TikTok ว่าจ้างบริษัท NCC ของอังกฤษตรวจสอบความปลอดภัยของข้อมูลบนแพลตฟอร์ม

Loading

ภาพ : REUTERS/Mike Blake   TikTok ได้ว่าจ้าง NCC NCCG.L บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของอังกฤษ เพื่อตรวจสอบการควบคุมและการปกป้องข้อมูลของผู้ใช้บริการบนแพลตฟอร์มโดยอิสระ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือน มี.ค.67   กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลของบริษัทโซเชียลมีเดีย หรือเรียกชื่อย่อว่า “Project Clover” ทั้งนี้ TikTok และ NCC จะต้องร่วมมือกับผู้กำหนดนโยบายทั่วยุโรป เพื่อให้ข้อมูลในทางปฏิบัติว่า ระบบจะทำงานอย่างไร   การดำเนินการดังกล่าวสืบเนื่องมาจากแรงกดดันเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากฝ่ายนิติบัญญัติของสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป รวมทั้งหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้สั่งห้ามให้เจ้าหน้าที่ใช้งาน TikTok เพราะมีความกังวลว่า TikTok ที่มีเจ้าของโดย ByteDance บริษัทสัญชาติจีน ซึ่งรัฐบาลจีนอาจสามารถรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ของประเทศอื่นได้   TikTok กำลังเปิดศูนย์ข้อมูลในยุโรปทั้งหมด 3 แห่ง ในไอร์แลนด์สองแห่ง และอีกหนึ่งแห่งในนอร์เวย์   นาง Elaine Fox หัวหน้าฝ่ายความเป็นส่วนตัวของ TikTok ในยุโรป กล่าวว่า “ปัจจุบัน TikTok ได้เริ่มโยกย้ายและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ในเขตเศรษฐกิจยุโรป (European…

3 เหตุผลทำไม? ต้องปกป้อง “มือถือ” ให้ใช้งานได้ปลอดภัย!

Loading

  ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่าง ๆ   ปัจจุบันในสมาร์ตโฟนของเรา จะมีข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ มากมาย ทั้งรูปภาพ  บทสนทนา รวมถึงการใช้างนแอปต่างๆ  โดยเฉพาะ แอปการเงิน   ทำให้การป้องกันความปลอดภันของสมาร์ตโฟน ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง แต่คนส่วนใหญ่เมื่อโทรศัพท์ใหม่ จะรีบหาซื้อเคสป้องกันทันที เพื่อป้องกันไม่ให้โทรศัพท์มีรอยหรือแตกหักแม้จะตกหล่น แต่ละเลยเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) แนะเหตุผลสำคัญ 3 ประการว่าทำไมจึงจำเป็นต้องปกป้องโมบายดีไวซ์ด้วยซอฟต์แวร์   1. เพราะมีเงินอยู่ในสมาร์ตโฟนของคุณ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับการขนานนามว่าเป็นตลาดโมบายวอลเล็ต หรือกระเป๋าเงินออนไลน์ ที่เติบโตเร็วที่สุดหลังจากเหตุโรคระบาดที่ทำให้เกิดการยอมรับธนาคารออนไลน์และการใช้กระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในภูมิภาคอย่างเฟื่องฟู   ในปีที่แล้ว การชำระเงินผ่านโมบายดีไวซ์ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยบริการเงินออนไลน์ทั้ง 86 บริการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และคาดการณ์ว่าจะมีสตาร์ทอัพกลุ่มยูนิคอร์นเพิ่มมากขึ้น และกระแสกระปุกออมสินดิจิทัลมากขึ้นเช่นกัน และการวิจัยของแคสเปอร์สกี้เรื่องการจ่ายเงินดิจิทัล หรือ Digital Payments ระบุว่าสมาร์ตโฟนแอนดรอยด์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์มากที่สุดในภูมิภาคนี้     ผู้บริโภคส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ใช้โทรศัพท์แอนดรอยด์ ผู้ใช้บริการการชำระเงินดิจิทัลในอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์จำนวนมากกว่าสี่ในห้า (82%) ระบุว่าใช้อุปกรณ์แอนดรอยด์ในการทำธุรกรรม ขณะที่มาเลเซียมี…

“เอ็กซ์” จ่อเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล, ประวัติการทำงาน และการศึกษาของผู้ใช้งาน

Loading

  สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า “เอ็กซ์” (X) หรือชื่อเดิมทวิตเตอร์ ได้ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัวเพื่อเก็บข้อมูลผู้ใช้งานประเภทใหม่ ได้แก่ ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ใช้พิสูจน์ตัวตนบุคคล   เอ็กซ์ระบุในนโยบายที่ปรับปรุงใหม่ว่า “เมื่อได้รับความยินยอมจากผู้ใช้งาน เราอาจเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลของคุณเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัย ความมั่นคง และการระบุตัวตน” แม้เอ็กซ์ไม่ได้ให้คำจำกัดความที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล แต่บริษัทอื่นมักใช้คำดังนี้เพื่ออธิบายถึงข้อมูลที่ดึงมาจากลักษณะใบหน้า ดวงตา และลายนิ้วมือของแต่ละบุคคล   นอกจากนี้ เอ็กซ์กล่าวเสริมว่า บริษัทยังมีความตั้งใจที่จะรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพและประวัติการศึกษาของผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน   นโยบายความเป็นส่วนตัวที่ปรับปรุงใหม่ระบุว่า “เราอาจเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ เช่น ประวัติการทำงาน ประวัติการศึกษา งานที่ชอบ ทักษะและความสามารถ กิจกรรมการค้นหางานและการมีส่วนร่วม และอื่น ๆ เพื่อแนะนำงานที่เหมาะสำหรับคุณ ตลอดจนแบ่งปันข้อมูลกับผู้ที่อาจมาเป็นนายจ้างของคุณ เพื่อที่นายจ้างจะสามารถค้นหาผู้สมัครงานที่มีศักยภาพ และเพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องแก่คุณมากขึ้น”   ทั้งนี้ บรรดาบริษัทโซเชียลมีเดียต่างถูกวิพากษ์วิจารณ์จากผู้ใช้งานและหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบทั่วโลกเกี่ยวกับการเก็บข้อมูลและวิธีการที่นำข้อมูลไปใช้ รวมถึงการขายโฆษณาที่มีการปรับให้เหมาะกับความสนใจของบุคคลและประวัติการค้นหา       ——————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                 …

Meta ประกาศลบบัญชี IO จีน ออกจากเฟซบุ๊ก 7,700 บัญชี พบกระจายตัวกว่า 50 แพลตฟอร์ม

Loading

  บริษัทแม่ของเฟซบุ๊กจัดการปฏิบัติการ IO ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา มีพฤติกรรมอวยจีน-ด่าตะวันตก พบเชื่อมโยงกับผู้บังคับใช้กฎหมายในจีน   รายงานด้านความปลอดภัยประจำไตรมาสที่ 2 ของ Meta เจ้าของเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม เผยว่า ได้มีการตรวจพบปฏิบัติการข่าวสาร หรือ ไอโอ (IO) ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา และได้ทำการลบบัญชีปลอมบนเฟซบุ๊กไปราว 7,700 บัญชี และบัญชีปลอมบนอินสตาแกรมอีก 15 บัญชี   สำหรับพฤติกรรมของบัญชีเหล่านี้ จะมีเนื้อหาเชิงบวกต่อจีนและเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ มีการวิพากษ์วิจารณ์การนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก อีกทั้งยังโจมตีผู้วิจารณ์รัฐบาลจีน รวมไปถึงสื่อมวลชนและนักวิชาการ   ปฏิบัติการโฆษณาชวนเชื่อของจีนในลักษณะนี้ ได้รับการตั้งชื่อว่า สแปมมูฟลาจ (Spamouflage) ที่บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่หลายแห่งพยายามจัดการมาตั้งแต่ปี 2019 โดยเครือข่ายนี้มีการเล็งเป้าไปยังหลายพื้นที่ เช่น ไต้หวัน สหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และประชากรที่ใช้ภาษาจีนทั่วโลก   Meta ยังพบว่าปฏิบัติการดังกล่าวกระจายตัวไปกว่า 50 แพลตฟอร์ม ทั้งแพลตฟอร์มหลักอย่าง Facebook, Instagram, TikTok,…

รอยเตอร์ รายงานผู้คนเชื่อถือสื่อเดิมน้อยลง หันมาใช้ TikTok รับข่าวมากขึ้น

Loading

  รอยเตอร์ ได้เผยรายงานเกี่ยวกับผู้คนในยุคปัจจุบันที่หันมาใช้ TikTok เสพข่าวมากขึ้น จากสถิติปี 2565 พบว่า ไทยมีผู้ใช้งาน TikTok สูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลกมากถึง 35.6 ล้านคน   TikTok นับว่าเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเข้าถึงและสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคได้มาก โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่คนหันไปดูคลิปสั้น ค้นหาข่าวสารต่าง ๆ     จากสถิติปี 2565 พบว่า ไทยมีผู้ใช้งาน TikTok สูงเป็นอันดับที่ 7 ของโลกมากถึง 35.6 ล้านคน ส่วนประเทศที่มีผู้ใช้งานมากสุดเป็นของสหรัฐฯ จำนวน 120.8 ล้านคน   นอกจากนี้ถ้าย้อนไปดูข้อมูลตั้งแต่ปี 2563-2565 พบว่า ผู้ใช้เด็กและวัยรุ่น มีการค้นหาสิ่งที่สนใจใน TikTok มากกว่า YouTube ไปเรียบร้อยแล้ว และสถิติได้เผยว่าเด็กและวัยรุ่นใช้เวลาเฉลี่ย 91 นาทีต่อวันบนแอปฯ TikTok…

