วิธีล็อกโปรไฟล์เฟซบุ๊ก ป้องกันคนไม่รู้จักส่องข้อมูลส่วนตัว
วิธีล็อกโปรไฟล์เฟซบุ๊ก ที่คุณอาจไม่เคยใช้้แต่มีประโยชน์มากในการป้องกันคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนหรือ คนไม่รู้จักมาแอบส่องข้อมูลส่วนตัว ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
วิธีล็อกโปรไฟล์เฟซบุ๊ก ที่คุณอาจไม่เคยใช้้แต่มีประโยชน์มากในการป้องกันคนที่ไม่ได้เป็นเพื่อนหรือ คนไม่รู้จักมาแอบส่องข้อมูลส่วนตัว ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้
ฮ่องกงประกาศจับกุมครั้งแรกภายใต้กฎหมายความมั่นคงใหม่มาตรา 23 จำนวนทั้งหมด 6 คนในข้อหาเผยแพร่โพสต์ทางโซเชียลมีเดียที่เป็นการปลุกปั่นให้เกิดความเกลียดชังรัฐบาลปักกิ่ง
ทางการมาเลเซียสั่งให้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่าง เมตา และติ๊กต็อก นำเสนอแผนการต่อสู้กับเนื้อหาที่เป็นอันตรายทางออนไลน์ หลังมีรายงานพบเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมเพิ่มขึ้น บนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ในประเทศ
เผยไอพีผู้โพสต์ – วันที่ 28 เม.ย. รอยเตอร์รายงานว่า เว่ยโป๋ แอพพลิเคชั่นโซเชียลยอดนิยมของชาวจีน (เทียบเท่าทวิตเตอร์) ประกาศจะเปิดเผย IP Address ของผู้โพสต์แสดงความคิดเห็นทุกคน เพื่อเป็นมาตรการป้องปรามพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็นอย่างไร้ความรับผิดชอบ มาตรการดังกล่าวจะส่งผลให้คอมเมนต์ของผู้ใช้แพล็ตฟอร์มสนทนาดังกล่าวถูกแนบด้วย IP Address หมายเลขรหัสทางไซเบอร์ที่สามารถใช้บ่งบอกเครื่องที่ใช้งานและแหล่งที่มาได้ การประกาศข้างต้นมีชาวจีนเข้ามาอ่านกว่า 200 ล้านครั้งและถูกนำไปวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมดิจิตอลของชาวจีนอย่างกว้างขวาง โดยบางคนมองว่าการเปิดเผย IP Address ผู้โพสต์เป็นเสมือนกับการที่ต้องการกระซิบข้างหูผู้ใช้ตลอดเวลาว่า “ระวังตัวให้ดี” โปรไฟล์ผู้ใช้สามารถดูรายละเอียดที่อยู่และ IP Address ได้ (เว่ยโป๋) อย่างไรก็ดี มีชาวจีนบางส่วนที่สนับสนุนมาตรการดังกล่าวด้วยโดยเฉพาะในช่วงที่จีนกำลังเผชิญกับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาปี 2019 หรือโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนครั้งรุนแรง เพื่อปราบปรามการเผยแพร่ข่าวปลอมสร้างความสับสนและเข้าใจผิดให้สังคม แถลงการณ์ของเว่ยโป๋ ระบุว่า มาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อลดพฤติกรรมการแอบอ้าง การเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การใช้บ็อต และเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสตรวจสอบได้ของการแสดงคิดเห็นต่างๆ “เว่ยโป๋ยืนหยัดเพื่อรักษาบรรยากาศการสนทนาที่ดีและเป็นระเบียบเรียบร้อยเสมอมา รวมทั้งการปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของผู้ใช้บริการในการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริงได้อย่างรวดเร็วที่สุดเสมอ” เว่ยโป๋ ระบุ …
