ไต้หวัน ซ้อมอพยพหนีภัยการโจมตีทางอากาศ ท่ามกลางภาวะตึงเครียดกับจีน

Loading

Air-raid exercise named Wan An, in Taipei ไต้หวันทำการซ้อมการอพยพประชาชนในสถานการณ์เสมือนจริงว่าเกิดมีกองทัพต่างชาติทำการรุกล้ำทางน่านฟ้าเข้ามาโจมตี เพื่อเตรียมความพร้อมในกรณีที่จีนตัดสินใจส่งกองกำลังบุกตน ตามรายงานของรอยเตอร์ การฝึกซ้อมครั้งนี้เริ่มต้นด้วยเสียงไซเรนในเวลา 13.30 น.ตามเวลาในไต้หวัน ที่หมายถึง การเริ่มต้นฝึกการอพยพออกจากท้องถนน โดยประชาชนในบางพื้นที่ ซึ่งรวมถึง กรุงไทเป ได้รับคำสั่งผ่านข้อความเตือน “missile alert” ผ่านโทรศัพท์มือถือที่ระบุให้ทุกคนหลบอยู่แต่ภายในอาคารบ้านเรือนเป็นเวลา 30 นาที หลังการซ้อมอพยพสิ้นสุดลง โก เหวิน-เจ้อ นายกเทศมนตรีกรุงไทเป กล่าวว่า “มันเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีการเตรียมพร้อมสถานการณ์ในกรณีที่เกิดสงครามขึ้นจริง” กรุงปักกิ่งอ้างว่า ไต้หวันซึ่งปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นส่วนหนึ่งของตนมาโดยตลอดและไม่เคยปฏิเสธความน่าจะเป็นว่า จีนอาจเลือกใช้กำลังเข้ายึดครองเกาะนี้ ขณะที่ไต้หวันปฏิเสธคำกล่าวอ้างของปักกิ่งและประกาศว่า จะทำการปกป้องตนเองให้ถึงที่สุด แต่การที่รัสเซียส่งกองทัพเข้ารุกรานยูเครนเมื่อ 5 เดือนก่อน ทำให้ไต้หวันเริ่มกังวลและพูดถึงวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันตนเอง หากปักกิ่งส่งกองทัพทหารบุกตนขึ้นมา นายกเทศมนตรี โก ระบุว่า “เครื่องบินทหารของจีนมัก(บิน) เข้ามาข่มขู่ไต้หวันบ่อยครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และยังมาเกิดสงครามรัสเซีย-ยูเครน ในเดือนกุมภาพันธ์อีก สถานการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งเตือนเราว่า เราต้องคอยระแวดระวังภัยแม้ในยามสงบสุข” ความกังวลเกี่ยวกับสิ่งที่จีนอาจดำเนินการต่อไต้หวันกลายมาเป็นประเด็นเครียดสำหรับรัฐบาลสหรัฐฯ ที่แม้ไม่ได้ยอมรับสถานภาพของไต้หวันว่า เป็นประเทศอิสระจากจีน แต่ก็มีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องให้ความช่วยเหลือแก่ไต้หวันในการปกป้องตนเอง ขณะเดียวกัน จีนยืนยันว่า…

