AnyDesk เว็บไซต์ปลอมระบาดกว่า 1,300 เว็บ ตีเนียนให้ติดตั้งโปรแกรมดูดข้อมูล

Loading

    AnyDesk โปรแกรมยอดฮิตใช้เพื่อเข้าถึงอุปกรณ์จากระยะไกล หากใครหาดาวน์โหลดมาใช้ต้องระวังให้ดี ๆ เพราะตอนนี้มีเว็บไซต์ปลอมระบาดอยู่เต็มไปหมด ซึ่งจะพาให้คนหลงดาวน์โหลดโปรแกรมมัลแวร์ Vidar ที่สามารถขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเรา นอกจากนี้ยังมีเว็บปลอมอื่นอ้างชื่อโปรแกรมดังอย่าง MSI Afterburner, 7-ZIP, VLC, OBS, และอื่น ๆ อีกมากมาย ควรระวังไว้ครับ   เว็บปลอม ANYDESK   กระแสโปรแกรมปลอม แอปปลอม ระลอกใหม่ ถูกค้นพบโดยนักวิเคราะห์ภัยไซเบอร์ crep1x ที่รวบรวมเว็บไซต์กว่า 1,300 รายการ ที่มี IP Address เดียวกัน โดยเว็บไซต์เหล่านี้ใช้ชื่อที่มีความใกล้เคียงกับโปรแกรมชื่อดัง AnyDesk แต่อาจเปลี่ยนคำสลับตัวอักษรเพื่อให้คนเข้าใจผิดหลงเข้ามาในเว็บ ที่สุดท้ายแล้วจะพามาโผล่หน้าเว็บ AnyDesk ปลอมตามภาพ     ดูจากชื่อเว็บแล้วยังเห็นชื่อโปรแกรมอื่นอย่าง MSI Afterburner, 7-ZIP, Blender, Dashlane, Slack, VLC, OBS,…

วิธีเช็กเว็บไซต์ และไฟล์แนบ ไฟล์ที่ให้โหลดบนเว็บไซต์ปลอดภัยไหม มีไวรัสหรือไม่

Loading

  วิธีเช็กเว็บไซต์ และไฟล์แนบ ไฟล์ที่ให้โหลดบนเว็บไซต์ปลอดภัยไหม มีไวรัสหรือไม่ เชื่อว่าหลายท่านคงเคยเช็กเกี่ยวกับการสแกนไฟล์ไวรัสที่ดาวน์โหลดจากอีเมล หรือเว็บดาวน์โหลดต่าง ๆ ก่อนติดตั้งหรือเปิดไฟล์ ต้องดูให้แน่ใจว่าไม่มีไวรัส แต่สิ่งที่ลืมไปคือเว็บไซต์ที่คุณเข้าชมอาจมีไวรัสด้วยก็ได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันจริงๆควรใช้เว็บไซต์สแกนไวรัสก่อนคลิก   วิธีเช็กเว็บไซต์ และไฟล์แนบ ไฟล์ที่ให้โหลดบนเว็บไซต์ปลอดภัยไหม มีไวรัสหรือไม่   iT24Hrs   ด้วยเว็บไซต์ virustotal.com โดยสามารถอัปโหลดไฟล์แนบ ไฟล์เอกสาร ไฟล์ zip เพื่อตรวจสอบด้วยเครื่องมือสแกนออนไลน์กว่า 80 ตัว ว่ามีไวรัสหรือไม่มี รายงานเหมือนกันหรือไม่   iT24Hrs   เช่นเดียวกับ url คุณสามารถ copy ไฟล์ในรูปแบบที่อยู่ url รวมถึงใส่ที่อยู่เว็บไซต์ที่คุณจะคลิกลงใน virustotal เพื่อดูว่าเว็บนั้นมีไวรัสแฝงอยู่มั้ย   เลยลองทดสอบด้วย it24hrs.com ก็ปรากฎว่าหน่วยสแกนไวรัสออนไลน์ทั้ง 86 ราย รายงานตรงกันว่าไม่พบไวรัส   แต่ถ้ามีบางรายบอกว่าเป็นไวรัสจะขึ้นเป็นสีแดงๆ เท่ากับว่าเว็บไซต์นั้นอาจมีความเสี่ยง   iT24Hrs…

เตือนผู้ใช้ไอโฟน อย่ากดปุ่ม ‘ลบไวรัส’ เป็นโฆษณาหลอกลวง เปิดขั้นตอนบล็อกที่นี่

Loading

  เตือนผู้ใช้ไอโฟน อย่ากดปุ่ม ‘ลบไวรัส’ เป็นโฆษณาหลอกลวง เปิดขั้นตอนบล็อกที่นี่ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม เฟซบุ๊ก กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี บช.สอท. – CCIB ได้ออกมาเตือนประชาชน ผู้ใช้สมาร์ทโฟน หวั่นถูกหลอกให้กดปุ่มโฆษณาป๊อปอัพในไอโฟน โดยว่า ตำรวจไซเบอร์แจ้งเตือนภัยโฆษณา แบบ Pop up หลอกว่าตรวจพบไวรัสในโทรศัพทมือถือ iPhone ห้ามกดป่มลบไวรัสโดยเด็ดขาด ให้ปิดโฆษณาหลอกลวง โดยใช้นิ้ว เลื่อนจากบริเวณด้านล่างหน้าจอขึ้นมาประมาณ 1 ใน 3 ของหน้าจอแล้วกดค้างไว้สักครู่ จะปรากฎหน้าจอโปรแกรมต่าง ๆ ที่เปิดค้ำงไว้ ่ ให้ใช้นิ้วกด ที่โปรแกรมที่ ต้องต้องการปิด โดยปัดเลื่อนขึ้นไปด้านบน จากนั้นควรเข้าไปตั้งค่าใน iPhone เพื่อป้องกัน การโฆษณาจากเว็บไซตหลอกลวง ดังนี้ 1. กดเลือก “Settings” แล้วเลื่อนไปกดที่โปรแกรม “Safari” 2. เช็คการตั้งค่า “Block Pop-ups” (ปิดกั้นหน้าต่างที่แสดงขึ้น)…