การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…

ชานมข้นกว่าเลือด : ประจักษ์ ก้องกีรติ มอง พันธมิตรชานม ปะทะ “สลิ่มจีน” ใน “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน”

Loading

โดย หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ / ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย ศึก “ทวิตภพ” ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ลุกลามบานปลายจากสื่อสังคมออนไลน์อย่างทวิตเตอร์ ระหว่างผู้ใช้งานทวิตเตอร์ชาวไทย-จีน-ไต้หวัน-ฮ่องกง ไปยังเวยป๋อ/เวยโป๋ (Weibo) ในหมู่ชาวจีนด้วยกันเอง จนเกิด “พันธมิตรชานม” ขึ้นในพื้นที่การต่อสู้ของคนที่เรียกตัวเองว่า “ฝ่ายประชาธิปไตย” ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ รองคณบดีคณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ เรียกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน” และถือเป็นครั้งแรกที่พลเมืองเน็ตไทยไปต่อกรกับพลเมืองเน็ตชาติอื่นด้วยประเด็นทางการเมือง “สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าทวิตเตอร์ในไทยมีศักยภาพสูงกว่าที่หลายคนเคยคาดคิด โดยสามารถขยับประเด็นการเมืองในประเทศ ไปสู้ข้ามประเทศได้ด้วย” ผศ.ดร.ประจักษ์กล่าวกับบีบีซีไทย วชิรวิชญ์ หรือ ไบรท์ ได้ออกมาขอโทษสำหรับ “การรีทวีตที่ไม่ได้คิดทบทวนอย่างระมัดระวัง” โดยบอกว่าเขาไม่ได้อ่านคำบรรยายภาพให้ชัดเจน และจะไม่ให้เกิดความผิดพลาดแบบนี้ขึ้นอีก ศึกทวิตภพข้ามพรมแดน สะท้อนความกังวลอิทธิพลจีนในภูมิภาค ชนวนศึกครั้งนี้เริ่มจากความเห็นในโลกออนไลน์ของนักแสดงหนุ่มและแฟนสาวชาวไทยที่จุดกระแสความไม่พอใจให้แก่ชาวเน็ตจีน ก่อนลุกลามบานปลายกลายเป็น “ความกังวลใจต่ออิทธิพลจีนในภูมิภาคนี้” ตามทัศนะของ ผศ.ดร.ประจักษ์ โดยที่ชาวไต้หวันและฮ่องกงมีความกังวลอยู่แล้วจากนโยบายจีนเดียว ขณะที่ผู้เล่นทวิตเตอร์ชาวไทยก็ได้ร่วมแสดงออกในเชิงสนับสนุนจุดยืนการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยของไต้หวันและฮ่องกง พร้อม ๆ กับสะท้อนความไม่พอใจสะสมต่อระบอบการเมืองไทยในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสีจิ้นผิง ของจีน ทักทายนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ของไทย…

ระวังภัย พบการใช้ฟิชชิ่งหลอกขโมยรหัส OTP ยึดบัญชี LINE ตรวจสอบก่อนตกเป็นเหยื่อ

Loading

ปัญหาการขโมยบัญชี LINE นั้นมีการรายงานเข้ามาอยู่เรื่อยๆ ถึงแม้ว่าในช่วงหลังทาง LINE เองได้มีการปรับปรุงระบบความมั่นคงปลอดภัยให้มากขึ้น อย่างเช่นการใช้รหัสยืนยันเพื่อเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการล็อกอิน (ข่าวเก่า https://www.thaicert.or.th/newsbite/2019-12-20-01.html) แต่หากผู้ใช้ไม่ระวังก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะถูกหลอกขโมยรหัสผ่านและอาจถูกขโมยบัญชีได้ มีรายงานจากผู้ใช้ทวิตเตอร์ชื่อ Xia Tianguo ว่าพบการโจมตีแบบฟิชชิ่งเพื่อขโมยบัญชี LINE โดยหลังจากที่ผู้ประสงค์ร้ายสามารถได้อีเมลและรหัสผ่านสำหรับล็อกอินบัญชี LINE ได้แล้ว (อาจจะด้วยการเดารหัสผ่านหรือหลอกขโมยรหัสผ่าน) จะล็อกอินเข้าบัญชีดังกล่าวผ่าน LINE บน PC จากนั้นเมื่อมีการถามรหัส OTP จะส่งหน้าเว็บไซต์ปลอมไปหลอกถามข้อมูลจากเหยื่อ ซึ่งหากเหยื่อหลงเชื่อให้ข้อมูลดังกล่าวก็อาจถูกยึดบัญชี LINE ได้ทันที การโจมตีในลักษณะนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบริการอื่นๆ ด้วย ผู้ใช้งาน LINE ควรตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากและไม่ซ้ำกับรหัสผ่านที่ใช้ในบริการอื่น ตรวจสอบ URL ของเว็บไซต์ก่อนล็อกอินบัญชี LINE หากพบข้อความแจ้งว่ามีการล็อกอินจากอุปกรณ์อื่นโดยที่ผู้ใช้ไม่ได้เป็นผู้กระทำควรเปลี่ยนรหัสผ่านทันที ——————————————– ที่มา : ThaiCERT / 18 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.thaicert.or.th/newsbite/

