เจาะลึก กองทัพโดรน..อาวุธไฮเทคฝีมือคนไทย

Loading

กองทัพทั่วโลกกำลังแข่งขันกันพัฒนาอาวุธ ก้าวเข้าสู่ยุค “สงครามไฮเทค” โดยเฉพาะการใช้ “กองทัพโดรน” เพื่อลดความเสี่ยงสูญเสียชีวิตของกำลังพล และลดงบประมาณจัดซื้ออาวุธขนาดใหญ่ หลายประเทศแอบพัฒนา “อาวุธโดรน” ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น บินได้เร็ว บินได้สูง บินได้ไกล และติดตั้งจรวดโจมตีขนาดใหญ่ให้ได้มากสุด…กองทัพไทยก็มีการทุ่มเทพัฒนาโดรนสายพันธุ์ไทยแท้เช่นกัน คนส่วนใหญ่คุ้นเคยกับ “โดรน” (Dynamic Remotely Operated Navigation Equipment) อุปกรณ์ที่ใช้รีโมทในการบังคับให้เคลื่อนที่ ถ้าเป็นจำพวกเครื่องบินขนาดจิ๋วหรืออุปกรณ์ที่บินได้ด้วย จะใช้คำ “ยูเอวี” (Unmanned Aerial Vehicle) แต่สำหรับโดรนที่นำมาพัฒนาให้เป็นอาวุธหรือเครื่องมือต่างๆ ในกองทัพทหารนั้น ถูกเรียกอย่างเป็นทางการว่า “อากาศยานไร้คนขับติดอาวุธ” หรือ “ยูซีเอวี” (Unmanned Combat Air Vehicle) ซึ่งอาวุธโดรนประเภทนี้ จะสามารถบรรทุกกล้องสอดแนม ปืน ระเบิด จรวดขนาดต่างๆ ได้ด้วย ปัจจุบัน อาวุธโดรน หรือ ยูซีเอวี กลายเป็นพระเอกตัวสำคัญที่บริษัทผลิตอาวุธพยายามพัฒนาออกมาเพื่อเชิญชวนกองทัพทั่วโลกให้ซื้อไปใช้ป้องกันประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มบริษัทผู้ค้าอาวุธยักษ์ใหญ่ เช่น จีน มักจัดงานโรดโชว์อาวุธโดรนไปทั่วโลก ล่าสุดจีนได้ติดตั้งปืนไรเฟิลเข้ากับยูซีเอวี หวังให้เป็นเครื่องบินรบรุ่นใหม่ไร้คนขับแทนที่ฝูงบินรบแบบเก่า…

สงครามโดรน : สงครามเก่ากำลังจากไป สงครามใหม่มาถึงแล้ว!

Loading

“ผู้ควบคุม [โดรน] สามารถระบุเป้าหมาย เฝ้ามอง และทันใดนั้นโจมตีจากระยะหลายพันไมล์ที่ห่างไกลออกไป โดยไม่จำเป็นต้องเอาทหารเข้าไปในพื้นที่อันตรายแต่อย่างใด” Lawrence Freedman (2017) คอลัมน์ ยุทธบทความ ผู้เขียน สุรชาติ บำรุงสุข   เมื่อศตวรรษที่ 21 เริ่มต้นขึ้นนั้น โลกได้เห็นอุปกรณ์ทางทหารชุดหนึ่งที่นักการทหารหลายคนได้ให้ความสนใจอย่างมาก คือการปรากฏตัวของ “อากาศยานไร้คนขับ” หรือเรียกว่า “อากาศยานไร้นักบิน” (Unmanned Aerial Vehicles หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า UAVs) ซึ่งปัจจุบันถูกเรียกว่า “โดรน” (Drones) และอุปกรณ์ทางทหารนี้กำลังกลายเป็นอาวุธสำคัญของศตวรรษปัจจุบัน และอาจจะเป็นอาวุธที่จะมีส่วนต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าสงครามในอนาคต พัฒนาการ โดรนอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ และมีการใช้โดรนมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว แต่เป็นเพียงการใช้เพื่อการเป็นเป้าซ้อมยิงของนักบิน และด้วยเงื่อนไขทางเทคโนโลยี โดรนจึงยังไม่สามารถพัฒนาให้มีขีดความสามารถในการรบได้ แต่แนวคิดที่จะสร้างโดรนให้ทำการรบได้ (combat drone) เกิดขึ้นในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ด้วยข้อจำกัดของการพัฒนาทางเทคโนโลยี แนวคิดนี้จึงปรากฏอยู่ในบทความของประดิษฐกรรมทางวิทยาศาสตร์ สำหรับโดรนทางทหารสมัยใหม่เป็นผลมาจากการคิดของฟอสเตอร์ (John S. Foster) ที่เป็นวิศวกรนิวเคลียร์ฟิสิกส์ชาวอเมริกันในช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ที่เชื่อว่าเครื่องบินจำลองน่าจะนำมาใช้ประโยชน์ในทางทหารได้…