จีนกร้าว! พร้อมทำสงครามโดยไม่ลังเล หาก ‘ไต้หวัน’ แยกตัวเป็นเอกราช

Loading

                                          เว่ย เฟิ่งเหอ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมจีน เว่ย เฟิ่งเหอ รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมจีน เอ่ยเตือนสหรัฐฯ วานนี้ (10 มิ.ย.) ว่าจีนพร้อมที่จะทำสงครามโดย “ไม่ลังเล” หากไต้หวันประกาศแยกตัวเป็นเอกราช คำเตือนดังกล่าวมีขึ้นระหว่างที่ เว่ย และรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ ลอยด์ ออสติน ได้พบปะพูดคุยกันในการหารือนอกรอบของการประชุมด้านความมั่นคงประจำปี “แชงกรี-ลา ไดอะล็อก” (Shangri-La Dialogue) ซึ่งจัดขึ้นที่สิงคโปร์ ปักกิ่งถือว่าไต้หวันซึ่งปกครองตนเองด้วยระบอบประชาธิปไตยมาหลายสิบปีเป็นดินแดนในอธิปไตยของตน และไม่ปฏิเสธที่จะใช้กำลังทหารนำเกาะแห่งนี้กลับมาอยู่ภายใต้การปกครอง หากมีความจำเป็น อู๋ เชียน (Wu Qian) โฆษกกระทรวงกลาโหมจีน อ้างถ้อยแถลงที่ เว่ย…

‘ไต้หวัน’ โวอาศัยบทเรียน ‘สงครามยูเครน’ ซ้อมรบใหญ่ปีนี้เพื่อเตรียมรับมือจีนบุกโจมตี

Loading

  กองทัพไต้หวันแถลงวันพุธ (27 เม.ย.) การซ้อมรบใหญ่ของตนปีนี้จะอิงกับบทเรียนประสบการณ์จากการสู้รบขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน โดยโฟกัสที่เรื่องสงครามอสมมาตร สงครามความรับรู้ความเข้าใจ และสงครามข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนถึงการใช้ทหารกองหนุน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือการโจมตีของจีน   ไต้หวัน ซึ่งจีนถือเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ประกาศยกระดับการเตือนภัยนับตั้งแต่ที่รัสเซียบุกยูเครนเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ เนื่องจากกังวลว่า อาจถูกปักกิ่งทำแบบเดียวกัน แม้ยอมรับว่า ยังไม่มีสัญญาณว่า เหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นก็ตาม   กระนั้น กระทรวงกลาโหมไต้หวันระบุว่า ในไต้หวันมีการอภิปรายถกเถียงกันถึงสิ่งที่เรียนรู้จากสงครามยูเครนอย่างกว้างขวาง รวมทั้งยังได้หารือเรื่องนี้กับอเมริกา   พล.ต.หลิน เหวินหวง ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการร่วมของกระทรวงกลาโหมไต้หวัน บอกว่า การซ้อมรบใหญ่ประจำปีของเกาะแห่งนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “ฮั่นกวง” และมุ่งจำลองสถานการณ์การที่จีนอาจรุกรานเข้ามานั้น สำหรับปีนี้จะมีการยึดโยงกับบทเรียนประสบการณ์จากสงครามยูเครน   เขากล่าวว่า ไทเปจะติดตามสถานการณ์การสู้รบระหว่างรัสเซียกับยูเครนอย่างใกล้ชิด รวมถึงจับตาความเคลื่อนไหวของกองทัพจีน และจะซ้อมรบเพื่อผลักดันการปรับปรุงยกระดับเรื่องการใช้สงครามอสมมาตร สงครามความรับรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติการสงครามข้อมูลข่าวสารและอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการใช้ทหารกองหนุนและศักยภาพที่มีอยู่ให้เต็มที่   ทั้งนี้ รัสเซียยกพลเรือนแสนเข้าสู่ยูเครนเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ใน “ปฏิบัติการพิเศษ” เพื่อบ่อนทำลายศักยภาพทางทหารของยูเครน และถอนรากถอนโคนกลุ่มชาตินิยมอันตราย   ทว่า กองกำลังยูเครนต้านทานอย่างแข็งกร้าว ขณะที่ตะวันตกออกมาตรการแซงก์ชันสถานหนักกับรัสเซียเพื่อบีบให้ถอนทหารออกจากยูเครน   ทางด้านไต้หวันนั้นอยู่ระหว่างการปฏิรูปทหารกองหนุนให้มีศักยภาพในการสู้รบมากขึ้น…

ไต้หวันโชว์ศักยภาพการทหารใหม่ ท่ามกลางภัยคุกคามจากจีน

Loading

FILE PHOTO: 12 F-16V fighter jets perform an elephant walk during an annual New Year’s drill in Chiayi   ไต้หวันเผยศักยภาพด้านการทหารใหม่ ด้วยการพัฒนาขีปนาวุธที่สามารถโจมตีฐานทัพอากาศและเข้าทำลายขีปนาวุธร่อนของศัตรูได้ รวมทั้งอากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ที่สามารถกำหนดพิกัดโจมตีได้ ตามรายงานของรอยเตอร์ เมื่อปีที่แล้ว ไต้หวันอนุมัติงบประมาณด้านการทหารเพิ่มเติม 240,000 ล้านดอลลาร์ไต้หวัน หรือราว 8,200 ล้านดอลลาร์ ในกรอบระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า ท่ามกลางความตึงเครียดกับจีนซึ่งอ้างสิทธิ์ว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนแผ่นดินใหญ่มาโดยตลอด โดยในระยะนี้ความตึงเครียดระหว่างจีนและไต้หวันยกระดับถึงจุดสูงสุดใหม่ เมื่อจีนส่งเครื่องบินรบบินมาวนเวียนในน่านฟ้าไต้หวันอยู่บ่อยครั้ง ไต้หวัน มีแผนที่จะเพิ่มกำลังการผลิตขีปนาวุธมากกว่าเท่าตัว ให้ใกล้เคียงระดับ 500 ในปีนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการรบของไต้หวัน ตามการเปิดเผยของกระทรวงกลาโหมไต้หวันเมื่อเดือนที่แล้ว   FILE – A Taiwan navy Kidd-class destroyer launches…

ไต้หวันออกคู่มือเอาตัวรอดจากสงครามเป็นครั้งแรก รับมือภัยคุกคามจากจีน

Loading

  รัฐบาลไทเปออกคู่มือการเอาชีวิตรอดในสงครามและแจกจ่ายให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก ในขณะที่จีนยังแสดงความกดดันอย่างต่อเนื่อง   สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงไทเป สาธารณรัฐจีน เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ว่า กระทรวงกลาโหมไต้หวัน ออกคู่มือการป้องกันภาคพลเรือนขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นการแนะนำประชาชนในการเอาชีวิตรอดจากสภาวะสงคราม ดังเช่นที่รัสเซียปฏิบัติการทางทหารในยูเครน โดยมุ่งเน้นว่า ชาวไต้หวันควรตอบสนองต่อแรงกดดันของจีนอย่างไร   จีนไม่เคยประกาศเลิกการใช้กำลังเพื่อควบคุมไต้หวัน และยกระดับกิจกรรมทางทหารบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กดดันให้ไต้หวันยอมรับการอ้างสิทธิอธิปไตยของจีน   คู่มือของไต้หวัน ซึ่งมีความยาว 28 หน้า มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการหาที่หลบระเบิดผ่านแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน วิธีหาน้ำและเสบียงอาหาร เช่นเดียวกับเกร็ดความรู้ในการเตรียมชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้นแบบฉุกเฉิน   แผนการจัดทำคู่มือมีมาก่อนที่การโจมตีของรัสเซียในยูเครนจะเกิดขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการถกเถียงในเรื่องความเกี่ยวข้องสำหรับไต้หวัน และวิธีเพิ่มระดับการเตรียมพร้อม เช่น การปรับปรุงการฝึกทหารกองหนุน   “พวกเราให้ข้อมูลกับประชาชนว่าควรจะตอบสนองอย่างไรในวิกฤติทางทหารและหายนะที่อาจจะเกิดขึ้น” หลิว ไท่อี้ เจ้าหน้าที่สำนักงานระดมสรรพกำลังทางทหาร ของกระทรวงกลาโหม กล่าวในการแถลงข่าวออนไลน์   เขากล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งนั้นจะทำให้เกิดการเตรียมพร้อมความปลอดภัย และช่วยให้ผู้คนรอดชีวิตได้   นอกจากนี้ เขากล่าวว่า คู่มือ ซึ่งคัดมาจากคู่มือเอาชีวิตรอดที่คล้ายกันที่ตีพิมพ์โดยสวีเดน และญี่ปุ่น จะอัพเดทข้อมูลเฉพาะส่วนมากยิ่งขึ้น…

ไต้หวันเล็งออกกม.ใหม่ขวางจีนลอบจารกรรมเทคโนโลยีชิปเซมิคอนดักเตอร์

Loading

  รัฐบาลไต้หวันเสนอร่างกฎหมายฉบับใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้จีนลักลอบจารกรรมเทคโนโลยีการผลิตชิป ขณะที่มีความกังวลเพิ่มขึ้นว่า รัฐบาลจีนกำลังยกระดับการจารกรรมทางเศรษฐกิจของไต้หวัน ทั้งนี้ ไต้หวันเป็นแหล่งผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่ล้ำหน้ามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ซึ่งชิปดังกล่าวใช้ในอุปกรณ์มากมาย เช่น เครื่องบินขับไล่และโทรศัพท์มือถือ ขณะที่รัฐบาลไต้หวันมีความกังวลมาเป็นเวลานานว่า จีนได้พยายามลอกเลียนความสำเร็จของไต้หวันโดยใช้การจารกรรมทางเศรษฐกิจ การซื้อตัวบุคลากร รวมถึงวิธีการอื่น ๆ ด้วยเหตุนี้ คณะรัฐมนตรีของไต้หวันจึงกำหนดให้การจารกรรมทางเศรษฐกิจเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายภายใต้กฎหมายความมั่นคงของชาติ โดยกำหนดให้มีบทลงโทษจำคุก 12 ปี สำหรับผู้ที่เปิดเผยข้อมูลเทคโนโลยีสำคัญให้กับจีนหรือกองกำลังศัตรูต่างชาติ นายโล ผิงเฉิง โฆษกคณะรัฐมนตรีของไต้หวันยกตัวอย่างถึงเทคโนโลยีการผลิตชิป 2 นาโนเมตรที่ล้ำหน้าของบริษัทไต้หวัน เซมิคอนดักเตอร์ เมนูแฟคเจอริง คอมพานี (TSMC) โดยระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวมีความสำคัญอย่างยิ่งกับความมั่นคงของไต้หวันตามกฎหมายใหม่ จึงจำเป็นต้องมีการป้องกันเป็นพิเศษ นอกเหนือจากกฎหมายว่าด้วยความลับทางการค้าที่บังคับใช้อยู่ นายโลเพิ่มเติมว่า จะมีการจัดตั้งศาลเพื่อดูแลคดีการจารกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อการพิจารณาคดีที่รวดเร็วขึ้น ขณะเดียวกัน รัฐบาลไต้หวันยังเสนอให้เพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อป้องกันไม่ให้จีนดึงตัวบุคลากรที่มีความสามารถของไต้หวันไปด้วยวิธีผิดกฎหมายโดยดำเนินการผ่านบริษัทที่จัดตั้งขึ้นมาบังหน้าในประเทศที่ 3 นอกจากนั้นรัฐบาลไต้หวันยังได้เพิ่มบทลงโทษสำหรับการลงทุนในไต้หวันอย่างผิดกฎหมายของจีน ซึ่งรัฐบาลระบุว่า ได้ทำให้เกิดการจารกรรมในอุตสาหกรรมหลายต่อหลายครั้งในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ทั้งนี้ รัฐบาลไต้หวันจะพิจารณาร่างกฎหมายดังกล่าวก่อนประกาศใช้ต่อไป โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์     ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์    /   วันที่เผยแพร่ 17 ก.พ.65…