ยูเครนแจกยาเม็ดไอโอดีนให้ชาวบ้านใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หวั่นรังสีรั่วไหล

Loading

  ยูเครนแจกยาเม็ดโพแทสเซียมไอโอดีนป้องกันกัมมันตภาพรังสีให้ประชาชนรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปรีเจีย หวั่นเกิดภัยพิบัติ รังสีรั่วไหล วันที่ 27 สิงหาคม 2565 เอ็นบีซีนิวส์รายงานว่า ทางการยูเครนเริ่มแจกจ่ายยาเม็ดไอโอดีนให้กับผู้ที่อยู่อาศัยใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ท่ามกลางความกังวลว่าการสู้รบรอบโรงไฟฟ้าฯ อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลของรังสี หรือนำไปสู่ภัยพิบัติที่อันตรายกว่า ความเคลื่อนดังกล่าวมีขึ้นหนึ่งวันหลังจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปรีเจียถูกตัดการเชื่อมต่อจากโครงข่ายไฟฟ้าของยูเครนเป็นการชั่วคราว เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ 40 ปี เหตุการณ์นี้ทำให้เกิดความกังวลว่าจะเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ในยูเครน เช่นเดียวกับที่เคยเกิดกับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล เมื่อปี 2529 “โวโลดิมีร์ มาร์ชุค” โฆษกสำนักบริหารภูมิภาคซาโปรีเจียของกองทัพยูเครน เผยว่า ยาเม็ดไอโอดีนถูกแจกจ่ายให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตรจากโรงงานในเมืองเอเนอร์โฮดาร์ (Enerhodar) “ผู้ได้รับยาชนิดนี้ได้รับคำสั่งไม่ให้ใช้ยาในลักษณะการป้องกัน เพราะยานี้จะใช้ในกรณีที่รังสีรั่วไหลในอนาคต ซึ่งในเวลานั้นรัฐบาลจะสั่งให้ประชาชนกินยาเม็ดนี้” อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้ระบุว่า มีการแจกจ่ายยามากน้อยแค่ไหน และใครบ้างที่ได้รับยา แต่เขาได้เผยทางเทเลแกรมว่า มีการส่งมอบยาเม็ดไอโอดีน 25,000 เม็ด ไปยังเมืองทางตอนใต้ พร้อมกับเน้นย้ำว่า ระดับรังสีที่โรงไฟฟ้าฯ และพื้นที่โดยรอบ ขณะนี้ยังเป็นปกติ ยาเม็ดโพแทสเซียมไอโอดีนมีคุณสมบัติในการบล็อกสารกัมมันตภาพรังสีชนิดหนึ่ง และถูกนำมาใช้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์ เพื่อช่วยปกป้องต่อมไทรอยด์ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา บริษัทเอเนอร์โกอะตอม (Energoatom) ซึ่งเป็นผู้ดำเนินงานโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของยูเครนระบุว่า โรงไฟฟ้าฯ แห่งนี้ได้รับพลังงานอย่างปลอดภัยผ่านสายไฟฟ้าที่ซ่อมแซมแล้วจากโครงข่ายไฟฟ้า หนึ่งวันหลังจากถูกตัดการเชื่อมต่อจากโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ…

รัสเซีย-ยูเครน : ทำไมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริเฟียตกเป็นเป้าโจมตีบ่อย

