กฎหมายควบคุมการใช้อุปกรณ์ติดตามคน-สิ่งของ | ณิชนันท์ คุปตานนท์

Loading

  AirTag เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยติดตามสิ่งของผ่านการเชื่อมต่อ Bluetooth กับสมาร์ทโฟน ซึ่งบริษัท Apple ได้พัฒนาขึ้นเมื่อเดือน เม.ย. ปี 2564 โดยมีจุดประสงค์เพื่อช่วยให้ผู้ใช้บริการสามารถติดตามสิ่งของส่วนบุคคล เช่น กุญแจ กระเป๋า ซึ่งอาจตกหล่น หรือทำหาย หรือใช้ตามหารถที่จอดไว้ โดยที่ทางบริษัทเองก็ได้เน้นย้ำจุดประสงค์ของการออกแบบว่า ไม่ได้มีไว้เพื่อใช้ติดตามผู้คนหรือทรัพย์สินของผู้อื่น อีกทั้งประณามการใช้ AirTag ในทางที่ผิด และด้วยเหตุนี้ Apple จึงได้พัฒนาระบบแจ้งเตือนเพื่อให้ผู้ใช้บริการทราบกรณีมีการติดตามที่ไม่พึงประสงค์ด้วย หลังจากที่เริ่มมีรายงานการใช้ AirTag ผิดวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ดี ระบบแจ้งเตือนดังกล่าวยังมีจุดอ่อน โดยเฉพาะในกรณีผู้ที่ถูกติดตามไม่ได้ใช้ iPhone หรืออุปกรณ์อื่นๆ ของ Apple ด้วยลักษณะของการออกแบบ AirTag ที่มีขนาดเล็ก สะดวกต่อการใช้งานในราคาที่ไม่แพง และแบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานถึงหนึ่งปี แต่ไม่ได้ออกแบบป้องกันการถูกเอาไปใช้ในทางที่ผิดวัตถุประสงค์หรือเกี่ยวข้องกับการก่ออาชญากรรม จึงยังคงเกิดกรณีที่มีผู้ใช้บริการผิดวัตถุประสงค์ โดยการนำไปใช้ติดตามบุคคล เช่น นำไปใส่ไว้ในรถหรือเสื้อผ้าของคนที่ต้องการติดตาม และในหลายๆ กรณีก็เป็นเหตุนำไปสู่อาชญากรรมร้ายแรงตามมา   (ภาพถ่ายโดย kat wilcox) ไม่ว่าจะเป็นการฆาตกรรม หรือแม้กระทั่งการค้ามนุษย์ ซึ่งจะเห็นได้จากรายงานข่าวอาชญากรรมไม่ว่าจะเรื่อง…

สหรัฐไม่เอาด้วย กฎหมายควบคุมหุ่นยนต์นักฆ่า ช่องโหว่ อาวุธสังหารรูปแบบใหม่

Loading

  ในที่ประชุมสหประชาชาติ เจ้าหน้าของของสหรัฐรายหนึ่งได้ปฏิเสธการเรียกร้องให้มีข้อตกลงที่มีผลผูกพันและควบคุมหรือห้ามใช้หุ่นยนต์นักฆ่า แทนที่จะเสนอหลักจรรยาบรรณที่ควรจะมี . โดย Josh Dorosin เจ้าหน้าที่ของสหรัฐอ้างว่า การมีกฏหมายผูกมัดนั้น จะทำให้การพัฒนาเครื่องมือหรืออาวุธทางการทหารไม่เกิดความก้าวหน้า . ทั้งนี้ องค์การสหประชาชาติได้เป็นเจ้าภาพการเจรจาทางการทูตในกรุงเจนีวาตั้งแต่ปี 2560 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจัดการกับการใช้หุ่นยนต์นักฆ่า ทำให้นักเคลื่อนไหวในหลาย ๆ ประเทศ กำลังเรียกร้องให้มีคำสั่งห้ามใช้อาวุธใดสังหารใด ๆ ก็ตามโดยที่ไม่มีมนุษย์คอยดูแล . ในเดือนพฤศจิกายน 2018 หัวหน้าองค์การสหประชาชาติ António Guterres ได้เข้าร่วมเรียกร้องคำสั่งห้ามดังกล่าว แต่จนถึงขณะนี้ประเทศต่างๆ ยังไม่เห็นด้วยว่ามีความจำเป็นที่จะต้องมีกฏหมายควบคุมหุ่นยนต์นักฆ่า . แน่นอนว่าเมื่อประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาออกมาตอบโต้แล้วว่า ไม่เห็นด้วยว่าจะต้องมีกฏหมาย ประเทศอื่น ๆ ก็อาจจะตามน้ำเช่นกัน ฉะนั้นแปลว่าในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ โลกเราอาจมีอาวุธสังหารที่เป็นหุ่นยนต์มากขึ้นครับ ที่มาข้อมูล https://www.theguardian.com/us-news/2021/dec/02/us-rejects-calls-regulating-banning-killer-robots   ที่มา : techhub                 /  วันที่เผยแพร่ 3…