ชุมนุมยุค 2019 ชาวฮ่องกงป้องกันการสอดแนมออนไลน์ และไม่ทิ้งรอยเท้าดิจิทัลอย่างไร

Loading

แม้จะใช้เครื่องมือดิจิทัลต่างๆ มากมายในการชุมนุมเพื่อต่อต้านร่างกฎหมายส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนไปยังจีนแผ่นดินใหญ่ของชาวฮ่องกงครั้งนี้ แต่ประสบการณ์จาก Occupy Central เมื่อปี 2014 ก็ทำให้ผู้ชุมนุมปรับเปลี่ยนกลวิธีเพื่อปกป้องตัวเองเพิ่มขึ้น ให้ความสำคัญกับการรักษาข้อมูลส่วนตัวในการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น เพราะเกรงว่าอาจถูกนำมาใช้ดำเนินคดีทางกฎหมายได้ในภายหลัง เมื่อปี 2014 แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกำลังได้รับความนิยม มีการใช้เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์อย่างกว้างขวาง ครั้งนั้นตำรวจจับกุมชายคนหนึ่ง โดยอ้างว่าเขาโพสต์ข้อความชวนคนมาชุมนุมผ่านเว็บบอร์ด  และมีการส่งข้อความที่เป็นมัลแวร์แพร่กระจายไปทั่ววอทซแอป (WhatsApp) ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นการติดตั้งซอฟต์แวร์แอบดักฟังโดยเจ้าของเครื่องไม่รู้ตัว นักวิจัยกล่าวว่าส่วนใหญ่มาจากรัฐบาลจีน ผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เติบโตมาในโลกดิจิทัล และตระหนักดีถึงอันตรายจากการสอดแนมและการทิ้งรอยเท้าดิจิทัล ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจากจีนแผ่นดินใหญ่และการเก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทำให้ผู้ชุมนุมเตรียมหาทางหลบหลีกเทคโนโลยีการสอดส่องประชาชนหลายรูปแบบ ครั้งนี้ ในวันแรกๆ ของการชุมนุมมีการเผยแพร่คู่มือ คีย์บอร์ด ฟรอนท์ไลน์ องค์กรรณรงค์เสรีภาพเน็ต เผยแพร่แผ่นพับว่าด้วยการปกป้องตัวตนสำหรับผู้ชุมนุม ตั้งแต่แนะนำไม่ให้ใช้ไวไฟสาธารณะ ทิ้งโทรศัพท์ไว้ที่บ้าน หรือแม้แต่ห่อบัตรประชาชน หนังสือเดินทาง บัตรของธนาคารด้วยแผ่นอะลูมิเนียม เพื่อไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวรั่วไหลได้ จากการใช้สแกนเนอร์จากคลื่นความถี่ RFID ปกติแล้ว คนฮ่องกงใช้วอทซแอปเป็นช่องทางในการสื่อสารหลัก แต่สำหรับการชุมนุม พวกเขาเปลี่ยนมาใช้แอปที่เข้ารหัสอย่าง เทเลแกรม (Telegram) แทน เพราะเชื่อว่าคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและปลอดภัยกว่า และเพราะว่าสามารถสร้างกลุ่มสนทนาได้ใหญ่กว่าด้วย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน เทเลแกรมประกาศว่า แอปเทเลแกรมเป็นเป้าหมายของการจู่โจมทางไซเบอร์ด้วยวิธี DDoS ต้นทางมาจากจีนแผ่นดินใหญ่…

