สภาเขมรรับลูก ‘ฮุน เซน’ ผ่านกฎหมายห้ามผู้นำถือสองสัญชาติ

Loading

  รวดเร็วทันใจ “ฮุน เซน” สภาผู้แทนราษฎรกัมพูชาที่มีแต่ ส.ส.รัฐบาล ลงมติผ่านร่างกฎหมายห้ามผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและประธานสภาเป็นบุคคลถือสองสัญชาติ ด้าน “สม รังสี” ผู้ถือพาสปอร์ตฝรั่งเศส บอกเป็นกฎหมายที่พุ่งเป้าเล่นงานเขาโดยเฉพาะ เอเอฟพีและรอยเตอร์รายงานว่า เมื่อวันจันทร์ที่ 25 ตุลาคม 2564 สภาผู้แทนราษฎรกัมพูชา ซึ่ง ส.ส.พรรคประชาชนกัมพูชา (ซีพีพี) ของนายกฯ ฮุน เซน ครองที่นั่งทั้งสภา 111 เสียง ลงมติเห็นชอบร่างกฎหมายแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้หลังจากอภิปรายกันช่วงเวลาสั้นๆ กฎหมายนี้เกิดจากดำริของนายกฯ ฮุน เซน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ที่สั่งให้กระทรวงยุติธรรมไปจัดการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมาย เพื่อกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภา และประธานศาลรัฐธรรมนูญ ต้องถือสัญชาติกัมพูชาเพียงอย่างเดียว นายกฯ ฮุน เซน อ้างเหตุผลในเวลานั้นว่า “เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อชาติและหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากต่างประเทศ” ไม่กี่วันหลังจากฮุน เซน ประกาศเรื่องนี้ สม รังสี อดีตผู้นำฝ่ายค้านกัมพูชาที่หนีคำตัดสินคดีปลุกระดมและหมิ่นประมาทไปใช้ชีวิตลี้ภัยที่ฝรั่งเศสตั้งแต่ปี 2558 และเป็นผู้ที่ถือสัญชาติฝรั่งเศสควบด้วย กล่าวว่า กฎหมายสัญชาติฉบับนี้ออกแบบมาเพื่อเล่นงานตัวเขาโดยเฉพาะ ในอีเมลตอบรอยเตอร์…

ไม่ได้ไปต่อ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ผ่านกฎหมายความเป็นส่วนตัว

Loading

  เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศจีนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมาย ใครไม่ข้ามทางม้าลาย ใบสั่งส่งถึงบ้าน หรือบ้วนน้ำลายหรือทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ต้องจ่ายเช่นกัน พร้อมกันนี้ ในแง่ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล จีนใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนจีนไม่ต้องควักเงิน บัตร หรืออะไรต่างออกมาจ่ายเงิน เพียงแค่เดินผ่านไประบบจะทำการหักเงินในบัญชีอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลทั่วโลก แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Amazon และ Clearview ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและพยายามขายเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรื่องนี้กำลังถูกยุติในฝั่งยุโรป โดยรัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน นอกจากนี้ MEPs รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติระหว่างชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และสมาของกลุ่ม LGBT เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกันครับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หากเรื่องนี้ถูกบังคับใช้เมื่อใด ประเทศที่อยู่สมาชิกประเทศยุโรปจะต้องไม่มีการใช้ Facial Recognition ในที่สาธารณะทั้งหมด รวมถึงประเทศที่มีการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น…

ศาลพม่าปฏิเสธล่ามให้ที่ปรึกษาชาวออสเตรเลียของซูจีระหว่างไต่สวนคดีความลับราชการ อ้างเหตุผลความปลอดภัย

Loading

  เอพี – ศาลพม่ามีคำตัดสินไม่อนุญาตให้ล่ามแปลภาษาพม่า-อังกฤษเข้าร่วมในการพิจารณาคดีที่กำลังจะมีขึ้นกับ ฌอน เทอร์เนลล์ นักเศรษฐศาสตร์ชาวออสเตรเลีย ที่ถูกตั้งข้อหาภายใต้กฎหมายความลับราชการ เทอร์เนลล์กำลังถูกไต่สวนร่วมกับอองซานซูจี ผู้นำที่ถูกปลดจากตำแหน่ง และอดีตสมาชิกคณะรัฐมนตรีอีก 3 คน ที่ถูกตั้งข้อหาคดีเดียวกัน เทอร์เนลล์ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของซูจีและถูกจับกุมพร้อมกับจำเลยร่วมของเขาหลังรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของซูจีถูกกองทัพขับไล่ในเดือน ก.พ. การละเมิดกฎหมายความลับราชการมีโทษจำคุกสูงสุด 14 ปี กฎหมายยุคอาณานิคมที่ทำให้การครอบครอง รวบรวม บันทึก เผยแพร่ หรือแบ่งปันข้อมูลของรัฐที่เป็นประโยชน์ต่อศัตรูทางตรงหรือทางอ้อมเป็นความผิดอาญา การประกาศคำตัดสินที่ห้ามล่ามแปลภาษาเข้าร่วมการพิจารณาคดีมีขึ้นก่อนการไต่สวนคดีที่ศาลพิเศษในกรุงเนปีดอ เย ลิน อ่อง ทนายความของเทอร์เนลล์ กล่าว โดยจำเลยทั้ง 5 คน อยู่ร่วมฟังการไต่สวนที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและสื่อ เย ลิน อ่อง กล่าวว่า อัยการได้ขอให้ศาลไม่อนุญาตล่ามเข้าร่วมในกระบวนการ และผู้พิพากษาเห็นพ้องกับคำร้องดังกล่าว โดยอ้างถึงเหตุผลด้านความปลอดภัย และรายละเอียดที่แน่นอนของความผิดที่เทอร์เนลล์ถูกกล่าวหาก็ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่สถานีโทรทัศน์พม่าอ้างคำแถลงรัฐบาลที่ระบุว่า นักวิชาการชาวออสเตรเลียได้เข้าถึงข้อมูลทางการเงินของรัฐที่เป็นความลับ และพยายามหลบหนีออกนอกประเทศ “เป็นเรื่องยากสำหรับเราที่ไม่มีล่ามแปลให้กับเขา (เทอร์เนลล์) ที่ศาล เรากำลังหารือกับเจ้าหน้าที่จากสถานทูตออสเตรเลีย” เย ลิน อ่อง กล่าว คดีนี้เป็นหนึ่งในหลายข้อหาที่ซูจีถูกฟ้อง ซึ่งถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นความพยายามที่จะทำให้เธอเสียชื่อเสียงเพื่อขัดขวางเธอจากการกลับลงเล่นการเมือง.…

ลบครหา ‘ฮุน เซน’สั่งแก้กม.ห้ามคนสองสัญชาตินั่งเก้าอี้นายกฯ

Loading

  นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา มีคำสั่งให้แก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพื่อห้ามบุคคลที่ถือสัญชาติอื่นด้วย ดำรงตำแหน่งระดับสูงของประเทศ รวมถึงนายกรัฐมนตรี หลังจากการ์เดียนรายงานว่าตัวเขาเป็นคนหนึ่งที่มีพาสปอร์ตไซปรัส รายงานรอยเตอร์กล่าวว่า ฮุน เซน โพสต์ลงเพจเฟซบุ๊กของเขาเมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคมว่า เขาได้สั่งการให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการแก้ไขกฎหมายประเด็นดังกล่าว โดยเห็นว่า ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี, ประธานวุฒิสภา, ประธานสภาผู้แทนราษฎร และประธานศาลรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นผู้ที่ถือสัญชาติกัมพูชาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น “เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อชาติ และหลีกเลี่ยงการแทรกแซงจากต่างชาติ“ คำกล่าวของผู้นำกัมพูชาที่ครองอำนาจมานับแต่ปี 2522 มีออกมาไม่กี่วันหลังจากเครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนสอบสวนระหว่างประเทศ (ไอซีไอเจ) เผยแพร่รายงานเอกสารลับ “แพนโดราเปเปอร์ส” ที่เปิดโปงผู้นำประเทศ, นักการเมือง และบุคคลมีชื่อเสียงและอิทธิพลจากทั่วโลก ที่เกี่ยวพันกับการปิดบังการถือครองทรัพย์สินในต่างแดน โดยหนังสือพิมพ์การ์เดียนของอังกฤษซึ่งร่วมอยู่ในเครือข่ายไอซีไอเจด้วย รายงานว่า ฮุน เซน ก็เป็นหนึ่งในบุคคลที่ไม่ใช่ชาวยุโรปหลายพันคนที่ถือหนังสือเดินทางของไซปรัส ทนายความของรัฐบาลกัมพูชาปฏิเสธข้อมูลนี้เมื่อวันพุธว่า รายงานของการ์เดียนไม่เป็นความจริง และนายกฯ ฮุน เซน มีสัญชาติกัมพูชาเท่านั้น.   ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : ไทยโพสต์       / วันที่เผยแพร่  6…

สภาสิงคโปร์ผ่านกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ”

Loading

  สภาสิงคโปร์เห็นชอบกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ” ที่เพิ่มอำนาจให้รัฐบาลบล็อกเนื้อหาออนไลน์ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ว่าสภาแห่งชาติของสิงคโปร์มีมติด้วยเสียงข้างมาก 75 ต่อ 11 เสียง รับรองกฎหมาย “ต่อต้านการแทรกแซงจากต่างชาติ” หลังใช้เวลาอภิปรายนาน 3 สัปดาห์ และการอภิปรายวันสุดท้ายเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ใช้เวลานานเกือบ 10 ชั่วโมง สำหรับสาระสำคัญของกฎหมายดังกล่าว คือการที่รัฐบาลของสิงคโปร์เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ในการป้องกัน สืบหาและยับยั้ง ความพยายามเคลื่อนไหวเพื่อเผยแพร่ “เนื้อหาอันไม่เป็นมิตร” จาก “กองกำลังภายนอก” ซึ่งมีเป้าประสงค์แทรกแซงกิจการภายในของสิงคโปร์ ผ่านบุคคลหรือกลุ่มบุคคล “ที่เป็นตัวแทนในท้องถิ่น“ ทั้งนี้ มาตรการตอบสนองของภาครัฐอาจเป็นการ “ออกคำสั่ง” ให้ผู้บริการด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และบริการสังคมออนไลน์เปิดเผยข้อมูลอย่างจำเพาะเจาะจง เกี่ยวกับบุคคลซึ่งกระทำการผิดกฎหมาย การปิดกั้นการเข้าถึงเนื้อหา และการลบเนื้อหานั้น หรืออาจถึงขั้นระงับการใช้บริการแพลตฟอร์มนั้นในสิงคโปร์   The Straits Times   ขณะเดียวกัน บุคคลซึ่งมีคุณสมบัติเข้าข่ายเป็น “บุคคลสำคัญทางการเมือง” ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขเกี่ยวกับการรับเงินบริจาค และต้องแสดงหลักฐาน “ความสัมพันธ์” กับ “ปัจจัยในต่างประเทศ“ ด้านนายเค…

นิวซีแลนด์ยกระดับกฎหมายก่อการร้าย หลังพบการโจมตีเชื่อมโยง ISIS

Loading

  นิวซีแลนด์ได้ผ่านร่างกฎหมายความมั่นคงฉบับใหม่ในวันนี้ เพื่อปิดช่องโหว่ต่าง ๆ และเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุก่อการร้ายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า นิวซีแลนด์ได้เดินหน้ายกระดับกฎหมายความมั่นคงตลอดช่วงเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการโจมตีของผู้ก่อการร้ายแบบบุกเดี่ยว (Lone Wolf) โดยกฎหมายฉบับใหม่นี้ถูกยื่นต่อรัฐสภา หลังจากที่เกิดเหตุคนร้ายก่อเหตุแทงและทำร้ายร่างกายประชาชนในซูเปอร์มาร์เก็ตเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ทั้งนี้ ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นในเวลาเพียงไม่ถึง 1 เดือน หลังจากเจ้าหน้าที่ตำรวจสังหารนายอาทิล โมฮัมเหม็ด ซัมซูดีน คนร้ายชาวศรีลังกาวัย 32 ปีที่ก่อเหตุโจมตีที่ซูเปอร์มาเก็ตในเมืองโอ๊คแลนด์ กฎหมายฉบับใหม่ระบุว่า การวางแผนและเตรียมการโจมตีของผู้ก่อการร้ายถือเป็นความผิด ซึ่งนายคริส ฟาฟอย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมของนิวซีแลนด์กล่าวว่า ถือเป็นการยกระดับกฎหมายความมั่นคงให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก “รูปแบบของการก่อการร้ายเปลี่ยนไป โดยเหตุที่เกิดขึ้นทั่วโลกมักจะเป็นการก่อการร้ายแบบบุกเดี่ยว แทนที่จะเป็นกลุ่มองค์กรที่ใหญ่ขึ้น” นายฟาฟอยระบุในแถลงการณ์ผ่านทางอีเมล   ——————————————————————————————————————————————– ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์          / วันที่เผยแพร่  30 ก.ย.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/131077