Loading

ทหารรัสเซียยืนอยู่หน้าโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซาโปริเฟีย สหประชาชาติและนานาประเทศหวั่นเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ หลังการยิงถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ที่ตั้งอยู่ในยูเครน แต่นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่โรงไฟฟ้าแห่งนี้ตกเป็นเป้าโจมตี หรือสมรภูมิรบ นายอันโตนิโอ กูเตร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติเตือนว่า การโจมตีโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ซาโปริเฟีย ทางตอนใต้ของยูเครนเป็นการกระทำที่เหมือน “การฆ่าตัวตาย” โรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ที่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพรัสเซีย ตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค. ตกเป็นเป้าโจมตีอีกครั้ง โดยรัสเซียและยูเครนต่างกล่าวโทษอีกฝ่ายว่าอยู่เบื้องหลัง “การโจมตีโรงไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์เป็นการฆ่าตัวตาย ผมหวังว่าการโจมตีในลักษณะนี้จะจบลงเสียที และผมหวังว่า ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency–IAEA) จะเข้าถึงโรงไฟฟ้าได้” นายกูเตร์เรส กล่าว คำกล่าวของเลขาฯ ยูเอ็น ยังเกิดขึ้นหลังเขาเดินทางเยือนเมืองฮิโรชิมาในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา พร้อมขึ้นปราศรัยในโอกาสครบ 77 ปีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ถล่มเมืองแห่งนี้ ซึ่งถือเป็นเมืองแรกของโลกที่ถูกโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์ โดยนายกูเตร์เรสเตือนว่า “มนุษยชาติกำลังเล่นกับปืนบรรจุกระสุน” เกิดอะไรขึ้น ซาโปริเซีย เป็นโรงงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ปัจจุบัน กองทัพรัสเซียควบคุมโรงงาน นับแต่ต้นเดือน มี.ค. หรือเพียงไม่นานหลังส่งทหารบุกยูเครนเมื่อปลายเดือน ก.พ. การสู้รบในบริเวณโรงไฟฟ้าแห่งนี้เคยก่อให้เกิดความวิตกกังวลว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้างโรงไฟฟ้าอาจปะทุเป็นวิกฤตนิวเคลียร์ขึ้นมาได้ และจะเลวร้ายกว่าเมื่อครั้งที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เกิดการหลอมละลายและระเบิดขึ้นเมื่อปี 1986 การสู้รบในบริเวณโรงงานซาโปริเซียปะทุขึ้นอีกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา สร้างความเสียหายต่อโครงสร้างโรงงานหลายจุด จนเจ้าหน้าที่ต้องปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ลงเพื่อความปลอดภัย รัสเซียและยูเครนกล่าวโทษอีกฝ่ายที่ก่อเหตุโจมตีโรงงาน…

เตือนอันตรายโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยูเครนถูกโจมตี

Loading

  เวียนนา/เคียฟ/อิสตันบูล (เอพี/รอยเตอร์ส) – ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ หรือไอเออีเอ เรียกร้องให้ยุติปฏิบัติการทางทหารใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียในยูเครนโดยทันที เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ หลังจากมีข่าวว่าถูกยิงถล่ม ขณะที่มีรายงานเรือบรรทุกธัญพืชอีก 4 ลำ ได้เดินทางออกจากยูเครนแล้ว ราฟาเอล มารีอาโน ผู้อำนวยการไอเออีเอเผยว่า มีความกังวลอย่างยิ่งตามที่ข่าวว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใหญ่ที่สุดในยุโรปแห่งนี้ถูกระดมยิงถล่มเมื่อวันศุกร์ เพราะมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภัยพิบัตินิวเคลียร์ที่เป็นอันตรายต่อสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมทั้งในและนอกยูเครน การยิงอาวุธมุ่งเป้าหมายไปยังโรงไฟฟ้าหรือยิงออกมาจากโรงไฟฟ้าเป็นการเล่นกับไฟที่อาจทำให้เกิดผลหายนะตามมา บุคลากรยูเครนที่โรงไฟฟ้าจะต้องสามารถปฏิบัติหน้าที่สำคัญโดยปราศจากการข่มขู่หรือกดดัน ทุกฝ่ายจะต้องวางความขัดแย้งแล้วดำเนินการโดยทันที เพื่อปกป้องคนในยูเครนและประเทศอื่นๆ ไอเออีเอพร้อมจะเข้าไปให้การช่วยเหลือทางเทคนิค เอเนอร์ฮัวอาตอม วิสาหกิจของยูเครนที่บริหารโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 4 แห่งในยูเครน รวมถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริซเซียแจ้งผ่านเทเลแกรมว่า รัสเซียยิงขีปนาวุธจนทำให้ต้องปิดหน่วยผลิตไฟฟ้า 1 แห่ง เพราะเป็นอันตรายต่อการเดินเครื่อง และเสี่ยงมีกัมตภาพรังสีรั่วไหล ประธานาธิบดีโวโลดีเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน ประณามการยิงถล่มที่เกิดขึ้นเมื่อวันศุกร์ว่า เป็นอาชญากรรมที่ไร้ความละอาย และเป็นการก่อการร้าย ขณะที่กระทรวงกลาโหมอังกฤษระบุว่า รัสเซียใช้พื้นที่ของโรงไฟฟ้าแห่งนี้ที่ตั้งอยู่ในเมืองเอเนอร์โฮดาร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของยูเครน เป็นพื้นที่เปิดฉากโจมตี เพราะต้องการนำสถานะความเป็นสถานที่ที่ต้องได้รับการปกป้องมาฉวยโอกาสลดการถูกโจมตีกลางดึกจากฝั่งยูเครน ด้านรัสเซียที่ยึดโรงไฟฟ้าแห่งนี้ตั้งแต่เดือนมีนาคมโดยที่ยังให้บุคลากรยูเครนปฏิบัติงานอยู่ปฏิเสธว่า ไม่ได้เป็นฝ่ายโจมตี ในอีกด้านหนึ่ง เรือบรรทุกสินค้า4 ลำ ได้แล่นออกจากยูเครนแล้ว ภายใต้ข้อตกลงส่งออกธัญพืชอีกครั้งของยูเครน ซึ่งการกลับมาส่งออกธัญพืชอีกรอบ อยู่ภายใต้การควบคุมของศูนย์ประสานงานร่วมในนครอิสตันบูล ที่รัสเซีย ยูเครน…

