โซเชียลมีเดีย สื่อป่วนโลก : เฟค นิวส์ ข่าวป่วนเมือง

Loading

วิกฤติไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งเชื่อว่า ต้นตอของเชื้อโรคมาจากสัตว์ได้สร้างความตื่นตระหนกและเชื้อโรคได้ลุกลามไปหลายประเทศจนองค์การอนามัยโลกต้องประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศทำให้ประชาชนทั้งโลกต่างอยู่ในภาวะเตรียมรับมือและหาวิธีป้องกันตัวเอง รวมทั้งหามาตรการยับยั้งการแพร่กระจายของโรคอย่างเข้มข้น สิ่งที่แพร่ออกไปพร้อมๆกันกับเชื้อไวรัสโคโรน่าคือ ข่าวปลอม ที่ถูกสร้างด้วยน้ำมือของมนุษย์เอง ซึ่งไม่เพียงสร้างความสับสนวุ่นวายต่อสังคมและรัฐบาลของประเทศที่ได้รับผลกระทบแล้วยังเป็นการเพิ่มภาระให้กับภาครัฐที่ต้องมานั่งแถลงข่าวการจับผู้ปล่อยข่าวปลอมไม่เว้นแต่ละวันต้องเสียเงินเสียทอง เสียเวลาแก้ข่าวและบั่นทอนความเชื่อมั่นต่อการแก้ปัญหาของภาครัฐอยู่ไม่น้อย ข่าวปลอมจากโซเชียลมีเดีย มิใช่เกิดเฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น การปล่อยข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลเกิดขึ้นกับหลายประเทศในโลกและเกิดขึ้นได้ในทุกสถานการณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีความอ่อนไหวต่อการเกิดความรุนแรง เพราะข่าวปลอมสามารถทำให้คนบริสุทธิ์ต้องสังเวยชีวิตดังที่เกิดขึ้นมาแล้วในประเทศอินเดียซึ่งมีผู้ถูกรุมประชาทัณฑ์จนเสียชีวิตจากข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียและมีผู้ถูกเผาทั้งเป็นจากการเผยแพร่ข่าวลือผ่านโซเชียลมีเดียในประเทศเม็กซิโก เป็นต้น ในช่วงที่ไวรัสโคโรน่ากำลังแพร่ระบาดมีการเผยแพร่ข่าวปลอมผ่านสื่อโซเชียลต่างๆในประเทศไทยจำนวนมาก เป็นต้นว่า ข่าวการเดินทางของคนจีน 5 ล้านคนมายังประเทศไทยที่มีสื่อนำเสนอและเผยแพร่ต่อทางโซเชียลมีเดีย การแพร่ข่าวการติดเชื้อของผู้คนตามสถานที่ต่างๆโดยคิดเอาเองว่า เป็นความจริงหรือแชร์ต่อจากเพื่อน การแพร่ข่าวตลาดที่เชื่อว่าเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรค ข่าวและรูปแสดงการกินสัตว์แปลกๆ หรือแม้แต่การแนะนำให้กินสมุนไพรเพื่อรักษาอาการติดเชื้อไวรัส ซึ่งข่าวสารเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นข่าวปั้นน้ำเป็นตัวที่มาจากโซเชียลมีเดียทั้งสิ้น ข่าวปลอมที่ถูกแพร่ออกมาจากโซเชียลมีเดียในขณะที่โลกอยู่ในภาวะวิกฤติได้สร้างความแตกตื่น รวมทั้งสร้างความเชื่อที่ผิดต่างๆแก่ผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ผู้คนยังขาดความรู้ ขาดวิจารณญาณและใช้สื่อโซเชียลด้วยความคึกคะนองหรือต้องการสร้างเครดิตจากยอดไลค์แก่ตัวเองโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา ยิ่งจะทวีความสับสนให้กับผู้คนที่บริโภคข่าวผ่านโซเชียลมีเดียได้อย่างง่ายดาย โซเชียลมีเดียจึงเป็นสื่อตัวแม่ที่ช่วยกระพือข่าวปลอมไปยังทุกมุมโลกด้วยระยะเวลาเพียงแค่เสี้ยววินาที สิ่งน่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่งที่ไม่น่าเกิดขึ้นในสถานการณ์วิกฤติก็คือ การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อหวังผลทางการเมือง ทั้งจากตัวนักการเมืองเองและพลพรรคที่สนับสนุนกลุ่มการเมืองโดยใช้ความมีชื่อเสียงของตัวเองในการเผยแพร่ข่าว ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อว่าความเห็นที่ไร้ความสร้างสรรค์ต่างๆจะออกมาจากปากของนักการเมืองที่มักถูกเรียกว่า ผู้ทรงเกียรติและชอบอ้างตัวเองอยู่เสมอว่ามาจากประชาชน เพราะแทนที่นักการเมืองเหล่านี้จะให้คำแนะนำที่สร้างสรรค์หรือให้กำลังใจต่อรัฐบาลหรือประชาชน แต่กลับเพิ่มความเลวร้ายของสถานการณ์ให้มากขึ้นไปอีกด้วยการฉกฉวยสถานการณ์ปล่อยข่าวด้านลบเพื่อผลประโยชน์ของตัวเองและพรรคพวก ซึ่งในที่สุดจะไม่เป็นผลดีต่อฝ่ายใดเลย เพราะนอกจากการกระทำดังกล่าวจะประจานความไม่เอาไหนของตัวเองแล้วยังบั่นทอนความน่าเชื่อถือของรัฐบาลภายใต้สถานการณ์อ่อนไหว รวมถึงลดทอนความน่าเชื่อถือของสถาบันผู้แทนราษฎรของประเทศไทยอีกด้วย ไม่เฉพาะประเทศไทยเท่านั้นที่โซเชียลมีเดียถูกนำมาใช้ในการเผยแพร่ข่าวปลอมในภาวะวิกฤติ ประเทศต่างๆล้วนแต่เผชิญปัญหาการเผยแพร่ข่าวปลอมไม่แพ้กัน เป็นต้นว่า พม่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเรากำลังผจญกับปัญหาข่าวปลอมจากสื่อโซเชียลอยู่เช่นกัน ด้วยความเป็นประเทศที่มีพรมแดนติดกับจีนจึงทำให้ผู้คนในพม่าสนใจเกี่ยวกับการระบาดของไวรัสโคโรน่าเป็นพิเศษและมีการเผยแพร่ข่าวปลอมเกี่ยวกับการรักษาไวรัสโคโรน่ากันอย่างกว้างขวาง เช่น การแพร่ข่าวว่าหัวหอมมีสรรพคุณช่วยป้องกันไวรัสได้ เพราะพบว่า มีคนป่วยใกล้ตายนำหัวหอมวางไว้ใกล้ตัวขณะนอนแล้วเห็นผลในการรักษาหรือการแพร่ข่าวว่าการดื่มสุราสามารถป้องกันไวรัสโคโรนาได้ เป็นต้น การระบาดของข่าวปลอมไม่ได้สร้างความเสียหายต่อมนุษย์เฉพาะในยุคของการเบ่งบานของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบันเท่านั้น ในยุคที่มนุษย์เริ่มใช้เครื่องพิมพ์เมื่อหลายร้อยปีก่อน มีการเผยแพร่ข่าวสารที่ผิดๆและสร้างความหายนะให้กับมนุษย์ผู้บริสุทธิ์อย่างมากมาย เพราะทันทีที่การพิมพ์ได้เริ่มขึ้นปัญหาความขัดแย้งก็เริ่มปรากฏในชั่วเวลาไม่นาน การแพร่กระจายของสิ่งพิมพ์ นอกจากจะทำให้ความรู้ของผู้คนเพิ่มอย่างรวดเร็วแล้ว การเผยแพร่สิ่งพิมพ์ได้นำไปสู่เหตุการณ์น่าเศร้าสลด…

เตือนภัย! Line ปลอมระบาด ระวังโดนหลอก

Loading

อาชญากรทุกวันนี้ พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามการพัฒนาของเทคโนโลยี หลังจากก่อนหน้านี้ มีการทำอีเมลปลอม เฟซบุ๊กปลอม หรือการหาวิธีแฮ็กข้อมูลโซเชียลมีเดียอื่นๆ แล้ว ล่าสุดภัยคุกคามนี้ ก็ได้ก้าวเข้ามาถึงแอปแชทชื่อดังอย่าง “ไลน์” (Line) ทั้งที่เป็นแบบส่วนตัว และเป็น Line Official Account ที่กลุ่มมิจฉาชีพจะใช้ทั้งวิธีแฮ็กข้อมูล  และทำ Line Official Account ปลอม ขึ้นมา  เพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงิน หรือ หลอกขอข้อมูล วิธีป้องกัน เช็กก่อนอย่าเพิ่งเชื่อ อย่าดูแค่เลขสมาชิก หรือโปรไฟล์รูป เพราะส่วนนี้สามารถปลอมแปลงได้ มองหาสัญลักษณ์โล่ โดยถ้ามีโล่สีเขียว หรือโล่สีน้ำเงิน แสดงว่าเป็น Account จริงแน่นอนที่ผ่านการรับรองจาก Line แล้ว โดยโล่สามารถดูได้ที่หน้า Profile ของ Line Official Account และโล่ของจริงจะต้องแสดงบนพื้นหลังขาวเท่านั้น หากเจอ Account ปลอม สามารถรายงาน (Report) ได้ง่ายๆ คือ กดปุ่มขวาบนของห้อง…

เฟสบุ๊กเปิดตัว “เซคชั่นข่าว” ช่วยสำนักข่าวมีรายได้เพิ่ม-สู้ข่าวปลอม

Loading

FILE – The social media application, Facebook is displayed on Apple’s App Store, July 30, 2019. Facebook is launching a long-promised tool that lets users block the social network from gathering information about them on outside websites and apps. เมื่อวันศุกร์ที่แล้ว เฟสบุ๊กเปิดตัวเซคชั่นใหม่เรียกว่า “News Tab” หรือ “หน้าข่าว” ผ่านแอพพ์เฟสบุ๊กในโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะแสดงหัวข้อข่าวของสำนักข่าวใหญ่ต่าง ๆ เช่น The Wall Street Journal, The Washington…

เฟซบุ๊ก จับมือ สำนักข่าว เอเอฟพี ตรวจสอบข่าวปลอมในไทย

Loading

เฟซบุ๊ก ร่วมกับ สำนักข่าว เอเอฟพี เปิดโปรแกรมตรวจสอบข่าวปลอมในประเทศไทย หากพบว่าไม่จริง จะแจ้งเตือนผู้ใช้งานก่อนแชร์ว่าปลอมพร้อมแสดงลิงก์ข่าวที่ถูกต้อง ขณะที่เพจข่าวปลอมจะถูกลดคะแนนการมองเห็น ส่งผลกระทบต่อการหารายได้จากเฟซบุ๊ก นางอันจาลี คาปูร์ ผู้อำนวยการฝ่ายพันธมิตรข่าวประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เฟซบุ๊ก กล่าวว่า เฟซบุ๊กประกาศเปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อมูลเท็จโดยผู้ตรวจสอบภายนอก ในประเทศไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการรักษาความโปร่งใสบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและพัฒนาคุณภาพของข่าวสารที่ผู้คนอ่านบนโลกออนไลน์ โดยเฟซบุ๊กร่วมมือกับ สำนักข่าว เอเอฟพี ซึ่งได้รับการรับรองโดยเครือข่ายการตรวจสอบข้อเท็จจริงระดับนานาชาติ (International Fact Checking Network หรือ IFCN) ที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่สถาบันพอยน์เตอร์ โดย เฟซบุ๊ก ได้เปิดตัวโปรแกรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงโดยผู้ตรวจสอบภายนอกในเดือนธันวาคม 2559 และมีพันธมิตรกว่า 50 รายทั่วโลก ครอบคลุมกว่า 40 ภาษา มีเจ้าหน้าที่กว่า 30,000 คน กระจายตัวทำงานอยู่ในแต่ละประเทศ เพื่อให้เข้าใจวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ สำหรับการตรวจสอบ จะตรวจสอบบนเพจ หรือ ลิงก์ ข่าว ที่เป็นทั้งเนื้อหาข่าว รูปภาพและวิดีโอ ที่เปิดเป็นสาธารณะ เท่านั้น ไม่ได้ตรวจสอบกับเพจส่วนบุคคล เมื่อมีการตรวจสอบพบว่า…

