ประสบปัญหาทางไซเบอร์ เนื่องจากการลงทุนด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ไม่เพียงพอในช่วงสองปีที่ผ่านมา เมื่อพูดถึงเรื่องการเงินของบริษัท เกือบหนึ่งในห้า (16%) ยอมรับว่า ไม่มีงบประมาณสำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอ   แคสเปอร์สกี้ ได้ทำการศึกษา เพื่อสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยด้านไอทีที่ทำงานให้กับ SME และเอ็นเตอร์ไพรซ์ต่าง ๆ ทั่วโลก เกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์ต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในบริษัท การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มคนต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์   โดยพิจารณาทั้งพนักงานภายในและผู้รับเหมาภายนอก นอกจากนี้ยังวิเคราะห์ผลกระทบที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจมีต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ในแง่ของการจัดสรรงบประมาณ มีการสำรวจผู้ตอบแบบสำรวจจากเอเชียแปซิฟิกทั้งหมด 234 ราย…

ความปลอดภัยไซเบอร์ “โรงงานอัจฉริยะ”ต้องคำนึงถึงในยุคปฏิวัติระบบดิจิทัล

Loading

ระบบรักษาความปลอดภัยควรผสานรวมอยู่ในกระบวนการตัดสินใจทางเทคนิคและสถาปัตยกรรมระบบในทุกส่วน ตั้งแต่การก่อตั้งและออกแบบโรงงานไปจนถึงการปฏิบัติงานทุกขั้นตอน ภาคการผลิตจำเป็นต้องใช้แนวทางใหม่ในการปกป้องระบบโรงงานอัจฉริยะ จากเดิมที่มองข้ามความสำคัญต่อการลงทุนด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และการป้องกัน ก่อนตกเป็นเป้าของคนร้าย

ความเสี่ยงไซเบอร์ ‘Critical Infrastructure’

Loading

  อย่างที่เราทราบกันดีว่า ระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Critical Infrastructure) มีความสำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เลยก็ว่าได้ หากมีปัญหาใด ๆ ที่ทำให้ระบบต้องหยุดชะงัก แน่นอนว่าจะนำมาสู่ผลกระทบที่เป็นวงกว้างและสร้างความเสียหายได้เป็นอย่างมากเลยทีเดียว   จึงไม่น่าแปลกใจที่ระบบโครงสร้างพื้นฐาน กลายเป็นเป้าหมายในการโจมตีจากเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการเผยแพร่รายงานที่ให้ความสำคัญกับความสามารถในการปรับตัวของพนักงานเพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในระบบโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนการมีส่วนร่วมที่สูงขึ้นในการระบุบ่งชี้และรายงานเกี่ยวกับความพยายามในการโจมตีผ่านฟิชชิ่ง (phishing)   โดยรายงานนี้มีชื่อว่า Human Cyber-Risk Report: Critical Infrastructure มีการตรวจสอบปัจจัยเสี่ยงที่มาจากมนุษย์ภายใต้ภาคส่วนของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการจำลองฟิชชิ่ง (Phishing Simulation) ถึง 15 ล้านครั้ง และการโจมตีทางอีเมลที่ได้มีการรายงานไว้ในปี 2565 ประมาณ 1.6 ล้านคนที่เข้าร่วมในโปรแกรมการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านความปลอดภัย   ภายในปีแรกของการเข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมดังกล่าวนี้พบว่า กว่า 65% ของผู้เข้าร่วมสามารถตรวจพบและรายงานการโจมตีทางอีเมลที่เป็นอันตรายได้ซึ่งนับได้ว่าเป็นสัญญาณที่ดีในการรับมือกับภัยคุกคามได้อย่างเป็นรูปธรรม   นอกจากนี้ ในงานวิจัยยังพบอีกว่า พนักงานได้แสดงออกถึงการตรวจจับภัยคุกคามสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 20 % โดยองค์กรเหล่านี้มีอัตราการตรวจจับภัยคุกคามพีคที่สุดคือ 10 เดือน ซึ่งถือว่าดีกว่าค่าเฉลี่ย 12…