สิงคโปร์สั่งเฟซบุ๊กบล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ปิดปากพวกวิพากษ์วิจารณ์

Loading

เอเอฟพี – สิงคโปร์ในวันจันทร์(17ก.พ.) ออกคำสั่งถึงเฟซบุ๊กให้บล็อคเพจต่อต้านรัฐบาล ความเคลื่อนไหวล่าสุดในการใช้กฎหมายจัดการกับการให้ข้อมูลผิดๆ แต่ถูกฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์กล่าวหาว่าเป็นความพยายามจำกัดสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิดเห็น กฎหมายให้อำนาจคณะรัฐมตรีสั่งแฟลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ต่างๆวางคำเตือนไว้ใกล้กับโพสต์ข้อความทั้งหลายที่พวกเขามองว่าเป็นข้อมูลผิดๆ เช่นเดียวกับสามารถสั่งบล็อคเพจต่างๆเหล่านั้นจากการเข้าถึงของพวกผู้ใช้ภายในเมืองที่คุมเข้มกฎระเบียบแห่งนี้ ในขณะที่ส่วนใหญ่ยอมทำตามกฎหมายดังกล่าว แต่เว็บไซต์การเมืองอย่าง States Times Review (STR) ซึ่งมักโพสต์หัวข้อวิพากษ์วิจารณ์ ปฏิเสธที่จะปฏิบัติตาม ถ้อยแถลงจากกระทรวงสื่อสารระบุว่าเฟซบุ๊กได้รับแจ้งให้บล็อคพวกผู้ใช้สิงคโปร์จากการเข้าถึงเพจ STR เนื่องจากเพจแห่งนี้ข้อมูลอันเป็นเท็จซ้ำๆและไม่ปฏิบัติตามคำสั่งที่ขอให้โพสต์ข้อมูลที่ถูกต้อง ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่เพียงแค่ขอให้แก้ไขข้อมูลในโพสต์เฟซบุ๊กให้ถูกต้อง รวมถึงวางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆกับข้อมูลอันเป็นเท็จ แต่หนนี้ถือเป็นครั้งแรกที่พวกเขาหาทางบล็อคเพจเฟซบุ๊กเพจใดเพจหนึ่ง เมื่อวันศุกร์(14ก.พ.) รัฐบาลออกคำสั่งถึง States Times Review ให้เตือนผู้อ่านบนเพจเฟซบุ๊กของตนเองว่าพวกเขามักโพสต์ข้อมูลเท็จอยู่เป็นประจำ แต่เว็บไซต์แห่งนี้ไม่ยอมทำตาม เว็บไซต์ States Times Review ถูกกล่าวหาแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง ในนั้นรวมถึงเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งเจ้าหน้าที่อ้างว่าเว็บไซต์แห่งนี้โพสต์ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ รายงานข่าวระบุว่าเว็บไซต์แห่งนี้ดูแลโดย อเล็กซ์ ตัน ซึ่งอ้างว่าตนเองเป็นพลเมืองออสเตรเลียที่พักอาศัยอยู่ในต่างแดน เฟซบุ๊กยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวนี้ แต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน สื่อสังคมออนไลน์แห่งนี้ได้วางข้อมูลที่ถูกต้องไว้ใกล้ๆข้อมูลที่โพสต์โดยตัน ตามคำร้องขอของรัฐบาล ความเคลื่อนไหวของรัฐบาลสิงคโปร์ มีขึ้นท่ามกลางข่าวลือที่ว่าศึกเลือกตั้งทั่วไปจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า แม้หลายฝ่ายมองว่าฝ่ายค้านอยู่ในภาวะที่อ่อนแออย่างมากและคงไม่สามารถสู้รบกับพรรครัฐบาลได้ รัฐบาลสิงคโปร์ ซึ่งมักถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นประจำต่อการจำกัดสิทธิเสรีภาพของพลเรือน ยืนยันว่ากฏหมายนี้มีความจำป็น เพื่อสกัดการเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จบนสื่อสังคมออนไลน์ ที่อาจก่อความเสียหายในวงกว้าง ——————————————————– ที่มา…

ทวิตเตอร์ออกกฎจัดการ deepfake แสดงข้อความเตือนและลดการมองเห็นของทวีต เริ่มเดือนหน้า

Loading

ทวิตเตอร์ออกกฎใหม่สำหรับจัดการกับสื่อประเภท deepfake อย่างเป็นทางการ โดยนโยบายใหม่นี้จะจำกัดไม่ให้แชร์ข้อมูลปลอมที่อาจสร้างผลกระทบหรือความเสียหายได้ ทวิตเตอร์มีปัจจัยในการพิจารณาทวีตอยู่ 3 ข้อ ว่าจะทำเครื่องหมาย, แสดงข้อความเตือนหรือลบทวีตเหล่านั้นหรือไม่ ดังนี้ สื่อถูกสังเคราะห์หรือเปลี่ยนแปลงหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นลำดับ, เวลา, เฟรม ไปจนถึงข้อมูลว่าถูกลบหรือสร้างขึ้นมาหรือไม่ และมีคนจริงถูกจำลองหรือปลอมขึ้นมาหรือไม่ สื่อถูกแชร์ในลักษณะตั้งใจให้โกหกหลอกลวงหรือไม่? พิจารณาจากข้อความในทวีต, เมตะดาต้าที่อยู่ในสื่อ, ข้อความบนโปรไฟล์ของผู้ที่แชร์ และเว็บไซต์ที่ลิงก์ในโปรไฟล์หรือในทวีต คอนเทนต์มีผลกระทบต่อความปลอดภัยต่อประชาชน หรืออาจส่งผลให้เกิดความเสียหายอย่างหนักหรือไม่? ไม่ว่าจะเป็นภัยคุกคามต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคล, ความเสี่ยงในความรุนแรงหรือความไม่สงบในวงกว้าง และภัยคุกคามต่อความเป็นส่วนตัวหรือสิทธิต่าง ๆ ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ปัจจัยเหล่านี้ ทวิตเตอร์จะนำมาพิจารณาในการใส่ข้อความเตือนลงในทวีต, ใส่เครื่องหมาย, ลดการมองเห็นของทวีตโดยไม่ขึ้นเป็นทวีตแนะนำ และเพิ่มรายละเอียดในแลนดิ้งเพจ โดยทวิตเตอร์จะเริ่มใช้มาตรการนี้ในวันที่ 5 มีนาคม เป้าหมายของการออกกฎจัดการ deepfake ก็เพื่อรับมือกับข้อมูลปลอมก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีนี้ โดยกฎนี้กำหนดขึ้นจากแบบร่างที่ทวิตเตอร์ได้เสนอก่อนหน้าและรับฟังความเห็นกว่า 6,500 ความเห็นจากผู้ใช้ทั่วโลกผ่านแฮชแท็ก #TwitterPolicyFeedback เพื่อนำมาปรับปรุงให้เป็นฉบับสมบูรณ์ ———————————————————————- ที่มา : Blognone / 5 กุมภาพันธ์ 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114529

อนามัยโลกจับมือ ‘กูเกิล’ ต่อสู้การปล่อยข่าวเท็จออนไลน์กรณีโคโรนาไวรัส

Loading

Passengers arrive at LAX from Shanghai, China, after a positive case of the coronavirus was announced in the Orange County suburb of Los Angeles, California, U.S., January 26, 2020. องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กำลังทำงานร่วมกับบริษัทเทคโนโลยี Google เพื่อรับรองว่า เมื่อค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับโคโรนาไวรัส ประชาชนจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องจาก WHO ก่อนเป็นที่แรก ผอ.ใหญ่ขององค์การอนามัยโลก เทดรอส อัทนอม เกเบรเยซุส กล่าวในพิธีเปิดการประชุมของ WHO ในวันจันทร์ว่า สื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ เช่น Twitter, Facebook, Tencent และ TikTok ต่างใช้มาตรการหลายอย่างในการจำกัดการกระจายข้อมูลผิด…