LinkedIn เริ่มบังคับยืนยันตัวตนด้วยอีเมลทำงาน-เบอร์โทร แก้ปัญหาบัญชีสแปม-หลอกลวง

Loading

  ไม่ได้มีแต่ Twitter ที่มีปัญหาบัญชีปลอมระบาด เพราะโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ก็มีปัญหาบัญชีปลอมเพื่อหลอก scam ด้วยเช่นกัน   ล่าสุด LinkedIn เพิ่มมาตรการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้เพิ่ม โดยต้องยืนยันอีเมลทำงาน (work email) หรือหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งจะถูกนำไปแสดงในหน้า About this Profile ว่ายืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจริง ๆ และยังเพิ่มการระบุวันที่สร้างบัญชี เพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายขึ้นว่าเป็นบัญชีสร้างใหม่หรือไม่   ฟีเจอร์ตรวจสอบตัวตนยังทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ในวงจำกัด และจะค่อย ๆ ขยายในวงกว้างขึ้นต่อไป   ที่มา – CNN     —————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                          Blognone by mk   …

การทดลองเผย แพลตฟอร์มยักษ์ใหญ่ล้มเหลวในการกรองข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งสหรัฐฯ

Loading

  Global Witness องค์กรไม่แสวงหากำไรด้านสิทธิมนุษยชน และทีมงาน Cybersecurity for Democracy (C4D) แห่งมหาวิทยาลัยนิวยอร์กเผยว่า Facebook และ TikTok ล้มเหลวในการขัดขวางโฆษณาที่เผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐอเมริกาที่จะมีขึ้นในเดือนพฤศจิกายน   โดย Global Witness ได้ทำการทดสอบมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลเท็จบนโซเชียลมีเดีย ด้วยการสร้างบัญชีปลอมบน Facebook, TikTok และ YouTube จากนั้นใช้บัญชีเหล่านี้สร้างโฆษณาทั้งในภาษาอังกฤษและสเปน   ทางองค์กรระบุว่าโฆษณาแต่ละตัวมีเนื้อหาที่เป็นข้อมูลเท็จอย่างชัดเจน อย่างการอ้างว่าคนที่จะไปเลือกตั้งได้ต้องฉีดวัคซีนก่อน หรืออ้างว่าต้องโหวต 2 ครั้งถึงจะมีความหมาย โฆษณาบางตัวก็ใส่วันที่ของการเลือกตั้งแบบผิด ๆ   พื้นที่เป้าหมายของโฆษณาเหล่านี้คือรัฐที่มีการแข่งขันกันอย่างสูสีระหว่างพรรคการเมืองใหญ่ ได้แก่ แอริโซนา โคโลราโด จอร์เจีย นอร์ทแคโรไลนา และเพนซิลเวเนีย   ผลก็คือมีเพียง YouTube เท่านั้นที่สามารถปิดกั้นโฆษณาทั้งหมด รวมถึงยังสามารถบล็อกบัญชีที่สร้างโฆษณาเท็จได้ด้วย   ในทางกลับกัน ในการทดลองครั้งแรก Facebook อนุมัติถึงร้อยละ 20 ของโฆษณาปลอมที่เป็นภาษาอังกฤษ และอนุมัติครึ่งหนึ่งของโฆษณาภาษาสเปน ในขณะที่การทดลองใหม่อีกครั้ง…

ฟิลิปปินส์เริ่มบังคับใช้กฎหมาย “ลงทะเบียนซิมการ์ดมือถือ”

Loading

  ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ลงนามในกฎหมาย ว่าด้วยการที่ประชาชนต้องยืนยันตัวตนอย่างเป็นทางการ ว่าเป็นเจ้าของซิมการ์ดโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่ว่าหมายเลขใดก็ตาม   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ว่า ประธานาธิบดีเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ ลงนามรับรองกฎหมาย ว่าด้วยการลงทะเบียนและการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเลขบัตรประชาชน และข้อมูลสำคัญในเบื้องต้นให้ครบถ้วน เพื่อปิดโอกาสของมิจฉาชีพ ในการใช้หมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชนเพื่อการก่ออาชญากรรม   ปัจจุบัน ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศซึ่งมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์มือถือสูงสุดในทวีปเอเชีย คือ 61% จากประชากรประมาณ 110 ล้านคน และยังอยู่ในกลุ่มหัวตารางของการจัดอันดับโดยบริษัทวิจัยนานาชาติหลายแห่ง เกี่ยวกับการใช้เวลากับสมาร์ทโฟนและโซเชียลมีเดียต่อวันอีกด้วย   LIVE: President Ferdinand R. Marcos Jr. signs the Subscriber Identity Module (SIM) Card Registration Act | October 10, 2022https://t.co/ECSbqXLb4Q — Office of the…

TikTok เผยตรวจพบบัญชีปลอมประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 ทั้งสิ้น 33.6 ล้านบัญชี

Loading

  ติ๊กต่อก (TikTok) เผยในรายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชนประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2022 พบมีการใช้บัญชีปลอมในแพลตฟอร์มเพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็น 33.6 ล้านบัญชี และประเทศไทยอยู่อันดับ 14 ประเทศที่ถูกลบวิดีโอมากที่สุด   ติ๊กต่อก แพลตฟอร์มวิดีโอโซเชียลมีเดีย เผยแพร่รายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน ประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2022 โดยรายงานฉบับนี้ ครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 30 มิถุนายน 2022   สิ่งที่น่าสนใจของรายงานฉบับนี้อยู่ตรงที่ ติ๊กต่อก ได้เปิดเผยว่า มีการตรวจพบบัญชีปลอมและได้ลบบัญชีปลอมเหล่านี้เป็นจำนวนทั้งสิ้น 33.6 ล้านบัญชี เพิ่มขึ้น 61 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า แต่ถ้ามองย้อนกลับไปช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว จะเห็นได้ว่า อัตราการลบบัญชีปลอมของติ๊กต่อก เพิ่มขึ้นมากกว่า 2,000 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว   ตัวเลขการลบบัญชี     พร้อมกันนี้ ติ๊กต่อก กล่าวว่า…

อดีต จนท.ความปลอดภัยไซเบอร์แฉทวิตเตอร์ปล่อยสายลับจีน-อินเดียแฝงตัวทำงานในบริษัท

Loading

  อดีตหัวหน้าฝ่ายรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ ปีเตอร์ “มัดจ์” แซตโก ให้ปากคำต่อรัฐสภาอเมริกันว่า มีสายลับจีนอย่างน้อย 1 คนทำงานอยู่ในบริษัท นอกจากนั้น ทวิตเตอร์ยังปล่อยให้อินเดียส่งสายลับอีกจำนวนหนึ่งเข้าไปทำงานเช่นกัน และทำให้ 2 ประเทศดังกล่าวมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลอ่อนไหวของผู้ใช้   ถ้อยแถลงเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของการให้การของ แซตโก ซึ่งเป็นทั้งแฮ็กเกอร์ชื่อดังและผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมทั้งยังเป็นผู้เปิดโปงความไม่ชอบมาพากลของทวิตเตอร์ ต่อคณะกรรมาธิการการยุติธรรมของวุฒิสภาสหรัฐฯ เมื่อวันอังคาร (13)   แซตโก แฉว่า ทวิตเตอร์มีปัญหาระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์หละหลวมทำให้เสี่ยงถูกแสวงหาผลประโยชน์จากวัยรุ่น อาชญากร และสายลับ รวมทั้งทำให้ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ตกอยู่ในความเสี่ยง   เขาเสริมว่า พนักงานทวิตเตอร์บางคนกังวลว่า รัฐบาลจีนอาจเก็บข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้ของบริษัท   ทั้งนี้ ทวิตเตอร์ถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการรักษาความปลอดภัยหละหลวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2020 ที่แฮกเกอร์วัยรุ่นเข้าควบคุมบัญชีของผู้ใช้ที่มีชื่อเสียงหลายสิบบัญชี ซึ่งรวมถึงบัญชีของอดีตประธานาธิบดีบารัค โอบามา ของสหรัฐฯ   ในการให้ปากคำเมื่อวันอังคาร แซตโกเปิดเผยปัญหาการรักษาความปลอดภัยของทวิตเตอร์ที่ร้ายแรงกว่านั้นเสียอีก ด้วยการกล่าวหาเป็นครั้งแรกว่า ก่อนเขาถูกไล่ออกราว 1 สัปดาห์ เขาได้รับรู้ว่า บริษัทแห่งนี้ได้รับแจ้งจากสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) สหรัฐฯ ว่า มีสายลับจากหน่วยข่าวกรองของกระทรวงความมั่นคงแห่งรัฐของจีนแฝงตัวทำงานอยู่ในบริษัท…

จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’/บทความพิเศษ จักรกฤษณ์ สิริริน

Loading

จาก ‘Influencer จัดตั้ง’ ถึง ‘Propaganda ยุค 5 G’   ก่อนยุค 1 G โลกของเรามี Propaganda ในฐานะ “โฆษณาชวนเชื่อ”   ที่ไม่ว่าจะอยู่ในอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใด ต่างก็ล้วนใช้ Propaganda เป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งในยุทธศาสตร์การตลาด เช่น “ลัทธิฟาสซิสต์”   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ค่ายคอมมิวนิสต์” ที่ขึ้นชื่อลือชาด้านการนำแนวคิด Propaganda มาใช้เป็นกลยุทธ์หลักในการประชาสัมพันธ์แนวคิดของพรรคฯ เพื่อดึงมวลชน และขยายเขตงานออกไปอย่างไม่สิ้นสุด   ศาสตราจารย์ ดร. Garth Jowett และศาสตราจารย์ ดร. Victoria O’Donnell เจ้าของหนังสือ Propaganda and Persuasion ได้อธิบายนิยามของ Propaganda ว่าหมายถึง “ความพยายามอย่างเป็นระบบโดยเจตนา ในการกำหนดรูปแบบการรับรู้ การปรับเปลี่ยนความเข้าใจ และโน้มน้าวพฤติกรรม เพื่อการตอบสนองความตั้งใจ จนกระทั่งบรรลุจุดมุ่งหมายของผู้โฆษณาชวนเชื่อ”   ศาสตราจารย์…