มีผลแล้ว! ขอวีซ่าอเมริกาต้องแจงบัญชีโซเชียลมีเดียด้วย

Loading

ใบสมัครยื่นขอวีซ่าเข้าสหรัฐอเมริการูปแบบใหม่ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ กำหนดให้ผู้ที่จะขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาเกือบทุกคนต้องแสดงบัญชีโซเชียลมีเดีย อีเมล และหมายเลขโทรศัพท์ที่ตนเองใช้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยมีเพียงผู้ถือพาสปอร์ตทูตและข้าราชการได้รับการยกเว้นจากมาตรการใหม่นี้ เมื่อเดือนมีนาคม 2018 รัฐบาลของทรัมป์เสนอกฎนี้ ตอนนั้น สหภาพเสรีภาพพลเมืองอเมริกัน (ACLU) โต้ว่าไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่าการติดตามโซเชียลมีเดียเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ หรือเป็นธรรม และจะทำให้ประชาชนเซ็นเซอร์ตัวเองได้ ก่อนหน้านี้ ผู้ที่ต้องแสดงหลักฐานดังกล่าวมีเพียงผู้ยื่นขอวีซ่าที่ต้องตรวจสอบเพิ่มเติม เช่น บุคคลที่มาจากประเทศในกลุ่มที่มีผู้ก่อการร้ายควบคุมอยู่ แต่ละปีมีประมาณ 65,000 คน หากใครให้ข้อมูลเท็จ ทางการบอกว่า อาจจะต้องเจอกับบทลงโทษที่ร้ายแรง ทั้งนี้ ข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียที่ต้องแสดง เช่น อินสตาแกรม เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ แต่หากผู้ยื่นขอวีซ่าต้องการแจ้งข้อมูลของแพลตฟอร์มอื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน “สำหรับการยื่นขอวีซ่า ต้องถือว่าความมั่นคงของประเทศมีความสำคัญที่สุด ผู้ที่เดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาทุกคนต้องผ่านกระบวนการคัดกรองด้านความปลอดภัย เรากำลังหากลไกเพื่อพัฒนากระบวนการคัดกรองคนเพื่อปกป้องพลเมืองอเมริกัน ขณะเดียวกันก็สนับสนุนการเดินทางเข้าสหรัฐฯ อย่างถูกกฎหมาย” กระทรวงการต่างประเทศระบุ มาตรการใหม่นี้จะกระทบกับผู้ยื่นขอวีซ่าสหรัฐอเมริกาที่มีประมาณ 14.7 ล้านคนต่อปี รวมทั้งผู้ที่เดินทางไปทำงานหรือศึกษาที่สหรัฐอเมริกาด้วย ———————————————- ที่มา : The Momentum / 2 มิถุนายน 2562…

ไฟเขียว! สิงคโปร์ผ่านร่างกฎหมายจัดการข่าวปลอม

Loading

สภานิติบัญญัติแห่งชาติสิงคโปร์ มีมติเสียงข้างมาก รับรองร่างกฎหมายเพิ่มอำนาจรัฐบาล จัดการข่าวสารและข้อมูลที่ไม่เป็นจริงบนโลกออนไลน์ วันนี้ (9 พ.ค.62) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สภานิติบัญญัติแห่งชาติของสิงคโปร์มีมติเสียงข้างมาก ในการประชุมเมื่อวันพฤหัสบดี 72 เสียง ต่อ 9 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียง ผ่านร่างกฎหมาย เพื่อแก้ไขกฎหมายความมั่นคงไซเบอร์ฉบับปัจจุบัน โดยเสียงสนับสนุนทั้งหมดมาจากพรรคกิจประชาชน ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลของนายกรัฐมนตรีลี เซียนลุง และเสียงคัดค้านมาจากพรรคแรงงานสิงคโปร์  ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียวในสภาแห่งนี้ สาระสำคัญของร่างกฎหมายรวมถึงการที่รัฐบาลมีอำนาจเต็มในการกำหนดให้เว็บไซต์หรือเพจข่าวออนไลน์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง และแก้ไขข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลพิจารณาแล้วพบว่าผิดหรือไม่เหมาะสม และบังคับผู้ประกอบการเครือข่ายสังคมออนไลน์และบริษัทเทคโนโลยีต้องทำแถบข้อความเตือนไว้ใกล้กับข้อมูลข่าวสารที่รัฐบาลพิจารณาแล้วพบว่าไม่เหมาะสม ขณะที่ ประชาชนผู้รับสารควรเพิ่มการใช้วิจารณญาณในการพิจารณาเนื้อหา นอกจากนี้ หากรัฐบาลพิจารณาข้อมูลข่าวสารใดแล้วถือว่าเป็นเท็จ เว็บไซต์หรือเพจที่นำเสนอรายงานนั้น ต้องลบข้อมูลดังกล่าวออกจากระบบทันที สำหรับบทลงโทษจำคุกสูงสุด 10 ปี หรือปรับเป็นเงินสูงสุด 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ (ราว 23.35 ล้านบาท) โดยบทลงโทษครอบคลุมการกระทำผิดที่เป็นการเปิดใช้บัญชี ซึ่งเรียกว่า บอท เพื่อเจตนาเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จด้วย จนถึงขณะนี้ เฟซบุ๊กซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ใหญ่ที่สุดของโลก ยังไม่แสดงท่าทีต่อกฎหมายดังกล่าวของสิงคโปร์ ส่วนตัวแทนของบริษัทกูเกิ้ลในสิงคโปร์แสดงความคิดเห็นว่า กฎหมายนี้อาจส่งผลกระทบต่อนโยบายด้านการพัฒนานวัตกรรมของประเทศในระยะยาว ส่วนฮิวแมนไรตส์วอตช์ วิจารณ์ว่าจะยิ่งเป็นการควบคุมเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของชาวสิงคโปร์ให้ยิ่งน้อยลงไปอีก…