ไอเออีเอเผยระดับกัมมันตรังสีที่ “เชอร์โนบิล” ยังอยู่ในระดับปลอดภัย

Loading

  ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ยืนยันระดับกัมมันตรังสีที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล “ยังคงปลอดภัย”   สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ว่าทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) เปิดเผยว่า ระดับกัมมันตรังสีในเขตหวงห้าม ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลที่ยูเครน ยังอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย หลังกองทัพรัสเซียเข้าควบคุมนานหลายสัปดาห์ และถอนกำลังออกจากพื้นที่ เมื่อปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา   นายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการไอเออีเอ นำทีมลงพื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล เมื่อต้นสัปดาห์นี้ เพื่อส่งมอบอุปกรณ์ ดำเนินการประเมินทางรังสีวิทยา และฟื้นฟูระบบเฝ้าติดตามการป้องกัน   หลังจากนั้น กรอสซีกลับมาแถลงข่าวที่กรุงเวียนนา เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ว่าคณะทำงานของไอเออีเอ ได้วัดระดับกัมมันตรังสีบริเวณเขตหวงห้ามของเชอร์โนบิล ซึ่งคาดว่ากองทัพรัสเซียได้เข้าไปขุดค้นพื้นที่บางส่วน และพบระดับกัมมันตรังสีในพื้นที่ขุดค้น อยู่ที่ 6.5 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี สูงกว่าตัวเลข 1.6 มิลลิซีเวิร์ตต่อปี ในบริเวณถนนใกล้เคียง ทว่ายังต่ำกว่าขีดจำกัดที่กำหนดไว้ คือ 20 มิลลิซีเวิร์ต ซึ่งถือว่าปลอดภัยสำหรับคนงานที่สัมผัสกับกัมมันตรังสีในพื้นที่   ขณะเดียวกัน กรอสซีกล่าวด้วยว่า แม้ระดับกัมมันตรังสีจะเพิ่มขึ้น แต่ยังต่ำกว่าระดับที่ได้รับอนุญาต…

