แคสเปอร์สกี้ แนะ 7 ข้อ ใช้ Instagram อย่างปลอดภัย

Loading

  เปิด 7 ข้อใช้ อินสตาแกรม (Instagram) หรือ ไอจี อย่างปลอดภัย   ในวาระครบรอบอินสตาแกรม 11 ปี จากบริการแชร์รูปภาพ กลายเป็นเครือข่ายโซเชียลที่ได้รับความนิยมไปทั่่วโลก คนใช้มากกว่า 1 พันล้านคน 6 ตุลาคม อินสตาแกรม (Instagram) ฉลองครบรอบ 11 ปี Instagram เริ่มต้นจากบริการแชร์รูปภาพ กลายเป็นเครือข่ายโซเชียลที่ได้รับความนิยมทั่วโลกมากที่สุดเครือข่ายหนึ่ง ข้อมูลของ eMarketer ระบุว่า Instagram มีผู้ใช้มากถึง 1,074 พันล้านคนทั่วโลกในปี 2564 โดยปัจจุบันผู้ใช้สามารถเข้าดูร้านค้าออนไลน์ จองทำเล็บ พูดคุยกับผู้คนที่มีแนวคิดคล้ายกัน และพบคู่รัก ในแต่ละวันมีผู้ใช้ Instagram ทั่วโลกจำนวนมาก การใช้ Instagram เพื่อความพึงพอใจและประโยชน์ต่างๆ อาจพบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้เชี่ยวชาญจาก แคสเปอร์สกี้ ขอเน้นย้ำเคล็ดลับสำคัญ 7 ประการที่จะช่วยรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลส่วนบุคคลและบัญชี Instagram ของคุณ ดังนี้…

วาง 9 กฎเหล็ก ตร.ใช้สื่อออนไลน์ หลังไลฟ์สด ‘ ยิว ฉัตรมงคล’ work from home

Loading

  รองผู้การฯ ปอท. แนะ 9 แนวทาง เตือนสติ ตร.เล่นโซเชียลฯ อย่างสร้างสรรค์ ระวังการโพสต์ แม้เป็นสิทธิส่วนบุคคลก็ตาม แต่อาจส่งผลกระทบภาพลักษณ์องค์กรได้ ชี้ กรณีไลฟ์ ‘ยิว ฉัตรมงคล’อยู่ระหว่างต้นสังกัดตรวจสอบ 29 พ.ค. 2564 พันตำรวจเอก ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) ในฐานะ รอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รองโฆษก ตร.) กล่าวว่า จากปัจจุบัน ยุค 5 จี ประชาชน รวมถึงข้าราชการตำรวจต่างเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า พี่น้องตำรวจหลายท่าน รวมถึงหลายหน่วยงานใช้สื่อสังคมออนไลน์ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบต่างๆ หรือแถลงผลการจับกุมคนร้ายในคดีสำคัญ ตลอดจนเตือนภัยอาชญากรรมในพื้นที่ให้ประชาชนได้รับรู้ในการระมัดระวังตนเองมิให้ตกเป็นเหยื่อ ถือว่า เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังคงพบเห็นข้าราชการตำรวจบางท่านใช้สื่อสังคมออนไลน์แล้ว ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร จริงๆ ต้องเรียนว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์ม ข้าราชการตำรวจสามารถมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้าถึงและใช้งานทั้งสิ้น แต่เพื่อให้การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการตำรวจเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์และเป็นไปอย่างถูกต้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการตำรวจ…

โพสต์รูปบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ลงโซเชียล อันตราย มีความเสี่ยง พร้อมวิธีป้องกัน

Loading

  โพสต์รูปบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ลงโซเชียล อันตราย หลังเมื่อเดือนที่ผ่านมามีการแชร์ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ลืมเบลอหรือเซ็นเซอร์บางสิ่งคือข้อมูลสำคัญลงบนโซเชียล อาจถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ได้ เพราะบิลค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ ส่วนใหญ่คือที่อยู่จริงนั่นเอง ทั้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่จริงด้วย ซึ่งนั่นคือข้อมูลส่วนตัวของเรานั่นเอง หากถูกเจออาจโดนนำไปใช้ในทางที่มิชอบได้   โพสต์รูปบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ลงโซเชียล ทำไมถึงอันตราย บางเว็บไซต์หรือบริการขนส่งออนไลน์บางแห่ง ที่ประกาศให้แนบภาพบิลค่าน้ำค่าไฟ ในกรณีใช้บริการครั้งแรก เพื่อนำมาใช้ประกอบการตรวจสอบนี้ เนื่องจากเป็นหลักฐานสำคัญว่า ที่อยู่นี้มีคนอยู่จริงมีคนรับจริงๆ จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญที่นอกเหนือจากการใช้บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (Passports) และ statements การเงินธนาคารด้วย โดยบิลทั้งค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ มีระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และค่าใช้จ่าย เพราะบิล จะส่งถึงเจ้าของเอกสารแทบทุกเดือนอยู่แล้ว จนกว่าจะเลิกใช้บริการ   วิธีป้องกัน ทั้งนี้การแชร์บิลค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ก่อนแชร์ ควรเบลอในส่วนข้อมูลส่วนตัวทั้ง ชื่อ-สกุล ที่อยู่ ก่อนแชร์ทุกครั้ง…

รายงานล่าสุดแคสเปอร์สกี้เผย ผู้ใช้โซเชียลมีเดียอาเซียน 76% ตระหนักภัยไซเบอร์ ไม่เก็บข้อมูลการเงินไว้ในออนไลน์

Loading

หากคุณหวั่นใจทุกครั้งที่ต้องกรอกข้อมูลเครดิตการ์ด หรือข้อมูลการเงินลงในเว็บไซต์ช้อปปิ้งหรือในแอปชำระเงิน คุณไม่ใช่คนเดียวแน่นอน อย่างน้อยตามข้อมูลการสำรวจเรื่อง “Making Sense of Our Place in the Digital Reputation Economy” โดยแคสเปอร์สกี้ บริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัลระดับโลก พบว่าข้อมูลส่วนบุคคลบางประเภทนั้น ถือเป็นของศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้โซเชียลมีเดียในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และโดยมากมักเลือกไม่แชร์หรือเก็บทางออนไลน์     ผู้เข้าร่วมการสำรวจส่วนมาก (76%) จากทั้งหมด 861 คนในภูมิภาคนี้ยืนยันความตั้งใจที่จะเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ เช่น รายละเอียดบัตรเดบิต บัตรเครดิต ให้ห่างจากอินเทอร์เน็ตเป็นอันดับหนึ่ง อัตราส่วนของกลุ่มคนที่เลือกที่จะไม่เก็บข้อมูลการเงินทางออนไลน์ มีอัตราสูงที่สุดในกลุ่ม Baby Boomers (85%) ตามด้วย Gen X (81%) และมิลเลนเนียล (75%) ในขณะที่เจเนเรชั่นที่เด็กที่สุด Gen Z นั้นเพียง 68% ไม่ใช่เรื่องแปลก จากงานวิจัยหลายชิ้นต่างระบุถึงประชากรรุ่นใหม่ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ว่าเป็นตัวหลักสำคัญในการขับเคลื่อนไปสู่ระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมไปถึงประชากรจำนวนมากในภูมิภาคที่ยังเข้าไม่ถึงบริการการเงิน หรือยังไม่ได้โอกาสใช้บริการการเงิน และอัตราการใช้งานอุปกรณ์โมบายที่เป็นที่นิยม รวมทั้งการผลักดันจากภาครัฐให้ใช้ระบบการชำระเงินแบบดิจิทัล  …

ฟังชัดๆ ไฉน พ.ต.ท.เต้นในติ๊กต๊อกโดนตั้งกก.สอบ จเรตำรวจฯชี้ฝ่าฝืนข้อห้ามเล่นโซเชียลที่ 9

