ไอเอสโว “นักรบอุยกูร์” บึ้มมัสยิดฆ่าหมู่ เผยพุ่งเป้าโจมตีทั้งชีอะห์-ตาลิบัน

Loading

  ไอเอสโว “นักรบอุยกูร์” – เอพี และ เอเอฟพี รายงานวันที่ 9 ต.ค. ถึงความคืบหน้าเหตุระเบิดโจมตีมัสยิดอิสลามนิกายชีอะฮ์ในเมืองคุนดุซ ทางเหนือของ อัฟกานิสถาน จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 55 ราย และได้รับบาดเจ็บกว่า 140 คน เมื่อวันศุกร์ที่ 8 ต.ค. ว่า กองกำลังรัฐอิสลาม (ไอเอส) ระบุผ่านสำนักข่าวอามัก อ้างว่าอยู่เบื้องหลังเหตุนองเลือดที่สุดตั้งแต่สหรัฐอเมริกาและกองทัพในองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ถอนกำลังทหารออกจากประเทศเมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เครือข่ายกองกำลังไอเอสในภูมิภาคระบุว่านักรบพลีชีพเป็นชาวมุสลิมอุยกูร์ มีเป้าหมายโจมตีทั้งมุสลิมนิกายชีอะห์และกองกำลังตาลิบันซึ่งต้องการกำจัดชาวมุสลิมอุยกูร์ตามความต้องการของรัฐบาลจีน     คณะภารกิจสหประชาชาติในอัฟกานิสถานแถลงประณามเหตุดังกล่าวว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของความรุนแรงในการก่อกวนความสงบสุขโดยพุ่งเป้าไปที่สถาบันทางศาสนา ส่วนกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแถลงมนนามรัฐบาลประธานาธิบดีโจ ไบเดน กล่าวตำหนิเหตุโจมตีเช่นกัน และว่าประชาชนชาวอัฟกานิสถานควรมีอนาคตที่ปราศจากความหวาดกลัว ขณะที่นายเซย์อิด ฮุสเซน อาลีมี บัลกี นักบวชนิกายชีอะห์แถวหน้าของอัฟกานิสถาน เรียกร้องให้รัฐบาลตาลิบันดูแลความปลอดภัยของชาวชีอะห์และศาสนสถานนิกายชีอะห์ทั่วประเทศ เนื่องจากตาลอิบันยึดอาวุธที่เคยเตรียมไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยของศาสนสถานไปก่อนหน้านี้ และทำให้เจ้าหน้าที่ดูแลไม่สามารถรับมือกับผู้ก่อการร้ายได้     ————————————————————————————————————————————— ที่มา : ข่าวสดออนไลน์       …

อินโดนีเซียสังหารหัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายมูจาฮิดีนโยงไอเอส

Loading

  ตำรวจอินโดนีเซียเผยว่า สามารถสังหารหัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายมูจาฮิดีนอินโดนีเซียตะวันออก (เอ็มไอที) ที่เป็นเครือข่ายกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ได้ระหว่างการยิงต่อสู้ในป่าของจังหวัดสุลาเวสีกลางเมื่อวันเสาร์ เอเอฟพีรายงานอ้างคำแถลงของตำรวจอินโดนีเซียเมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 กันยายนว่า อาลี คาโลรา หัวหน้ากลุ่มก่อการร้ายมูจาฮิดีนอินโดนีเซียตะวันออก (เอ็มไอที) ถูกยิงเสียชีวิตในป่าของจังหวัดสุลาเวสีกลาง พร้อมกับจากา รามาดาน สมาชิกอีกคนของกลุ่มนี้ รายงานของรอยเตอร์กล่าวว่า อาลีถูกสังหารในปฏิบัติการร่วมระหว่างทหารและตำรวจที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งบนเกาะสุลาเวสีเมื่อบ่ายวันเสาร์ เจ้าหน้าที่ยึดวัตถุระเบิด, ปืนเอ็ม 16 หนึ่งกระบอก และมีดสปาร์ตา 2 เล่ม และพบหลักฐานกิจกรรมก่อการร้ายอย่างอื่น รูดี สุฟาห์รีอาดี ผู้กำกับการตำรวจสุลาเวสีกลาง กล่าวว่า ตำรวจกำลังตามล่าผู้ก่อการร้ายเอ็มไอทีอีก 4 คนที่หลบหนีอยู่ สองเดือนก่อนหน้านี้ เจ้าหน้าที่ความมั่นคงของอินโดนีเซียสังหารผู้ต้องสงสัยสมาชิกกลุ่มนี้ 2 คนที่อำเภอปาริกีมูตงแห่งเดียวกันนี้ ซึ่งอยู่ใกล้กับอำเภอโปโซที่เป็นแหล่งกบดานของเอ็มไอที กลุ่มนี้เป็นหนึ่งในกลุ่มหัวรุนแรงหลายสิบกลุ่มในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประกาศสามิภักดิ์ต่อกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) และถูกรัฐบาลสหรัฐขึ้นบัญชีเป็นองค์กรก่อการร้าย กลุ่มเอ็มไอทีหลบซ่อนตามป่าบนเกาะสุลาเวสีมาหลายปี แม้เชื่อกันว่าปัจจุบันกลุ่มนี้มีสมาชิกไม่มากนัก แต่พวกเขาถูกกล่าวหาว่าก่อเหตุโจมตีนองเลือดหลายครั้ง รวมถึงการสังหารชาวนา 4 คนในหมู่บ้านห่างไกลเมื่อเดือนพฤษภาคม โดยมีรายงานว่าชาวนาคนหนึ่งโดนตัดศีรษะ อาลี คาโลรา ขึ้นมาเป็นหัวหน้ากลุ่มเอ็มไอที ภายหลังซานโตโซ หัวหน้ากลุ่มคนก่อนซึ่งเป็นคนร้ายที่ทางการอินโดนีเซียต้องการตัวมากที่สุด…

เจ้าสาวไอเอสเผย เตรียมกลับอังกฤษ สู้ข้อหาก่อการร้าย หลังถูกถอดถอนสัญชาติ

Loading

  เจ้าสาวไอเอสเผย – วันที่ 15 ก.ย. เอเอฟพี รายงานความคืบหน้ากรณีที่น.ส.ชามีมา เบกุม วัย 22 ปี พลเมืองสัญชาติอังกฤษ เชื้อชาติบังกลาเทศ ผู้ถูกถอดถอนสัญชาติผู้ดี หลังเดินทางออกจากกรุงลอนดอน พร้อมเพื่อนโรงเรียน 2 คน เมื่อปี 2558 ด้วยเพียงอายุ 15 ปี ในเวลานั้น เพื่อเข้าร่วมกลุ่มรัฐอิสลามในซีเรีย จากนั้น แต่งงานกับนักรบไอเอสจึงได้รับการขนานนามเป็น “เจ้าสาวไอเอส”   ล่าสุด น.ส.เบกุมกล่าวว่าจะเตรียมเดินทางกลับไปอังกฤษ ต่อสู้ข้อหาการก่อการร้ายเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวเอง แม้ว่าศาลสูงสุดของอังกฤษจะมีคำตัดสินเมื่อปลายเดือนก.พ.ปีนี้ ไม่อนุญาตให้น.ส.เบกุมเดินทางกลับอังกฤษเพื่อคัดค้านคำตัดสินของรัฐบาล แต่น.ส.เบกุมปฏิเสธการมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการเตรียมการก่อการร้าย “ฉันจะไปศาลและเผชิญหน้าผู้กล่าวหา และปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ เนื่องจากฉันรู้ว่า ฉันไม่ได้ทำอะไรในไอเอส แต่ทำหน้าที่แม่และภรรยาคนหนึ่ง ข้อกล่าวหาเหล่านี้ทำให้ฉันดูแย่ลงเพราะรัฐบาลไม่มีข้อมูลใดเกี่ยวกับฉัน ไม่มีหลักฐานเพราะไม่มีอะไรเกิดขึ้น” น.ส.เบกุมให้สัมภาษณ์สถานีโทรทัศน์ ไอทีวี ของอังกฤษ     น.ส.เบกุม กล่าวว่า ความผิดเดียวที่เธอก่อคือ “โง่พอที่จะเข้าร่วมไอเอส” และขอความเมตตาจากทุกคนที่สูญเสียคนรักจากนักรบไอเอส “ฉันเสียใจมากหากเคยทำให้ใครขุ่นเคืองกับการมาที่นี่ หากทำให้ใครขุ่นเคืองกับสิ่งที่ฉันพูด”…

อัฟกานิสถาน : ตาลีบัน, ไอเอส และอัลไคดา ความเหมือนและต่างของ 3 กลุ่มติดอาวุธมุสลิม

Loading

  นักรบจีฮัดทั่วโลกต่างเฉลิมฉลองหลังกลุ่มตาลีบันได้กลับขึ้นสู่อำนาจในอัฟกานิสถานอีกครั้ง ซึ่งพวกเขาถือเป็นชัยชนะอันยิ่งใหญ่เหนือความเกรียงไกรของกองทัพตะวันตก ทว่าบรรดาผู้เชี่ยวชาญต่างหวั่นเกรงถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดยุคใหม่ของอุดมการณ์จีฮัด หรือการทำสงครามศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมขึ้นในภูมิภาคตะวันออกกลางและเอเชียกลาง โดยภัยคุกคามใหญ่ที่สุดนั้นมาจากกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอัลไคดา หรือ อัลกออิดะห์ และกลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม หรือ ไอเอส ที่อ่อนกำลังลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังคงเคลื่อนไหวอยู่ ในข้อตกลงที่ทำกับสหรัฐฯ ตาลีบันรับปากว่าจะไม่ให้ที่พักพิงแก่กลุ่มสุดโต่งที่มีเป้าหมายในการโจมตีชาติตะวันตก อย่างไรก็ตามสายสัมพันธ์ของตาลีบันกับกลุ่มอัลไคดายังคงแน่นแฟ้น ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่ากลุ่มไอเอส ซึ่งเป็นคู่แข่งกับอัลไคดานั้น จะต้องเผชิญแรงกดดันที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่าพวกเขายังมีความสำคัญและอิทธิพลอยู่ ส่วนกลุ่มรัฐอิสลามแห่งจังหวัดโคราซัน หรือ ไอเอส-เค ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของไอเอสในอัฟกานิสถานนั้น ไม่รอช้า ก่อเหตุโจมตีพื้นที่รอบนอกสนามบินกรุงคาบูลเมื่อ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 170 คน ในจำนวนนี้ 13 คนเป็นเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ แต่นอกไปจากอุดมการณ์พื้นฐานเรื่องการทำจีฮัดแล้ว กลุ่มติดอาวุธมุสลิม 3 กลุ่มหลักนี้มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ดร.คอลิน คลาร์ก นักวิจัยและนักวิเคราะห์ด้านความมั่นคงจากศูนย์ซูฟานในนครนิวยอร์ก ได้ให้สัมภาษณ์กับบีบีซีและสรุปเรื่องนี้ไว้ว่า “ตาลีบันเป็นผู้เล่นสำคัญที่สุดในอัฟกานิสถาน อัลไคดาเป็นกลุ่มนักรบจีฮัดข้ามชาติที่กำลังฟื้นฟูเครือข่ายขึ้นอีกครั้ง กลุ่มไอเอสก็เช่นกัน แต่กลุ่มนี้จะต้องต่อสู้หนักมากกว่า เพราะเป็นศัตรูตัวฉกาจของทั้งอัลไคดาและตาลีบัน”   ต้นกำเนิด   อัลไคดาและตาลีบันเกิดขึ้นจากการต่อต้านการรุกรานของโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 และจากสถานการณ์วุ่นวายภายในอัฟกานิสถานช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 ขณะที่ไอเอสถือกำเนิดขึ้นในอีกหลายปีให้หลัง จากสมาชิกที่เหลืออยู่ของกลุ่มอัลไคดาในอิรัก…

พ่อแม่ผู้ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายในอินโดนีเซีย ใช้ลูกเป็นเครื่องมือสังหารชาวคริสต์

Loading

    ตำรวจอินโดนีเซียกล่าวว่า ครอบครัวที่มีสมาชิก 6 คนอยู่เบื้องหลังการก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่โบสถ์ชาวคริสต์ 3 แห่งในเมืองสุราบายาของอินโดนีเซีย วันอาทิตย์ ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต อย่างน้อย 13 รายและบาดเจ็บ 41 คน ครอบครัวดังกล่าวเพิ่งเดินทางกลับมาจากประเทศซีเรียไม่นานนี้ ตำรวจกล่าวด้วยว่าผู้ก่อเหตุมีความเชื่อมโยงกับกลุ่ม Jemaah Ansharut Daulah ซึ่งได้รับแนวคิดมาจากกลุ่มรัฐอิสลาม และกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ก็อ้างความรับผิดชอบต่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้ในเมืองสุราบายา ซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับสองของประเทศอินโดนีเซีย ด้านประธานาธิบดีโจโค วิโดโด ประณามการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นการกระทำที่ “ป่าเถื่อน” เจ้าหน้าที่กล่าวว่า ครอบครัวผู้ก่อเหตุ นอกจากจะมีพ่อและแม่ แล้วยังประกอบด้วยลูกสาวและลูกชายทั้งหมดอีก 4 คน โดยลูกคนเล็กสุดเป็นผู้หญิงวัย 9 ขวบ สำนักงานเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ นาย António Guterres กล่าวในแถลงการณ์วันอาทิตย์ว่ารู้สึก “ตกตะลึง” ที่มีการใช้เด็กในการโจมตีด้วยระเบิดฆ่าตัวตาย โฆษกของสำนักงานเลขาธิการ UN กล่าวว่า นาย Guterres ย้ำถึงการสนับสนุนรัฐบาลและชาวอินโดนีเซียในความพยายามต่อสู้และป้องกันการก่อการร้าย ตลอดจนความรุนแรงจากความคิดสุดโต่ง ความพยายามดังกล่าวรวมถึงการสร้างสังคมที่มีความหลากหลาย สนับสนุนความคิดสายกลาง และการยอมรับความแตกต่างในสังคม…

เหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่ศูนย์เลือกตั้งในกรุงคาบูล ทำยอดเสียชีวิตพุ่ง 57 ราย

Loading

  เหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่ศูนย์ลงทะเบียนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน เมื่อวันอาทิตย์ (22 เม.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 57 รายตามรายงานของทางการ โฆษกกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิง 21 ราย และเด็กอีกแปดราย นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 119 ราย จากระเบิดที่เกิดขึ้นบริเวณทางเข้าศูนย์ลงทะเบียนทางฝั่งตะวันตกของกรุงคาบูล ซึ่งมีฝูงชนยืนรออยู่จำนวนมาก กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม (ไอเอส) ระบุผ่านสำนักข่าวอามักซึ่งเป็นกระบอกเสียงของตนเอง ว่าผู้ก่อเหตุเป็นคนของไอเอส เขาคาดเข็มขัดระเบิดแฝงเข้าไปในฝูงชนก่อนกดระเบิด ศูนย์แห่งนี้อยู่ในเขตแดชเต บัคชี ทางตะวันตกของกรุงคาบูล ซึ่งเป็นเขตของชนมุสลิมกลุ่มน้อยชีอะห์ ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีของไอเอสบ่อยครั้ง เนื่องจากความแตกต่างทางลัทธิความเชื่อ     นายนาจีบ ดานิช โฆษกกระทรวงมหาดไทยอัฟกานิสถาน ระบุว่า จากการสอบสวนพบว่า คนร้ายที่ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายมีเพียงคนเดียวนั้น ได้เดินเข้าไปจุดชนวนระเบิดบริเวณด้านหน้าศูนย์ลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่เจ้าหน้าที่เตรียมแจกบัตรประจำตัวผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อัฟกานิสถานเพิ่งเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเดือนนี้ ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติจะเกิดขึ้นในเดือน ต.ค. ซึ่งถูกมองว่าเป็นบททดสอบก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า     คำบอกเล่าผู้ประสบเหตุในเช้าวันอาทิตย์ เด็ก ๆ ยืนเข้าแถวอยู่กับพ่อแม่ที่กำลังรอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนมีเสียงระเบิดดังขึ้น ไม่มีรายละเอียดทันทีว่าผู้ก่อเหตุจุดระเบิดอย่างไร แต่แรงระเบิดทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน ราซูลี วัย…