4 ข้ออย่าหาทำ! ถ้ายังอยาก “ชอปปิงออนไลน์” อย่างปลอดภัย

Loading

  ไม่อยากตกเป็นเหยื่อ ไม่อยากโดนสูบเงินในบัญชี อย่าทำ 4 ข้อต่อไปนี้ เวลาจะ “ชอปปิงออนไลน์” ในแอปพลิเคชันต่าง ๆ   หลังเกิดกรณี Shopee ปิดช่องทางการชำระเงินผ่านบัญชีธนาคารที่เริ่มตั้งแต่วันนี้ (6 ธ.ค.2565) ประกอบกับก่อนหน้านี้มีประเด็นผู้ใช้บริการถูกดูดเงินออกจากบัญชีที่ผูกไว้กับแอปพลิเคชัน จนบางคนตั้งคำถามถึงความปลอดภัยจากการผูกบัญชีธนาคารเอาไว้กับแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์   แม้เงินที่อยู่ในโลกออนไลน์จะมีโอกาสถูกโจรกรรมได้เสมอ แต่จะดีกว่าไหมถ้าเราปิดประตูโอกาสของบรรดาแฮกเกอร์หรือพวกโจรออนไลน์ให้อย่างน้อยก็มาเปิดกระเป๋าสตางค์เราได้ยากขึ้น KT Review กรุงเทพธุรกิจไอที ขอแนะนำ 4 สิ่งที่อย่าหาทำ ถ้าไม่อยากให้เงินของเราถูกโจรกรรมไปจากการชอปปิงออนไลน์ที่ประยุกต์ใช้กับแอปพลิเคชันได้ทุกแอพ     ไม่ควรผูกบัญชีธนาคาร   ถึงแม้ “Shopee” จะออกมาชี้แจงแล้วว่าช่องทางที่แจ้งปิดไป เป็นคนละช่องทางกับที่มีผู้ได้รับความเสียหาย โดยช่องทางที่ปิดไปเป็นช่องทางที่แอพ Shopee ผูกกับบัญชีธนาคาร แล้วให้ลูกค้าไปจ่ายได้ที่หน้าตู้เอทีเอ็ม ซึ่งเป็นช่องทางที่ Shopee วางแผนจะปิดตัวมาสักระยะหนึ่งแล้ว โดยล่าสุด Shopee ชี้แจงว่าจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นพบว่าผู้ร้องเรียนอาจเป็นผู้เสียหายจากการหลอกลวงออนไลน์ (Phishing Scam)   ซึ่งทางช้อปปี้ระบุว่าลูกค้าที่ผูกบัญชีกับ ShopeePay ยังจ่ายจากบัญชีธนาคารได้ตามปกติ แต่เพื่อความสบายใจ เบื้องต้นการใช้ ShopeePay…

วุ่น! บัญชี เทศบาลนครอุบล ถูกคนร้ายโอนเข้าแอปช้อปปิ้ง 2 พันครั้ง สูญกว่า 39 ล.

Loading

  วุ่น!! เทศบาลนครอุบล โร่แจ้ง ตร.ถูกคนร้ายโอนเงินจากบัญชีเข้าไประบบแอปช้อปปิ้งดัง เลขที่ KT 2093 กว่า 39 ล้านบาท   เมื่อเวลา 09.54 น. วันที่ 15 พฤศจิกายน ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี พ.ต.ท.รุ่งทวี นาปาน สารวัตร (สอบสวน) สภ.เมือง จ.อุบลราชธานี รับแจ้งจาก นายอาทิตย์ คูณผล อายุ 66 ปี รองนายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานีได้รับมอบอำนาจจาก นางสาวพิศทยา ไชยสงคราม นายกเทศมนตรีนครอุบลราชธานี ให้มาร้องทุกข์ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดไม่ทราบเป็นใคร   ซึ่งได้โอนเงินจากบัญชีธนาคารกรุงไทย ประเภทออมทรัพย์ 1 บัญชี และบัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชีเทศบาลนครอุบลราชธานี อีก 1 บัญชี โดยมีเงินถูกโอนไปจากทั้งสองบัญชี แล้วโอนเข้าไประบบซื้อขายออนไลน์ชื่อดัง เลขที่ KT 2093 รวมจำนวน 2,029…