รองผู้การฯ ปอท. แนะ 9 แนวทาง เตือนสติ ตร.เล่นโซเชียลฯ อย่างสร้างสรรค์ ระวังการโพสต์ แม้เป็นสิทธิส่วนบุคคลก็ตาม แต่อาจส่งผลกระทบภาพลักษณ์องค์กรได้ ชี้ กรณีไลฟ์ ‘ยิว ฉัตรมงคล’อยู่ระหว่างต้นสังกัดตรวจสอบ 29 พ.ค. 2564 พันตำรวจเอก ศิริวัฒน์ ดีพอ รองผู้บังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (รอง ผบก.ปอท.) ในฐานะ รอง โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (รองโฆษก ตร.) กล่าวว่า จากปัจจุบัน ยุค 5 จี ประชาชน รวมถึงข้าราชการตำรวจต่างเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติพบว่า พี่น้องตำรวจหลายท่าน รวมถึงหลายหน่วยงานใช้สื่อสังคมออนไลน์ประชาสัมพันธ์การปฏิบัติหน้าที่ในรูปแบบต่างๆ หรือแถลงผลการจับกุมคนร้ายในคดีสำคัญ ตลอดจนเตือนภัยอาชญากรรมในพื้นที่ให้ประชาชนได้รับรู้ในการระมัดระวังตนเองมิให้ตกเป็นเหยื่อ ถือว่า เป็นประโยชน์ต่อประชาชนและเสริมสร้างภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ยังคงพบเห็นข้าราชการตำรวจบางท่านใช้สื่อสังคมออนไลน์แล้ว ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อภาพลักษณ์ขององค์กร จริงๆ ต้องเรียนว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์ในทุกแพลตฟอร์ม ข้าราชการตำรวจสามารถมีสิทธิและเสรีภาพในการเข้าถึงและใช้งานทั้งสิ้น แต่เพื่อให้การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการตำรวจเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์และเป็นไปอย่างถูกต้อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้จัดทำแนวทางการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของข้าราชการตำรวจ…
โพสต์รูปบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ลงโซเชียล อันตราย หลังเมื่อเดือนที่ผ่านมามีการแชร์ค่าไฟฟ้าที่สูงขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ลืมเบลอหรือเซ็นเซอร์บางสิ่งคือข้อมูลสำคัญลงบนโซเชียล อาจถูกมิจฉาชีพนำข้อมูลไปใช้ได้ เพราะบิลค่าน้ำ ค่าไฟ และค่าโทรศัพท์ ส่วนใหญ่คือที่อยู่จริงนั่นเอง ทั้งชื่อ นามสกุล ที่อยู่จริงด้วย ซึ่งนั่นคือข้อมูลส่วนตัวของเรานั่นเอง หากถูกเจออาจโดนนำไปใช้ในทางที่มิชอบได้ โพสต์รูปบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ลงโซเชียล ทำไมถึงอันตราย บางเว็บไซต์หรือบริการขนส่งออนไลน์บางแห่ง ที่ประกาศให้แนบภาพบิลค่าน้ำค่าไฟ ในกรณีใช้บริการครั้งแรก เพื่อนำมาใช้ประกอบการตรวจสอบนี้ เนื่องจากเป็นหลักฐานสำคัญว่า ที่อยู่นี้มีคนอยู่จริงมีคนรับจริงๆ จึงกลายเป็นหลักฐานสำคัญที่นอกเหนือจากการใช้บัตรประชาชน หรือหนังสือเดินทาง (Passports) และ statements การเงินธนาคารด้วย โดยบิลทั้งค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ มีระบุ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และค่าใช้จ่าย เพราะบิล จะส่งถึงเจ้าของเอกสารแทบทุกเดือนอยู่แล้ว จนกว่าจะเลิกใช้บริการ วิธีป้องกัน ทั้งนี้การแชร์บิลค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ก่อนแชร์ ควรเบลอในส่วนข้อมูลส่วนตัวทั้ง ชื่อ-สกุล ที่อยู่ ก่อนแชร์ทุกครั้ง…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว