กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับแก้ไขของญี่ปุ่น

Loading

  โลกในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันทางการค้าสูง การเข้าถึงและครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญเพราะสามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเชิงธุรกิจได้   แต่ในขณะเดียวกัน การดำเนินการดังกล่าวโดยปราศจากการควบคุมย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลได้ ดังนั้นแล้ว การตรากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจึงมีความสำคัญยิ่ง   ประเทศไทยได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีประสิทธิภาพและเพื่อให้มีมาตรการเยียวยาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจากการถูกละเมิดสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพ   เนื่องจากในปัจจุบันเราจะพบปัญหาการละเมิดสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปแสวงหาประโยชน์ หรือเปิดเผยโดยมิชอบ หรือโดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอันส่งผลให้เกิดความเสียหายกับบุคคลจำนวนมาก   กฎหมายดังกล่าวจะมีกำหนดบังคับใช้ทั้งฉบับในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2565 อันส่งผลให้ผู้ประกอบการต่างๆ รวมถึงหน่วยงานของรัฐต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้   สำหรับผู้ประกอบการที่มีคู่ค้าเป็นชาวต่างชาติ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทยแล้ว ก็จำต้องศึกษากฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศคู่ค้าด้วย เพื่อจะได้ไม่เกิดกรณีการทำผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนั้นๆ   ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของผู้ประกอบการไทย และเป็นหนึ่งในประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่ให้ความสำคัญกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ญี่ปุ่นได้ตรากฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (個人情報保護法 – Act on Protection of Personal Information – APPI) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 และมีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบการทั้งหมด ที่เสนอขายสินค้าและบริการที่มีการดำเนินการกับข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่อาศัยอยู่ในญี่ปุ่น   ไม่ว่าจะมีที่ตั้งอยู่ในญี่ปุ่นหรือไม่ก็ตาม และหลังจากที่ได้มีการบังคับใช้ ก็ได้มีการตรากฎระเบียบอื่น…

ความท้าทายที่มา ‘จนท.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล’

Loading

  ทำความรู้จัก “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” (DPO) กลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ   “เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล” หรือ DPO (Data Protection Officer) เป็นกลไกสำคัญในการพิสูจน์ให้เห็นถึงการปฏิบัติตามหลักความรับผิดชอบ เนื่องจากเป็นกลไกสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหลายๆ ประเทศ อาทิ สหภาพยุโรปและประเทศไทย ก่อนการบังคับใช้ GDPR มีการคาดการณ์ว่าจะทำให้มีความต้องการตำแหน่ง DPO เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายไม่น้อยกว่า 75,000 อัตรา (IAPP 2016)   ในขณะที่ข้อมูลการศึกษาของ IAPP-EY Annual Governance Report of 2019 ระบุว่ามีองค์กรไม่น้อยกว่า 5 แสนองค์กรได้ดำเนินการจดทะเบียน DPO กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศต่างๆ ในสหภาพยุโรป (Data Protection Authorities, DPAs) ซึ่งสูงกว่าจำนวนที่คาดไว้มาก   IAPP-EY Report 2019 ยังแสดงข้อมูลให้เห็นด้วยว่า จากจำนวนบริษัทที่ทำการสำรวจ 375 องค์กร พบว่าร้อยละ…

‘Disqus Widget’ ประมวลผลข้อมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย

Loading

  ส่องบทเรียน “Disqus Widget” บริษัทสัญชาติอเมริกันที่นำเสนอแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะทางออนไลน์ แต่กลับกระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป และได้รับลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงินราวๆ 2.5 ล้านยูโร เมื่อวันที่ 2 พ.ค.2564 Datatilsynet ซึ่งเป็นหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศนอร์เวย์ ได้มีหนังสือแจ้งไปยัง Disqus Inc. บริษัทสัญชาติอเมริกันที่นำเสนอแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะทางออนไลน์ ซึ่งผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบและสร้างโปรไฟล์เพื่อเข้าร่วมการสนทนา ว่าได้กระทำความผิดตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรปหรือ GDPR ในหลายกรณี โดยจะลงโทษปรับทางปกครองเป็นเงินราวๆ 2.5 ล้านยูโร เนื่องจากการกระทำความผิดดังนี้ (1) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองนอร์เวย์ผ่านทางเว็บไซต์ต่างๆ โดยใช้ระบบการเฝ้าติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลและโปรไฟลิ่ง และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่มีฐานทางกฎหมาย Datatilsynet เห็นว่า Disqus ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากความยินยอมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย (2) ไม่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการประมวลผลให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบตามที่กฎหมายกำหนด (3) ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลโดยขัดต่อหลักความรับผิดชอบ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีนี้ สืบเนื่องมาจากการเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชนในประเทศนอร์เวย์เกี่ยวกับการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของ Disqus โดยใช้ Disqus Widget เชื่อมต่อเว็บไซต์ต่างๆ (NRK.no/ytring, P3.no, tv.2.no/broom, khrono.no, adressa.no, rights.no และ document.no) เข้ากับแพลตฟอร์มการแบ่งปันความคิดเห็นสาธารณะที่ให้บริการโดย…