ญี่ปุ่นยกเลิกคำสั่ง ห้ามใช้อากาศยานไร้คนขับในเขตเมือง

Loading

  รัฐบาลญี่ปุ่นยุติมาตรการ ห้ามประชาชนบินโดรนในเขตชุมชน ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับมิติทางเศรษฐกิจ และภาวะสังคมผู้สูงอายุ   สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 7 ธ.ค. โดยอ้างข้อมูลจากสำนักข่าวเกียวโด ว่า กระทรวงคมนาคมญี่ปุ่นยกเลิกคำสั่งห้ามใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือโดรน ในระดับ 4 ซึ่งจะทำให้นักบินสามารถบังคับโดรนบริเวณเหนือย่านที่พักอาศัย ในแบบนอกระยะการมองเห็นได้   ทั้งนี้ การยกเลิกคำสั่งดังกล่าวจะช่วยอำนวยความสะดวก ให้กับการต่อยอดบริการที่ใช้โดรนเชิงพาณิชย์ เช่น การจัดส่งพัสดุทางอากาศ และช่วยแก้ไขภาวะขาดแคลนแรงงานของประเทศ ท่ามกลางอายุที่เพิ่มขึ้นของประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชนบท   อย่างไรก็ตาม การบินโดรนจะเกิดขึ้นได้ หากกระทรวงคมนาคมของญี่ปุ่นอนุมัติล่วงหน้าเท่านั้น มาตรการดังกล่าวมีแนวโน้มเริ่มบังคับใช้ “อย่างเร็วที่สุด” ในเดือน มี.ค. 2566 เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องใช้เวลาในการพิจารณาเงื่อนไขและคุณสมบัติของผู้ใช้งานโดรน   อนึ่ง ก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นอนุญาตการบินโดรนโดยไม่มีผู้ดูแล เฉพาะในพื้นที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย เช่น ภูเขา แม่น้ำ และพื้นที่เพาะปลูก ในปฏิบัติการระดับ 3 ภายใต้ระบบจำแนกสี่ระดับ.   อย่างไรก็ดี ครั้งนี้รัฐบาลญี่ปุ่นยกเลิกคำสั่งห้ามบินโดรนระดับ 4 ซึ่งจะทำให้นักบินสามารถบังคับอากาศยานไร้คนขับบริเวณเหนือย่านที่พักอาศัยในแบบนอกระยะการมองเห็นได้.  …

“เทคโนโลยีต่อต้านโดรน” หน่วยคุ้มกันน่านฟ้ารูปแบบใหม่

Loading

Philippines US Military Drone – ScanEagle   ความนิยมในการใช้อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในปัจจุบัน เช่นเดียวกับความเสี่ยงจากเทคโนโลยีนี้ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ผลักดันให้หน่วยงานต่าง ๆ พัฒนาและนำเทคโนโลยีต่อต้านโดรนมาช่วยแก้ปัญหานี้บ้างแล้ว   การใช้งานโดรนสำหรับทางการทหารและบุคคลทั่วไปได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความกังวลด้านความปลอดภัยก็เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะสถานที่ต่าง ๆ อย่างเช่น สนามบิน เรือนจำ และโครงข่ายไฟฟ้า บริษัทเทคโนโลยีระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ จึงได้พัฒนาความสามารถในการระบุและจัดการภัยคุกคาม เพื่อรับมือจากโดรนที่เป็นอันตราย   หนึ่งในตัวอย่างภัยคุกคามจากโดรน เกิดขึ้นในปี 2013 ขณะที่ อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีในขณะนั้น กำลังร่วมงานที่จัดกลางแจ้ง ปรากฏว่ามีโดรนที่บินอยู่เหนือศีรษะ ตกดิ่งลงในระยะใกล้กับตัวของเธอ จนทำให้งานที่ดำเนินอยู่ต้องหยุดชะงัก   แมร์รี่ ลู สโมลเดอร์ หัวหน้าฝ่ายการตลาดจากบริษัท Dedrone อธิบายต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า “มันไม่มีอะไรมากนัก เป็นเพียงโดรนที่ต้องการเรียกร้องความสนใจ”   อย่างไรก็ดีเหตุการณ์ข้างต้น ได้ก่อให้เกิดความกังวลด้านความปลอดภัย เมื่อโดรนที่เป็นอากาศยานไร้คนขับ ปรากฏตัวขึ้นในพื้นที่เสี่ยง กรณีดังกล่าว ได้กระตุ้นให้เกิดการก่อตั้งบริษัท Dedrone…

พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 กับ อากาศยานไร้คนขับ

Loading

  คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันนี้ผู้คนส่วนใหญ่จะได้ยินหรือรู้จักกับคำว่า “โดรน DRONE” หรือถ้าจะเรียกอย่างเป็นทางการคือ “อากาศยานไร้คนขับ หรือ UNMANNED AERIAL VEHICLE – UAV”   ยานพาหนะตัวนี้ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะนำมาใช้ในงานของทางราชการ งานของเอกชน หรือบุคคลทั่วไป งานราชการ เช่น การสำรวจพื้นที่ การสำรวจเหตุอุทกภัย การสำรวจรังวัดพื้นที่เขตป่าสงวน หรือใช้ในราชการทหาร เช่น ทางยุทธวิธี ฯลฯ   ส่วนของเอกชนก็นำมาใช้ในงานถ่ายภาพเทศกาลต่าง ๆ หรือถ่ายภาพโฆษณา ถ่ายเพื่อความสนุกสนาน ถ่ายสำรวจรังวัดพื้นที่ สำรวจเส้นทาง หรือพ่นยาฆ่าแมลง เป็นต้น     การใช้ โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ โดยเฉพาะของเอกชนหรือบุคคลทั่วไปที่ไม่ใช่หน่วยงานของราชการ การจะใช้งานหรือทำการบินได้ จะต้องมีการจดทะเบียนโดรน มีการขออนุญาตใช้โดรน และขออนุญาตใช้คลื่นความถี่     เนื่องจากพระราชบัญญัติเดินอากาศ พ.ศ.2497 ได้ถือว่า “โดรน หรือ อากาศยานไร้คนขับ” เป็นอากาศยานประเภทหนึ่ง…

กองทัพสหรัฐมาแรง พัฒนาโดรนใต้น้ำไร้คนขับ UUV เฝ้าระวังภัยให้ยานแม่

Loading

  อนาคตในการรบใต้น้ำกำลังเปลี่ยนไป เมื่อกองทัพเรือสหรัฐ กำลังพัฒนาโดรนใต้น้ำไร้คนขับรุ่นใหม่ Unmanned underwater vehicle (UUV) ซึ่งสามารถปล่อยออกจากเรือดำน้ำได้ง่าย และมันก็สามารถกลับมาที่เรือได้ด้วยตัวเอง   แนวคิดของการสร้างโดรนคือ จะใช้โดรนเป็นยากลูกที่ปล่อยไปอยู่แนวหน้าสำหรับการตววจจับการเคลื่อนไหวของศัตรูรวมทั้งตอปิโดที่พุ่งมาจากระยะไกล โดรนจะคอยเป็นหูเป็นตาเพิ่มเติมให้กับยานแม่ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาสำรวจมหาสมุทรหรือค้นหาภูเขาใต้น้ำที่อาจสร้างความเสียหายให้กับเรืออื่น ๆ ได้ โดยล่าสุด เรือดำน้ำจู่โจมเร็วของ USS Connecticut ชนกับภูเขาในทะเลที่ไม่จดอยู่ในแผนที่ ภายในเดือนตุลาคม 2021 อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ลูกเรือ 21 คนได้รับบาดเจ็บ   ในส่วนของการติดตั้งอาวุธ พวกเขาบอกมันยังไม่ถูกพัฒนาไปถึงขั้นนั้น (แต่อนาคตไม่แน่) ขั้นต้นจะเป็นการใช้โดรนเพื่อสำรวจ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างการทดสอบ โดยสามารถปล่อยออกจากเรือดำเนินได้ด้วยตัวเองเป็นผลสำเร็จ แต่ขากลับ ต้องใช้นักประดาน้ำในการไปเก็บมันกลับมา เพราะมันยังหาทางกลับมาเองไม่ถูก ซึ่งสิ่งที่พวกเขาต้องการพัฒนาคือ มันต้องออกและหาทางกลับมาที่ยานแม่ได้ด้วยตัวเองมัน (นึกถึงเครื่องบินไร้คนขับในเรื่อง stealth เลยแฮะ)   ในขณะที่ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น เราได้เห็นทั้งจีน รัสเซีย และสหรัฐได้พยายามพัฒนาอาวุธใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย โดยก่อนหน้านี้ จีนก็ได้เปิดตัวเรือดำน้ำไร้คนขับขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุขีปนาวุธและตอปิโดไว้ในนั้นได้ แน่นอนว่ามันสามารถทำตามคำสั่งโดยไม่มีการลังเลใด ๆ ครับ อนาคตโลกเราจะเป็นยังไงต่อไป…

