Telegram คืออะไร ปลอดภัยแค่ไหน มีอะไรเด่น

Loading

ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันส่งข้อความให้เลือกใช้หลายแอป ไม่ว่าจะเป็นแอปยอดฮิตในไทยอย่าง LINE แอปสากลอย่าง WhatsApp หรือแอปสายจีนอย่าง WeChat และอีกแอปหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้ใครก็คือ Telegram Telegram คืออะไร Telegram เป็นแอปพลิเคชันส่งข้อความที่ก่อตั้งโดยสองพี่น้องชาวรัสเซีย ชื่อ Pavel Durov และ Nikolai Durov ในปี 2013 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ให้กำเนิด “VK” เครือข่ายสังคมออนไลน์สัญชาติรัสเซียมาแล้ว ด้านโมเดลธุรกิจ Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่สามารถใช้งานได้ฟรี 100 เปอร์เซ็นต์โดยไม่มีทางเลือกให้ต้องจ่ายค่าบริการใดๆ ทั้งสิ้น โดยมี Pavel เป็นผู้สนับสนุนเงินทุนจำนวนมหาศาล Telegram ให้ข้อมูลว่าเงินจำนวนนี้ยังเพียงพอ แต่หากประสบปัญหาในอนาคตก็อาจเพิ่มทางเลือกแบบเสียเงินเข้ามา อย่างไรก็ตาม Telegram จะไม่พุ่งเป้าที่การแสวงผลกำไร เมื่อเดือนเมษายน 2563 Telegram มีผู้ใช้ต่อเดือนอยู่ที่ 400 ล้านคน มีผู้ใช้ใหม่อย่างต่ำ 1.5 ล้านคนต่อวัน และมีสติ๊กเกอร์ให้ใช้งานกว่า 2 แสนชุด Telegram ปลอดภัยแค่ไหน Telegram โฆษณาตัวเองว่ามีความปลอดภัยกว่าแอปพลิเคชันกระแสหลักอย่าง…

รู้จักแอปพลิเคชัน Telegram อาวุธไซเบอร์ประจำม็อบ 18 ตุลา

Loading

การประกาศของกลุ่มเยาวชนปลดแอก (FreeYouth) และแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม เพิ่มช่องทางการติดตามนอกจากเพจใหม่แล้ว ไปยังช่องทางของแอปพลิเคชัน Telegram จนทำให้เกิดเครื่องหมายคำถามขึ้นมาอย่างฉับพลันว่า Telegram คืออะไร? อันที่จริงแล้ว Telegram เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาขึ้นมานานแล้ว โดยเริ่มปล่อยดาวน์โหลดครั้งแรกในเดือนสิงหาคม 2013 จากวันนี้ก็เป็นเวลา 7 ปีกว่าที่แอปพลิเคชันนี้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ พาเวล ดูรอฟ Telegram ก่อตั้งโดยทีมนักพัฒนา 3 คน ได้แก่ นิโคไล ดูรอฟ, พาเวล ดูรอฟ และอักเซล เนฟฟ์ โดยที่ พาเวล ดูรอฟ รับหน้าที่เป็นซีอีโอ จุดมุ่งหมายของแอปพลิเคชัน Telegram โดยหลักแล้วมีเพียงข้อเดียว นั่นคือ พวกเขาต้องการพัฒนาแอปพลิเคชันที่แม้แต่สายลับรัสเซียไม่สามารถ “แฮก” ได้ เนื่องจากในอดีตที่ครั้งหนึ่ง พาเวล ดูรอฟ เคยเป็นเจ้าของโซเชียลมีเดียที่มีชื่อว่า VKontakte หรือ VK ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่กลุ่มผู้ประท้วงรัฐบาลรัสเซียใช้เป็นแพลตฟอร์มหลักในการติดต่อสื่อสาร จนนำมาสู่การถูก Mail.ru บริษัทที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลรัสเซียเข้ามาแทรกแซง และซื้อธุรกิจโซเชียลมีเดีย VK ไปในที่สุด…

สหรัฐเตือนทวิตเตอร์เร่งยกเครื่องความปลอดภัยไซเบอร์

Loading

ทวิตเตอร์ได้รับการแนะนำให้สร้างกรอบการกำกับดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่ หลังจากทางการสหรัฐตรวจสอบพบว่า ทวิตเตอร์ไม่มีการป้องกันความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอ อีกทั้งยังไม่มีหัวหน้าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของข้อมูลเมื่อบัญชีผู้ใช้งานของบริษัทคริปโตเคอร์เรนซีหลายแห่ง และบุคคลสาธารณะที่มีชื่อเสียงหลายรายถูกแฮกเมื่อวันที่ 15 ก.ค.ปีนี้ ลินดา เอ.เลซเวลล์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการทางการเงินในสังกัดกระทรวงบริการทางการเงินแห่งรัฐนิวยอร์ก (ดีเอฟเอส) กล่าวว่า “แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกลายเป็นแหล่งข่าวและแหล่งข้อมูลชั้นนำอย่างรวดเร็ว แต่กลับยังไม่มีผู้ควบคุมดูแลความปลอดภัยทางไซเบอร์ของทวิตเตอร์อย่างเพียงพอ ข้อเท็จจริงที่ว่าทวิตเตอร์สุ่มเสี่ยงต่อการถูกโจมตีที่ไม่ซับซ้อนนั้นแสดงให้เห็นว่า การกำกับดูแลด้วยตัวเองไม่ใช่คำตอบ” รายงานระบุว่า แฮกเกอร์หลายรายเข้าถึงระบบของทวิตเตอร์ด้วยการโทรศัพท์หาพนักงานของบริษัท และอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากแผนกไอทีของทวิตเตอร์ หลังจากแฮกเกอร์หลอกพนักงาน 4 คนให้แจ้งข้อมูลเพื่อเข้าสู่ระบบแก่พวกเขา พวกเขาก็ได้ขโมยบัญชีทวิตเตอร์ของนักการเมือง คนดัง และผู้ประกอบการหลายราย รวมถึงบารัก โอบามา, คิม คาร์แดเชียน เวสต์, เจฟฟ์ เบซอส, อีลอน มัสก์ และบริษัทระบบเงินตราเข้ารหัสหลายแห่ง ซึ่งบัญชีเหล่านี้มีผู้ติดตามหลายล้านคน “การเลือกตั้งกำลังใกล้เข้ามาในอีกไม่ถึง 30 วัน เราต้องมุ่งมั่นกำกับดูแลบริษัทโซเชียลมีเดียขนาดใหญ่ให้มากขึ้น เพราะความสมบูรณ์ของการเลือกตั้งและตลาดของเรายึดโยงอยู่กับสิ่งนี้ จะเห็นได้ว่าการตอบสนองที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพของบริษัทระบบเงินตราเข้ารหัสที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกระทรวงฯ มีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพซึ่งสามารถส่งเสริมนวัตกรรมและการเติบโต และปกป้องผู้บริโภคไปพร้อมกันได้มากเพียงใด” เลซเวลล์กล่าว สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในปี 2562 ทวิตเตอร์มีผู้ใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 330 ล้านคนต่อเดือน โดยข้อมูลของศูนย์วิจัยพิวระบุว่า71% ของชาวอเมริกันบนทวิตเตอร์ใช้แพลตฟอร์มนี้ติดตามข่าวสาร และ 42%…

การสร้างหรือแชร์ข่าวปลอม มีความผิดตามกฎหมาย!

Loading

การนำข้อมูลปลอม ข่าวปลอม ไม่ว่าจะเป็นการปลอมทั้งหมด หรือแค่บางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือแม้แต่การแชร์ หรือส่งต่อข้อมูลอันเป็นเท็จเหล่านั้น ล้วนมีความผิด ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นความผิดที่ไม่สามารถยอมความได้ ตัวอย่างของการกระทำ ที่เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 – โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง เช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริง เป็นต้น มีความผิดตามมาตรา 14(1) – โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัย มีความผิดตามมาตรา 14(2) – โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้าย มีความผิดตามมาตรา 14(3) – โพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้ มีความผิดตามมาตรา 14(4) – เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด เช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ กรณีนี้ก็ถือว่ามีความผิด มีความผิดตามมาตรา 14(5) หากการกระทำในลักษณะดังกล่าวข้างต้น…

TikTok คงจะต้องลาก่อน: เกี่ยวอะไรกับความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

