กฎหมายกำกับ AI ฉบับแรกของโลก จากสหภาพยุโรป ใกล้ความจริงขึ้นอีกก้าว

Loading

  หลังจากที่ Chat GPT ได้เปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปตั้งแต่ปลายปี 2565 AI (Artificial intelligence) หรือ Generative AI ก็เป็นคำที่ทุกท่านได้ยินผ่านหูและเห็นผ่านตากันบ่อยขึ้นมาก   ทางสหภาพยุโรปได้เล็งเห็นความสำคัญของ AI และผลกระทบในวงกว้างของการใช้ AI มาซักระยะแล้ว และประกาศร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI มาตั้งแต่ปี 2564 ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวพึ่งได้รับความเห็นชอบจากตัวแทนเจรจาของสภายุโรปและประธานของคณะมนตรียุโรปโดยเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2566   ร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI นี้อยู่ในขั้นตอนการแก้ไขปรับปรุงในรายละเอียดและถูกคาดหมายว่าจะเป็นกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ที่มีความครอบคลุมฉบับแรกของโลก   หลักการสำคัญของร่างกฎหมายเพื่อควบคุมกำกับการใช้ AI ดังกล่าวคือ การกำหนดให้มีการแยกประเภทการใช้งาน AI ตามระดับความเสี่ยงที่แตกต่างกันไป และกำหนดระดับความเข้มข้นของการกำกับแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยง   (1) การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ (Unacceptable Risk)   การใช้ AI ที่มีความเสี่ยงสูงระดับที่ยอมรับไม่ได้ หมายถึง การใช้ AI…

สิทธิมนุษยชนกับการปรากฏตัวของ AI

Loading

AI ปฏิบัติการบนฐานอัลกอริทึม (algorithm) มีความสามารถในการคาดการณ์ ตัดสินใจ และให้คำแนะนำ ทั้งในฐานะผู้ช่วยตัดสินใจและผู้ตัดสินใจเองโดยอิสระ ผ่านกิจกรรมประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อสินค้าตามรสนิยมและความต้องการ การใช้ระบบจดจำใบหน้าในกิจกรรมต่าง ๆ

จีน ออกกฎระเบียบใหม่ 24 ข้อ คุม AI สร้างจุดร่วมภาครัฐ – เทคโนโลยี

Loading

  ประเทศจีน ออกกฎระเบียบใหม่ 24 ข้อ เพื่อควบคุมการใช้งานเทคโนโลยี AI ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างจุดกึ่งกลางระหว่างทางภาครัฐ และเทคโนโลยีสู้กับคู่แข่งอย่าง ChatGPT   จีนได้ประกาศใช้ข้อบังคับชั่วคราวเกี่ยวกับการจัดการ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.66   ย้อนไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ประเทศจีนได้ประกาศกฎระเบียบมีชื่อว่า “Generative AI Measures” หรือ “มาตรการเจเนอเรทีฟเอไอ” ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน (CAC) คณะกรรมการพัฒนา และปฏิรูปแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โดยในมาตรการนี้ มีข้อบังคับถึง 24 ข้อ ที่ได้กำหนดการใช้งาน AI ในประเทศจีน เช่น กำหนดให้แพลตฟอร์มที่ใช้ AI จำเป็นต้องลงทะเบียน และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเผยแพร่ รวมถึงห้ามสร้างรูปภาพของ ประธานาธิบดี สี…

ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI

Loading

    ลิขสิทธิ์ และ กฎหมายกับ AI   AI วาดรูปที่เคยเป็นที่ฮือฮามาก ๆ ในช่วงปลายปีที่แล้ว ทั้ง Dall-E2, Midjourney จนตอนนี้ ผ่านมาแค่ครึ่งปี แต่ AI วาดรูปก็กลายเป็นเรื่องปกติไปที่เดี๋ยวนี้ใคร ๆ ก็ใช้ บางคนก็เอาไปใช้เป็นรูปประกอบ บางคนเอารูปนั้นไปขาย บางที่ก็ฝึกให้ AI เรียนรู้สไตล์ภาพของศิลปิน แล้วสร้างภาพใหม่ในสไตล์นั้นขึ้นมา แต่ เอ๊ะ…แล้วแบบนี้ มันจะเรียกว่าละเมิดลิขสิทธิ์หรือผิดกฎหมายไหม?   ซึ่งเรื่องนี้ก็มีรายงานข่าวจากต่างประเทศว่า มีศิลปิน 3 คนรวมตัวกันยื่นฟ้อง Midjourney และ Stable Diffusion เอไอวาดรูปที่เป็นที่นิยมมาก ๆ ข้อหาละเมิดสิทธิ์ของ “ศิลปินหลายล้านคน” ด้วยการเอารูปของพวกเขาไปเทรน AI แต่คดียังไม่จบนะคะ   1/ As I learned more about how the…