ทหารรัสเซียขโมยเครื่องจักรการเกษตร John Deere จากยูเครน โดนบริษัทสั่งล็อคทางไกล

Loading

  สงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครน มีประเด็นที่น่าสนใจคือทหารรัสเซียได้ขโมยเครื่องจักรการเกษตร (พวกรถแทร็คเตอร์ รถไถ รถเก็บเกี่ยว) รวมทั้งหมด 27 คัน มูลค่าสินค้ารวมประมาณ 5 ล้านดอลลาร์ จากร้านตัวแทนจำหน่ายของบริษัท John Deere แห่งหนึ่งในเมือง Melitopol ของยูเครน โดยเครื่องจักรจำนวนหนึ่งถูกขนถ่ายไปใช้งานด้านการเกษตรในรัฐเชเชนของรัสเซีย   อย่างไรก็ตาม เครื่องจักรการเกษตรสมัยนี้สามารถควบคุมได้จากระยะไกล (รวมถึงดูพิกัดได้จาก GPS) ทำให้บริษัท John Deere สามารถล็อคการทำงานได้ เท่ากับว่าทหารรัสเซียขนเครื่องจักรเดินทางไกล 700 ไมล์ (ราว 1,100 กิโลเมตร) เพื่อพบว่าสตาร์ตเครื่องไม่ติด   ตามข่าวบอกว่าทหารรัสเซียพยายามบายพาสระบบล็อคของ John Deere แต่ไม่มีข้อมูลว่าทำสำเร็จหรือไม่ และสุดท้ายเครื่องจักรอาจถูกถอดเป็นชิ้นส่วนขายแทน     ที่มา – CNN via The Register, ภาพจาก Agrotek บริษัทตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักรการเกษตรของยูเครน     —————————————————————————————————————————————————————————————————————…

วิธีป้องกันโดนขโมยพัสดุ โดนโกง จากการรับสินค้าที่ซื้อทางออนไลน์

Loading

    วิธีป้องกันโดนขโมยพัสดุ โดนโกง จากการรับสินค้าที่ซื้อทางออนไลน์ เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยสั่งซื้อสินค้าออนไลน์มาแล้วเช่นเดียวกับที่ต่างประเทศก็นิยมสั่งซื้อของออนไลน์เช่นกัน และสิ่งที่ตามมาคือการโกงพัสดุ ซึ่งไม่ได้แค่เกิดขึ้นแค่ในไทย แต่เกิดขึ้นทั่วโลกด้วยเช่นกัน คุณจะป้องกันจากการโกง หรือโดนขโมยอย่างไร บทความนี้รวบรวมวิธีป้องกันโดนโกง โดนพัสดุในไทย ทั้งที่เกิดขึ้นในไทยและต่างประเทศ ให้เหมาะสมกับผู้ซื้อของออนไลน์   การเพิ่มขึ้นของการโจรกรรมพัสดุ Safewise ระบุว่า 64.1% ของชาวอเมริกันเคยถูกขโมยพัสดุภัณฑ์ในปี 2020 จากการขโมยพัสดุภัณฑ์ประมาณ 210 ล้านชิ้นในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว และแต่ละแพ็คเกจมีมูลค่าประมาณ 50-200 ดอลลาร์ ค่าใช้จ่ายในการขโมยบรรจุภัณฑ์มีมูลค่ารวมกันประมาณ 2.625 พันล้านดอลลาร์ต่อปี กับ 75% ของชาวอเมริกันมีแนวโน้มที่เจอเหตุการณ์ถูกขโมยพัสดุภัณฑ์   วิธีป้องกันโดนขโมยพัสดุ โดนโกง จากการซื้อของออนไลน์   การป้องกันการถูกโจรกรรมพัสดุนั้น น่าเสียดายที่การขโมยบรรจุภัณฑ์ไม่ได้เกิดขึ้นแค่นอกบ้านของคุณเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดส่ง ในครั้งล่าสุดและเกิดขึ้นในไทยและต่างประเทศ อาจมีกรณีการขโมยบรรจุภัณฑ์เกิดขึ้นภายในคลังสินค้าหรือระหว่างการจัดส่ง ด้วยเหตุผลนี้ การป้องกันตัวเองจากการโจรกรรมบรรจุภัณฑ์ตลอดทุกขั้นตอนของกระบวนการซื้อของออนไลน์จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด 1. สมัครประกันพัสดุ   iT24Hrs-S   แม้ว่าผู้ค้าปลีกทุกรายจะไม่ได้เสนอประกันแพ็คเกจ แต่บริการจัดส่งจำนวนมากก็มีให้ หากคุณกำลังซื้อสินค้าราคาแพง คุณอาจต้องการพิจารณาขอบริษัทจัดส่งให้ทำประกันพัสดุภัณฑ์ไว้…