เกาหลีใต้เล็งออกกฎหมายต่อต้านการบุลลี่ในโลกออนไลน์

Loading

ร่างกฎหมายฉบับนี้เกิดขึ้นหลังการจากไปของไอดอลคนดังที่ถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตวิจารณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรงจนต้องจบชีวิตตัวเอง โลกอินเทอร์เน็ตเกาหลีใต้เป็นหนึ่งในที่ที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งรวมของ Hate Speech หรือการเอ่ยวาจาประทุษร้าย จนคนที่เป็นเป้าหมายตัดสินใจจบชีวิตหนีความเจ็บปวดจากคนที่อาจจะไม่แม้แต่จะรู้จักหรือเห็นหน้าค่าตากันเลยสักครั้ง ในขณะที่เจ้าของถ้อยคำทิ่มแทงจิตใจเหล่านี้ทำไปเพราะความสะใจเพียงชั่วครู่ชั่วยาม ไม่ได้ตระหนักถึงผลที่จะตามมาแม้แต่น้อย ล่าสุดสมาชิกรัฐสภาของเกาหลีใต้อย่างน้อย 9 คนได้ร่วมกันเสนอร่างกฎหมายต่อต้านการแสดงความคิดเห็นในช่องทางออนไลน์ด้วยถ้อยคำมุ่งร้าย หยาบคาย รุนแรง โดยคณะอนุกรรมการจะพิจารณารายละเอียดและข้อบังคับต่างๆ ภายในต้นเดือน ธ.ค.ที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการคณะดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนจากสมาคมศิลปะและวัฒนธรรมแห่งชาติ, สมาคมนักฟุตบอลคนดัง, สหภาพแรงงานของคนในวงการบันเทิง, สหภาพแรงงานข้าราชการ รวมทั้งคนดังที่ที่เคยหรือมีคนใกล้ชิดเคยตกเป็นเหยื่อการใช้ถ้อยคำรุนแรง ร่างกฎหมายฉบับนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “กฎหมายซอลลี” ซึ่งตั้งชื่อตามซอลลี นักร้องและนักแสดงเกาหลีใต้ที่เพิ่งตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง หลังจากทุกข์ทรมานกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดจากการถูกผู้ใช้อินเทอร์เน็ตแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตส่วนตัวของเธอด้วยถ้อยคำมุ่งร้ายมาตลอดเวลาที่เธออยู่ในวงการบันเทิง หลังการเสียชีวิตของเธอจึงเกิดการล่ารายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎที่เข้มงวดกับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่แสดงความคิดเห็นด้วยถ้อยคำไม่เหมาะสม รวมทั้งเรียกร้องให้เปิดเผยตัวตนที่แท้จริงของผู้แสดงความคิดเห็นด้วย เมื่อ 3 ปีที่แล้ว สมาคมการบริหารงานวงการบันเทิงเกาหลี (CEMA) ได้ร่วมกับสมาคมธุรกิจธุรกิจบันเทิงและศิลปิน รณรงค์เกี่ยวกับการใช้ภาษาในโลกออนไลน์ ทว่าด้วยเหตุขัดข้องบางอย่างจึงไม่สามารถผลักดันเป็นกฎหมาย ทั้งนี้ การสำรวจของกระทรวงศึกษาธิการของเกาหลีใต้เมื่อปีที่แล้ว พบว่า ในจำนวนนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมจนถึงมัธยม 50,000 คนที่เคยเป็นเหยื่อการใช้ความรุนแรงในโรงเรียน 10.8% ถูกกลั่นแกล้งในโลกออนไลน์ (cyberbullying) ซึ่งสูงกว่านักเรียนที่ถูกทำร้ายร่างกายที่มีเพียง 10% เมื่อปลายปีที่แล้ว นักเรียนมัธยมปลายใน จ.ชุงช็องเหนือตัดสินใจฆ่าตัวตายหลังได้รับข้อความข่มขู่จากเพื่อน ส่วนอีกรายหนึ่งถูกเพื่อนข่มขืนแล้วนำเรื่องราวไปเปิดเผยทำให้มีคนส่งข้อความไปหาเธอทางเฟซบุ๊คเพื่อขอมีเพศสัมพันธ์ด้วยมากมาย จนเธอมีอาการซึมเศร้า อีชางโฮ จากสถาบันนโยบายเยาวชนแห่งชาติ…

ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…