ไมโครซอฟท์ญี่ปุ่นจ่อเปิดตัว ChatGPT เวอร์ชันปลอดภัยใช้จัดการข้อมูลลับ

Loading

  ไมโครซอฟท์สาขาญี่ปุ่นจะเปิดตัว แชตจีพีที (ChatGPT) ซึ่งเป็นแชตบอตปัญญาประดิษฐ์ (AI) เวอร์ชันที่ปลอดภัยมากขึ้น โดยสามารถใช้ในการจัดการกับข้อมูลลับของกระทรวงและหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงองค์กรเอกชน   บริการ ChatGPT ซึ่งเป็นปัญญาประดิษฐ์แบบรู้สร้าง (Genreative AI) เวอร์ชันใหม่นี้จะเหมาะกับการใช้งานของรัฐบาลญี่ปุ่น เนื่องจากข้อมูลทั้งหมดจะถูกประมวลผลที่ศูนย์ข้อมูลในญี่ปุ่น ซึ่งแตกต่างจาก ChatGPT เวอร์ชันปัจจุบัน และคาดว่าธนาคารและบริษัทอื่น ๆ ที่ต้องจัดการกับข้อมูลที่อ่อนไหวนั้น ก็อาจจะได้ประโยชน์จากบริการนี้ด้วย   สำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ญี่ปุ่นจะเป็นภูมิภาคที่ 3 ที่ไมโครซอฟท์เปิดให้บริการ AI เวอร์ชันใหม่นี้ ตามหลังสหรัฐและยุโรป   ด้านนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกำลังพยายามใช้ AI เป็นตัวขับเคลื่อนการเติบโตของญี่ปุ่น โดยหวังว่าจะช่วยให้ญี่ปุ่นรอดพ้นจากภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจมานานหลายสิบปี ซึ่งนายคิชิดะได้ให้คำมั่นเมื่อเดือน มิ.ย.ว่า จะใช้ AI ให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อเร่งผลักดันนโยบายทุนนิยมใหม่ของเขา   รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาใช้ ChatGPT เพื่อลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงการเตรียมคำถามในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และจัดทำรายงานการประชุม   ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์เปิดเผยแผนเกี่ยวกับบริการใหม่ดังกล่าวในการประชุมที่สำนักงานใหญ่ของพรรคเสรีประชาธิปไตย หรือแอลดีพีในกรุงโตเกียวเมื่อปลายเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา…

ไมโครซอฟท์ถูกแฮ็กกุญแจเซ็นโทเค็น Azure AD แฮ็กเกอร์เข้าดาวน์โหลดเมลรัฐบาลสหรัฐฯ สำเร็จ

Loading

  ไมโครซอฟท์ออกรายงานถึงกลุ่มแฮ็กเกอร์ Storm-0558 ที่โจมตีจากประเทศจีนโดยมีแนวทางมุ่งขโมยข้อมูล โดยคนร้ายสามารถขโมยกุญแจเซ็นโทเค็นของ Azure AD ออกไปจากไมโครซอฟท์ได้ ทำให้สามารถเซ็นโทเค็นปลอมตัวเป็นบัญชีผู้ใช้อะไรก็ได้ของเหยื่อ   หน่วยงานที่ถูกโจมตีคือฝ่ายบริหารฝั่งพลเรือนของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Civilian Executive Branch – FCEB) โดยพบล็อกใน Microsoft 365 ว่ามีรายงาน MailItems Accessed ซึ่งเป็นการเข้าอ่านเมลจากไคลเอนต์ต่าง ๆ แต่ที่แปลกออกไปคือค่า AppID นั้นไม่เคยพบ แปลว่าอยู่ ๆ ก็มีคนใช้อีเมลไคลเอนต์ประหลาดเข้ามาอ่านอีเมล   หลังจากไมโครซอฟท์ได้รับแจ้งจากลูกค้า ตรวจสอบพบว่าคนร้ายเข้าอ่านเมลทาง Outlook Web Access ซึ่งน่าจะแปลว่าเครื่องผู้ใช้ถูกแฮ็ก เพื่อขโมยโทเค็นหลังจากผู้ใช้ล็อกอินตามปกติ แต่เมื่อวิเคราะห์เหตุต่อเนื่องภายหลังจึงพบว่าโทเค็นที่ใช้ล็อกอินนั้นไม่ตรงกับโทเค็นที่ออกไปจากระบบ Azure AD โดยโทเค็นที่เซ็นออกไปมี scope ผิดปกติที่ Azure AD ไม่เคยออกโทเค็นในรูปแบบเช่นนั้น   ภายหลังไมโครซอฟท์จึงยืนยันว่า Storm-0558 ขโมยกุญแจเซ็นโทเค็น Microsoft Account ออกไปได้…