ยูเครนชี้รัสเซียโจมตีสถาบันนิวเคลียร์ในคาร์คีฟ ยังไม่มีกัมมันตภาพรังสีรั่วไหล

Loading

  ที่ปรึกษากระทรวงมหาดไทยยูเครนระบุว่า กองทัพรัสเซียได้ทำการโจมตีสถาบันวิจัยนิวเคลียร์ในเมืองคาร์คีฟ ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับ 2 ของยูเครนเมื่อวันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา ทำให้ไฟไหม้อาคารบางแห่ง   ระเบิดได้กระทบกับอาคารซึ่งมีอุปกรณ์ที่สามารถปล่อยกัมมันตภาพรังสีได้หากได้รับความเสียหาย แต่นักดับเพลิงสามารถควบคุมไฟไว้ได้ และไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับการปล่อยกัมมันตภาพรังสีเกิดขึ้นในพื้นที่ตามมา   ขณะนี้มีรายงานว่ากองกำลังรัสเซียได้เข้าควบคุมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 แห่งในยูเครน ซึ่งทำให้เกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เหล่านั้น   ด้านนายราฟาเอล กรอสซี ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (ไอเออีเอ) ได้ยืนยันกับผู้สื่อข่าวว่า ขณะนี้ไม่มีอันตรายที่เกิดขึ้นทันที หลังกระแสไฟฟ้าในโรงงานนิวเคลียร์เชอร์โนบิลซึ่งเลิกใช้งานแล้วดับลง และยังมีเวลาเพียงพอในการจัดการก่อนที่จะเกิดอันตรายใดๆ ขึ้น   กรอสซีรับว่าสถานการณ์เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครนนั้นซับซ้อนและเต็มไปด้วยความยากลำบาก และเขากำลังติดต่อกับทุกฝ่ายเพื่อตรวจสอบว่าจะช่วยรับประกันความปลอดภัยของโรงงานนิวเคลียร์ในยูเครนได้อย่างไร   กรอสซีกล่าวด้วยว่า ไอเออีเอมีกำหนดจะเข้าตรวจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในยูเครน แต่ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดว่าการตรวจสอบเหล่านั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใดหรืออย่างไร โดยอ้างถึงความอ่อนไหวของสถานการณ์ และยังบอกด้วยว่าไอเออีเอยังมีอุปกรณ์ที่สามารถทำการตรวจสอบในระยะไกลได้จำนวนหนึ่งซึ่งกำลังดำเนินการอยู่   ผู้บริหารไอเออีเอยังพูดถึงโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ซึ่งเกิดความขัดแย้งว่า เราพยายามทำให้แน่ใจว่าจะไม่มีความทุกข์ทรมานใดๆ เพิ่มขึ้นอีกจากการปล่อยกัมมันตภาพรังสี หรือจากอะไรก็ตามที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ และเขาไม่ได้คาดว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะจงใจที่จะโจมตีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ แต่มีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ตั้งใจ สิ่งที่สำคัญคือพนักงานต้องพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้มีสมาธิในการทำงาน   ————————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : มติชนออนไลน์         …

ปส.แจงเพลิงไหม้โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ‘ยูเครน’ ดับแล้วไร้ผลกระทบ

Loading

  สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) แจ้งรายงานหน่วยงานกำกับดูแลทางนิวเคลียร์ของประเทศยูเครน ระบุเหตุเพลิงไหม้โรงไฟฟ้า “ซาโปริเซีย” ประเทศยูเครน ซึ่งเป็นโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป ขณะนี้เพลิงดับหมดแล้ว มีการเฝ้าระวังกัมมันตภาพรังสีในอากาศต่อเนื่อง จนถึงขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย   เมื่อวันที่ 4 มี.ค. มีรายงานเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริเซีย (Zaporizhzhya) ประเทศยูเครน โดย สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) ได้รับแจ้งจากหน่วยงานกำกับดูแลทางนิวเคลียร์ของประเทศยูเครน ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการแจ้งเหตุทางนิวเคลียร์โดยเร็ว ของทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency, IAEA) และจากการแถลงข่าวของ IAEA โดยมีรายละเอียด ดังนี้   เมื่อวันที่ 4 มี.ค. 65 เวลา 01.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ 06.40 น. ตามเวลาประเทศไทย ได้เกิดเพลิงไหม้ที่อาคารแห่งหนึ่งในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ซาโปริเซีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศยูเครน ขณะนี้เจ้าหน้าที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ได้ดับเพลิงไหม้ดังกล่าวแล้ว   เพลิงไหม้ดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ รวมทั้งอุปกรณ์และเครื่องมือที่สำคัญอื่น ๆ ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ อีกทั้ง ระดับรังสีพื้นหลัง…