Loading

  เมื่อวันที่ 20 เมษายน ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) พล.ต.อ.วิสนุ ปราสาททองโอสถ จเรตำรวจแห่งชาติ (จตช.) กล่าวถึงกรณีปรากฏคลิป ตำรวจแต่งเครื่องแบบเต้นล้อเลียนนักร้องประเทศเพื่อนบ้าน เผยแพร่ปรากฏทางสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิจารณ์ถึงความเหมาะสมจากสังคม ว่า พล.ต.อ.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข ผบ.ตร ได้สั่งการให้ จตช. ติดตามดำเนินการกรณีดังกล่าว โดยเบื้องต้น ทราบว่า ตำรวจดังกล่าวคือ พ.ต.ท.อรรคพล ยี่เกาะ สว.กก.สส.ภ.จว.อุดรธานี แต่งกายเครื่องแบบ พ.ต.ท. ติดห่วงโซ่คล้องจมูก เต้นเลียนแบบเพลงนักร้องประเทศเพื่อนบ้านที่กำลังเป็นกระแส เผยแพร่ทางแอพลิเคชั่น และสื่อแขนงต่างๆ จนเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสม และตลกขบขัน ซึ่งการกระทำดังกล่าว เป็นการฝ่าฝืนข้อสั่งการ ทั้งๆ ที่ ผบ.ตร. และ จตช. เพิ่งสั่งการในที่ประชุมบริหาร ตร. เมื่อเดือน มีนาคม 2564 และ ผบ.ตร มีหนังสือ เมื่อ 2 เมษายน 2564 สั่งการกำชับทุกหน่วยให้ชี้แจง กำชับ…

พบข้อมูลผู้ใช้ LinkedIn กว่า 827 ล้านรายการ ถูกเร่ขายในเว็บไซต์กลุ่มแฮ็กเกอร์

Loading

  ในเว็บไซต์ของเหล่าแฮ็กเกอร์มีการโพสต์เร่ขายข้อมูลที่อ้างว่าเป็นผู้ใช้งาน LinkedIn จำนวนกว่า 827 ล้านรายการ   จากข้อมูลพบแฮ็กเกอร์ 2 กลุ่มที่ขายข้อมูลผู้ใช้ LinkedIn โดยหนึ่งในนั้นได้นำเสนอฐานข้อมูล 7 ตัวที่มีข้อมูลผู้ใช้กว่า 827 ล้านรายการ ทั้งนี้สนนราคาอยู่ที่ราว 7,000 เหรียญสหรัฐฯ สำหรับข้อมูลที่พบประกอบด้วย อาชีพ, ชื่อจริง, บริษัท, เว็บไซต์บริษัท, อีเมล, ลิงก์ไปยังโปรไฟล์, วันเริ่มทำงาน ,จำนวน Connection, หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่   อย่างไรก็ดีเมื่อทีมงาน LinkedIn ตรวจสอบพบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้นเป็นข้อมูลสาธารณะและมีการประกบกับข้อมูลจากเว็บไซต์หลายแห่งหรือบริษัทเข้ามาด้วย ทั้งนี้ข้อมูลของผู้ใช้ที่ปิดเป็นส่วนตัวไว้ยังปลอดภัยดีเพราะบริษัทไม่ได้ทำข้อมูลรั่วไหลหรือถูกแฮ็กแต่อย่างใด โดยทีมงานตั้งใจที่จะสร้างมาตรการป้องกันข้อมูลของผู้ใช้ สำหรับผู้สนใจอ่านถ้อยแถลงของทีมงานสามารถเข้าไปดูประกาศได้ที่ https://news.linkedin.com/2021/april/an-update-from-linkedin   ถือว่าเป็นประเด็นร้อนแรงในช่วงนี้เลยนะครับ กับการที่คนร้ายทำ Data Scraping จากโปรไฟล์ในอินเทอร์เน็ต แล้วมาเร่ขายต่อ เมื่ออาทิตย์ก่อนก็มีแจกฟรีข้อมูลผู้ใช้ Facebook กว่า 533 ล้านรายที่พบว่าออกมาตั้งแต่ 2 ปีก่อน (https://www.techtalkthai.com/533-millions-records-of-facebook-users-can-download-for-free-on-hacker-forums/) หรือล่าสุดไม่กี่วันก่อนมีการเร่ขายข้อมูลผู้ใช้…