อเมริกา-ไมโครซอฟท์ออกแถลงเตือน แฮ็กเกอร์จีนซุ่มเจาะโครงสร้างพื้นฐาน

Loading

  เอเอฟพี – อเมริกา ตลอดจนถึงพันธมิตรตะวันตก และไมโครซอฟท์ออกมาเตือนว่า แฮกเกอร์จีนที่ได้รับการสนับสนุนจากปักกิ่งได้แทรกซึมเจาะเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ โดยมีเป้าหมายในการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารระหว่างอเมริกากับเอเชียหยุดชะงัก หากเกิดกรณีขัดแย้งในภูมิภาคนี้ นอกจากนั้นยังมีแนวโน้มว่า การโจมตีเพื่อสอดแนมนี้อาจกำลังเกิดขึ้นทั่วโลก   ไมโครซอฟท์ยกตัวอย่าง กวม ดินแดนของอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกที่มีที่ตั้งทางทหารสำคัญ เป็นหนึ่งในเป้าหมายการโจมตี แต่เพิ่มเติมว่า บริษัทตรวจพบกิจกรรมประสงค์ร้ายนี้ในสถานที่อื่น ๆ ในอเมริกา   การโจมตีล่องหนที่ดำเนินการโดยแฮกเกอร์จีนที่ได้รับการสนับสนุนจากปักกิ่งที่มีชื่อว่า “โวลต์ ไต้ฝุ่น” และเริ่มต้นมาตั้งแต่กลางปี 2021 ช่วยให้มีการสอดแนมระยะยาว และมีแนวโน้มว่าต้องการทำให้โครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารระหว่างอเมริกากับเอเชียหยุดชะงักหากเกิดกรณีขัดแย้งในภูมิภาคนี้   ไมโครซอฟท์เสริมว่า องค์กรที่ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการนี้ครอบคลุมตั้งแต่ภาคการสื่อสาร การผลิต สาธารณูปโภค การขนส่ง การก่อสร้าง การเดินเรือ หน่วยงานรัฐบาล เทคโนโลยีสารสนเทศ และการศึกษา   แถลงการณ์ของไมโครซอฟท์สอดคล้องกับคำแนะนำของทางการสหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา นิวซีแลนด์ และสหราชอาณาจักรที่เตือนว่า มีแนวโน้มว่าแฮกเกอร์จีนกำลังไล่เจาะระบบเครือข่ายทั่วโลก   อเมริกาและพันธมิตรระบุว่า แฮกเกอร์จีนใช้กลยุทธ์ที่เรียกว่า “living off the land” หรือการใช้เครื่องมือเครือข่ายที่ติดตั้งในระบบอยู่แล้วเพื่อให้การเจาะระบบแนบเนียนไปกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ปกติ  …

Microsoft เปิดตัว Security Copilot ใช้ปัญญาประดิษฐ์ช่วยวิเคราะห์การถูกโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  ไมโครซอฟท์ เดินหน้าใช้เทคโนโลยีจากปัญญาประดิษฐ์เต็มสูบ เปิดตัวเครื่องมือใหม่ Security Copilot ใช้เอไอ ช่วยวิเคราะห์การถูกโจมตีทางไซเบอร์   ไมโครซอฟท์ เปิดเผยผ่านเว็บบล็อกอย่างเป็นทางการในหัวข้อที่มีชื่อว่า Introducing Microsoft Security Copilot: Empowering defenders at the speed of AI โดยเป็นการอธิบายของไมโครซอฟท์ เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาใช้งานในแง่ของการวิเคราะห์ข้อมูลในกรณีที่เกิดการโจมตีทางไซเบอร์   ความน่าสนใจของเครื่องมือ Security Copilot อยู่ตรงที่ ไมโครซอฟท์ ได้รวมเอา GPT-4 เข้ามาผนวกด้วย แต่ไม่ได้ลงลึกในรายละเอียดว่า โมเดลนี้ฝึกและพัฒนาอย่างไร   อย่างไรก็ดี ไมโครซอฟท์ ยืนยันว่า การพัฒนา Security Copilot ไม่ได้ถูกฝึกฝนหรือเรียนรู้จากการใช้ข้อมูลของลูกค้า   ชาร์ลี เบลล์ รองประธานบริหารด้านความมั่นคงปลอดภัยของไมโครซอฟท์ เปิดเผยว่า การพัฒนาในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ให้ก้าวหน้านั้น ต้องการทั้งเรื่องของคนและเทคโนโลยี การจับคู่ระหว่างความเฉลียวฉลาดของมนุษย์กับเครื่องมือขั้นสูง และ Security Copilot จะเป็นเทคโนโลยีในอนาคตที่ช่วยให้ทุกคนได้อยู่ในโลกที่ปลอดภัยขึ้น…

ไมโครซอฟท์อุดช่องโหว่ร้ายแรง Outlook แฮ็กเกอร์แค่ส่งอีเมลก็เข้าถึงสิทธิของเครื่องได้

Loading

    ไมโครซอฟท์ออกแพตช์อุดช่องโหว่ระดับร้ายแรงของ Outlook for Windows ซึ่งพบการโจมตีโดยแก๊งแฮ็กเกอร์สัญชาติรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2022   ช่องโหว่ตัวนี้ใช้รหัส CVE-2023-23397 แฮ็กเกอร์สามารถส่งข้อความที่มีค่าพิเศษตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเซิร์ฟเวอร์แชร์ไฟล์ SMB เข้ามายังไคลเอนต์ Outlook เพื่อเข้าถึงสิทธิ (elevation of privilege หรือ EoP) ได้โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องกดอะไรเลย แฮ็กเกอร์จะได้ล็อกอิน new technology LAN manager (NTLM) ไปใช้ผ่านเข้าระบบอื่น ๆ ที่รองรับ NTLM ต่อไป   ความโชคดีอย่างหนึ่งคือเซิร์ฟเวอร์ Microsoft 365 ไม่รองรับ NTLM มาตั้งแต่แรก องค์กรที่ใช้ระบบอีเมลผ่าน Microsoft 365 จึงรอดจากช่องโหว่นี้ (โดนเฉพาะกลุ่มที่ใช้เซิร์ฟเวอร์อีเมลแบบดั้งเดิม) และไคลเอนต์ Outlook บนแพลตฟอร์มอื่น ๆ ก็ไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่เช่นกัน       ที่มา Microsoft,…

เผยรายงาน Cyber Signals ปี 3 ไมโครซอฟท์พบโครงสร้างพื้นฐานเสี่ยงเพิ่มน่ากังวล

Loading

  ไมโครซอฟท์เผยรายงาน Cyber Signals ฉบับที่ 3 เจาะลึกความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานหลัก ชี้ส่งผลร้ายแน่นอนหากเกิดการจู่โจมกับระบบเหล่านี้   นายสรุจ ทิพเสนา ผู้อำนวยการฝ่ายโซลูชันองค์กร บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ระบบ OT ที่ทำงานอยู่เบื้องหลังองค์กรต่างๆ ทั้งในอุตสาหกรรมพลังงาน การขนส่ง และระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ต่างมีแนวโน้มที่จะเชื่อมต่อกับระบบไอทีมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เส้นแบ่งระหว่างสองสิ่งที่เคยแยกจากกันอย่างชัดเจนนี้กลับบางลง จนมีความเสี่ยงของการหยุดชะงักและความเสียหายเพิ่มมากขึ้น   “ดังนั้น ธุรกิจและผู้ประกอบการโครงสร้างพื้นฐานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ จึงจำเป็นจะต้องมองเห็นสถานการณ์ของระบบที่เชื่อมต่อกันทั้งหมด พร้อมประเมินความเสี่ยงและความเชื่อมโยงกันของระบบต่างๆ เพื่อให้สามารถตั้งรับได้อย่างมั่นใจ”   รายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ “Cyber Signals” ฉบับที่ 3 ของไมโครซอฟท์ได้วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ โดยรวบรวมข้อมูลจากสัญญาณความปลอดภัย (Security Signals) มากกว่า 43 ล้านล้านรายการต่อวันของไมโครซอฟท์ และผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย 8,500 คน โดยรายงานประกอบด้วยข้อมูลใหม่ในเชิงลึกเกี่ยวกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น พร้อมคำแนะนำเชิงปฏิบัติสำหรับองค์กรที่ต้องการป้องกันตัวจากการโจมตีทางไซเบอร์อย่างทันท่วงที   ข้อมูลสถานการณ์ล่าสุดที่ไมโครซอฟท์เผยไว้ในรายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์ “Cyber Signals”…