สร้างสมดุลให้โลกดิจิทัล

Loading

    ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย   วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันเคยชินกับการใช้ชีวิตคู่ขนานระหว่างโลกแห่งความเป็นจริง และชีวิตในโลกดิจิทัลสลับกันไปมาอย่างคุ้นเคย ไม่ว่าจะใช้ชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตการทำงานในโลกจริงมาทั้งวันแต่เมื่อถึงเวลาเปลี่ยนไปใช้ชีวิตในโลกดิจิทัลก็ทำได้อย่างไร้รอยต่อ   เพราะเราคุ้นเคยกับเทคโนโลยีดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่อินเทอร์เน็ตได้รับความนิยมอย่างก้าวกระโดดเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว จากจุดเริ่มต้นในการใช้งานในด้านธุรกิจและสถาบันการศึกษา เมื่อมาถึงยุคโซเชียลมีเดีย อินเทอร์เน็ตก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนในยุคปัจจุบันไปแล้ว   แต่ความไม่สมดุลระหว่างการใช้ชีวิตในทั้ง 2 โลกยังมีให้เราเห็นและก่อให้เกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาะเรื่องความเสี่ยงในการใช้งานโดยเฉพาะด้านการดูแลสินทรัพย์ส่วนบุคคลที่ในโลกแห่งความเป็นจริงเรามักจะเข้มงวดมาก   ไม่ว่าจะเป็นเงินฝากที่ต้องคิดให้ดีว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือสถาบันการเงินแห่งใด เพราะปัจจุบันมีการคุ้มครองเงินฝากเหลือเพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น การคำนึงถึงความน่าเชื่อถือและความมั่นคงของสถาบันการเงินที่เราจะเอาเงินไปฝากไว้จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก   นอกเหนือจากนั้นก็ยังต้องรู้จักกระจายความเสี่ยงด้วยการถือครองสินทรัพย์ประเภทอื่นเพิ่มเติม รวมไปถึงของมีค่าอื่นๆ ที่ต้องคิดถึงเรื่องความปลอดภัยเป็นหลัก การเก็บรักษาจึงมักกระจายทั้งเก็บไว้ที่บ้าน ที่ทำงาน รวมไปถึงบ้านพ่อแม่ ฯลฯ   หรือไม่ก็เก็บไว้ในตู้เซฟที่สถาบันการเงินต่างๆ มีไว้ให้บริการซึ่งก็จำเป็นต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนเช่นกันว่าจะไว้วางใจธนาคารหรือบริษัทอื่นใด จะเลือกใช้บริการที่สาขาไหนระหว่างสำนักงานใหญ่หรือสาขาย่อยที่ใกล้บ้าน   เราจะเห็นความเข้มงวดในการใช้ชีวิตในโลกแห่งความเป็นจริงที่สวนทางกับโลกดิจิทัลโดยสิ้นเชิง เพราะสำหรับคนทั่วไปแล้วมักจะมีความตระหนักในการรักษาความปลอดภัยในโลกดิจิทัลที่ต่ำกว่าโลกแห่งความเป็นจริงมาก   อาจเป็นเพราะเราเห็นแก่ความสะดวกรวดเร็วในการใช้งานจนมองข้ามความปลอดภัยจนทำให้เราขาดสมดุลในการใช้งานระหว่างโลกทั้งสองโดยไม่รู้ตัว ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วระบบการจัดการสินทรัพย์ในโลกดิจิทัลนั้นมีความซับซ้อนสูงมาก แต่เรากลับมองข้ามไปและสนใจแต่ความสะดวกที่ตัวเองจะได้รับเท่านั้น   ที่สุดแล้วเราจึงมักจะให้ข้อมูลและสิทธิในการเข้าถึงความเป็นส่วนตัวของเรากับระบบดิจิทัลมากเกินความจำเป็น จนหลายแพลตฟอร์มที่ให้บริการออนไลน์แก่เราอยู่ในทุกวันนี้เข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้จำนวนมหาศาล และเมื่อบริหารจัดการไม่เหมาะสมก็อาจมีข้อมูลหลุดรั่วออกมาตามที่เป็นข่าวอยู่บ่อยๆ   ซึ่งข้อมูลที่ถูกจัดเก็บเหล่านี้มีทั้งข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ไปจนถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมซึ่งก็คือรอยเท้าดิจิทัลที่เก็บบันทึกไว้อย่างละเอียดว่าเราเข้าไปที่เว็บใด สนใจเนื้อหาแบบไหน…