TikTok to launch court action over Donald Trump’s crackdown ที่มาภาพ: https://www.theguardian.com/technology/2020/aug/23/tiktok-to-launch-court-action-over-donald-trumps-crackdown “สังคมที่เปิดกว้างจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากที่สุดในอนาคต ประเทศที่เศรษฐกิจเปิดกว้างให้ความสำคัญกับผู้หญิงและสร้างพื้นที่ให้ผู้ประกอบการคือ ประเทศที่จะเติบโตรวดเร็วที่สุด….ขอย้ำอีกครั้งว่าอย่าเป็นพวกบ้าอำนาจในศตวรรษที่ 21 เพราะความเจริญรุ่งเรืองในอนาคตขึ้นอยู่กับการมอบพลังให้ผู้คน Alec J. Ross” Written by Kim ข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯกับจีนขยายตัวไปสู่สังคมออนไลน์ (social media) เมื่อประธานธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ออกคำสั่งฝ่ายบริหารโดยมุ่งเป้าที่แอปยอดนิยม TikTok[1] จังหวะเวลาของคำสั่งดังกล่าวเป็นเรื่องทางการเมืองและการปกป้องทางการค้า แต่ TikTok ก็เหมือนบริษัทสื่อสังคมอื่น ๆ ที่เก็บเกี่ยวข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ แม้ข้ออ้างของรัฐบาลทรัมป์ไม่ตรงประเด็น แต่ TikTok ก็ไม่น่าจะเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม การแพร่ขยายข้อมูลบิดเบือน (disinformation) และความเป็นไปได้ที่จีนมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจกลั่นกรองเนื้อหาในแอป TikTok เป็นประเด็นที่น่ากังวลมากที่สุด[2]           เมื่อต้นสิงหาคม 2020 ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ได้ออกคำสั่งฝ่ายบริหาร เพื่อควบคุม TikTok สื่อสังคมออนไลน์ที่กำลังเติบโตเจ้าของคือ ByteDance ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของจีน ซึ่งให้บริการแอปพลิเคชันทำคลิปวิดีโอสั้น ขณะที่คำสั่งของทรัมป์อ้างความชอบธรรมด้านความมั่นคงในการจัดการกับ TikTok แต่ก็มีหลักฐานเพียงเล็กน้อยที่แสดงว่าแอปพลิเคชันดังกล่าวมีอันตรายที่ชัดเจนต่อผลประโยชน์แห่งชาติด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ คำสั่งดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ภายใน 45 วันนับจาก 6 สิงหาคม 2020 นอกจากห้ามแบ่งปันแอปพลิเคชันวิดิโอบนมือถือ ยังห้ามการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบุคคลในสหรัฐฯและ TikTok ด้วย การห้าม TikTok เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ Microsoft กำลังเจรจาเพื่อซื้อ TikTok และด้วยเหตุนี้จึงเป็นไปได้ที่สหรัฐฯจะได้ประโยชน์ที่สำคัญในการเจรจาต่อรอง การห้ามใช้ TikTok ในสหรัฐฯซึ่งมีการดาวน์โหลดมากกว่า 175 ล้านครั้งจะส่งผลกระทบอย่างเป็นสำคัญต่อรายได้ของ ByteDance เนื่องจากรายได้ส่วนใหญ่ของ TikTok มาจากการโฆษณา สงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐฯ – จีนเกิดขึ้นไล่เลี่ยกับที่ Facebook ปั่นกระแส Instagram Reels แอปพลิเคชันที่ให้ผู้ใช้สร้างวิดีโอ “ความบันเทิงสั้น” เมื่อ 5…

เตือน ทำใบขับขี่ผ่านเน็ต วันเดียวได้ไม่ต้องรอคิว หนุ่มร้องจ๊าก ได้ของเก๊ โร่แจ้ง ตร.

Loading

เตือนอย่าหลงกล ทำใบขับขี่ผ่านเน็ต วันเดียวได้ไม่ต้องรอคิว หนุ่มร้องจ๊าก ได้ของเก๊ โร่ขึ้นโรงพักเมืองพัทยา แจ้ง ตร.หาตัวคนร้าย วันที่ 18 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ที่สภ.เมืองพัทยา นายสมศักดิ์ อายุ 29 ปี เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กับ ร.ต.ท.ณเรศน์ พุ่มสุข รองสว.(สอบสวน) สภ.เมืองพัทยา หลังถูกหลอก ทำใบขับขี่ผ่านเน็ต ทั้งรถยนต์และรถจักรยานยนต์ปลอม นายสมศักดิ์ เปิดเผยว่า ตนติดต่อทำใบขับขี่ผ่านทางไลน์ ชื่อ Mr.พงษ์ (เอกสาร) ซึ่งรู้จักผ่านทางเฟซบุ๊กว่ารับทำใบขับขี่ แบบไม่ต้องเดินทางไปทำด้วยตนเอง และไม่ต้องรอคิวนาน ทำเสร็จภายในวันเดียวด้วยความที่สะดวกและหลีกเลี่ยงการพบปะผู้คน ในสถานการณ์โควิด19 ตนจึงชักชวนเพื่อนอีก 3-4 คนไปทำด้วย โดยมีค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 บาท ต่อบัตรใบขับขี่ 1 ใบ เมื่อได้พูดคุยและตรวจดูโปรไฟล์ของคนทำดูน่าเชื่อถือ จึงตัดสินใจติดต่อโอนเงินค่าทำบัตรใบขับขี่ตามราคาที่ทางร้านกำหนด พร้อมโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารที่ทางฝ่ายคนทำส่งให้ ไม่นานก็ได้รับข้อความตอบกลับว่าใบขับขี่เสร็จแล้ว ตอนแรกก็ไม่ได้คิดอะไรแต่เมื่อใบขับขี่ส่งมาถึง พอลองตรวจสอบดูก็พบกับความผิดปกติ จนมารู้ว่าเป็นใบขับขี่ปลอม ไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด ตนจึงรีบเดินทางมาแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน เพื่อติดตามกลุ่มผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีไม่ให้ไปหลอกลวงคนอื่นได้อีก…