สุดยอด!…ระบบป้องกันภัยซาอุฯ ถูกทำลายด้วยโดรนราคาถูก

Loading

การโจมตีโรงกลั่นน้ำมัน 2 แห่ง ในซาอุดิอาระเบีย แสดงให้เห็นว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศถูกทำลายอย่างง่ายดายโดยเทคโนโลยีราคาถูก และไม่สามารถป้องกันได้ด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง ไม่ว่าจะเป็นขีปนาวุธหรือเครื่องบินขับไล่อย่าง F-15 ซาอุดิอาระเบีย ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ซื้ออาวุธรายใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อปีที่แล้วเพิ่งซื้ออาวุธไป 65,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีสหรัฐฯ เป็นคู่ค้ารายใหญ่ มีระบบป้องกันภัยทางอากาศ ที่รวมถึงเรดาร์ เครื่องบินขับไล่หลายรุ่น เช่น F-15 และขีปนาวุธที่สามารถสกัดขีปนาวุธที่ถูกยิงมาจากดินแดนของศัตรูได้อย่างแม่นยำ แต่เมื่อวันเสาร์ โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทอารัมโก 2 แห่ง กลับถูกโจมตีด้วยฝูงโดรนของกลุ่มกบฎฮูตี ที่เป็นกองกำลังกลุ่มเล็กๆ ทำให้ต้องระงับการผลิตน้ำมัน 5.7 ล้านบาร์เรล/วัน ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า กลุ่มฮูตีเจาะช่องโหว่ระบบป้องกันภัยทางอากาศ และยังใช้เทคโนโลยีราคาถูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยโดรนเพียง 10 ลำ นี่ไม่ใช่ครั้งแรก เพราะฮูตีเคยใช้โดรนแทรกซึมน่านฟ้าซาอุฯและถ่ายรูปโรงงานผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล และโจมตีท่อส่งน้ำมันไปยังทะเลแดงด้วย ส่วนโดรนที่ใช้น่าจะเป็น “แซมแม้ด ทรี” ที่สามารถบรรทุกระเบิดและเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ไกลถึง 1,500 ก.ม. ———————————————————————- ที่มา : Nation TV / 17 กันยายน 2562 Link…

