วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว เพื่อความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ที่อาจกระทบถึงชีวิตจริง

Loading

  วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัว เพื่อความปลอดภัยบนโลกออนไลน์ที่อาจกระทบถึงชีวิตจริง เพราะข้อมูลที่เราให้ไปนั้น อาจไปปรากฎอยู่บนอินเทอร์เน็ตหรือถูกนำไปใช้งานอย่างอื่นที่เราไม่คาดคิด ทำให้เรากลายเป็นเหยื่อหรือผู้ประสบภัยออนไลน์ได้ และส่งผลต่อการใช้ชีวิตบนโลกจริงด้วยเช่นกัน ข้อมูลส่วนบุคคล หลุดได้อย่างไร – จากตัวผู้ใช้เอง ด้วยการโพสต์ข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ลงบนสื่อสังคมออนไลน์ ถ่ายภาพไว้ในโทรศัพท์มือถือแล้วเครื่องหาย นำไปซ่อม หรือเปลี่ยนเครื่อง – จากเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่เราเข้าไปใช้บริการ โดยเรากดตกลงให้ความยินยอมในการให้ข้อมูลเอง โดยไม่ได้อ่านรายละเอียด เช่น ขอส่งข้อมูลของเราไปให้บริษัทในเครือ เพื่อการประชาสัมพันธ์บริการอื่น ๆ – จากการโดนแฮกหรือเจาะขโมยข้อมูลในบริษัทที่เราให้ข้อมูล แฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าระบบได้ ข้อมูลต่าง ๆ ก็จะหลุดออกไปสู่บุคคลอื่นหรือสาธารณะได้ – จากการหลอกลวงด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้ง Phishing หลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัวในเว็บไซต์ปลอม โดยส่งมาทางอีเมลหรือลิงก์ต่าง ๆ หลอกขอข้อมูลบัตรเครดิตเพื่อนำไปใช้ หลอกขอสำเนาบัตรประชาชนเพื่อนำไปเปิดบัญชีปลอม ผลกระทบหากข้อมูลส่วนตัวของเราหลุด  – ถูกนำไปในทางผิดกฎหมาย เช่น เลขที่บัตรประชาชนถูกนำไปใช้ในการเปิดบัญชีเพื่อฉ้อโกงผู้อื่น คลิปส่วนตัวอาจทำให้โดนข่มขู่แบล็กเมล  – โดนโจรกรรมทางการเงิน เช่น ใช้บัตรเครดิตรูดซื้อสินค้า ถูกโอนเงินไปยังบัญชีมิจฉาชีพ  –…

DCRat มัลแวร์ราคาหลักร้อยที่มีอานุภาพสูงแพร่ระบาดอยู่ในโลกออนไลน์

Loading

  DCRat มัลแวร์สำหรับเจาะเข้าระบบปฏิบัติการ Windows ได้อย่างสมบูรณ์ซึ่งแพร่กระจายอยู่ทั่วเว็บไซต์ใต้ดินนั้น มีราคาถูกอย่างน่าเหลือเชื่อ และยังเป็นมัลแวร์ที่พัฒนาโดยคน ๆ เดียวอีกด้วย DCRat เป็นมัลแวร์ที่แพร่ระบาดมาตั้งแต่ปี 2017 แต่เพิ่งจะได้รับการออกแบบใหม่และเปิดตัวอีกครั้งไม่นานมานี้ ตัวมัลแวร์มีราคาถูกที่สุดเพียง 5 เหรียญ (ราว 172 บาท) แต่กลับมีฟังก์ชันที่หลากหลายทั้งการขโมยชื่อบัญชี รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต ประวัติการเข้าชมเว็บไซต์ รวมถึงการถ่ายสกรีนช็อต ขโมยเนื้อหาในคลิปบอร์ด และสอดแนมการใช้คีบอร์ดของเหยื่อได้ด้วย เรียกได้ว่าไม่ว่าเหยื่อจะทำอะไร มัลแวร์ตัวนี้จะรู้หมด จากการวิเคราะห์ของนักวิจัยจาก BlackBerry พบว่า DCRat ได้รับการพัฒนาและปรับปรุงโดยผู้ใช้คนเดียวที่มักจะไปขายมัลแวร์ตัวนี้ในกระดานสนทนาใต้ดินที่ใช้ภาษารัสเซียเป็นหลักหลายแห่ง รวมถึงบน Telegram ด้วย อย่างไรก็ตาม นักวิจัยระบุว่าผู้สร้าง DCRat อาจไม่ได้จริงใจกับลูกค้าเท่าใดนัก เพราะมีการปลอมข้อความที่หลอกให้ผู้ใช้มัลแวร์เข้าใจผิดเกี่ยวกับสถานะออนไลน์ของเซิร์ฟเวอร์และผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย การมีอยู่ของมัลแวร์อย่าง DCRat ทำให้การโจมตีทางไซเบอร์ที่มีความซับซ้อนนั้นทำได้ง่าย เนื่องจากมีต้นทุนต่ำ แต่สร้างความเสียหายได้อย่างรุนแรง ที่มา ZDNet , Blackberry     ที่มา : beartai …

Digital Identity-Digital Footprint ความโยงใยที่คุณอาจไม่รู้ | ปริญญา หอมเอนก

Loading

  ทุกวันนี้หลายๆ ท่านใช้ชีวิตอยู่กับออนไลน์ จนเสมือนว่าชีวิตมีสองโลก คือ โลกที่ใช้ชีวิตจริง และโลกเสมือน (Virtual World) หรือโลกออนไลน์ ที่หลายๆ คนมีเพื่อน มีคนรู้จัก หรือมีคนที่หมายปองอยู่ในโลกเสมือน   ในชีวิตจริงการได้รู้จักคนใหม่ๆ ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน เราก็มักจะอยากรู้ว่า เขาเป็นใคร ทำอะไร อยู่ที่ไหน มีประวัติความเป็นมาอย่างไร เกี่ยวพันกับเพื่อนเราหรือไม่/อย่างไร เชื่อใจได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งถ้าได้พบตัวจริง เราอาจจะสังเกตได้จากบุคลิก ท่าทาง และ ภาษากาย (Body Language) ซึ่งเราอาจจะพอเดาได้บ้างในเบื้องต้น   แต่สำหรับการรู้จักคนในโลกออนไลน์ หรือ Virtual World) เป็นอะไรที่ยากต่อการคาดเดาเพราะเราไม่ได้เห็นบุคลิกท่าทาง หน้าตาที่แท้จริง แม้จะเข้าไปดูโปรไฟล์ ดูโพสต์ย้อนหลังก็ตาม จะมั่นใจได้อย่างไรว่า “ใช่คนๆ นั้นจริงๆ” จะเป็นตัวตนของคนนั้นจริงหรือไม่ก็ไม่อาจจะพิสูจน์ได้   ปัญหาได้เกิดขึ้นแล้วบนแอปหาคู่ชื่อดังอย่าง Tinder ที่โดดเด่นเรื่องการให้ใส่ข้อมูลจริงตอนลงทะเบียนเข้าใช้งาน แต่สุดท้าย ไม่ใช่แอปไม่ดี แต่คนตั้งใจมา Fake หลอกคน โดยมากประสงค์ต่อ…

ร่างกม.อังกฤษ กำหนดโทษจำคุกผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยี

Loading

FILE – This combination of photos shows logos for social media platforms Facebook and Twitter.   สำนักข่าว เอพี รายงานว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังนำเสนอร่างกฎหมายใหม่ที่มีจุดประสงค์ที่จะสร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ด้วยการนำเสนอบทลงโทษจำคุกสำหรับผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายที่ทำการหละหลวมไม่ปฏิบัติตามแนวทางใหม่นี้   รัฐบาลอังกฤษ เปิดเผยในวันพฤหัสบดีว่า ร่างกฎหมายใหม่ที่ว่านี้จะให้อำนาจที่มากขึ้นแก่หน่วยงานกำกับดูแลกิจการเทคโนโลยี ในการดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น กูเกิล (Google) เฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) และติ๊กตอก (TikTok) เป็นต้น   เอพี ระบุว่า ร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในโลกออนไลน์นี้ สะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนของสหราชอาณาจักรในการเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวในการเข้าควบคุมอำนาจของสื่อดิจิทัลทั้งหลาย และจัดการให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาข้อมูลที่เป็นภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก เนื้อหาที่มีลักษณะเหยียดเชื้อชาติ การกลั่นแกล้ง การฉ้อโกงต่างๆ รวมทั้ง เนื้อหาอื่นๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและปรากฏอยู่ในแพลตฟอร์มของตน หลังจากที่สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ได้เดินหน้าความพยายามเช่นเดียวกันนี้ไปแล้ว   นาดีน ดอร์รีส…

ฟรี! 6 เครื่องมือความมั่นคงปลอดภัยบนโลกออนไลน์

Loading

  เด็ก ผู้สูงวัย คือ กลุ่มเปราะบางที่มิฉาชีพในโลกออนไลน์เข้าถึงเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ได้ง่ายที่สุด การป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามบนอินเตอร์เน็ต เป็นวิธีการเบื้องต้นที่ทำให้ผู้ไม่หวังดีทำงานยากขึ้น ของฟรีและดีไม่มีในโลก วลีที่คุ้นหูกันดี แต่ในบางครั้งของฟรีก็อาจจะช่วยบรรเทาผ่อนหนักให้เป็นเบาได้เช่นกัน เรามาลองดู 6 เครื่องมือรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่มีให้ใช้งานฟรี…บนโลกออนไลน์กัน 1. Haveibenpwned เว็บไซต์ haveibenpwned มีรูปแบบการใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก เพียงแค่กรอกอยู่อีเมลหรือหมายเลขโทรศัพท์แล้วกดปุ่ม pwned? จากนั้นเว็บไซต์จะประมวลผลและแสดงรายการบัญชีที่คุณสร้างโดยใช้อีเมล/หมายเลขที่ให้ไว้ และคุณจะเห็นว่าบัญชีของคุณมีความเสี่ยงหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรั่วไหลหรือไม่ กรณีข้อมูลอีเมลมีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด จะมีข้อความแสดงให้ทราบดังนี้ Oh no — pwned! Pwned in 1 data breach (subscribe to search sensitive breaches) กรณีข้อมูลอีเมลไม่มีความเสี่ยงต่อการถูกละเมิด จะมีข้อความแสดงให้ทราบดังนี้ Good news — no pwnage found! No breached accounts and no pastes (subscribe to search…

ฟิลิปปินส์ผ่าน ก.ม. บังคับให้ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย

Loading

  รัฐสภาฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ส่งผลให้ประชาชนต้องยืนยันตัวตนตามความเป็นจริง ในการสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ หวังลดปัญหาข่าวปลอม และการฉ้อโกง   รัฐสภาฟิลิปปินส์ ซึ่งประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาของฟิลิปปินส์ ผ่านกฎหมายฉบับใหม่ ว่าด้วยการให้ประชาชนทุกคนต้องยืนยันตัวตนทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าว เพื่อการสอบสวนแกะรอยได้ หลังพบปัญหาการก่อกวนทางออนไลน์ การให้ข่าวเท็จ และมีการใช้ตัวตนปลอมในการสร้างแอ็กเคาต์ในโลกโซเชียลจำนวนมาก   แฟรงคลิน ดริลอน หนึ่งในวุฒิสมาชิกที่ผลักดันกฎหมายฉบับนี้ระบุว่า เป็นหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องแก้ปัญหาการไม่เปิดเผยตัวตนในโลกออนไลน์ ที่จะนำไปสู่การโจมตี มุ่งร้ายผู้บริสุทธิ์ในโลกโซเชียลมีเดีย โดยกฎหมายฉบับนี้ยังคงต้องรอให้ประธานาธิบดี โรดริโก ดูเตร์แต ลงนาม ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ต่อไป   ทั้งนี้ แม้กฎหมายฉบับนี้จะมีการระบุบทลงโทษสถานหนัก ทั้งการจำคุกและการปรับเงินจากการให้ข้อมูลเท็จ แต่ยังไม่มีรายละเอียดที่แน่ชัดว่า บรรดาผู้ให้บริการสื่อโซเชียลมีเดียจะมีวิธีตรวจสอบได้อย่างไร ว่าข้อมูลที่มีการลงทะเบียนเป็นความจริง รวมถึงจะตรวจสอบข้อมูลของบัญชีที่ลงทะเบียนไปก่อนหน้านี้แล้วอย่างไร ขณะที่เฟซบุ๊ก และทวิตเตอร์ ยังปฏิเสธที่จะให้ความเห็นอย่างเป็นทางการต่อประเด็นนี้ นอกจากนี้กฎหมายฉบับดังกล่าวยังรวมครอบคลุมไปถึงการลงทะเบียนใช้งานซิมโทรศัพท์มือถือกับผู้ให้บริการตามความเป็นจริงอีกด้วย   ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศในทวีปเอเชีย ที่มีผู้ใช้งานสมาร์ทโฟนมากที่สุดที่ 79 ล้านคน จากจำนวนประชากรประมาณ 110 ล้านคน และยังถูกจัดอยู่ในประเทศอันดับต้นๆ ที่ประชากรใช้เวลาในโลกโซเชียลมีเดียต่อวันสูงสุดด้วย…