เปิดบัญชีเฝ้าระวัง “รถยนต์ 7 – จยย.ครึ่งร้อย” เสี่ยงซุกบึ้ม-พาหนะก่อเหตุรุนแรง

Loading

  ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์จังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดข้อมูล “รถเฝ้าระวัง” หลังถูกโจรกรรมเพียบ หวั่นคนร้ายนำไปใช้ซุกระเบิดทำ “คาร์บอมบ์ – จยย.บอมบ์” หรือใช้เป็นพาหนะไปก่อเหตุรุนแรง แฉป้ายทะเบียนก็ถูกฉกอื้อ ศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รายงานแจ้งเตือนข้อมูลรถยนต์และรถจักรยานยนต์ที่ถูกโจรกรรม และสุ่มเสี่ยงจะถูกนำไปใช้ก่อเหตุสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ เพื่อให้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทุกหน่วยเฝ้าระวัง   โดยรถที่ถูกโจรกรรมและสุ่มเสี่ยงต่อการนำมาใช้ก่อเหตุ เป็นรถยนต์เฝ้าระวัง มีทั้งหมด 7 คัน และเป็นรถจักรยานยนต์เฝ้าระวัง 58 คัน แยกตามพื้นที่ได้ดังนี้ จ.ปัตตานี มีรถยนต์เฝ้าระวัง 3 คัน ประกอบด้วย 1.รถยนต์เก๋งมาสด้า สีฟ้า ทะเบียน ญต7389 กรุงเทพฯ 2.รถยนต์กระบะ มิตซูบิชิ ไทรทัน สีประตู สีดำ ทะเบียน กจ 801 ยะลา 3.รถยนต์เก๋งซีวิค สีขาว ทะเบียน ขธ 1964 สงขลา ซึ่งเป็นรถยนต์ที่อยู่ในข่ายเฝ้าระวังพิเศษ เนื่องจากเจ้าของรถถูกฆาตกรรม…

ถึงเวลายกระดับป้องกันภัยไซเบอร์หน่วยงานรัฐ!!

Loading

  ปัญหาหน่วยงานของรัฐถูกท้าทายจาก “แฮกเกอร์” ด้วยการเจาะระบบเข้ามาโจรกรรมข้อมูลขององค์กร มีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ทำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง และ เป็นข่าวบ้าง ไม่เป็นข่าวบ้าง!! แต่ครั้งนี้กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวขึ้นมาทันที เมื่อหน่วยงานที่ถูกแซะข้อมูลไป เป็นหน่วยงานสาธารณสุข คือ รพ.เพชรบูรณ์ ก็ยอมรับว่าโดนแฮกจริงๆ แต่เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ใช่ฐานข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยแต่อย่างไร และถูกแฮกไปมีจำนวนกว่า 1 หมื่นรายชื่อ ไม่ใช่ 1.6 ล้านรายชื่อตามที่แฮกเกอร์กล่าวอ้าง หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีประเด็น ผู้บริหารของ รพ.สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ดำเนินคดีกับแฮกเกอร์ที่ลักลอบเจาะข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลกว่า 4 หมื่นรายชื่อ!! กลายเป็นประเด็นสะเทือนวงการสาธารณสุขไทยอีกครั้งติดๆ​ กัน เพราะครั้งนี้ ได้ข้อมูลส่วนตัวคนไข้ ประวัติการฟอกไต และประวัติการรักษา ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลความลับที่นำไปเปิดเผยไม่ได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือคนไข้!!     ประกอบกับปัจจุบัน มี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  ถึงแม้จะมีการขยายการบังคับใช้ออกไป แต่หน่วยงานที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลยังต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลไซเบอร์ เพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากโรงพยาบาลไม่ได้ดำเนินการได้ตามมาตรฐานจนเกิดข้อมูลรั่วไหลจากการถูกแฮกเกิดความเสียหายก็ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยเช่นกัน ปัญหาข้อมูลรั่วไหลจากการถูกแฮกไม่ใช่เรื่องใหม่ และเกิดขึ้นบ่อยๆ!! โดยเรื่องนี้ทาง พลโท ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) กล่าวว่า กลุ่มเฮลท์แคร์ หรือ เกี่ยวกับสุขภาพ ถือเป็นเซกเตอร์ที่มีความเปราะบาง เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรด้านไอที ยังไม่รวมถึงบุคลากรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ รวมถึงแต่ละโรงพยาบาลก็มี งบประมาณจำกัด จึงให้เจ้าหน้าที่ด้านไอทีของตัวเองพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใช้งานเองภายใน ที่เรียกว่า อินทราเน็ต แต่พอมีโควิด-19  ทำให้มีการเวิร์ก ฟรอม โฮม มีการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ง่าย ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีเพียงหน่วยเดียวที่ถูกโจมตี มีหลายหน่วยแต่อาจยังไม่เป็นข่าว เพราะไม่มีความรุนแรง หรือมีข้อมูลความเสียหายไม่มาก!? จึงจำเป็นที่ทางกระทวงสาธารณสุข ต้องจัดทำระบบที่รวมศูนย์มากขึ้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ซึ่งจะทำให้ การเฝ้าระวังทำได้ง่ายขึ้น ขณะที่ นาวาอากาศเอก  อมร ชมเชย  รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ​ ​(กมช.) บอกว่า การป้องกันต่อจากนี้จะต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่ดีขึ้น รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยแผนระยะสั้น จะมีการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนให้ยกระดับขีดความสามารถ ขณะที่หน่วยงานของรัฐจะต้องมีการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ…