อาชญากรไซเบอร์ ‘ผู้หญิง’ มีอยู่ไม่น้อยกว่า 30%

Loading

    หลายคนมักจะคิดว่าเหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์โดยส่วนใหญ่นั้นจะต้องเป็นผู้ชาย แต่ในความเป็นจริงแล้วพบว่า อาชญากรทางไซเบอร์เป็นผู้หญิงถึง 30% เป็นอย่างต่ำเลยทีเดียว   ทุกวันนี้ เราจะเห็นข่าวคดีการคุกคามทางไซเบอร์ซิเคียวริตี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นและรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในทั่วทุกมุมโลก   หากพิจารณาเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมในทุก ๆ ประเภทของผู้หญิงแล้ว จะพบจุดที่น่าสนใจก็คือ การก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์นั้นสูงกว่าประเภทอื่น ๆ อย่างเห็นได้ชัด   โดยเมื่อเร็ว ๆ นี้ “เทรนด์ ไมโคร (Trend Micro)” ได้ส่งทีมงานเข้าสอดแนมโดยใช้นามแฝงเพื่อเข้าใช้งานเว็บเซอร์วิสอย่าง Gender Analyzer V5 เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลโดยสุ่มผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ XSS forum ในภาษารัสเซีย และผู้ใช้งานจำนวน 50 คนของ Hackforums site ในภาษาอังกฤษ   พบว่าผู้ใช้งานเป็นผู้หญิงถึง 30% ของผู้ใช้ XSS forum และ 36% ของผู้ใช้งาน Hackforums และจากรายงานยังพบอีกว่า…

จับตา 2 ปี สัญญาณอันตราย ปัญหาบุคลากร ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’

Loading

  การ์ทเนอร์ อิงค์ คาดการณ์ว่า ภายในปี 2568 หรือสองปีข้างหน้านี้เกือบครึ่งหนึ่งของผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity Leaders) จะเปลี่ยนงาน     Keypoints   –   ผู้บริหาร 25% จะหันไปทำงานในบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง –   ปัญหาขาดบุคลากรหรือความผิดพลาดของมนุษย์มีส่วนโดยตรงต่อเหตุการณ์ทางไซเบอร์มากกว่าครึ่ง   โดยที่ผู้บริหาร 25% จะหันไปทำงานในบทบาทที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง อันเป็นผลมาจากปัจจัยความกดดันหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน   ดีฟติ โกพอล ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยของการ์ทเนอร์ เผยว่า คนทำงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์กำลังเผชิญกับความเครียดในระดับที่แตกต่างกันออกไป   ผู้บริหารระดับสูงด้านการรักษาความปลอดภัย (Chief Information Security Officer : CISOs) อยู่ในโหมดที่ต้องปกป้ององค์กรโดยมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อย่างเดียวคือ “ต้องไม่โดนแฮ็ก” หรือไม่ทำให้เกิดช่องโหว่เสียเอง ผลกระทบทางจิตวิทยาของสิ่งนี้ส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพการตัดสินใจและประสิทธิภาพการทำงานของทั้งผู้นำและทีมงานไซเบอร์ซิเคียวริตี้     ช่องโหว่ ‘มนุษย์’ ต้นเหตุหลักภัยไซเบอร์   ข้อมูลระบุว่า ด้วยพลวัตเหล่านี้รวมถึงโอกาสในตลาดที่มีอยู่อย่างมหาศาลสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้การเปลี่ยนย้ายบุคลากรที่มีทักษะความสามารถกลายเป็นสัญญาณอันตรายต่อทีมงานความปลอดภัย   การวิจัยของการ์ทเนอร์ชี้ให้เห็นว่า โปรแกรมการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เน้นปฏิบัติตามกฎระเบียบ…

ส่องเทรนด์ ‘ภัยคุกคาม’ รับมือ อาชญากรรมไซเบอร์ทวีคูณ

Loading

  ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ เป็นสิ่งที่องค์กรต้องรับมืออย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การขับเคลื่อนป้องกันต้องมี 3 องค์ประกอบที่สำคัญคือ People, Process และ Technology   ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันเติบโตอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญในการช่วยพัฒนาธุรกิจให้เติบโตแบบก้าวกระโดด   ขณะเดียวกัน มีการนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อส่งเสริมการตลาด ทำความเข้าใจลูกค้า อีกทางหนึ่งการทำงานของคนก็เปลี่ยนไปเป็นแบบรีโมทมากขึ้น ส่งผลทำให้องค์กรทุกขนาดต้องปรับตัววางแผนการทำงานผ่านคลาวด์   ข้อมูลโดยบริษัทวิจัยการ์ทเนอร์ ระบุว่า ปี 2568 องค์กรทั่วโลกจะใช้จ่ายกับคลาวด์มากขึ้น 20.4% ขณะที่ประเทศไทยจะเติบโตขึ้นถึง 36.6%   ปิยธิดา ตันตระกูล ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท เทรนด์ไมโคร (ประเทศไทย) จำกัด เปิดมุมมองว่า ไซเบอร์ซิเคียวริตี้จะเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรในอนาคต   เมื่อโครงสร้างพื้นฐานเดินหน้าไปสู่การใช้คลาวด์ ระบบซิเคียวริตี้จะยื่งเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เนื่องจากองค์กรต่างต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจ     รับมือภัยคุกคามไร้ขอบเขต   องค์กรที่จะย้ายไปสู่คลาวด์ จะต้องมีการวางแผนและพร้อมวางรากฐานด้านความปลอดภัยไว้ตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมเตรียมรับมือความท้าทายใหม่ๆ ด้านซิเคียวริตี้ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ดังนี้…

โลก ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’ สะเทือน เมื่อ ’ควอนตัม’ เจาะการเข้ารหัสข้อมูลได้

Loading

จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้ ไอบีเอ็ม ไขคำตอบเรื่องนี้!!!   วันนี้ความสามารถของ “ควอนตัมคอมพิวเตอร์” ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว และอาจจะเร็วกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ไว้เมื่อห้าปีที่แล้ว อย่างไรก็ดี การพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงถือเป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุดทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม ซึ่งนอกจากจะเป็นการเปิดประตูสู่การแก้ปัญหาสำคัญๆ   อาทิ การพัฒนาแบตเตอรีรูปแบบใหม่ที่มีน้ำหนักเบาแต่ทรงพลังกว่าลิเธียมไอออนในปัจจุบัน การวิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลเพื่อหาวัสดุทางเลือก การวิเคราะห์การจัดสรรพอร์ตการลงทุน รวมถึงการต่อกรกับความท้าทายทั้งเรื่องสภาพอากาศและเน็ตซีโรแล้ว ควอนตัมคอมพิวเตอร์ยังจะเป็นพลังประมวลผลมหาศาลที่เข้าต่อยอดเทคโนโลยีอย่างเอไอหรือสนับสนุนการวิจัยทางชีววิทยาการแพทย์     เมื่อควอนตัมเจาะรหัสข้อมูล   สุรฤทธิ์ วูวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด กล่าวกับ “กรุงเทพธุรกิจ” ไขประเด็นที่น่าสนใจ เมื่อมีการตั้งคำถามว่า จริงหรือไม่ ควอนตัมคอมพิวเตอร์จะสามารถเจาะการเข้ารหัสข้อมูลต่างๆ ได้ และอาจส่งผลให้อาชญากรสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญขององค์กรได้   “ทุกวันนี้การเข้ารหัสคือเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่การส่งอีเมล การซื้อของออนไลน์ หรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่จำเป็นต้องรักษาความปลอดภัยข้อมูลโดยใช้ดิจิทัล ซิกเนเจอร์ หรือที่เรียกกันว่าลายเซ็นดิจิทัล หากระบบการเข้ารหัสถูกเจาะได้ ย่อมเกิดผลกระทบต่อทั้งองค์กรและผู้บริโภคในวงกว้าง”   สุรฤทธิ์ กล่าวว่า ความก้าวล้ำของควอนตัมคอมพิวเตอร์จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อเรื่องไซเบอร์ซิเคียวริตี้…

จับตา 5 ปี ไทยเผชิญวิกฤติ แรงงาน ‘ไซเบอร์ซิเคียวริตี้’

Loading

  การเติบโตของดิจิทัล เพิ่มความจำเป็นให้ต้องมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ได้รับการฝึกอบรมมากขึ้น แต่แรงงานไอทีที่มีความชำนาญยังมีจำนวนน้อย บวกกับคนที่ได้รับการฝึกอบรมและมีคุณสมบัติยังไม่เพียงพอ การ์ทเนอร์ บริษัทวิจัยและให้คำปรึกษาด้านเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในปี 2560 อุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์ทั่วโลกมีมูลค่าประมาณ 8.64 หมื่นล้านดอลลาร์ และคาดว่าจะเติบโตเกือบ 80% ภายในปี 2570 ด้วยมูลค่าสูงถึง 4.03 แสนล้านดอลลาร์ ระหว่างปี 2563 ถึง 2570 มีอัตราการเติบโตเปลี่ยต่อปี 12.5% ​​ หากถามว่าทำไมอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางไซเบอร์จึงเติบโตอย่างมาก ผมขอพูดง่ายๆ คือ มีการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นในทุกๆปี อ้างอิงตามรายงาน State of Cybersecurity ของเอคเซนเชอร์ปีที่ผ่านมา เฉพาะระหว่างปี 2563 ถึง 2564 จำนวนการโจมตีความปลอดภัยทางไซเบอร์โดยเฉลี่ยต่อปีเพิ่มขึ้นถึง 31% ขณะที่จำนวนเฉลี่ยของการโจมตีที่สำเร็จคือ 29 ครั้งต่อบริษัท อีกทางหนึ่ง อัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลมาจากวงจรของการก่ออาชญากรรมในโลกไซเบอร์ระหว่างผู้ก่ออาชญากรรมและหน่วยงานข่าวกรอง ที่ผ่านมาผู้ก่ออาชญากรรมได้นำผลกำไรที่ได้มาอย่างผิดกฎหมายไปลงทุนซ้ำเพื่อพัฒนาความสามารถใหม่ จ้างพนักงานเพิ่มขึ้น และกระจายห่วงโซ่อุปทานของตนเอง โดยวัฏจักรนี้จะดำเนินต่อไปตราบใดที่มันยังคงสร้างผลกำไรสำหรับผู้ก่ออาชญากรรมทางอินเทอร์เน็ต ด้วยเหตุผลดังกล่าว การลงทุนเพื่อสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เพียงพอจึงกลายเป็นการลงทุนเทคโนโลยีใหม่ๆ ควบคู่ไปกับ การลงทุนเอไอ…

กลยุทธ์ไซเบอร์ซิเคียวริตี้ จะล้าสมัยในไม่ช้า

Loading

  ปัจจุบันกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์นั้นเปราะบางเกินไป บริษัทโซลูชั่นความปลอดภัยทางไซเบอร์ในสหราชอาณาจักรได้เปิดเผยผลการสำรวจเกี่ยวกับความกังวลในการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับสูง (Chief information security officer หรือ CISO) มากกว่า 200 ราย โดย 40% เห็นว่า กลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในปัจจุบัน น่าจะล้าสมัยภายในเวลาอีกเพียง 2 ปี และอีก 37% คิดว่า จะล่าสมัยภายใน 3 ปี จากจำนวนการโจมตีทางไซเบอร์ที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบันประกอบกับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้บริษัทต่างๆ จะต้องปรับกลยุทธ์การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์อย่างต่อเนื่อง จากการสำรวจมากกว่า 3 ใน 5 หรือ 61.4% คิดว่า “ค่อนข้างมั่นใจ” ในความสามารถในการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ และเพื่อเตรียมการรับมือกับความเสี่ยงจากการโจมตีทางไซเบอร์ บริษัทต่างๆ จึงจำเป็นต้องลงทุนเพิ่มเติมกับ Cybersecurity Solutions และมีเพียง 44% ของผู้ตอบแบบสอบถาม คิดว่าพวกเขามีวิธีการที่จำเป็นในการปกป้ององค์กรจากความเสี่ยงได้อย่างทันทีและมีแผนป้องกันในระยะกลาง ควบคู่ไปกับการติดตามเทรนทางด้านเทคโนโลยี เพราะมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับบริษัทต่างๆ ในการพัฒนากลยุทธ์ความปลอดภัยทางไซเบอร์เพื่อลดการคุกคามในระยะยาว โดยผู้บริหารของบริษัทต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่า CISO มีงบประมาณที่เพียงพอในการควบคุมปัญหาในระยะสั้น และเริ่มวางแผนกลยุทธ์ระยะยาว…