มิติใหม่ใช้โดรนถล่มเป้าหมายระดับโลก ราคาถูกลงแต่ได้ผลเกินคาด

Loading

การเป็นพันธมิตรระหว่างฮูษีกับอิหร่าน ยังเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะมีการใช้แบ่งปันวิธีโจมตีด้วยโดรนไปให้แนวร่วมในอิหร่าน อิรัก ซีเรีย และเลบานอน วิม ซไวเนนบวร์ก นักวิจัยอาวุโสเกี่ยวกับโดรนที่ PAX องค์กรสันติภาพเนเธอร์แลนด์ กล่าวกับ NYT ว่า การโจมตีโรงกลั่นน้ำมันของซาอุดีอาระเบียไม่เพียงแต่เปิดเผยถึงช่องโหว่ของซาอุดิอาระเบียในการทำสงครามกับกบฎฮูษีเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นว่าการโจมตีเป้าหมายระดับสูงเริ่มที่จะมีต้นทุนที่ต่ำลงมาก โดยอาจมีค่าใช้จ่าย 15,000 เหรียญสหรัฐหรือน้อยกว่าในการสร้างโดรน การโจมตีครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้กลยุทธ์แบบ “เดวิดและโกลิอัท” (หรือตัวเล็กล้มยักษ์) และใช้โดรนโดรนราคาถูก เพื่อทำให้สถานการณ์ในตะวันออกกลางยิ่งคาดเดาได้ยากขึ้น เพราะการโจมตีดังกล่าวไม่เพียงแต่จะสร้างความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัย ทำให้ตลาดปั่นป่วน และทำให้ความหวาดกลัวขยายวงกว้าง แม้ว่า กบฎฮูษีจะไม่มีทุนทรัพย์ทางการเงินที่สำคัญ แต่โดรนกลับกลายเป็นทางออกต้นทุนต่ำให้เขาเพื่อใช้โจมตีศัตรูตัวฉกาจคือ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้งบประมาณทางทหารที่สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกในปี 2561 โดยมีงบประมาณถึ 67,600 ล้านเหรียญสหรัฐ ตอกย้ำว่า ประเทศที่มีงบประมาณทางทหารที่สูงมาก ก็อาจเพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายที่ไม่มียุทโธปกรณ์ชั้นเลิศเลย นอกจากนี้ การโจมตีล่าสุด ยังทะลวงลึกเข้าไปในดินแดนของซาอุดิอาระเบียมากกว่าการโจมตีครั้งก่อน ฟาเรีย อัลมุสลิมี ผู้ร่วมก่อตั้งของ Sanaa Center for Strategic Studies ซึ่งเน้นประเด็นเกี่ยวกับเยเมน กล่าวว่า สิ่งทีเกิดขึ้นเป็นความท้าทายต่อซาอุดีอาระเบีย…

รัฐบาลสิงคโปร์สั่งขึ้นทะเบียนโดรนทุกลำ หลังเหตุป่วนสนามบินนานาชาติชางงี

Loading

รัฐบาลสิงคโปร์เตรียมออกกฎหมายให้โดรนทุกลำในประเทศต้องขึ้นทะเบียนก่อนนำไปใช้งาน พร้อมเล็งเพิ่มบทลงโทษสำหรับผู้ที่ละเมิดกฎหมาย โดยรัฐบาลให้เหตุผลว่าจำเป็นต้องมีมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดหลังจากเกิดเหตุโดรนบินป่วนท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี ส่งผลให้เที่ยวบินหลายลำเกิดการล่าช้าจนถึงขั้นต้องปิดรันเวย์เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ด้านนาย Lam Pin Min in รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมสิงคโปร์ เผยถึงเหตุผลการขึ้นทะเบียนโดรนว่าจะสร้างความมั่นใจให้กับสารการบินและผู้ใช้งานสนามบินได้ เพราะจะทำให้นักบินโดรนจะทำการบินอย่างมีความรับผิดชอบ แต่ทางกระทรวงยังไม่สามารถระบุวันเวลาที่จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายได้แน่ชัด แต่จะพยายามให้ทันภายในเดือนหน้า อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกฎหมายสิงคโปร์ห้ามการนำโดรนบินภายในรัศมี 5 กิโลเมตร หรือที่ระดับความสูง 61 เมตร ของสนามบินและฐานทัพทหาร โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งผู้กระทำผิดมีระวางโทษจำคุกสูงสุด 1 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 ดอลลาร์สิงคโปร์ และท่าอากาศยานนานาชาติสิงคโปร์ชางงี นับเป็นหนึ่งในท่าอากาศยานที่มีผู้โดยสารมากที่สุดในโลก ให้บริการผู้โดยสารจำนวนถึง 65.6 ล้านคนในปีที่แล้ว ที่มาข่าวและภาพประกอบ: Channel News Asia, 8/07/2019 Link : https://www.tcijthai.com/news/2019/7/asean/9202