อิหร่านเปิดตัว “ชาฮับ” โดรนฝึกลาดตระเวนรุ่นใหม่ บินไต่ระดับได้ถึง 200 กิโลเมตร

Loading

(Photo by IRNA)   อิหร่านเปิดตัว “ชาฮับ” โดรนฝึกลาดตระเวนรุ่นใหม่ บินไต่ระดับได้ถึง 200 กิโลเมตร   อิหร่านเปิดตัว “ชาฮับ” – ซินหัว รายงานจากสถานีโทรทัศน์ทางการอิหร่านว่า กองทัพอากาศอิหร่านเผยโฉม อากาศยานไร้คนขับ (ยูเอวี-UAV) หรือ โดรน ที่พัฒนาเองในประเทศ ซึ่งถูกออกแบบและผลิตสำหรับการฝึกซ้อมโดยเฉพาะ   รายงานระบุว่าโดรนรุ่น “ชาฮับ” (Shahab) ซึ่งมีความมายว่าสะเก็ดดาว ถูกนำมาแสดงในกรุงเตหะราน โดยมีคณะเจ้าหน้าที่กองทัพและเจ้าหน้าที่พลเรือนระดับสูงของอิหร่านเป็นสักขีพยาน   ทั้งนี้ โดรนชาฮับเป็นโดรนขั้นสูงรุ่นปรับปรุงของ โดรนซาฟีร์ (Safir) มีรัศมีการบินสำหรับฝึกซ้อมอยู่ที่ 10 กิโลเมตร และสามารถบินไต่ระดับได้ถึง 200 กิโลเมตรระหว่างภารกิจลาดตระเวน สามารถปฏิบัติภารกิจสังเกตการณ์และลาดตระเวนภายใต้สภาพแวดล้อมหลากหลายที่ ระดับสูงสุดราว 3.35 กิโลเมตร และมีระยะเวลาการบิน 8 ชั่วโมง   (Picture source: Tasnim)   (Picture source:…

กทปส. หนุนนักวิจัยไทย พัฒนาเรดาร์ตรวจจับโดรนขนาดเล็กรัศมีไกล 2 กม. ต่อยอดสู่การบินมั่นคงปลอดภัย

Loading

  ปัจจุบันโดรนหรืออากาศยานไร้คนขับ  (UAV) ที่เริ่มเข้ามามีบทบาทสำคัญของการสำรวจและถ่ายภาพมากขึ้น ขณะที่การควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการก่อการร้าย ยังมีข้อจำกัดที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และมีราคาที่สูงอยู่ ด้วยเหตุนี้โครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนเพื่อป้องกันการบินโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาต ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยจาก กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. จึงได้ทำการวิจัยและคิดค้นพัฒนาระบบตรวจจับโดรนขึ้นมา   รองศาสตราจารย์ ดร. เอกรัฐ บุญภูงา หัวหน้าโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนเพื่อป้องกันการบินโดรนที่ไม่ได้รับอนุญาตของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการใช้โดรนกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งก็มีประโยชน์ในหลาย ๆ ด้าน ทั้งการถ่ายภาพ การสำรวจ แต่ว่าบางทีโดรนก็อาจจะถูกนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี เช่น การก่อการร้าย เนื่องจากสามารถติดระเบิดแล้วเอาไปจู่โจมบุคคลสำคัญได้ หรือบางครั้งการใช้โดรนอาจจะมีการใช้ในพื้นที่ที่หวงห้าม เช่นเขตพระราชวัง หรือบริเวณงานพระราชพิธี ตลอดจนขอบเขตการคุ้มกันบุคคลสำคัญ   ซึ่งแม้ว่าการพัฒนาเรดาร์เพื่อการตรวจจับโดรนจะมีให้เห็นแล้วในต่างประเทศ แต่ราคาของเครื่องหรือระบบก็มีราคาที่สูงมาก เราจึงคิดว่าควรจะพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถตรวจจับโดรนที่บินโดยไม่ได้รับอนุญาตให้ได้ด้วยฝีมือคนไทย ซึ่งเทคโนโลยี เรดาร์ก็เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงและสมัยใหม่ ที่ใช้ในการตรวจจับพวกเครื่องบินอยู่แล้ว แต่โดรนซึ่งมีขนาดที่เล็กกว่า จำเป็นต้องมีการออกแบบเรดาร์ใหม่ เพื่อให้สามารถตรวจจับโดรนที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องบินให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น   โดยชุดอุปกรณ์ตัวเรดาร์ จะมีลักษณะเป็นแบบสามารถเคลื่อนที่ได้ ทำให้เคลื่อนย้ายได้สะดวก อีกทั้งยังสามารถติดตั้งกับรถยนต์ได้ เพื่อช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวกและทันท่วงทีในการเคลื่อนย้ายเข้าสู่พื้นที่ที่ต้องการ…